กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สรุปผลโครงการสายล่อฟ้า Top Ten Life กลุ่ม PP. พิทักษ์โลก จ.ขอนแก่น
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

กลุ่ม P.P. พิทักษ์โลก มาจากการรวมตัวของนักเรียน ชั้น 4-6 โรงเรียนพลพัฒนาศึกษา ซึ่งอาศัยอยู่ใน 5 หมู่บ้านในตำบลหนองแวงนางเบ้า ซึ่งใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนมีพื้นที่กว่า 200 ไร่เศษ กลุ่มเยาวชนสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของป่าชุมชนแห่งนี้ซึ่งอยู่ข้างโรงเรียน ว่ามีคนมาตัดไม้จากป่ามากขึ้น เก็บเห็ดและของป่ามากขึ้น มีขยะมาทิ้งและบางครั้งก็มีการเผาขยะจนเกิดไฟลุกไหม้กลายเป็นไฟป่า มีรถดูดส้วมมาปล่อยอุจาระทิ้งในพื้นที่ป่า มีการใช้สารเคมีในการทำไร่ ทำนา รอบๆติดกับป่า ทำให้ป่าที่เคยอุดมสมบูรณ์กลับมีสภาพที่เสื่อมโทรมมากขึ้นทุกปี และแม้ว่าชุมชนจะจัดกิจกรรมปลูกป่าทดแทนเมื่อ 1-2 ปี ที่ผ่านมา (200 ต้น) แต่ขาดการกลับไปดูแลรักษา ทำให้มีต้นไม้ที่เหลือรอดอยู่น้อยมาก ประมาณแค่ 10-20 ต้น ซึ่งไม่สมดุลกับปริมาณของต้นไม้ที่ถูกตัดไปมากกว่าในแต่ละปี จึงทำให้กลุ่มเยาวชนคิดทำโครงการสายล่อฟ้า Top Ten Life และชวนเพื่อนๆในโรงเรียน นักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา 4 แห่ง ผู้ใหญ่ในชุมชนมาร่วมกันศึกษาคุณค่าและความสำคัญของป่า ช่วยกันฟื้นฟูและดูแลป่าชุมชนให้กลับมาเป็นป่าที่สมบูรณ์ดังเดิม


รายชื่อสมาชิกกลุ่มเยาวชน


1.นางสาวรัตนาภรณ์ ขวัญทอง หัวหน้ากลุ่มและฝ่ายแผนงาน


2.นางสาวจริญา ชาเนตร หัวหน้าฝ่ายการเงิน-บัญชี และเลขานุการ


3.นางสาวประภัสสร ศรีบุญเรือง หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์และประสานงาน


4.นายนพชัย เคนไธสง หัวหน้างานโสตทัศนูปกรณ์และแผนงานและเป็นผู้ประสานงาน

กลุ่มเยาวชนและเครือข่ายผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนบ้านนานิคม


5.นายพลพจน์ เปิงสูง หัวหน้าฝ่ายอาคารสถานที่และเป็นผู้ประสานงานกลุ่มเยาวชนและ

เครือข่ายผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนบ้านหนองม่วงน้อย


6.นางสาวอินทิรา เค้าโคตร ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมและเป็นผู้ประสานงาน


7.นางสาวนฤพร แก้วแผ่ว ฝ่ายการเงิน-บัญชีและและเป็นผู้ประสานงานกลุ่มเยาวชนและ

เครือข่ายผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนบ้านหนองตานากลุ่มเยาวชนและเครือข่ายผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนบ้านฮ่องหอย


8.นางสาวลลิตา สาสร้อย ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมและเป็นผู้ประสานงานกลุ่มเยาวชนเครือข่ายผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนบ้านหนองแวงนางเบ้า


9.นางสาววิจิตรา ดูนนา ฝ่ายปฏิคม และเป็นผู้ประสานงานกลุ่มเยาวชนและเครือข่ายผู้ปกครองผู้นำชุมชนบ้านหนองตานา


10.นางสาวเบญจมาศ ชาตะวงศ์ วิเคราะห์นโยบายและแผนงานและเป็นผู้ประสานงาน

กลุ่มเยาวชนและเครือข่ายผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนบ้านนานิคม


11.นางสาวพัชรี สุดรอด ฝ่ายวิเคราะห์นโยบายและแผนงาน และเป็นผู้ประสานงาน

กลุ่มเยาวชนและเครือข่ายผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนบ้านห้วยว่านหอม


12.นางสาวศศินา ทุมเที่ยง ฝ่ายเพาะพันธุ์กล้าไม้และเป็นผู้ประสานงานกลุ่มเยาวชน

และเครือข่ายผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนบ้านห้วยว่านหอม


13.นายปิยะพงศ์ ศรีบุญเรือง เพาะพันธุ์กล้าไม้และเป็นผู้ประสานงานกลุ่มเยาวชน

และเครือข่ายผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนบ้านหนองม่วงน้อย


