กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สรุปบทเรียน โครงการ Hero Herb
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

โครงการ Hero Herb


โจทย์ปัญหา

ปัจจุบันเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน เขต ๙ จังหวัดสงขลา ประสบปัญหา การติดต่อของโรคผิวหนัง เพราะการเป็นอยู่ของเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกมีความแออัด เนื่องจากศูนย์ฝึกมีพื้นที่จำกัดแต่เด็กและเยาวชนมีจำนวนที่มากทำให้ง่ายต่อการติดต่อของโรคผิวหนัง ทางกลุ่มจึงเล็งเห็นว่าหากไม่รีบแก้ปัญหาอาจส่งผลต่อสุขภาพและสภาวะจิตใจของเด็กในศูนย์ฝึกอีกทั้งเป็นการเพิ่มภาระในการจัดซื้อยาปฏิชีวนะ อีกด้วย

­

ดังนั้นทางกลุ่ม Doctor Kampong จึงมีแนวคิด ที่จะทำโครงการ Hero Herb โดยมีแนวทาง ในการดำเนินงานคือ ศึกษา ภูมิปัญญา การใช้พืชสมุนไพร ในการรักษาโรคผิวหนัง ส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพร รักษาโรคผิวหนัง ในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 9 รวมถึงการแปรรูป พืชสมุนไพร เพื่อใช้ในการรักษาโรคผิวหนัง

­

ทั้งนี้ หากโครงการดำเนินการแล้วเสร็จ ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น คือ เด็กและเยาวชน ในศูนย์ฝึกและอบรม เยาวชน เขต 9 จะมีสุขภาพ และ สภาวะจิตใจ ที่ดีขึ้น และศูนย์ฝึกสามารถ ลดค่าใช้จ่าย ในการจัดซื้อยาปฏิชีวนะ รวมถึง รวมถึง มีแปลงสมุนไพร และองค์ความรู้ ในการรักษาโรคผิวหนัง ให้แก่เด็กและเยาวชน ในศูนย์ฝึก ได้อย่างยั่งยืน

­

­

เป้าหมาย :

เป็นกลุ่มที่ทำในเรื่องที่เกี่ยวกับสมุนไพร ซึ่งกลุ่มจะได้รับทราบมาว่ามีเพื่อนๆเยาวชนในศูนย์ฝึกเด็กและเยาวชนเขต 9 มีปัญหาเกี่ยวกับโรคผิวหนัง ซึ่งหลายๆคนอาจมองข้ามไป จึงทำให้แกนนำเยาวชนกลุ่มนี้มีความห่วงใยและคิดที่จะนำความรู้ที่มีในเรื่องสมุนไพรมาประยุกต์ใช้ช่วยเหลือเพื่อนๆเยาวชนในศูนย์ฝึกศูนย์ฝึกเด็กและเยาวชนเขต 9

­

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

โครงการ Hero Herb

­

แกนนำ กลุ่ม Dr. Kampong

แกนนำเยาวชนมี 5 คน เป็นนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เอกการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏ มีรายชื่อดังนี้

  1. นางสาวพรรณิการ์ พึ่งพัฒน์ (กั้ง)
    ชั้นปีที่ 2 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เอกการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  2. นางสาวรุสณีดา นิเลาะ (ดา)
    ชั้นปีที่ 1 คณะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เอกการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  3. นางสาวฮามีดะห์ แดเม๊าะ (ดะห์)
    ชั้นปีที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เอกการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  4. นายมูฮำหมัดซับรี มะนอร์ (ยี)
    ชั้นปีที่ 1 คณะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เอกการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  5. นายเลิศพร อินทชาติ (โค้ก)
    ชั้นปีที่ 1 คณะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เอกการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

­

ที่ปรึกษาโครงการ   อาจารย์ถวิล อินทรโม  

อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาเอกการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

­

ที่อยู่: อาคารโปรแกรมการพัฒนาชุมชน ม.ราชภัฏสงขลา ถ.กาญจนวณิชย์ ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา ม.ราชภัฎสงขลา   E-mail : twin_humman@hotmail.com

­

พี่เลี้ยงกลุ่ม   นางสาวปรมัตถ์ ศิริยอด ปริญญาตรีคณะพาณิชยศาสตร์ และการจัดการ การจัดการสารสนเทศ และคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่สงขลาฟอรั่ม ฝ่ายจัดการข้อมูล และวิทยากรกลุ่มย่อย

­

โจทย์ปัญหา

ปัจจุบันเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน เขต ๙ จังหวัดสงขลา ประสบปัญหา การติดต่อของโรคผิวหนัง เพราะการเป็นอยู่ของเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกมีความแออัด เนื่องจากศูนย์ฝึกมีพื้นที่จำกัดแต่เด็กและเยาวชนมีจำนวนที่มากทำให้ง่ายต่อการติดต่อของโรคผิวหนัง ทางกลุ่มจึงเล็งเห็นว่าหากไม่รีบแก้ปัญหาอาจส่งผลต่อสุขภาพและสภาวะจิตใจของเด็กในศูนย์ฝึกอีกทั้งเป็นการเพิ่มภาระในการจัดซื้อยาปฏิชีวนะ อีกด้วย

