โครงการเยาวชนรักษ์ป่าสักปี 2   (กลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าสัก จ.สระบุรี)
โครงการเยาวชนรักษ์ป่าสักปี 2 (กลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าสัก จ.สระบุรี)
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สรุปผลโครงการเยาวชนรักษ์ป่าสัก ปี 2 กลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าสัก จ.สระบุรี
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

การรวมตัวของนักเรียนที่มีแนวคิดในการนำแหล่งเรียนรู้ที่มีในชุมชนมาเป็นแหล่งเรียนรู้ จุดประกายโดยสองนักเรียน โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยสระบุรี จังหวัดสระบุรี ที่มีวิถีชีวิตใกล้ชิดกับแม่น้ำป่าสัก และได้สังเกตเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนริมแม่น้ำป่าสัก โดยปลาที่คนในชุมชนเลี้ยงไว้ในกระชังลอยตายเป็นจำนวนมาก ทั้งสองจึงเกิดความสงสัยว่า ทำไมปลาถึงตายมากมายอย่างนั้น จึงได้มาปรึกษาอาจารย์อารมณ์ เบสูงเนิน ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ จึงเกิดการพิสูจน์ตามหลักวิทยาศาสตร์ ด้วยการตรวจสอบคุณภาพน้ำบริเวณนั้นขึ้นในปี 2547 ผ่านกิจกรรมนักสืบสายน้ำ และนี่เอง เป็นที่มาของ โครงการเยาวชนรักษ์ป่าสักในวันนี้ จากนั้นจึงได้มีการร่วมกันวางแนวคิดเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ผสมผสานกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อปลูกฝังการอนุรักษ์ธรรมชาติ และขยายผลสู่วิถีพอเพียง

­

รายชื่อเยาวชนรักษ์ป่าสัก 2556


1.นางสาววรัญญา พาภักดี เลขานุการ

2.นายธนาธร เทสถนอม ผู้ช่วยเลขานุการ

3.นางสาวสุนทรี โหลสกุล เก็บรวบรวมข้อมูลคุณภาพน้ำและวิทยากรฐานคนรักษ์น้ำ

4.นางสาวธัญชนก โสภาคดิษฐ์

5.ดญ. ชญานุช เชื้ออ่อน

6.ดญ.ภัทราภรณ์ สุวรรณลักษณ์

7.ดญ.บุษยมาศ แสงอรุณ

8.ดญ.นฤมล เมืองแพน

9.ดญ.มณีนุช สุขวาสนะ

10.ดญ.ชนัญญา ประเสริฐ

11.ดญ.กนกรดา แก้วอ่อน

12.ดญ.กิตติมา โสป่าสัก

13.ดญ.จุฑาทิพย์ ธรรมสุทธิ

14.ดญ.กมลวรรณ ท้าวประสิทธิ์

15.ดญ.อารีรัตน์ เพชรรัตน์

16.ดญ.สิริกานดา มักอ้น

17.ดญ.ณัฐวิภา จิตภานิช

18.นางสาวธัญนพ โสภาคดิษฐ์

­

ข้อมูลพื้นที่ / ชุมชนที่ทำโครงการ


จังหวัดสระบุรีเป็นจังหวัดหนึ่งที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสักและมีแม่น้ำป่าสักไหลผ่านใจกลางเมืองและในอีก 5 อำเภอได้แก่ อำเภอวังม่วง อำเภอแก่งคอย อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเมือง และไหลไปสิ้นสุดเขตจังหวัดสระบุรีที่ ตำบลเริงราง อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี โดยมีระยะทางประมาณทั้งสิ้น 105 กิโลเมตร ถือว่าเป็นแหล่งน้ำหัวใจที่สำคัญของจังหวัดสระบุรีไหลผ่านชุมชนต่างๆ ชาวสระบุรีได้อาศัยใช้เป็นแหล่งน้ำอุปโภคบริโภค การเกษตร การอุตสาหกรรม การประมงและอื่นๆริมแม่น้ำป่าสักได้มีชุมชนขนาดใหญ่ต่างๆอาศัยอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก จึงถือได้ว่าแม่น้ำป่าสักเป็นแม่น้ำสายหลักในการดำรงชีวิตของคนในชุมชน และถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของพืช สัตว์ และที่สำคัญคือคนหรือชุมชนที่จำเป็นต้องใช้น้ำจากแม่น้ำป่าสัก ตั้งแต่พื้นที่ต้นน้ำซึ่งส่วนใหญ่จะดำเนินชีวิตในภาคเกษตรกรรม ส่วนพื้นที่กลางน้ำแวดล้อมไปด้วยพื้นที่อุตสาหกรรม สำหรับพื้นที่ปลายน้ำจะเป็นน้ำใช้สำหรับชุมชน ดังนั้น แม่น้ำป่าสักจึงมีความสำคัญ และแหล่งน้ำแห่งนี้ยังเป็นสิ่งที่สร้างความอุดมสมบูรณ์ต่อสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ หรือมนุษย์เรา มาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย

­

โจทย์ปัญหา และเหตุผลที่ทำโครงการ


สภาพของแม่น้ำป่าสักในปัจจุบันไม่ได้ใสสะอาดและมีอย่างเหลือเฟือเหมือนในอดีตอีกต่อไปแล้ว น้ำที่เราใช้อุปโภค บริโภค เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม บางครั้งจะเห็นได้ว่า น้ำขุ่น และมีกลิ่น แม่น้ำป่าสักในวันนี้แห้งขอดและเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็นส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตชุมชนริมฝั่งแม่น้ำที่ต้องพึ่งพาอาศัยน้ำกินน้ำใช้และเพื่อการเกษตรในแม่น้ำป่าสักจำนวนมาก ปัญหาหลักของแม่น้ำป่าสักเกิดขึ้นทุกปี เนื่องจากน้ำเน่า ปลาตาย แต่เราไม่สามารถบอกคุณภาพน้ำที่แท้จริงของสภาพน้ำที่เปลี่ยนไปได้ ส่งผลกระทบกับภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ภาคครัวเรือน ต้องขาดน้ำใช้ แม้ว่าจะมีการปรับปรุงคุณภาพแล้วก็ตาม ผลกระทบที่เกิดขึ้นเกิดจากการปล่อยทิ้งน้ำเน่าเสียและสารปนเปื้อนลงสู่แม่น้ำของโรงงานอุตสาหกรรมและ ชุมชนขนาดใหญ่ต่างๆอาศัยอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก ก็ยังมีส่วนที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อแม่น้ำป่าสักโดยเฉพาะในเรื่องของการปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำป่าสักด้วยเช่นกัน

­

เป้าหมายของโครงการ


1)นักเรียน โรงเรียน และชุมชนมีความเข้าใจต่อสถานการณ์คุณภาพน้ำแม่น้ำป่าสัก และมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง รักษาคุณภาพน้ำ

­

2)แม่น้ำป่าสักมีคุณภาพดี เหมาะสมที่นำไปใช้ในการอุปโภค ในพื้นที่จังหวัดสระบุรี และมีการติดตามอย่างเป็นระบบโดยกลุ่มเยาวชน

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

สรุปผลโครงการเยาวชนรักษ์ป่าสัก ปี 2 

กลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าสัก จ.สระบุรี


การรวมตัวของนักเรียนที่มีแนวคิดในการนำแหล่งเรียนรู้ที่มีในชุมชนมาเป็นแหล่งเรียนรู้ จุดประกายโดยสองนักเรียน โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยสระบุรี จังหวัดสระบุรี ที่มีวิถีชีวิตใกล้ชิดกับแม่น้ำป่าสัก และได้สังเกตเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนริมแม่น้ำป่าสัก โดยปลาที่คนในชุมชนเลี้ยงไว้ในกระชังลอยตายเป็นจำนวนมาก ทั้งสองจึงเกิดความสงสัยว่า ทำไมปลาถึงตายมากมายอย่างนั้น จึงได้มาปรึกษาอาจารย์อารมณ์ เบสูงเนิน ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ จึงเกิดการพิสูจน์ตามหลักวิทยาศาสตร์ ด้วยการตรวจสอบคุณภาพน้ำบริเวณนั้นขึ้นในปี 2547 ผ่านกิจกรรมนักสืบสายน้ำ และนี่เอง เป็นที่มาของ โครงการเยาวชนรักษ์ป่าสักในวันนี้ จากนั้นจึงได้มีการร่วมกันวางแนวคิดเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ผสมผสานกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อปลูกฝังการอนุรักษ์ธรรมชาติ และขยายผลสู่วิถีพอเพียง