14.นายรัฐพงษ์ วงเวียน ตำรวจป่า


15.นายปรีชา มัสการ ตำรวจป่า


16.นายสมรักษ์ ชื่นบาน ตำรวจป่า

­


ข้อมูลพื้นที่ หรือ ชุมชนที่ทำโครงการ


ตำบลหนองแวงนางเบ้า ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอพล ประกอบไปด้วย 12 หมู่บ้าน คือ บ้านหนองแวงนางเบ้า, บ้านห้วยค้อ, บ้านหนองนาดี, บ้านหนองตานา, บ้านฝาผนัง, บ้านฮ่องหอย, บ้านหนองม่วงน้อย, บ้านนานิคม, บ้านห้วยค้อน้อย, บ้านวังจาน, บ้านห้วยว่านหอม และบ้านหนองแวงนางเบ้าพัฒนา ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาไทยอีสาน นับถือศาสนาพุทธ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีลำห้วย หนอง อยู่ทั่วไป ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย มีพื้นที่ทั้งหมด 41,950 ตร.กม. หรือ 26,220 ไร่ จำนวนประชากรในเขต อบต. 1,490 หลังคาเรือน จำนวนประชากรทั้งหมดมี 6,935 คน อาชีพหลักของคนในชุมชนคือ ทำนา ทำสวน ทอผ้าไหม ผ้าฝ้าย

ป่าชุมชนข้างโรงเรียนพลพัฒนาศึกษาเป็นป่าที่เคยอุดมสมบูรณ์ ชุมชนใช้เป็นแหล่งเชื้อเพลิงในครัวเรือน ลักลอบนำไม้บางส่วนไปทำที่อยู่อาศัยหรือใช้ไม้ขนาดเล็กไปใช้ในกิจกรรมทำเกษตร ทำไร่ ทำสวน ทำนา หาเห็ด หาสัตว์ป่าและแมลงเป็นประจำ (ข้อมูลจากการสัมภาษณ์คนในชุมชนดงภาคผนวก) จนทำให้สภาพป่าชุมชนแห่งนี้กว่า 200 ไร่เศษ มีสภาพเสื่อมโทรมมากขึ้นทุกปี แม้จะมีการปลูกป่าทดแทนแต่เปอร์เซ็นการอยู่รอดของต้นไม้อยู่ปีละ 10-20 ต้น เพราะขาดการดูแลรักษา จึงทำให้ไม้ที่ปลูกทดแทนไม่สมดุลกับไม้ที่ถูกใช้ บริเวณที่เสื่อมโทรมหนักคือบริเวณที่ห่างจากโรงเรียนออกไปประมาณ 300 เมตร ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับหมู่บ้าน และเป็นบริเวณที่อยู่ใกล้กับพื้นที่ทำนาข้าว ทำไร่อ้อย และไร่มันสำปะหลัง

­

โจทย์ปัญหาและเหตุผลที่ทำโครงการ


ป่าชุมชนที่อยู่ข้างโรงเรียนฯเหลือต้นไม้เบาบางมากและยังพบรอยบากต้นไม้ไว้ใช้ประโยชน์จำนวนมาก แม้ว่าจะมีการปลูกต้นไม้ทดแทน ในส่วนของชุมชนที่อยู่ใกล้ป่าจะมีการซ่อมป่าซึ่งเป็นหย่อมๆ พื้นที่ 2 – 5 ไร่ ที่บ้านหนองแวงนางเบ้ามีประมาณ 20ไร่ ทำให้ป่าชุมชนแห่งนี้ขาดการดูแลรักษามานาน แต่ในทางกลับกันกับการใช้ประโยชน์จากป่าแห่งนี้มีจำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้ป่ามีบริเวณเสื่อมโทรมเพิ่มขึ้นทุกปีเช่นกัน เกิดจากคนในท้องถิ่นมีการลักลอบตัดต้นไม้ทั้งใหญ่และเล็กไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว เช่นทำที่อยู่อาศัย และทำการเกษตร ใช้ผลผลิตจากป่าไม้และเข้าไปหาอาหารเช่น เห็ด หาแมลงและสัตว์เลื้อยคลานต่างๆ เป็นประจำ ซึ่งคนในชุมชนใช้ประโยชน์ทุกฤดูกาล แต่คนที่ดูแลหรือปลูกทดแทนไม่มีส่งผลให้กระทบต่อการดำรงชีวิตของคนในชุมชนและต่อสภาวการณ์การทำมาหากินและชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงคือรายได้ต่ำลง เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรต่ำ ไม่คุ้มค่ากับการลงทุนและเวลา จึงมีการอพยพครอบครัวไปทำมาหากินต่างถิ่น กระทบต่อสภาพครอบครัวแตกแยก อย่าร้าง เยาวชนขาดความอบอุ่น ปัญหาสังคมและความล้มเหลวในชีวิตเพิ่มขึ้น ปรากฏการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นเพราะทุกคนไม่เคยให้ความสำคัญกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สนใจแต่ตัวเองเรื่องปากท้อง จนลืมตัว ต้นตอแห่งอาหารของปากท้องที่สำคัญที่สุดคือ ป่าไม้หรือต้นไม้ ซึ่งเป็นสิ่งแรกและสิ่งเดียวที่จะนำพาความอุดมสมบูรณ์แห่งอาหารของพวกเรากลับคืนมา โดยเฉพาะปัญหาภัยแล้งจากการขาดแคลนน้ำในการอุปโภค บริโภคและการประกอบอาชีพทางการเกษตรของชุมชนตำบลหนองแวงนางเบ้าให้บรรเทาลดน้อยลง


กลุ่มเยาวชนตำบลหนองแวงนางเบ้า ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนพลพัฒนาศึกษาและนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา 4 โรงเรียน กลุ่มเยาวชนใน 5 หมู่บ้านที่ใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนตำบลหนองแวงนางเบ้าตั้งแต่เกิดจนปัจจุบัน เห็นว่าการฟื้นฟูและดูแลป่าชุมชนเป็นหน้าที่ของเยาวชนในพื้นที่จึงได้คิดทำโครงการสายล่อฟ้า Top Ten Life เพื่อคืนสิ่งแวดล้อมที่ดีสู่ชุมชนของเรา