­

ดังนั้นทางกลุ่ม Doctor Kampong จึงมีแนวคิด ที่จะทำโครงการ Hero Herb โดยมีแนวทาง ในการดำเนินงานคือ ศึกษา ภูมิปัญญา การใช้พืชสมุนไพร ในการรักษาโรคผิวหนัง ส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพร รักษาโรคผิวหนัง ในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 9 รวมถึงการแปรรูป พืชสมุนไพร เพื่อใช้ในการรักษาโรคผิวหนัง

­

ทั้งนี้ หากโครงการดำเนินการแล้วเสร็จ ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น คือ เด็กและเยาวชน ในศูนย์ฝึกและอบรม เยาวชน เขต 9 จะมีสุขภาพ และ สภาวะจิตใจ ที่ดีขึ้น และศูนย์ฝึกสามารถ ลดค่าใช้จ่าย ในการจัดซื้อยาปฏิชีวนะ รวมถึง รวมถึง มีแปลงสมุนไพร และองค์ความรู้ ในการรักษาโรคผิวหนัง ให้แก่เด็กและเยาวชน ในศูนย์ฝึก ได้อย่างยั่งยืน

­

­

เป้าหมาย :

เป็นกลุ่มที่ทำในเรื่องที่เกี่ยวกับสมุนไพร ซึ่งกลุ่มจะได้รับทราบมาว่ามีเพื่อนๆเยาวชนในศูนย์ฝึกเด็กและเยาวชนเขต 9 มีปัญหาเกี่ยวกับโรคผิวหนัง ซึ่งหลายๆคนอาจมองข้ามไป จึงทำให้แกนนำเยาวชนกลุ่มนี้มีความห่วงใยและคิดที่จะนำความรู้ที่มีในเรื่องสมุนไพรมาประยุกต์ใช้ช่วยเหลือเพื่อนๆเยาวชนในศูนย์ฝึกศูนย์ฝึกเด็กและเยาวชนเขต 9

­


กระบวนการขั้นตอนการปฏิบัติงาน

กิจกรรม 1  ศึกษาเรียนรู้และจัดการความรู้ว่าด้วยพืชสมุนไพรเพื่อการรักษาโรคผิวหนัง

1.1  ศึกษาข้อมูลจากแหล่งต่างๆเช่นอินเตอร์เน็ตหนังสือและปราชญ์ชาวบ้านคนเฒ่าคนแก่ในชุมชนบ้านทุ่งหวัง

- สมุนไพรที่สามารถรักษาโรคผิวหนัง

- การปลูกพืชการเพาะพันธุ์ ดูแลรักษา

1.2  จัดการข้อมูลเพื่อเป็นสื่อในการเรียนรู้ คู่มือ แผนพับ

กิจกรรม 2 ถ่ายทอดทอดความรู้ว่าด้วยพืชสมุนไพรเพื่อการรักษาโรคผิวหนังให้กับแกนนำเยาวชนในศูนย์ฝึก

2.1  ติดต่อประสานงานกับศูนย์ฝึกเพื่อจัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้

2.2  จัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้กับเยาวชนในศูนย์ฝึก

- การแปรรูปพืชสมุนไพรเป็นยารักษาโรคผิวหนัง

- การปลูก(การเพาะพันธุ์ ขยายและดูแล)

- จัดทำแปลงพืชสมุนไพร

กิจกรรม 3 การจัดหาพืชสมุนไพรเพื่อให้เยาวชนได้ทดลองใช้อย่างต่อเนื่องทั้งนี้เพื่อวัดประสิทธิภาพของยาสมุนไพร

กิจกรรม 4 สรุปและประเมินผลการทำโครงการ

­

­

กระบวนการทำงานของกลุ่ม

กลุ่ม Doctor Kampong หรือ กลุ่มหมอบ้าน เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา สาขาการพัฒนาชุมชน สนใจเรียนรู้จากประเด็นปัญหาการแพร่ระบาดของโรคผิวหนัง (โรคหิด) ในพื้นที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 9 จังหวัดสงขลา สภาพปัญหาดังกล่าวสร้างความทุกข์ทรมานจากอาการคัน ให้กับเยาวชนเป็นอย่างมาก โครงการ Hero Herb จึงต้องการสร้างทางเลือกในการรักษาโรคชนิดนี้โดยการใช้พืชสมุนไพร จึงริเริ่มดำเนินโครงการ Hero herb ขึ้นโดยมีกิจกรรมดังนี้