­

รายชื่อเยาวชนรักษ์ป่าสัก 2556


1.นางสาววรัญญา พาภักดี เลขานุการ

2.นายธนาธร เทสถนอม ผู้ช่วยเลขานุการ

3.นางสาวสุนทรี โหลสกุล เก็บรวบรวมข้อมูลคุณภาพน้ำและวิทยากรฐานคนรักษ์น้ำ

4.นางสาวธัญชนก โสภาคดิษฐ์

5.ดญ. ชญานุช เชื้ออ่อน

6.ดญ.ภัทราภรณ์ สุวรรณลักษณ์

7.ดญ.บุษยมาศ แสงอรุณ

8.ดญ.นฤมล เมืองแพน

9.ดญ.มณีนุช สุขวาสนะ

10.ดญ.ชนัญญา ประเสริฐ

11.ดญ.กนกรดา แก้วอ่อน

12.ดญ.กิตติมา โสป่าสัก

13.ดญ.จุฑาทิพย์ ธรรมสุทธิ

14.ดญ.กมลวรรณ ท้าวประสิทธิ์

15.ดญ.อารีรัตน์ เพชรรัตน์

16.ดญ.สิริกานดา มักอ้น

17.ดญ.ณัฐวิภา จิตภานิช

18.นางสาวธัญนพ โสภาคดิษฐ์

­

ข้อมูลพื้นที่ / ชุมชนที่ทำโครงการ


จังหวัดสระบุรีเป็นจังหวัดหนึ่งที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสักและมีแม่น้ำป่าสักไหลผ่านใจกลางเมืองและในอีก 5 อำเภอได้แก่ อำเภอวังม่วง อำเภอแก่งคอย อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเมือง และไหลไปสิ้นสุดเขตจังหวัดสระบุรีที่ ตำบลเริงราง อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี โดยมีระยะทางประมาณทั้งสิ้น 105 กิโลเมตร ถือว่าเป็นแหล่งน้ำหัวใจที่สำคัญของจังหวัดสระบุรีไหลผ่านชุมชนต่างๆ ชาวสระบุรีได้อาศัยใช้เป็นแหล่งน้ำอุปโภคบริโภค การเกษตร การอุตสาหกรรม การประมงและอื่นๆริมแม่น้ำป่าสักได้มีชุมชนขนาดใหญ่ต่างๆอาศัยอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก จึงถือได้ว่าแม่น้ำป่าสักเป็นแม่น้ำสายหลักในการดำรงชีวิตของคนในชุมชน และถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของพืช สัตว์ และที่สำคัญคือคนหรือชุมชนที่จำเป็นต้องใช้น้ำจากแม่น้ำป่าสัก ตั้งแต่พื้นที่ต้นน้ำซึ่งส่วนใหญ่จะดำเนินชีวิตในภาคเกษตรกรรม ส่วนพื้นที่กลางน้ำแวดล้อมไปด้วยพื้นที่อุตสาหกรรม สำหรับพื้นที่ปลายน้ำจะเป็นน้ำใช้สำหรับชุมชน ดังนั้น แม่น้ำป่าสักจึงมีความสำคัญ และแหล่งน้ำแห่งนี้ยังเป็นสิ่งที่สร้างความอุดมสมบูรณ์ต่อสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ หรือมนุษย์เรา มาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย

­

โจทย์ปัญหา และเหตุผลที่ทำโครงการ


สภาพของแม่น้ำป่าสักในปัจจุบันไม่ได้ใสสะอาดและมีอย่างเหลือเฟือเหมือนในอดีตอีกต่อไปแล้ว น้ำที่เราใช้อุปโภค บริโภค เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม บางครั้งจะเห็นได้ว่า น้ำขุ่น และมีกลิ่น แม่น้ำป่าสักในวันนี้แห้งขอดและเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็นส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตชุมชนริมฝั่งแม่น้ำที่ต้องพึ่งพาอาศัยน้ำกินน้ำใช้และเพื่อการเกษตรในแม่น้ำป่าสักจำนวนมาก ปัญหาหลักของแม่น้ำป่าสักเกิดขึ้นทุกปี เนื่องจากน้ำเน่า ปลาตาย แต่เราไม่สามารถบอกคุณภาพน้ำที่แท้จริงของสภาพน้ำที่เปลี่ยนไปได้ ส่งผลกระทบกับภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ภาคครัวเรือน ต้องขาดน้ำใช้ แม้ว่าจะมีการปรับปรุงคุณภาพแล้วก็ตาม ผลกระทบที่เกิดขึ้นเกิดจากการปล่อยทิ้งน้ำเน่าเสียและสารปนเปื้อนลงสู่แม่น้ำของโรงงานอุตสาหกรรมและ ชุมชนขนาดใหญ่ต่างๆอาศัยอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก ก็ยังมีส่วนที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อแม่น้ำป่าสักโดยเฉพาะในเรื่องของการปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำป่าสักด้วยเช่นกัน

­

เป้าหมายของโครงการ


1)นักเรียน โรงเรียน และชุมชนมีความเข้าใจต่อสถานการณ์คุณภาพน้ำแม่น้ำป่าสัก และมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง รักษาคุณภาพน้ำ

­

2)แม่น้ำป่าสักมีคุณภาพดี เหมาะสมที่นำไปใช้ในการอุปโภค ในพื้นที่จังหวัดสระบุรี และมีการติดตามอย่างเป็นระบบโดยกลุ่มเยาวชน

­

กระบวนการทำงานของกลุ่มเยาวชนในการแก้ไขปัญหาหรือดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน


ในโครงการฯ ทางกลุ่มได้กำหนด พื้นที่ดำเนินการ ดังนี้

1)สถานีตรวจสอบคุณภาพน้ำ จากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ – ท่าน้ำวัดพะเยาว์ แบ่งออกเป็น 4 สถานี ดังนี้

­

ต้นน้ำ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

พื้นที่การเกษตร อบต.ท่าคล้อ (จากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ – อบต.ท่าคล้อ อ.แก่งคอย)

­

พื้นที่อุตสาหกรรม วัดท่าพง (จาก อ.แก่งคอย – อ.เมือง)

­

พื้นที่ชุมชนเมือง วัดพะเยาว์ (จาก อ.เมือง – อ.เสาไห้)

­

2) โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สระบุรี “จัดทำแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ”