เป้าหมายของโครงการ


1.เยาวชนและคนชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชนิดพืชพรรณ ความสำคัญ คุณค่า ประโยชน์ และสภาพป่าชุมชนโดยเน้นการมีส่วนร่วม


2.เพื่อเพิ่มปริมาณต้นไม้ในป่าชุมชนให้มากขึ้น (วัดความหนาแน่นของต้นไม้ใหญ่ในป่าชุมชนไม่น้อยกว่า 5 ต้นต่อไร่)


3.มีแนวทางในการดูแลรักษาป่าชุมชนร่วมกันระหว่างเยาวชนกับชุมชนอย่างเหมาะสมและยั่งยืน

รายชื่อสมาชิกกลุ่มเยาวชน

1.นางสาวรัตนาภรณ์ ขวัญทอง หัวหน้ากลุ่มและฝ่ายแผนงาน

2.นางสาวจริญา ชาเนตร หัวหน้าฝ่ายการเงิน-บัญชี และเลขานุการ

3.นางสาวประภัสสร ศรีบุญเรือง หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์และประสานงาน

4.นายนพชัย เคนไธสง หัวหน้างานโสตทัศนูปกรณ์และแผนงานและเป็นผู้ประสานงาน

กลุ่มเยาวชนและเครือข่ายผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนบ้านนานิคม

5.นายพลพจน์ เปิงสูง หัวหน้าฝ่ายอาคารสถานที่และเป็นผู้ประสานงานกลุ่มเยาวชนและ

เครือข่ายผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนบ้านหนองม่วงน้อย

6.นางสาวอินทิรา เค้าโคตร ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมและเป็นผู้ประสานงาน

7.นางสาวนฤพร แก้วแผ่ว ฝ่ายการเงิน-บัญชีและและเป็นผู้ประสานงานกลุ่มเยาวชนและ

เครือข่ายผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนบ้านหนองตานากลุ่มเยาวชนและเครือข่ายผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนบ้านฮ่องหอย

8.นางสาวลลิตา สาสร้อย ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมและเป็นผู้ประสานงานกลุ่มเยาวชนเครือข่ายผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนบ้านหนองแวงนางเบ้า

9.นางสาววิจิตรา ดูนนา ฝ่ายปฏิคม และเป็นผู้ประสานงานกลุ่มเยาวชนและเครือข่ายผู้ปกครองผู้นำชุมชนบ้านหนองตานา

10.นางสาวเบญจมาศ ชาตะวงศ์ วิเคราะห์นโยบายและแผนงานและเป็นผู้ประสานงาน

กลุ่มเยาวชนและเครือข่ายผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนบ้านนานิคม

11.นางสาวพัชรี สุดรอด ฝ่ายวิเคราะห์นโยบายและแผนงาน และเป็นผู้ประสานงาน

กลุ่มเยาวชนและเครือข่ายผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนบ้านห้วยว่านหอม

12.นางสาวศศินา ทุมเที่ยง ฝ่ายเพาะพันธุ์กล้าไม้และเป็นผู้ประสานงานกลุ่มเยาวชน

และเครือข่ายผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนบ้านห้วยว่านหอม

13.นายปิยะพงศ์ ศรีบุญเรือง เพาะพันธุ์กล้าไม้และเป็นผู้ประสานงานกลุ่มเยาวชน

และเครือข่ายผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนบ้านหนองม่วงน้อย

14.นายรัฐพงษ์ วงเวียน ตำรวจป่า

15.นายปรีชา มัสการ ตำรวจป่า

16.นายสมรักษ์ ชื่นบาน ตำรวจป่า

­

ข้อมูลพื้นที่ หรือ ชุมชนที่ทำโครงการ

ตำบลหนองแวงนางเบ้า ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอพล ประกอบไปด้วย 12 หมู่บ้าน คือ บ้านหนองแวงนางเบ้า, บ้านห้วยค้อ, บ้านหนองนาดี, บ้านหนองตานา, บ้านฝาผนัง, บ้านฮ่องหอย, บ้านหนองม่วงน้อย, บ้านนานิคม, บ้านห้วยค้อน้อย, บ้านวังจาน, บ้านห้วยว่านหอม และบ้านหนองแวงนางเบ้าพัฒนา ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาไทยอีสาน นับถือศาสนาพุทธ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีลำห้วย หนอง อยู่ทั่วไป ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย มีพื้นที่ทั้งหมด 41,950 ตร.กม. หรือ 26,220 ไร่ จำนวนประชากรในเขต อบต. 1,490 หลังคาเรือน จำนวนประชากรทั้งหมดมี 6,935 คน อาชีพหลักของคนในชุมชนคือ ทำนา ทำสวน ทอผ้าไหม ผ้าฝ้าย