­

กิจกรรมแรก ศึกษาภูมิปัญญาการใช้พืชสมุนไพรรักษาโรคผิวหนัง โดยสืบค้นความรู้จากอินเตอร์เน็ต สอบถามข้อมูลจากหมอบ้านในชุมชน จากป้าแนบ (นางแนบ นวลสุวรรณ) เป็นประธาน อสม. บ้านแม่เปียะ อ.นาหม่อม ป้าแนบเป็นหมอบ้านในชุมชน ป้าแนบบอกว่าสมุนไพรทองพันชั่งสามารถนำมาทำเป็นสบู่เหลวรักษาโรคดังกล่าวได้ด้วยเช่นกัน และได้ค้นพบข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตว่ามีผู้ที่แปรรูปขมิ้นชันเป็นสบู่รักษาโรคดังกล่าวได้คือสูตรการทำสบู่ขมิ้น โดยมีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการทำสบู่ก้อนมาจาก ธนาคาร ธ.ก.ส. หาดใหญ่ และข้อมูลส่วนหนึ่งได้มาจากคุณป้าแนบ ต่อมาคือการหาและขยายพันธุ์พืชสมุนไพรทั้ง 2 ชนิด ได้นำพืชสมุนไพร ทองพันชั่ง และ ขมิ้น มาปลูกและขยายพันธุ์เป็นระยะเวลาเกือบสามเดือนกับการเพาะต้นทองพันชั่งและขมิ้นเพื่อที่นำไปปลูกในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 9 จังหวัดสงขลา ทำให้แกนนำรู้ว่า การจะปลูกต้นไม้สักต้นเราต้องดูแลรักษาอย่างไรเพื่อที่จะให้ต้นไม้อยู่รอด ไม่ตาย ก็เปรียบเสมือนโครงการที่พวกเราทำอยู่เราต้องทำงานกันเป็นทีมเพื่อที่จะไปยังเป้าหมายที่เราวางไว้ อาจจะเจออุปสรรคบ้าง แต่เราก็ร่วมกันแก้ไขให้ผ่านไปได้ เหมือนการดูแลรักษาต้นไม้ระหว่างทางกว่าต้นไม้จะสมบูรณ์จะโตได้ เราต้องดูแลอย่างดีไม่ว่าจะเป็นแสงแดด การรดน้ำ การใส่ปุ๋ย

­

กิจกรรมสอง กิจกรรมแนะนำตัวโครงการ Hero herb พร้อมทำความรู้จักระหว่างแกนนำ Doctor กัมปง และเพื่อนๆกลุ่มเป้าหมายในศูนย์ฝึกจำนวน 20 คน ในกิจกรรมนี้แกนนำได้ประชุมเพื่อแบ่งบทบาทหน้าที่ของแต่ละคนว่าใครมีหน้าที่เป็นวิทยากรกระบวนการ  ดังนี้


กัง : เป็นผู้หาข้อมูลเกี่ยวกับสมุนไพร

ด๊ะ : เป็นผู้เรียบเรียงข้อมูล

ดา : เป็นผู้วางแผนการดำเนินกิจกรรม

ยี กับโค้ก : เป็นผู้เตรียมอุปกรณ์การดำเนินกิจกรรม

มิง : เป็นผู้จัดหาเพลง และเกม เพื่อความสร้างสรรค์

­

ในครั้งนี้แกนนำเข้าไปประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับตัวโครงการ Hero Herb บอกถึงที่มา และรายละเอียดของตัวโครงการและได้ทำกิจกรรมสันทนาด้วยการเล่นเกมท้ายปัญหา เกี่ยวกับสมุนไพร และเกม 6 ช่อง เพื่อทำความรู้จักของเพื่อนในกลุ่มเป้าหมาย ถ้าใครตอบถูก จะมีของรางวัลให้ ซึ่งเป็นขนม ในกิจกรรมนี้ทำเพื่อสร้างรอยยิ้ม ความสนุกสนาน และความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน ผลที่เกิดขึ้นทำให้เพื่อนๆกลุ่มเป้าหมายในศูนย์ฝึกมีการตอบรับ เป็นอย่างดี ให้ความร่วมมือทุกอย่าง เมื่อเสร็จกิจกรรมแกนนำได้มานั่งพุดคุยถึงสิ่งที่ทำได้ดีและสิ่งที่ทำได้ไม่ดีเพื่อใช้เป็นบทเรียนในการเตรียมตัวเข้ามาทำกิจกรรมครั้งที่สอง เสียงสะท้อนของแกนนำมองเห็นว่าการเข้าไปครั้งนี้เกิดปัญหาตรงที่แกนนำไม่เคยเข้าศูนย์มาในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 9 จังหวัดสงขลา มาก่อนจึงทำให้แกนนำต้องทำหนังสือขออนุญาตเข้ามาทำกิจกรรมและประสานผู้ที่จะดูแลเมื่อเข้าไปทำกิจกรรม แกนนำสะท้อนอีกด้วยว่าถึงแม้จะเตรียมตัวมาดีแค่ไหนพอถึงเวลาทำกิจกรรมมักจะไม่เป็นไปตามแผนเราต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้ได้และแกนนำยังรู้สึกมีความสุขเมื่อเห็นรอยยิ้มของเพื่อนๆ และการทำกิจกรรมในครั้งนี้แกนนำคิดว่าอาจจะยังไม่สำเร็จ 100% ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะเรายัง กล้าๆกลัวๆ เพราะเป็นการมาครั้งแรกของแกนนำ และแกนนำยังไม่รู้จักกับเพื่อนๆ ยังไม่คุ้นเคยกับสถานที่ แต่อีกส่วนหนึ่ง ก็เกิดจากการทำงาน ขอแกนนำด้วย ซึ่งเมื่อสมาชิกได้พูดคุยกันแล้ว ก็พบว่า การแบ่งงานหรือแบ่งหน้าที่ของเราในการทำงานยังไม่ชัดเจน และยังมีการเขินอาย และเกี่ยงกันอยู่ เลยทำให้ไม่มีความมั่นใจ ทำให้ดูเหมือนไม่จริงจังเท่าไร แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เราก็ได้มิตรภาพจากเพื่อนๆมา การตอบรับที่ดี ทำให้แกนนำรู้ว่าการมาทำกิจกรรมในครั้งหน้า อาจไม่มีเรื่องตื่นเต้นให้ต้องกังวล