­

กิจกรรมติดตามเฝ้าระวังคุณภาพน้ำแม่น้ำป่าสักในพื้นที่จังหวัดสระบุรี


เพื่อติดตามเฝ้าระวังคุณภาพน้ำแม่น้ำป่าสักในพื้นที่จังหวัดสระบุรี และมีการติดตามอย่างเป็นระบบ โดยกลุ่มเยาวชน ดำเนินการตรวจวัดติดตามคุณภาพน้ำ ตั้งแต่ 1 กันยายน 2556 – 30 มิถุนายน 2557 ตามขั้นตอนดังนี้

­

1)ศึกษาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ของเส้นทางการสำรวจคุณภาพน้ำแม่น้ำป่าสัก

­

2)ประชุมวางแผนการติดตามคุณภาพน้ำ และแบ่งพื้นที่ในการสำรวจออกเป็น 4 สถานี คือ พื้นที่ต้นน้ำ พื้นที่การเกษตร พื้นที่อุตสาหกรรม และพื้นที่ชุมชนเมือง

­

3)ลงสำรวจตรวจวัดคุณภาพน้ำ 8 พารามิเตอร์ ทั้งด้านกายภาพ ชีวภาพ และเคมี

­

4)สรุปประมวลผลคุณภาพน้ำ

­

ซึ่งข้อมูลคุณภาพน้ำที่กลุ่มเยาวชนได้ศึกษามานั้น นักเรียน โรงเรียน และชุมชน สามารถนำไปใช้เป็นฐานข้อมูลในการปรับปรุงคุณภาพน้ำ

­

หลังจากที่กลุ่มได้ข้อมูลคุณภาพน้ำมาแล้ว ก็ได้ร่วมกันวางแผนดำเนินการในขั้นตอนของการ แก้ไขคุณภาพน้ำเบื้องต้น ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2556 – 30 พฤษภาคม 2557 โดยได้ศึกษาหาความรู้ และทดลอง เกี่ยวกับการใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย จากนั้นก็ได้ลงมือจัดทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ชีวภาพชนิดน้ำและชนิดก้อน จากนั้นนำหัวเชื้อจุลินทรีย์ชีวภาพไปใช้ในการแก้ไขคุณภาพน้ำในพื้นที่ที่เกิดปัญหาน้ำเน่าเสีย สุดท้ายทีมเยาวชนลงพื้นที่ชุมชน ให้ความรู้ และสาธิต วิธีการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆซึ่งเป็นมิตรแก่สิ่งแวดล้อมให้แก่คนในชุมชน เพื่อช่วยรักษาคุณภาพน้ำ และเห็นผลคือ มีหัวเชื้อจุลินทรีย์ชีวภาพชนิดน้ำ และชนิดก้อนที่นำไปใช้ในการแก้ไขคุณภาพน้ำในพื้นที่ที่เกิดปัญหาน้ำเน่าเสีย ได้ทันที

ในเขตพื้นที่ของสถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำ สมาชิกในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจสถานการณ์น้ำและเข้าใจวิธีการบำบัดและแก้ปัญหาน้ำเสียมากขึ้นจากข้อมูลคุณภาพน้ำ เพื่อนำไปต่อยอดในการดูแล รักษาระดับคุณภาพน้ำให้ดียิ่งขึ้น

­

สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อสถานการณ์คุณภาพน้ำแม่น้ำป่าสัก


จากกิจกรรมคืนข้อมูลสู่ชุมชน ที่ใช้วิธีเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และ รายงานผลคุณภาพน้ำ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อสถานการณ์คุณภาพน้ำแม่น้ำป่าสัก โดยในวันที่ 1 กันยายน 2556 – 31 พฤษภาคม 2557 กลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าสัก ร่วมกับ สระบุรี เคเบิลทีวี, หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์, หนังสือพิมพ์มติชน, หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น จัดทำเอกสารและป้ายรายงานสรุปผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำแม่น้ำป่าสัก สำหรับนำเสนอข้อมูลให้สำนักงานสิ่งแวดล้อมจังหวัดสระบุรี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สื่อมวลชนท้องถิ่นจากนั้นได้ ประสานกับชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมเพื่อหาวิธีการหรือมาตรการในการอนุรักษ์แม่น้ำป่าสัก

ต่อเนื่องมายังการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ที่กำหนดกรอบการจัดฐานการเรียนรู้ในแหล่งเรียนรู้(เพิ่มเติม) ได้แก่ ฐานโซล่าเซลล์, ฐานการทำสบู่เหลว และ ฐานแชมพูสมุนไพร เพื่อเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ให้กับนักเรียน และชุมชน มุ่งเน้นการขยายองค์ความรู้สู่ชุมชน และท้องถิ่น โดยการจัดทำศูนย์การเรียนรู้ “การติดตาม และบำบัดน้ำ” ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2556 – 30 พฤษภาคม 2557 โดย กลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าสัก และ นักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สระบุรี ผลที่เกิดขึ้นตามมา โรงเรียนและชุมชนมีแหล่งเรียนรู้ ในเรื่องการติดตามและการบำบัดน้ำในโรงเรียน และชุมชนได้เรียนรู้กระบวนการมีส่วนร่วมเฝ้าระวังและตรวจวัดคุณภาพน้ำ และการบำบัดแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสีย

­

ขยายผลองค์ความรู้ ทักษะกระบวนการติดตามคุณภาพน้ำ และสร้างเครือข่ายการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำแม่น้ำป่าสักสู่เยาวชนในโรงเรียน 6 โรงเรียน


จัดกิจกรรมให้ความรู้การตรวจวัดคุณภาพน้ำ และวิธีการบำบัดน้ำกับเยาวชนในโรงเรียน, โรงเรียน เครือข่าย และชุมชนเครือข่าย เพื่อขยายผลองค์ความรู้ ทักษะกระบวนการติดตามคุณภาพน้ำ และสร้างเครือข่ายการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำแม่น้ำป่าสัก

­

กิจกรรมค่ายพอเพียง ในวันที่ 1 กันยายน 2556 – 30 มิถุนายน 2557 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ดังนี้ นักเรียนในโรงเรียนสวนกุหลาบ สระบุรี ชั้น ม.2 ,3 จำนวน 120 คน มีการวางแผนขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้

­

1) ประชุมวางแผน

­

2) กำหนดกรอบการการเรียนรู้

­

3) จัดฐานการเรียนรู้ ดังนี้ - ฐานการตรวจสอบคุณภาพน้ำ

­

- ฐานการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ชีวภาพชนิดน้ำ

­

- ฐานการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ชีวภาพชนิดก้อน

­

- ฐานวิธีการบำบัดน้ำ

­

- ฐานคนมีน้ำยา (สบู่ แชมพู น้ำยาเอนกประสงค์)

­

ผลจากการจัดค่ายในครั้งนี้ นักเรียนที่เข้าร่วม ได้เรียนรู้วิธีการบำบัดน้ำเน่าเสียในครัวเรือน ร่วมเรียนรู้ และลงมือทำน้ำหมักจุลินทรีย์ เพื่อนำไปเป็นส่วนผสมในการทำน้ำยาเอนกประสงค์ใช้ในโรงเรียนและครอบครัวของตนเอง เป็นการเริ่มปลูกฝังการบำบัดน้ำจากตนเอง ที่บ้านก่อน

­

อีกกิจกรรมที่ร่วมกับชุมชน ครัวเรือนร่วมรักษ์น้ำอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2556 และ เดือนมิถุนายน 2557 โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีดังนี้

­

- เครือข่ายชุมชนวัดท่าช้างใต้

­

- เครือข่ายชุมชนโคกเพ็ก

­

- เครือข่ายชุมชนกุดนกเปล้า

­

- เครือข่ายชุมชนวัดท่าวัว

­

ขั้นตอนการดำเนินการ มีดังนี้

­

1) แบ่งปันหัวเชื้อจุลินทรีย์ชีวภาพให้กับชุมชนเพื่อนำไปใช้ในการแก้ปัญหาน้ำเสียในชุมชน

­

2) ขยายผลวิธีการทำน้ำหมักจุลินทรีย์ การทำน้ำยาเอนกประสงค์ สบู่เหลว แชมพู ให้กับนักเรียนและชุมชน

­

3) ติดตามการใช้น้ำหมักและน้ำยาเอนกประสงค์ สู่เหลว และแชมพูในครัวเรือนร่วมรักษ์น้ำ

­

4) ตรวจวัด/ประเมินผลคุณภาพน้ำในบริเวณครัวเรือนร่วมรักษ์น้ำ

­

จากการจัดกิจกรรมมีเสียงตอบรับจาก เครือข่ายครอบครัวชุมชนในระดับที่น่าพอใจ และให้ความสนใจในการจัดทำน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพ การทำน้ำยาเอนกประสงค์ สบู่สมุนไพร และแชมพูสมุนไพร เป็นอย่างมาก ถือได้ว่าประสบความสำเร็จในก้าวแรกของการเริ่มบำบัดน้ำจากครัวเรือน ก่อนไหลลงสู่แม่น้ำ และแหล่งน้ำต่างๆในชุมชน

ในช่วงระยะเวลา เดือนพฤศจิกายน 2556 และเดือนมีนาคม 2557 กลุ่มเยาวชนได้จัดอบรมให้ความรู้การเฝ้าระวังคุณภาพน้ำสู่โรงเรียนเครือข่าย และชุมชนเป้าหมาย ให้กับ นักเรียนแกนนำในโรงเรียนเครือข่าย กลุ่มรักษ์วารี รร.เสาไห้ (วิมลวิทยานุกูล) และ โรงเรียนวัดท่าวัว โดยได้เชิญเข้าร่วมกิจกรรมอบรมเป็นฐานการเรียนรู้ ดังนี้

­

- ฐานการตรวจสอบคุณภาพน้ำ

­

- ฐานการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ชีวภาพ

­

- ฐานคนมีน้ำยา (สบู่ แชมพู น้ำยาเอนกประสงค์)