ป่าชุมชนข้างโรงเรียนพลพัฒนาศึกษาเป็นป่าที่เคยอุดมสมบูรณ์ ชุมชนใช้เป็นแหล่งเชื้อเพลิงในครัวเรือน ลักลอบนำไม้บางส่วนไปทำที่อยู่อาศัยหรือใช้ไม้ขนาดเล็กไปใช้ในกิจกรรมทำเกษตร ทำไร่ ทำสวน ทำนา หาเห็ด หาสัตว์ป่าและแมลงเป็นประจำ (ข้อมูลจากการสัมภาษณ์คนในชุมชนดงภาคผนวก) จนทำให้สภาพป่าชุมชนแห่งนี้กว่า 200 ไร่เศษ มีสภาพเสื่อมโทรมมากขึ้นทุกปี แม้จะมีการปลูกป่าทดแทนแต่เปอร์เซ็นการอยู่รอดของต้นไม้อยู่ปีละ 10-20 ต้น เพราะขาดการดูแลรักษา จึงทำให้ไม้ที่ปลูกทดแทนไม่สมดุลกับไม้ที่ถูกใช้ บริเวณที่เสื่อมโทรมหนักคือบริเวณที่ห่างจากโรงเรียนออกไปประมาณ 300 เมตร ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับหมู่บ้าน และเป็นบริเวณที่อยู่ใกล้กับพื้นที่ทำนาข้าว ทำไร่อ้อย และไร่มันสำปะหลัง

­

โจทย์ปัญหาและเหตุผลที่ทำโครงการ

ป่าชุมชนที่อยู่ข้างโรงเรียนฯเหลือต้นไม้เบาบางมากและยังพบรอยบากต้นไม้ไว้ใช้ประโยชน์จำนวนมาก แม้ว่าจะมีการปลูกต้นไม้ทดแทน ในส่วนของชุมชนที่อยู่ใกล้ป่าจะมีการซ่อมป่าซึ่งเป็นหย่อมๆ พื้นที่ 2 – 5 ไร่ ที่บ้านหนองแวงนางเบ้ามีประมาณ 20ไร่ ทำให้ป่าชุมชนแห่งนี้ขาดการดูแลรักษามานาน แต่ในทางกลับกันกับการใช้ประโยชน์จากป่าแห่งนี้มีจำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้ป่ามีบริเวณเสื่อมโทรมเพิ่มขึ้นทุกปีเช่นกัน เกิดจากคนในท้องถิ่นมีการลักลอบตัดต้นไม้ทั้งใหญ่และเล็กไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว เช่นทำที่อยู่อาศัย และทำการเกษตร ใช้ผลผลิตจากป่าไม้และเข้าไปหาอาหารเช่น เห็ด หาแมลงและสัตว์เลื้อยคลานต่างๆ เป็นประจำ ซึ่งคนในชุมชนใช้ประโยชน์ทุกฤดูกาล แต่คนที่ดูแลหรือปลูกทดแทนไม่มีส่งผลให้กระทบต่อการดำรงชีวิตของคนในชุมชนและต่อสภาวการณ์การทำมาหากินและชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงคือรายได้ต่ำลง เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรต่ำ ไม่คุ้มค่ากับการลงทุนและเวลา จึงมีการอพยพครอบครัวไปทำมาหากินต่างถิ่น กระทบต่อสภาพครอบครัวแตกแยก อย่าร้าง เยาวชนขาดความอบอุ่น ปัญหาสังคมและความล้มเหลวในชีวิตเพิ่มขึ้น ปรากฏการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นเพราะทุกคนไม่เคยให้ความสำคัญกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สนใจแต่ตัวเองเรื่องปากท้อง จนลืมตัว ต้นตอแห่งอาหารของปากท้องที่สำคัญที่สุดคือ ป่าไม้หรือต้นไม้ ซึ่งเป็นสิ่งแรกและสิ่งเดียวที่จะนำพาความอุดมสมบูรณ์แห่งอาหารของพวกเรากลับคืนมา โดยเฉพาะปัญหาภัยแล้งจากการขาดแคลนน้ำในการอุปโภค บริโภคและการประกอบอาชีพทางการเกษตรของชุมชนตำบลหนองแวงนางเบ้าให้บรรเทาลดน้อยลง

กลุ่มเยาวชนตำบลหนองแวงนางเบ้า ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนพลพัฒนาศึกษาและนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา 4 โรงเรียน กลุ่มเยาวชนใน 5 หมู่บ้านที่ใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนตำบลหนองแวงนางเบ้าตั้งแต่เกิดจนปัจจุบัน เห็นว่าการฟื้นฟูและดูแลป่าชุมชนเป็นหน้าที่ของเยาวชนในพื้นที่จึงได้คิดทำโครงการสายล่อฟ้า Top Ten Life เพื่อคืนสิ่งแวดล้อมที่ดีสู่ชุมชนของเรา

เป้าหมายของโครงการ

1.เยาวชนและคนชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชนิดพืชพรรณ ความสำคัญ คุณค่า ประโยชน์ และสภาพป่าชุมชนโดยเน้นการมีส่วนร่วม

2.เพื่อเพิ่มปริมาณต้นไม้ในป่าชุมชนให้มากขึ้น (วัดความหนาแน่นของต้นไม้ใหญ่ในป่าชุมชนไม่น้อยกว่า 5 ต้นต่อไร่)

3.มีแนวทางในการดูแลรักษาป่าชุมชนร่วมกันระหว่างเยาวชนกับชุมชนอย่างเหมาะสมและยั่งยืน