­

สิ่งที่แกนนำได้เรียนรู้จากกิจกรรมแนะนำตัวโครงการ Hero herb

ดา : การวางตัว ทักษะด้านการพูด ต้องพัฒนาตนเองให้มากกว่าเดิมเพราะการพูดของเราบางครั้ง อาจไม่เหมาะสมกับเพื่อนๆในศูนย์ฝึกฯ อาจจะกระทบจิตใจได้

ด๊ะ : ทักษะด้านการพูด การกล้าแสดงออก เพราะตัวเองยังเขินๆ อายๆ ไม่กล้าแสดงออก ไม่กล้าพูดต่อหน้าคนเยอะๆ จะต้องพัฒนาตนเองให้ดีมากกว่าเดิ

ยี : ได้ทักษะในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆเพื่อเอามาใช้ในชีวิตประจำวันของเราได้ในสิ่งที่เราได้ผ่านมารู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ทำกิจกรรมใหม่ๆให้กับตัวเองและมอบความสุขให้กับเพื่อนๆที่อยู่ในศูนย์ฝึกเป็นอย่างดี

มิง : แรกๆที่ได้เข้าไปในศูนย์ฝึกรู้สึกตื่นเต้นอย่างมาก เนื่องจากว่าเป็นกิจกรรมแรกของโครงการนี้ และกลุ่มเป้าหมายของโครงการซึ่งเป็นกลุ่มคนที่เคยก้าวพลาด อาจจะมีความรู้สึกหวาดกลัว และพอได้สัมผัส จริงๆแล้วมันไม่ได้เป็นเป็นอย่างที่เราคิด ซึ่งกลุ่มเป้าหมายก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และกิจกรรรมที่ไปทำวันนั้นก็มีบ้างที่ไม่เป็นอย่างที่คิด เพราะเป็นครั้งแรก และระยะเวลาในการวางแผนงาน แต่มันก็ผ่านไปด้วยดี

กั้ง : สำหรับตัวกั้งแล้ว สิ่งสำคัญ ที่ได้จากเข้าไปในศูนย์ฝึกในครั้งแรก คือ การ ให้โอกาสคะ เราไม่ควรจะมอง หรือ เชื่อ จากสิ่งที่เรา ได้ยินหรือเห็นแค่เปลือกนอก หากแต่เรา ต้องลองได้สัมผัสกับตัวเองก่อน

โค้ก : ได้รับความสนุก ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรร่วมกับเพื่อนๆในศูนย์ฝึกฯและทำให้ต้องพัฒนาทักษะความกล้า กล้าแสดงออกและความกล้าพูดเป็นอย่างมาก

­

กิจกรรมสาม จัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้กับเยาวชนในศูนย์ฝึก ณ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 9 จังหวัดสงขลา โดยกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการมีจำนวน 30 คน แกนนำได้ทดลองการทำสบู่ก้อนและสบู่เหลว แกนนำต้องใช้ความพยายามอย่างมากในขั้นตอนการทำแต่ละขั้นตอน ต้องอาศัยความประณีต ความอดทน การสังเกต ทุกคนต่างมีบทบาทหน้าที่ของตัวเองที่ได้รับมอบหมาย งานจึงเสร็จเร็วและงานเป็นระบบ ทำให้สบู่ที่ทำออกมาประสบความสำเร็จในขั้นตอนการผลิต แม้จะเหนื่อยแต่ก็รู้สึกภูมิใจในสิ่งที่ตัวเองทำได้ หลังจากนั้นก่อนเข้าศูนย์ฝึกแกนนำได้ประสานติดต่อไปยังคุณครูพี่จุ๋ม ซึ่งเป็นครูสอนวิชาเกษตร ก่อนเข้าแกนนำมีการประชุมวางแผนและแบ่งบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน มีการจัดเตรียมอุปกรณ์และพันธุ์พืชที่จะนำเข้าไปปลูก ในภาคเช้า‬แกนนำได้แบ่งบทบาทหน้าที่โดยมีการแบ่งหน้าที่  ดังนี้