­

- คนรักแผ่นดิน

­

- ความหลากหลายทางชีวภาพ

­

จากการจัดอบรมในครั้งนี้ ทำให้เกิดเครือข่ายเฝ้าระวังคุณภาพน้ำบริเวณแม่น้ำป่าสักที่ไหลผ่านจังหวัดสระบุรีเพิ่มขึ้น โดยกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายได้รับความรู้ แนวคิด และจิตสำนึกในการช่วยกันเฝ้าระวัง และรักษ์น้ำ อีกทั้งสามารถนำไปขยายผลทำกิจกรรมในโรงเรียน และชุมชนใกล้เคียงของตนเองได้ ส่งผลให้ความร่วมมือของชุมชนริมฝั่งน้ำ และชุมชนมีผลต่อแม่น้ำป่าสักนั้นขยายออกไปในวงกว้าง

­

ปัญหา/อุปสรรค และแนวทางการแก้ไข


1.การประสานงานระหว่างครูที่ปรึกษา พี่ๆและสมาชิกใหม่ การแก้ไข ประชุมทำความเข้าใจเพื่อร่วมกันวางแผนการเพื่อให้การทำกิจกรรมครอบครัวรักษ์น้ำดำเนินไปอย่างมีคุณภาพ

­

ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ


1.ผลต่อชุมชนเป้าหมาย / ชุมชนใกล้เคียง (คุณภาพชีวิต, กระบวนการเรียนรู้ของชุมชน, ความร่วมมือ)

·เยาวชนบางส่วนนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในครัวเรือน ส่งต่อความรู้ถึงครอบครัว รู้จักวิธีการในการใช้น้ำอย่างมีคุณภาพ เช่น การใช้น้ำยาเอนกประสงค์ การใช้น้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพในการบำบัดน้ำ

·ชุมชนสนใจในการร่วมเป็นเครือข่ายรักษ์น้ำมากขึ้น เช่น ชุมชนยุคลธร อำเภอเมือง ชุมชนวัดท่าวัว อ.เฉลิมพระเกียรติ ชุมชนท่าช้างใต้ อ.เสาไห้ จังหวัดสระบุรี ชุมชนกุดนกเปล้า อ.เมือง สระบุรี ชุมชนวัดโคกเพ็ก อ.เมือง สระบุรี และเครือข่ายครอบครัวกลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าสัก ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ หลังจากที่ กลุ่มเยาวชนได้ส่งผ่านข้อมูลในหลาย ๆ มิติ เช่น การส่งข้อมูลให้กับชุมชนโดยตรง การส่งผ่านข้อมูลให้กับภาคีภาครัฐ การส่งผ่านข้อมูลผ่านสื่อมวลชน และการส่งผ่านข้อมูลผ่านกลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าสัก

­

·แม่เหล็กสำคัญ ที่วางแผนเพื่อดึงดูดความสนใจจากชุมชน โดยกลุ่มเยาวชนได้ร่วมกันจัดทำแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงภายในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สระบุรี และได้ดำเนินการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ชีวภาพ เพื่อบริการแก่ชุมชนที่สนใจโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ และยังเปิดโอกาสให้ชุมชนที่สนใจในการจัดทำหัวเชื้อจุลินทรีย์เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโรงเรียนได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังได้จัดทำน้ำยาอเนกประสงค์ สบู่สมุนไพร และแชมพูสมุนไพร ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไว้จำหน่ายให้กับสมาชิกและผู้สนใจ ตลอดจนนำไปแนะนำให้กับชุมชนที่ครัวเรือนรักษ์น้ำ และส่งจำหน่ายที่ร้านค้าสวัสดิการโรงเรียนอีกด้วย

­

·กลุ่มเยาวชนได้รับความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายเป็นอย่างดี ในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ดำเนินการทั้งภาครัฐ ภาคชุมชน ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม และภาคสื่อมวลชน นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนในการประชาสัมพันธ์จากหนังสือพิมพ์ สถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น และสถานีวิทยุท้องถิ่นในการประชาสัมพันธ์ข้องมูลด้านการตรวจสอบคุณภาพน้ำ และวิธีการจัดการน้ำระดับชุมชน

­

·การเข้าถึงชุมชนในช่วงแรก ไม่ได้รับความสนใจ จึงต้องใช้วิธีการเข้าหาผู้นำชุมชน เช่น อาจารย์, ผู้ใหญ่บ้าน หรือ ท่านเจ้าอาวาส ให้เป็นอีกแรงในการกระตุ้นชุมชนให้เห็นความสำคัญของกิจกรรมที่จัดขึ้น

­

2.ผลต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

­

·ชุมชนตื่นรู้ในเรื่องการช่วยกันในการร่วมมือร่วมใจในการรักษ์แม่น้ำสายหลักของจังหวัดสระบุรีในฐานคน ต้นน้ำ ฐานะผู้ใช้น้ำ ทำให้เกิดกิจกรรมจิตอาสา เกิดกิจกรรมระดับชุมชนมากขึ้น ในการอนุรักษ์ แม่น้ำป่าสัก ให้เป็นแม่น้ำสวย น้ำใส ปลาชุกชุม ชุมชนมีความสุข ต่อไป