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

สรุปผลโครงการสายล่อฟ้า Top Ten Life 

กลุ่ม PP. พิทักษ์โลก จ.ขอนแก่น


กลุ่ม P.P. พิทักษ์โลก มาจากการรวมตัวของนักเรียน ชั้น 4-6 โรงเรียนพลพัฒนาศึกษา ซึ่งอาศัยอยู่ใน 5 หมู่บ้านในตำบลหนองแวงนางเบ้า ซึ่งใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนมีพื้นที่กว่า 200 ไร่เศษ กลุ่มเยาวชนสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของป่าชุมชนแห่งนี้ซึ่งอยู่ข้างโรงเรียน ว่ามีคนมาตัดไม้จากป่ามากขึ้น เก็บเห็ดและของป่ามากขึ้น มีขยะมาทิ้งและบางครั้งก็มีการเผาขยะจนเกิดไฟลุกไหม้กลายเป็นไฟป่า มีรถดูดส้วมมาปล่อยอุจาระทิ้งในพื้นที่ป่า มีการใช้สารเคมีในการทำไร่ ทำนา รอบๆติดกับป่า ทำให้ป่าที่เคยอุดมสมบูรณ์กลับมีสภาพที่เสื่อมโทรมมากขึ้นทุกปี และแม้ว่าชุมชนจะจัดกิจกรรมปลูกป่าทดแทนเมื่อ 1-2 ปี ที่ผ่านมา (200 ต้น) แต่ขาดการกลับไปดูแลรักษา ทำให้มีต้นไม้ที่เหลือรอดอยู่น้อยมาก ประมาณแค่ 10-20 ต้น ซึ่งไม่สมดุลกับปริมาณของต้นไม้ที่ถูกตัดไปมากกว่าในแต่ละปี จึงทำให้กลุ่มเยาวชนคิดทำโครงการสายล่อฟ้า Top Ten Life และชวนเพื่อนๆในโรงเรียน นักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา 4 แห่ง ผู้ใหญ่ในชุมชนมาร่วมกันศึกษาคุณค่าและความสำคัญของป่า ช่วยกันฟื้นฟูและดูแลป่าชุมชนให้กลับมาเป็นป่าที่สมบูรณ์ดังเดิม

­

รายชื่อสมาชิกกลุ่มเยาวชน


1.นางสาวรัตนาภรณ์ ขวัญทอง หัวหน้ากลุ่มและฝ่ายแผนงาน

­

2.นางสาวจริญา ชาเนตร หัวหน้าฝ่ายการเงิน-บัญชี และเลขานุการ

­

3.นางสาวประภัสสร ศรีบุญเรือง หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์และประสานงาน

­

4.นายนพชัย เคนไธสง หัวหน้างานโสตทัศนูปกรณ์และแผนงานและเป็นผู้ประสานงาน

กลุ่มเยาวชนและเครือข่ายผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนบ้านนานิคม

­

5.นายพลพจน์ เปิงสูง หัวหน้าฝ่ายอาคารสถานที่และเป็นผู้ประสานงานกลุ่มเยาวชนและ

เครือข่ายผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนบ้านหนองม่วงน้อย

­

6.นางสาวอินทิรา เค้าโคตร ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมและเป็นผู้ประสานงาน

­

7.นางสาวนฤพร แก้วแผ่ว ฝ่ายการเงิน-บัญชีและและเป็นผู้ประสานงานกลุ่มเยาวชนและ

เครือข่ายผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนบ้านหนองตานากลุ่มเยาวชนและเครือข่ายผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนบ้านฮ่องหอย


8.นางสาวลลิตา สาสร้อย ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมและเป็นผู้ประสานงานกลุ่มเยาวชนเครือข่ายผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนบ้านหนองแวงนางเบ้า


9.นางสาววิจิตรา ดูนนา ฝ่ายปฏิคม และเป็นผู้ประสานงานกลุ่มเยาวชนและเครือข่ายผู้ปกครองผู้นำชุมชนบ้านหนองตานา


10.นางสาวเบญจมาศ ชาตะวงศ์ วิเคราะห์นโยบายและแผนงานและเป็นผู้ประสานงาน

กลุ่มเยาวชนและเครือข่ายผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนบ้านนานิคม

­

11.นางสาวพัชรี สุดรอด ฝ่ายวิเคราะห์นโยบายและแผนงาน และเป็นผู้ประสานงาน

กลุ่มเยาวชนและเครือข่ายผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนบ้านห้วยว่านหอม

­

12.นางสาวศศินา ทุมเที่ยง ฝ่ายเพาะพันธุ์กล้าไม้และเป็นผู้ประสานงานกลุ่มเยาวชน

และเครือข่ายผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนบ้านห้วยว่านหอม

­

13.นายปิยะพงศ์ ศรีบุญเรือง เพาะพันธุ์กล้าไม้และเป็นผู้ประสานงานกลุ่มเยาวชน

และเครือข่ายผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนบ้านหนองม่วงน้อย

­

14.นายรัฐพงษ์ วงเวียน ตำรวจป่า

­

15.นายปรีชา มัสการ ตำรวจป่า

­

16.นายสมรักษ์ ชื่นบาน ตำรวจป่า

­

ข้อมูลพื้นที่ หรือ ชุมชนที่ทำโครงการ


ตำบลหนองแวงนางเบ้า ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอพล ประกอบไปด้วย 12 หมู่บ้าน คือ บ้านหนองแวงนางเบ้า, บ้านห้วยค้อ, บ้านหนองนาดี, บ้านหนองตานา, บ้านฝาผนัง, บ้านฮ่องหอย, บ้านหนองม่วงน้อย, บ้านนานิคม, บ้านห้วยค้อน้อย, บ้านวังจาน, บ้านห้วยว่านหอม และบ้านหนองแวงนางเบ้าพัฒนา ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาไทยอีสาน นับถือศาสนาพุทธ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีลำห้วย หนอง อยู่ทั่วไป ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย มีพื้นที่ทั้งหมด 41,950 ตร.กม. หรือ 26,220 ไร่ จำนวนประชากรในเขต อบต. 1,490 หลังคาเรือน จำนวนประชากรทั้งหมดมี 6,935 คน อาชีพหลักของคนในชุมชนคือ ทำนา ทำสวน ทอผ้าไหม ผ้าฝ้าย