ดา : เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมทั้งหมด

กั้ง : เป็นผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรทองพันชัง

ด๊ะ : เป็นผู้จดบันทึกกระบานการทั้งหมด

มิง : เป็นผู้อธิบายวิธีการทำสบู่ก้อน

ยี : เป็นผู้สาธิตการทำสบู่ก้อน

โค้ก : เป็นผู้ช่วยยีในการหยิบเอาวัตถุดิบในการทำสบู่ก้อน

­

หลังจากนั้นแกนนำได้ให้ความรู้เกี่ยวกับต้นสมุนไพรทองพันชั่งและขมิ้นเพื่อนๆกลุ่มเป้าหมายให้ความสนใจกับสิ่งที่แกนนำพยายามจะถ่ายทอดความรู้เรื่องสมุนไพรให้ หลังจากนั้นแกนนำได้สาธิตการทำสบู่ก้อนจากสมุนไพรทองพันชั่งในการทำสบู่ก้อนครั้งนี้เพื่อนๆกลุ่มเป้าหมายต่างก็รุมกันมาดูวิธีการทำอย่างตั้งใจ และมีเพื่อนๆกลุ่มเป้าหมายบางส่วนที่เป็นอิสลามจะพูดภาษามลายู ทำให้แกนนำต้องสื่อสารเป็นภาษามลายูเพื่อให้เพื่อนๆที่เป็นอิสลามเข้าใจมากยิ่งขึ้น ต่อด้วยกิจกรรมสันทนาการเป็นการเล่นเกมตอบปัญหาความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร และวิธีการทำสบู่ เพื่อต้องการทราบว่าเพื่อนๆที่เข้าร่วมกิจกรรมเข้าใจในความรู้ที่ทางกลุ่มได้เข้าไปถ่ายทอดหรือไม่และเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน ผลที่ได้คือเพื่อนสามารถตอบคำถามได้และสนใจในขั้นตอนการทำสบู่เป็นอย่างมากทุกคนอยากลงมือทำด้วยตัวเอง แต่ด้วยอุปกรณ์มีไม่เพียงพอทางแกนนำจึงบอกกับเพื่อนๆกลุ่มเป้าหมายว่าถ้าใครอยากได้สบู่ไปทดลองใช้ก็ให้มาตักใส่แป้นพิมพ์ด้วยตัวเอง เพื่อนๆต่างก็เข้าใจเพื่อจะทำสบู่ของตัวเองและที่เป็นภาพบรรยากาศที่น่ารักคือแต่ละคนเมื่อตักใส่แป้นพิมพ์ก็จะเขียนชื่อหรือทำสัญลักษณ์เอาไว้ข้างๆว่าเป็นของตัวเอง แกนนำและคุณครูพี่จุ๋มอดอมยิ้มไม่ได้กับภาพบรรยากาศที่น่าประทับ ช่วงบ่ายแกนนำทั้ง 5 คน นำต้นสมุนไพรทองพันชั่งมาให้เพื่อนๆ ที่เข้าร่วมโครงการได้ทำกิจกรรมร่วมกันปลูกต้นสมุนไพรทองพันช่างและแบ่งเวรในการดูแลต้นสมุนไพร อีกทั้งแกนนำได้แจกใบความรู้เกี่ยวกับต้นสมุนไพร พร้อมกับสมุดบันทึก เพื่อให้เพื่อนๆในศูนย์ฝึกฯ บันทึกผลการใช้สบู่ ว่ามีผลอย่างไรบ้าง จากการทำกิจกรรมครั้งที่ 3 แกนนำมองเห็นถึงปัญหาระหว่างการดำเนินกิจกรรมในศูนย์ฝึก คือ ระหว่างดำเนินงานมีเพื่อนๆ บางส่วนพูดคุยเสียงดัง ทำให้แกนนำต้องหาวิธีแก้ไข้เฉพาะหน้า ทำให้แกนนำเรียนรู้ที่จะแก้ไขปัญหา เช่น การเล่นเกมสันทนาการ เพื่อดึงดูดความสนใจใครตอบคำถามได้จะมีรางวัลมอบให้ ผลจากการทำกิจกรรมทำให้แกนนำกล้าแสดงออก กล้าพูดมากขึ้น และความรับผิดชอบต่อหน้าที่ อีกทั้งทำให้เรียนรู้การทำงานเป็นทีมที่ต้องช่วยเหลือซึ่งกันแหละกันในการทำกิจกรรมครั้งนี้ แกนนำรู้สึกภูมิใจมากกว่าครั้งแรกเพราะนอกจากจะได้ให้ความรู้กับเพื่อนๆแล้ว เพื่อนๆยังสามารถได้สบู่กลับไปใช้ด้วย ที่สำคัญทำให้แกนนำได้รู้ว่าการวางแผนในการทำงานหรือการรู้จักแบ่งหน้าที่ ในการทำงานเป็นสิ่งที่เป็นพื้นฐานที่จะส่งผลทำให้การทำงานผ่านไปได้ด้วยดี แกนนำจะปรึกษาหารือและพูดคุยกันอยู่ตลอดไม่ว่าจะเป็นก่อนทำโครงการหรือหลังการทำโครงการ แกนนำจะมีการวางแผนการทำงานแบ่งหน้าที่กัน ทำในแต่ละส่วนและเมื่อเกิดความผิดพลาดหรืองานที่ออกมาไม่ประสบความสำเร็จเราก็จะมาร่วมกันแชร์ความรู้สึกและคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นและช่วยกันหาทางแก้ไข


สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมครั้งนี้ 

ด๊ะ : ในการทำกิจกรรมครั้งนี้ รู้สึกว่า ตัวเราเองจะต้องเรียนรู้อะไรหลายอย่างเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การเอาใจเขามาใส่ใจเรา และการจดบันทึกการดำเนินกิจกรรมที่สั้นและเข้าใจง่าย

กัง : การเข้าไปทำกิจกรรมในครั้งนี้ ได้สิ่งดีๆกลับมามากเลยค่ะ ได้เพื่อนใหม่ๆได้ความสนุกสนาน แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือได้ทักษะที่ดีๆไม่ว่าจะเป็นการ กล้าพูดมากขึ้นแต่ก็มีข้อบกพร่อง หรือจุดที่ควรแก้ไขค่ะคือการ วางแผนแบ่งหน้า ยังไม่ดีเท่าที่ควร

ดา : การเข้าไปครั้งนี้ ทำให้ต้องปรับตัวเองในด้านการพูด และต้องมีไวพริบเป็นอย่างมาก เพื่อความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ

มิง : การเข้าไปครั้งนี้รู้สึกดีขึ้นกว่าครั้งแรกต้องขอบคุณเพื่อนร่วมงานที่ให้กำลังใจดีมาก ทำให้เราพลัดดันตนเอง คิดที่จะดำเนินทำโครงการต่อไปและกลุ่มเป้าหมายก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีถึงแม้บ้างครั้งอาจท้อก็ตาม