­

3.ผลต่อการขยายเครือข่ายการทำงาน

­

·ในด้านของการขยายเครือข่าย กลุ่มเยาวชนมีเครือข่ายที่มีความรู้ ความสามารถ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สามารถสร้างเครือข่ายเพื่อเผยแพร่ความรู้กับเพื่อนผ่านกิจกรรมสนใจ ในโรงเรียน ในรูปแบบกิจกรรมชุมนุมวิทยาศาสตร์ กิจกรรมจิตอาสา และเครือข่ายสิ่งแวดล้อม และโรงเรียนมีผู้สนใจเข้ารวมกลุ่มเยาวชนเพิ่มขึ้น มีผู้สนใจในการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เช่น โรงเรียน เสาไห้ (วิมลวิทยานุกูล) ชุมชนท่าช้างใต้ อ.เสาไห้ จ.สระบุรี ชุมชนวัดท่าวัว ชุมชนโคกเพ็ก ชุมชนกุดนกเปล้า อ.เมือง สระบุรี

­

ปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดความสำเร็จ / ล้มเหลว


1.การประสานงานระหว่างครูที่ปรึกษา พี่ ๆ กลุ่มเยาวชนกับกลุ่มเยาวชนที่เพิ่งเข้าร่วมกิจกรรมในการสร้างเครือข่ายครอบครัวรักษ์น้ำ

­

2.การบริหารเวลา ของพี่ ๆ กลุ่มเยาวชน เนื่องจาก เป็นกลุ่มนักเรียนที่ทำกิจกรรมที่มีคุณภาพ จึงทำให้ได้รับมอบหมายจากคุณครูสาระ อื่น ๆ จนกระทั่งเกิดภาระงานมาก

­

คุณค่าจากการทำโครงการ


·ชอบกิจกรรมตอนที่ไปเข้าค่ายที่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ที่มีกิจกรรมตรวจวัดคุณภาพน้ำ และได้ความรู้มากขึ้นคือการตรวจหาค่าดีโอ ความเปลี่ยนแปลงของน้ำซึ่งได้เอาไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่โดยการทำวิธีการปรับใช้ตรวจวัดคุณภาพน้ำในคลองของชุมชนเรา แต่สิ่งที่ทำได้ดี แต่สิ่งเปลี่ยนแปลงคือการเปลี่ยนแปลงน้ำเสียด้วยการทำน้ำจุลินทรีย์เพื่อบำบัดน้ำให้ดีขึ้น

­

·ประทับใจกลุ่มเพื่อนๆ ที่ได้เข้าร่วมทำกิจกรรมด้วยกัน เพราะตอนที่อยู่โรงเรียนก็ไม่เคยได้รู้จักกันมากก่อน แต่เมื่อได้มาทำโครงการนี้ทำให้ได้ร่วมกันทำงานร่วมกันมากขึ้น และเพื่อนๆ มักจะคอยสอบถามตลอดเวลาว่ามีอะไรให้ช่วยก็ให้บอกเพื่อนเพื่อนพร้อมที่จะช่วยทำโครงการของเรา

­

·ประทับใจในสิ่งที่ตัวเองทำเพราะมีคนเห็นและเข้ามาชมการทำงานของพวกเรา และเป็นกำลังใจให้กับพวกเราให้ทำงานต่อไป

­

·รู้สึกถึงตัวเองที่เปลี่ยนแปลงไป คือ การกล้าแสดงออก การที่จะพูดหน้าที่ชุมชนมากขึ้น กล้าที่จะแสดงละครให้ผู้อื่นชม และเข้าร่วมกลุ่มชมรมในโรงเรียนและชุมชนมากขึ้น

·ประทับใจน้องๆ เยาวชนที่เข้าร่วมและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมของเราตลอดโครงการ

­

อนาคตที่อยากทำต่อ


·ขยายความรู้ให้กับรุ่นน้องในกลุ่มเยาวชน เพื่อสานต่อ และเป็นแกนนำเยาวชนในรุ่นต่อๆไป

­

·สร้างเครือข่ายและขยายผล โดยให้แกนนำสร้างเครือข่ายเพื่อเผยแพร่ความรู้กับเพื่อนผ่านกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ได้สมาชิกเพิ่มขึ้น ได้เรียนรู้การเฝ้าระวัง และวิธีการแก้ปัญหาน้ำเสียผ่านแหล่งเรียนรู้ สู่การแก้ปัญหาน้ำอย่างยั่งยืน

­

·จากผลที่ได้ดำเนินการมา เห็นว่าการแบ่งปันความรู้สู่ชุมชน และเครือข่าย นั้นประสบความสำเร็จ เป็นรูปธรรม ชัดเจน และได้รับการยอมรับ ต่อไปน่าจะจัดให้มีการขยายฐานความรู้ให้เยาวชน และชุมชน ครอบคลุมพื้นที่ลุ่มแม่น้ำป่าสัก ต่อไป

­

.......................................................................................