­

ป่าชุมชนข้างโรงเรียนพลพัฒนาศึกษาเป็นป่าที่เคยอุดมสมบูรณ์ ชุมชนใช้เป็นแหล่งเชื้อเพลิงในครัวเรือน ลักลอบนำไม้บางส่วนไปทำที่อยู่อาศัยหรือใช้ไม้ขนาดเล็กไปใช้ในกิจกรรมทำเกษตร ทำไร่ ทำสวน ทำนา หาเห็ด หาสัตว์ป่าและแมลงเป็นประจำ (ข้อมูลจากการสัมภาษณ์คนในชุมชนดงภาคผนวก) จนทำให้สภาพป่าชุมชนแห่งนี้กว่า 200 ไร่เศษ มีสภาพเสื่อมโทรมมากขึ้นทุกปี แม้จะมีการปลูกป่าทดแทนแต่เปอร์เซ็นการอยู่รอดของต้นไม้อยู่ปีละ 10-20 ต้น เพราะขาดการดูแลรักษา จึงทำให้ไม้ที่ปลูกทดแทนไม่สมดุลกับไม้ที่ถูกใช้ บริเวณที่เสื่อมโทรมหนักคือบริเวณที่ห่างจากโรงเรียนออกไปประมาณ 300 เมตร ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับหมู่บ้าน และเป็นบริเวณที่อยู่ใกล้กับพื้นที่ทำนาข้าว ทำไร่อ้อย และไร่มันสำปะหลัง

­

โจทย์ปัญหาและเหตุผลที่ทำโครงการ


ป่าชุมชนที่อยู่ข้างโรงเรียนฯเหลือต้นไม้เบาบางมากและยังพบรอยบากต้นไม้ไว้ใช้ประโยชน์จำนวนมาก แม้ว่าจะมีการปลูกต้นไม้ทดแทน ในส่วนของชุมชนที่อยู่ใกล้ป่าจะมีการซ่อมป่าซึ่งเป็นหย่อมๆ พื้นที่ 2 – 5 ไร่ ที่บ้านหนองแวงนางเบ้ามีประมาณ 20ไร่ ทำให้ป่าชุมชนแห่งนี้ขาดการดูแลรักษามานาน แต่ในทางกลับกันกับการใช้ประโยชน์จากป่าแห่งนี้มีจำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้ป่ามีบริเวณเสื่อมโทรมเพิ่มขึ้นทุกปีเช่นกัน เกิดจากคนในท้องถิ่นมีการลักลอบตัดต้นไม้ทั้งใหญ่และเล็กไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว เช่นทำที่อยู่อาศัย และทำการเกษตร ใช้ผลผลิตจากป่าไม้และเข้าไปหาอาหารเช่น เห็ด หาแมลงและสัตว์เลื้อยคลานต่างๆ เป็นประจำ ซึ่งคนในชุมชนใช้ประโยชน์ทุกฤดูกาล แต่คนที่ดูแลหรือปลูกทดแทนไม่มีส่งผลให้กระทบต่อการดำรงชีวิตของคนในชุมชนและต่อสภาวการณ์การทำมาหากินและชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงคือรายได้ต่ำลง เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรต่ำ ไม่คุ้มค่ากับการลงทุนและเวลา จึงมีการอพยพครอบครัวไปทำมาหากินต่างถิ่น กระทบต่อสภาพครอบครัวแตกแยก อย่าร้าง เยาวชนขาดความอบอุ่น ปัญหาสังคมและความล้มเหลวในชีวิตเพิ่มขึ้น ปรากฏการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นเพราะทุกคนไม่เคยให้ความสำคัญกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สนใจแต่ตัวเองเรื่องปากท้อง จนลืมตัว ต้นตอแห่งอาหารของปากท้องที่สำคัญที่สุดคือ ป่าไม้หรือต้นไม้ ซึ่งเป็นสิ่งแรกและสิ่งเดียวที่จะนำพาความอุดมสมบูรณ์แห่งอาหารของพวกเรากลับคืนมา โดยเฉพาะปัญหาภัยแล้งจากการขาดแคลนน้ำในการอุปโภค บริโภคและการประกอบอาชีพทางการเกษตรของชุมชนตำบลหนองแวงนางเบ้าให้บรรเทาลดน้อยลง

­

กลุ่มเยาวชนตำบลหนองแวงนางเบ้า ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนพลพัฒนาศึกษาและนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา 4 โรงเรียน กลุ่มเยาวชนใน 5 หมู่บ้านที่ใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนตำบลหนองแวงนางเบ้าตั้งแต่เกิดจนปัจจุบัน เห็นว่าการฟื้นฟูและดูแลป่าชุมชนเป็นหน้าที่ของเยาวชนในพื้นที่จึงได้คิดทำโครงการสายล่อฟ้า Top Ten Life เพื่อคืนสิ่งแวดล้อมที่ดีสู่ชุมชนของเรา

­

เป้าหมายของโครงการ


1.เยาวชนและคนชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชนิดพืชพรรณ ความสำคัญ คุณค่า ประโยชน์ และสภาพป่าชุมชนโดยเน้นการมีส่วนร่วม

2.เพื่อเพิ่มปริมาณต้นไม้ในป่าชุมชนให้มากขึ้น (วัดความหนาแน่นของต้นไม้ใหญ่ในป่าชุมชนไม่น้อยกว่า 5 ต้นต่อไร่)