ยี : รู้สึกได้ออกแรงกายแรงใจเพื่อนำพืชสมุนไพรที่ปลูก ที่หอ พาไปยังศูนย์ฝึกฯพร้อมกับกลุ่มเพื่อนๆ ทำให้รู้สึกลำบากในการย้ายพืชสมุนไพรเพราะกลุ่มแกนนำเองก็ไม่มียานพาหนะในการเดินทางที่เพียงพอ รู้สึกภูมิใจที่กลุ่มเป้าหมายมีความรับผิดชอบเป็นอย่างมาก

โค้ก : ได้เพื่อนใหม่ๆที่พร้อมจะกลับตัวเป็นคนดีและพร้อมที่ช่วยเหลือสังคม

­

กิจกรรมครั้งที่สี่ สาธิตการทำสบู่เหลวจากทองพันชัง และป้ายชื่อกลุ่มเป้าหมาย พร้อมตรวจเช็ดสมุดบันทึก แกนนำได้จัดประชุมวางแผนเพื่อแบ่งหน้าที่ได้ดังนี้

ดา : เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมทั้งหมด

ด๊ะ : เป็นผู้ประเมินและบันทึกการดำเนินกิจกรรมทั้งหมด

กัง : เป็นผู้ประสานงานในการดำเนินกิจกรรม

ยี,มิง : เป็นฝ่ายจัดหาวัสดุอุปกรณ์การทำสบู่และป้ายชื่อ

โค้ก : ผู้เก็บภาพในกิจกรรมทั้งหมด

­

หลังจากนั้นแกนนำได้สาธิตการทำสบู่เหลวจากทองพันชั่ง และป้ายชื่อกลุ่มเป้าหมาย พร้อมตรวจเช็คสมุด การเข้าไปครั้งนี้แกนนำต้องการให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเรียนรู้วิธีการทำสบู่เหลวจากสมุนไพรทองพันชังและเพื่อประเมินผลการใช้สบู่ของกลุ่มเป้าหมายจากสมุดบันทึกของแต่ละบุคคล ช่วงเช้าแกนนำได้สาธิตการทำสบู่เหลวจากทองพันชั่งและให้กลุ่มเป้าหมายทดลองทำสบู่ด้วยตนเอง รวมถึงให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรเพิ่มเติม จากนั้นแกนนำและกลุ่มเป้าหมาย30 คน ไปที่แปลงเกษตร เพื่อไปปักป้ายชื่อตามต้นสมุนไพรทองพันชัง ที่กลุ่มเป้าหมายดูแลรับผิดชอบของแต่ละบุคคลเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ แกนนำสังเกตเห็นได้ว่ากลุ่มเป้าหมายมีความรับผิดชอบต่อต้นสมุนไพรของตนเองเป็นอย่างมาก และยังไปช่วยดูแลต้นสมุนไพรของกลุ่มเพื่อนๆที่ติดธุระ เห็นได้ถึงความสามัคคีของกลุ่มเป้าหมายกันเอง แกนนำเห็นว่าการดำเนินกิจกรรมครั้งนี้เป็นไปด้วยดี ไม่มีอุปสรรค์ ช่วงบ่าย ระหว่างที่รอกลุ่มเป้าหมายรับประทานอาหารเที่ยงแกนนำได้บรรจุสบู่เหลวลงขวดเพื่อจะแจกให้กลุ่มเป้าหมาย เมื่อกลุ่มเป้าหมายมาถึงแกนนำจัดกิจกรรมสันทนาการเล็กน้อย เพื่อผ่อนคลายจากการเหนื่อยล้าของช่วงเช้าและเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง และความเป็นกันเองมากที่สุด จากนั้นแกนนำได้แจกสบู่เหลวที่ได้ทำในช่วงเช้าให้กับกลุ่มเป้าหมายได้ไปใช้ต่อและให้กลุ่มเป้าหมายบันทึกผลอย่างต่อเนื่อง


สิ่งที่แกนนำได้เรียนรู้จากกิจกรรมครั้งนี้ 

ดา : การได้เข้าไปครั้งนี้ ทำไห้รู้สึกกดดันเล็กน้อยกังวลว่าจะทำไม่ได้ แต่ด้วยความพยายามก็ผ่านไปได้ด้วยดี และเป็นกันเองมาก จนทำให้ความกังวลนั้นหายไป ความสนุกเข้ามาแทนที่ รู้สึกภูมิใจ ที่พวกเราสามารถผ่านมันได้

ด๊ะ : ในการเข้าไปทำกิจกรรมครั้งนี้ ตัวเองรู้สึกว่า กดดันมากๆ เกรงๆกลัวๆ เพราะการเข้าไปครั้งนี้พี่เลี้ยงไม่ได้เข้าไปพร้อมกับเราด้วย แต่พวกเราทุกคนก็สามารถทำกิจกรรมร่วมกัน อย่างเช่นช่วยกันปักป้ายชื่อช่วยจัดโต๊ะ จัดเก้าอี้ เพื่อนๆกลุ่มเป้าหมายมีความร่วมมืออย่างดีมาก ร่วมทั้งยังสามารถแก้ปัญหาได้จนมันผ่านไปด้วยดีค่ะ