­

การเรียนรู้ของแกนนำเยาวชน

นางสาววรัญญา พาภักดี (โบ ) อายุ 16 ปี

กำลังศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โปรแกรมวิทย์-คณิต โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สระบุรี

­

“แรงบันดาลใจครูอารมณ์เป็นต้นแบบในการอนุรักษ์รักษาทรัพยากรน้ำ เป็นต้นแบบในการดำเนินชีวิต การใช้ชีวิตอยู่บนพื้นฐานของความพอเพียง คอยสอนและปลูกฝังให้รู้ถึงคุณค่าของน้ำและสิ่งแวดล้อม และอยากบอกต่อ บอกเล่าข้อมูลต่างๆ ที่เรามีให้กับบุคคลอื่นได้รับรู้ เพื่อร่วมกันอนุรักษ์น้ำและทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ ให้อยู่กับเราไปนานๆ”

โบ มีบทบาทหน้าที่ ตรวจสอบเฝ้าระวังคุณภาพน้ำและให้ข้อมูลเรื่องการตรวจสอบคุณภาพน้ำ

­

ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ (การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง ความสุข ฯ)


ก่อนที่ได้มาเข้าร่วมโครงการ ยังไม่มีความรู้ในเรื่องของสิ่งแวดล้อม หรือจิตสำนึกในเรื่องของการอนุรักษ์ เนื่องจากไม่ได้สัมผัสกับปัญหาของน้ำโดยตรง และไม่สามารถทำผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในครัวเรือน เช่น น้ำยาล้างจาน น้ำยาเอนกประสงค์ หรือยาสระผมที่ปลอดสารเคมีใช้เองได้ กระทั่งได้เข้าร่วมโครงการ ได้เรียนรู้ และปฏิบัติ จนสามารถจัดกิจกรรมในค่ายและให้ความรู้เกี่ยวกับการทำผลิตภัณฑ์ใช้เองในครัวเรือน ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแก่ผู้ที่มารับการอบรม ได้มีโอกาสแบ่งปันความรู้เรื่องน้ำ เศรษฐกิจพอเพียง

นอกจากนั้น สิ่งที่เปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน จากที่ไม่กล้าแสดงออกตามที่ชุมชน ไม่มีวิธีการคิดและการแก้ปัญหาที่เป็นระบบ ขาดทักษะในการทำงานและการอยู่ร่วมกันผู้อื่นการหมั่นเพียรหาความรู้ และฝึกฝนจนมีทักษะการพูดในชุมชนที่ดีขึ้น อีกทั้งยังได้เรียนรู้วิธีการทำงานเป็นกลุ่ม และรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน มีความเป็นผู้นำ กล้าแสดงความคิดเห็นมากขึ้น ได้ศึกษากระบวนการค้นหาคำตอบทางวิทยาศาสตร์ และทักษะของการสังเกตและการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ


********



นางสาวสุนทรี โหลสกุล (ตัง)อายุ 15 ปี

กำลังศึกษา ม.ต้น ร.ร.สวนกุหลาบวิทยาลัย สระบุรี

­

“มีครูอารมณ์เป็นแรงบันดาลใจ ในการกล้าที่จะทำงานสิ่งแวดล้อม จากเด็กที่ไม่มีความรู้ กลับเป็นคนที่สามารถให้ความรู้ได้”


ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ (การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง ความสุข ฯ)


ก่อนที่ได้เข้าร่วมโครงการนั้นยังไม่มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลน้ำ ไม่สามารถให้ข้อมูลได้ชัดเจน ขาดทักษะในการทำงานที่เป็นระบบ หลังจากที่ได้มาเรียนรู้ ลงมือทำ กับโครงการก็ได้มีส่วนร่วมในการคิด ศึกษาวิธีตรวจ สังเกต วิเคราะห์ และเก็บข้อมูล คุณภาพน้ำ มีโอกาสได้ฝึกพูดและได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ทำให้ได้ฝึกการทำงานเป็นระบบไปในตัว การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น คือมีวินัยในการทำงานและรับผิดชอบมากเดิม

­

********

นายธนาธร เทศถนอม (บอส) อายุ 15 ปี

กำลังศึกษา ม.ต้น ร.ร.สวนกุหลาบวิทยาลัย สระบุรี

­

“แรงบันดาลใจคือในหลวง เพราะท่านเป็นตัวอย่างที่ดี ท่านเป็นคนที่ปูทางที่ดีแล้วเราก็แค่เดินตามอย่างถูกวิธี และต่อยอดต่อไป และครูอารมณ์ เพราะเป็นมากกว่าครู เพราะครูเป็นคนที่สอนทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเรียน เรื่องการอยู่ในสังคม และเรื่องโครงการนี้ด้วย”


********

เด็กหญิงจุฑาทิพย์ ธรรมสุทธิ (ออย)อายุ 14 ปี

กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยสระบุรี

­

“แรงบันดาลใจที่มาทำคือ เห็นรุ่นพี่ทำโครงการแล้วน่าสนใจ สนุกสนาน ก็เลยลองเข้ามาในกลุ่ม ได้ตรวจสอบคุณภาพน้ำเพื่อเฝ้าระวังคุณภาพของแม่น้ำป่าสัก”


ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ (การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง ความสุข ฯ)


จากที่ไม่เคยได้มีความรู้เรื่องการจัดการน้ำ ไม่เคยได้คำนึงถึงความสำคัญของน้ำ ที่มีต่อตัวเราเอง ต่อครอบครัว และชุมชน การใช้น้ำแบบที่ไม่เคยมีความรู้อาจส่งผลให้กับป

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