3.มีแนวทางในการดูแลรักษาป่าชุมชนร่วมกันระหว่างเยาวชนกับชุมชนอย่างเหมาะสมและยั่งยืน

­

กระบวนการทำงานของกลุ่มเยาวชนในการแก้ไขปัญหาหรือดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน


กลุ่มเยาวชน PP พิทักษ์โลก วางแผนจัดกิจกรรมไว้ 4 กิจกรรม ประกอบด้วย

1.กิจกรรมเก็บรวบรวมข้อมูลความสมบูรณ์ของป่าชุมชน โดยการสำรวจสภาพป่าชุมชน ออกแบบเก็บข้อมูลแล้วลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์พ่อแม่ ปู่ยาตายาย ซึ่งเป็นคนในชุมชนเพื่อนำมาเปรียบเทียบให้คนในชุมชนเห็นว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงกับป่าไปมากน้อยแค่ไหน ต้นไม้ถูกตัด พันธุ์พืชที่สำคัญ เช่น เห็ดและสมุนไพรต่างๆลดลง มีการนำขยะและอุจจาระมาทิ้งในป่า

­

2.T Shift G Share (T = Tree, G = Green) เป็นการจัดเวทีและกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องป่าชุมชน (จัด 2 ครั้งที่ 1 วันที่ 6-7 มี.ค. ครั้งที่ 2 วันที่ 17 มิ.ย. 57) โดยการเชิญนักวิชาการป่าไม้ที่มีความรู้เรื่องป่า เห็น สมุนไพรต่างๆมาพูดให้คนในชุมชนฟัง เพื่อกระตุ้นให้เห็นประโยชน์และคุณค่าของป่าที่มีอยู่ มีการนำเสนอข้อมูลความอุดมสมบูรณ์ของป่าที่เก็บมาให้ชาวบ้านรับรู้ ผ่านเรื่องเล่า “ป่าชุมชนของเรา” จากอดีตถึงปัจจุบัน โดยปราชญ์ชาวบ้าน และมีกิจกรรมแบ่งกลุ่มคนในชุมชนเข้าไปสำรวจป่าชุมชน พร้อมปราชญ์ชาวบ้านอธิบายข้อมูลความรู้เกี่ยวกับต้นไม้ มีเด็กและเยาวชน PP พิทักษ์โลก คอยติดตามบันทึก แล้วนำผลการสำรวจสภาพป่ามานำเสนอพันธุ์ไม้ที่เจอ ปัญหาที่พบ เพื่อให้ทุกคนเกิดความรู้สึกอยากที่จะอนุรักษ์ดูแลป่าชุมชนให้กลับมาสมบูรณ์ให้ช่วยกันนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาร่วมกัน ซึ่งผู้เข้าร่วมในกิจกรรมมีจำนวนมากถึง 287 คน ในครั้งแรก และ 237 คน ในครั้งที่ 2 เป็นเด็กและเยาวชนจาก 4 โรงเรียน 4 แห่ง, ชาวบ้าน ผู้ปกครองนักเรียน, ผู้อำนวยการโรงเรียน, ครูจากโรงเรียน 4 แห่ง, รองนายก อบต., ผู้ใหญ่บ้าน, ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน, ปราชญ์ชาวบ้าน และนักวิชาการสวนพฤษศาสตร์ขอนแก่น

­

3.กิจกรรมลงแขกปลูกป่า ในงานเวที T Shift G Share ครั้งที่ 2 นั้น ทางกลุ่มเยาวชนได้มีการแจกกล้าไม้ 1,500 กล้า (ได้รับการสนับสนุนจากสวนพฤษศาสตร์ จ.ขอนแก่น) ให้คนในชุมชนร่วมกับลูกหลาน นักเรียน เด็กและเยาวชน ครู ผู้นำชุมชน ได้นำเข้าไปปลูกในป่าเป็นพื้นที่กว่า 40 ไร่ เพื่อฟื้นฟูพืชพรรณและเพิ่มปริมาณต้นไม้ในป่าให้เกิดความสมดุลและความสมบูรณ์ของป่ามากขึ้น

­

4.Return care เป็นการจัดกิจกรรมชักชวน เด็กและเยาวชน ตัวแทนชุมชน ผู้บริหารโรงเรียนและครู กลับเข้าไปดูแลกล้าไม้ ที่นำลงไปปลูกทดแทน และดูรักษาต้นไม้ที่มีอยู่ในป่าชุมชน (จัดกิจกรรมวันที่ 25 มิย. 57) หลังจากนั้นเยาวชนแกนนำมีการจัดตั้งทีมตำรวจป่า แบ่งเวรกันเข้าไปตรวจป่าเดือนละครั้ง ดูกล้าไม้ที่นำไปปลูก และสำรวจว่ามีการบุกรุกตัดไม้ป่าเพิ่มขึ้นหรือไม่

­

5.กิจกรรมสรุปและรายงานผลการดำเนินงานโครงการ จัดเพื่อสร้างแนวทางในการดูแลรักษาป่าชุมชนร่วมกัน โดยมีแกนนำเยาวชนโครงการ 3 คน เยาวชนผู้นำและผู้ประสานงานกลุ่ม 12 คน ตัวแทนผู้นำชุมชน 10 คน และผู้บริหารโรงเรียนและครู มีการช่วยกันจัดทำมาตรการในป่าชุมชน