กั้ง : การเข้าไปครั้งนี้ พวกเราจึงได้มีการวางแผนและกระบวนการไว้เป็นอย่างดีจึงทำให้ การทำงานงานเป็นไปได้ด้วยดีค่ะ

ยี : ได้นำป้ายที่ประดิษฐ์มาปักตามต้น แต่ละตนตามผู้ที่ดูแล จะได้แสดงถึงความเป็นเจ้าของที่ได้ดูแลแล้ว พืชที่นำเอามาให้เพื่อนๆปลูกนั้นได้ เจริญเติบโตขึ้นอย่างดี มีความสมบูรณ์ เกินกว่าที่พวกเราคาดไว้ พร้อมกับการสอนวิธีการทำสบู่และทบทวน

โค้ก : ได้ความสามัคคี คือได้จากความตั้งใจฟังในการที่กลุ่มพวกเราให้ความรู้และในการปลูกต้นไม้ เพื่อนๆ พี่ๆ จะช่วยกันปลูกจนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

มิง : พอเข้าไปครั้งที่สาม รู้สึกดีมาก เนื่องจากเรารู้จักเยาวชนดีแล้ว และได้พูดคุยสื่อสาร สร้างความสัมพันธ์และเยาวชนได้ความร่วมมือมาก ช่วยกันจัดของ อุปกรณ์ โต๊ะ เก้าอี้ ที่นี้ต้องขอบคุณครูจุ๋ม มากที่อำนวยความสะดวก แก่พวกเราและรู้สึกดีใจเป็นอย่างมาก การเข้าไปทำกิจกรรมครั้งนี้ เป็นกิจกรรมแรกที่พี่เลี้ยงไม่ได้เข้าไปร่วมกิจกรรมด้วยกัน ทำให้แกนนำรู้สึกกดดันเล็กน้อย แต่ในเมื่อหน้าที่อยู่ข้างหน้าทำให้แกนนำต้องพร้อมและเตรียมตัวก่อนเข้าไปเป็นอย่างมาก เมื่อเข้าไปแล้วทุกอย่างก็ราบรื่นแกนนำเริ่มจัดสถานที่ พร้อมเริ่มดำเนินการและทบทวนวิธีการทำสบู่เหลวจากทองพันชั่ง เพื่อให้เพื่อนๆกลุ่มเป้าหมายได้ทำสบู่ด้วยตนเองจากความรู้ที่แกนนำได้ถ่ายทอดความรู้ให้กับเพื่อนๆ

­

­

คุณค่าของการเรียนรู้

จากการทำโครงการครั้งนี้ แกนนำเยาวชนเล่าว่าการดำเนินโครงการทำให้แกนนำเกิดการเปลี่ยนแปลงมาก เช่น น้องกั้ง เล่าว่า ก่อนที่ตนเองจะมาทำโครงการตนเอง ไม่เข้าใจผู้อื่นทำอะไรก็ไม่ค่อยนึกต่อส่วนรวม ไม่กล้าแสดงออก ขี้อาย พูดไม่คิด ไม่ชอบทำอะไรที่เป็นทางการที่ต้องใช้ความละเอียดรอบคอบ แต่พอได้ทำโครงการรู้สึกว่าตนเองมีความรับผิดชอบมากขึ้น คิดก่อนพูดเสมอ กล้าแสดงออกมากขึ้น เข้าใจผู้อื่นมากขึ้นก่อนจะทำอะไรก็จะคิดก่อนเสมอว่าสิ่งที่ตนเองทำเพื่อส่วนรวมหรือไม่ถ้าสิ่งไหนทำเพื่อส่วนรวมตนเองก็จะเสียสละเวลามาทำเพื่อส่วนรวมก่อนจากกิจกรรมที่ทำร่วมกับเพื่อนๆกลุ่มเป้าหมาย และทุกครั้งที่ทำกิจกรรมจะคิดเสมอว่าในแต่ละหน้าที่มีความสำคัญพอๆกันและเอื้อต่อกันจึงทำให้เกิดความสำนึกต่อหน้าที่ของตนเองมากขึ้น


น้องดา ก่อนหน้านี้ตัวเองไม่มีความรับผิดชอบ เป็นคนที่ไม่ค่อยคิดอะไรมาก คิดตื้นๆคิดแบบไม่มีเหตุและผล ควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ไม่ดีเท่าที่ควร ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นไม่กล้าแสดงออก แต่พอมาทำโครงการรู้สึกว่าตัวเองมีความคิดเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น มีการพัฒนาด้านความคิด คิดอย่างมีเหตุมีผลก่อนจะทำอะไรต้องคิดให้ดีก่อนโดยวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดและเรียบเรียงลำดับเหตุการณ์ความสำคัญทำให้มีระบบคิดที่ดีขึ้น เพราะการเข้าไปในศูนย์ฝึกมีกฏระเบียบมากมายที่เราต้องเรียนรู้ และรู้สึกว่าตัวเองมีสมาธิและมีความเสียสละมากขึ้น ตนเองสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีกว่าเดิมและสามารถพูดให้กำลังใจผู้อื่นได้ กิจกรรมที่ทำให้ตนเองต้องเป็นคนตรงเวลา ซื่อสัตย์กับการทำงาน


น้องดะห์ ก่อนหน้านี้เป็นคนไม่กล้าที่ทำไม่กล้าที่คิดอะไรกลัวผิด แต่งานที่ทำนี้ทำให้ตัวเองมีความอดทนมากขึ้น รู้จักการรอคอย การระงับอารมณ์ เป็นคนระเอียดรอบคอบมากขึ้นจากการดูแลด้านการเงินของกลุ่ม ก่อนจะทำงานดูศักยภาพของตนเองก่อนว่าสามารถทำได้หรือไม่ สามารถคิดวิเคราะห์แยกแยะในความรับผิดชอบชั่วดีได้มากขึ้น โครงการที่ทำอยู่ทำตนเองอยากที่ช่วยเหลือผู้อื่น ช่วยเหลือสังคม


น้องยี ก่อนหน้านี้เป็นคนใจร้อน ไม่กล้าแสดงออก ไม่ค่อยแชร์ความคิดเห็นกับเพื่อนๆ แต่ตอนนี้งานที่ทำให้ให้ตนเองมองว่าความใจร้อนเป็นบ่อเกิดแห่งความผิดพลาดเพราะการทำกิจกรรมเราควรทำอย่างเต็มใจและใช้ความอดทน ถ้ารีบร้อนให้งานเสร็จเร็วงานก็ออกมาไม่ดี รู้จักรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนๆ พอมาทำโครงการรู้สึกว่าจะเข้าใจคนอื่นมากขึ้น ตนเองจะมองปัญหาที่ตนเหตุก่อนที่จะตัดสินแก้ไขปัญหานั้น และทำให้ตนเองกล้าแชร์ความคิดกับเพื่อนๆกล้าที่จะพูดต่อสาธารณะ 


น้องโค้ก แต่ก่อนเป็นคนไม่ค่อยพูด ไม่กล้าแสดงออก แต่พอทำโครงการนี้ที่ทำให้ตนเองกล้าที่แสดงออกมากขึ้นในการพุดคุย การคิดอย่างมีเหตุมีผล การทำงานรู้ว่าตัวเองถนัดในด้านฝ่ายสนับสนุน เช่น การปลูกต้นไม้ การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ นอกจากนี้แล้วการดำเนินงานโครงการ ทำให้แกนนำเยาวชนและสมาชิกในโครงการ ได้พูดคุยกันมากจนทำให้เข้าใจกันมากขึ้น มีการเชื่อมความสัมพันธ์กันเพื่อนๆกลุ่มเป้าหมายจนเกิดเป็นมิตรไมตรีต่อกัน


การทำงานเป็นทีม

แกนนำสะท้อนออกมาว่าเป็นการทำงานแบบพี่ แบบน้องในบางโอกาสก็ผลัดกันเป็นผู้นำผลัดกันเป็นผู้ตามขึ้นอยู่กับสถานการณ์ต่างๆและจะมีการหนุนเสริมเพื่อนๆเมื่อประเมินสถานการณ์ถ้าใครไม่ไหวจะมีเพื่อนเข้ามาช่วยหนุนเปรียบเสมือนมีรูพรุนคนที่ว่างจะเข้ามาช่วยเติมเต็มและปิดรูพรุนนั้นเสีย ทุกครั้งที่มีการทำกิจกรรมจะมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดก่อนและหลังทำกิจกรรม เมื่อพบข้อผิดพลาดจะช่วยกันแก้ไขและพุดคุยหาแนวทางแก้ไขต่อไป และสิ่งสำคัญที่ทำให้ทุกคนมีแรงเดินต่อมีแรงก้าวทำสิ่งดีๆคือกำลังใจภายในกลุ่ม ทำให้สมาชิกภายในกลุ่มสามัคคีกันมากขึ้นถึงแม้ว่าต่างคนจะต่างที่มาต่างศาสนาแต่เราก็สามารถอยู่ร่วมกันได้ การเข้าใจเขาเข้าใจเราทำให้แกนนำสามารถทำโครงการให้ไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ได้ แกนนำทุกคนได้ทดลองปลูกและแปรรูปสบู่สมุนไพรรวมถึงทดลองใช้ด้วยตนเอง ก่อนที่จะนำสบู่ที่กลุ่มผลิตขึ้นไปให้เพื่อนเยาวชนในศูนย์ฝึกฯทดลองใช้และติดตามผล หากได้ผลดีจึงจะนำความรู้ที่ได้เข้าไปส่งเสริมให้เพื่อนเยาวชนในศูนย์ฝึกฯทำแปลงปลูกพืชสมุนไพรทั้ง 2 ชนิดไว้ภายในสถานควบคุม เพื่อใช้แปรรูปเป็นสบู่รักษาโรคผิวหนัง แต่หากไม่ได้ผลทางกลุ่มจะดำเนินการศึกษาปรับปรุงและพัฒนาการใช้พืชสมุนไพรในการรักษาโรคดังกล่าวต่อไป

­

นี้คือการเปลี่ยนแปลงของแกนนำเยาวชนที่ค่อยๆเติบโตจากโครงการ Hero herb กลุ่ม Doctor กัมปง ซึ่งเป็นโครงการที่สามารถทำให้แกนนำเยาวชนและเพื่อนๆกลุ่มเป้าหมาย ได้เรียนรู้ระหว่างกัน ถึงแม้โครงการ Hero herb จะดำเนินการด้วยพลังกลุ่มนักศึกษาสองศาสนาที่หวังจะทำให้เพื่อนๆที่เป็นโรคผิวหนังหายทรมานจากอาการคัน ทุกครั้งที่รู้ว่าจะเข้าไปทำ

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