แม้ว่าการทำงานของกลุ่มเด็กและเยาวชน PP พิทักษ์โลก พี่เลี้ยงและชุมชน จะไม่เคยมีประสบการณ์ทำงานโครงการ หรือ มีแผนกิจกรรมดูแลรักษาป่าอย่างมีระบบมาก่อนถือว่าเป็นมือใหม่ แต่ก็มีความพยายามที่จะช่วยกันคิดและทำกิจกรรมต่างๆไปได้ ทั้งนี้ โดยมีผู้บริหารโรงเรียน คุณครู รุ่นพี่นักเรียนที่จบไปแล้ว และผู้ใหญ่ในชุมชนและจากหน่วยงานต่างๆคอยช่วยเหลือ ให้ความร่วมมือและให้การสนับสนุนค่อนข้างดี (รองนายก อบต.หนองแวงนางเบ้า จะสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมบ้างส่วน วิทยากรจากสวนพฤกษศาสตร์จังหวัดขอนแก่น ผู้บริหารจากโรงเรียนรอบข้าง ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้ปกครองเด็กและเยาวชน)

­

ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ


·ผลที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเยาวชน : การได้เรียนรู้การทำงานจริงกับชุมชน ทำให้ได้ฝึกทักษะการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา มีความรู้เรื่องป่าชุมชนที่อยู่ข้างโรงเรียนอย่างละเอียดมากขึ้น (เรียนรู้สิ่งรอบตัว) มีการทำงานที่มีเป้าหมายและมีขั้นตอนมากขึ้น มีการคิดที่เป็นเหตุ เป็นผลและเชื่อมโยงมากขึ้น สามารถออกแบบการเก็บข้อมูลที่นำมาใช้ได้จริง รวมทั้งเกิดแนวคิดความรู้สึก แรงบันดาลใจเรื่องการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมรอบตัวเพิ่มขึ้นจากที่ไม่เคยให้ความสนใจหรือใส่ใจน้อย

·ผลต่อชุมชน/การมีส่วนร่วม : ชุมชนให้ความสนใจเรื่องการดูแลรักษาป่าชุมชนของตนเองมากขึ้น ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการเข้าร่วมกิจกรรมสำรวจป่า สำรวจและศึกษาพืชพันธุ์ในป่า การปลูกต้นไม้เพิ่ม คนในชุมชนมีความรู้เรื่องชนิดพันธุ์และประโยชน์ มากขึ้น ผู้นำชุมชนเห็นความสำคัญของป่าชุมชน รองนายก อบต. พูดถึงการให้งบประมาณสนับสนุนกิจกรรมเพิ่มเติม การที่ชุมชนร่วมกันสร้างมาตรการการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน

มาตรการการอนุรักษ์ป่าชุมชนตำบลหนองแวงนางเบ้า 4 ข้อ คือ


1)ห้ามมีการตัดไม้ทำลายป่าและเผาป่า หากฝ่าฝืนปรับ 500 บาท/ต้น (สำหรับไม้ใหญ่คิดค่าปรับตามเส้นผ่าศูนย์กลางต้นไม้ 500 บาท/นิ้ว)


2)ห้ามจับสัตว์บริเวณป่าไม้


3)ห้ามทิ้งขยะบริเวณป่าชุมชน


4)ใช้ป่าชุมชนเชิงอนุรักษ์และสร้างสรรค์ ทั้งการนำไปใช้เชื้อเพลิงและยาสมุนไพร


·ผลต่อสิ่งแวดล้อม : ผลการสำรวจป่าหลังจากทำกิจกรรมโครงการพบว่า ไม่พบการตัดไม้ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ และไม่พบการนำขยะไปทิ้งเพิ่ม จะมีเพียงการเข้าไปหาเห็ด เก็บผักมาทำเป็นอาหารบ้างเท่านั้น

­

ปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดความสำเร็จ

·ความพยายามและความตั้งใจที่จะทำจริงของแกนนำเยาวชนและคุณครู

·การบริหารจัดการเวลาของกลุ่มเยาวชน

·การสนับสนุนของครู ผู้บริหารโรงเรียน และหน่วยงาน

·การให้ความร่วมมือของผู้ปกครอง ผู้ใหญ่ในชุมชน ซึ่งมีลูกอยู่ในกลุ่มแกนนำเยาวชนที่ทำโครงการ

·การเสริมเติมหลักคิด ความรู้และทักษะในการทำงานด้านสิ่งแวดล้อม จากส่วนกลางโครงการ (มูลนิธิกองทุนไทย)

­

คุณค่าจากการทำโครงการ


เด็กเกิดแรงกระตุ้นจากการทำโครงการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากที่ไม่เคยให้ความสนใจ หรือไม่ค่อยใส่ใจกับการดูแลสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรที่อยู่รอบตัว มาเป็นได้รู้ คิด เริ่มมีจิตสำนึกรักสิ่งแวดล้อม และได้เรียนรู้การทำงานจริงกับผู้ใหญ่ ซึ่งหาจากการเรียนหนังสือในห้องเรียนได้ยาก

­

อนาคตที่อยากทำต่อ

จัดหางบประมาณเพื่อขยายพื้นที่ปลูกซ่อมแซมป่าที่เสื่อมโทรม และดูแลรักษาป่าชุมชนต่อไป

..............................................................................................................


การเรียนรู้ของแกนนำเยาวชน

นางสาวรัตนาภรณ์ ขวัญทอง (เต๋า) อายุ 16 ปี

กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 4 (วิทย์-คณิต) โรงเรียนพลพัฒนาศึกษา

­

เต๋า เป็นนักกิจกรรมตัวเด่นของโรงเรียน เนื่องด้วยมีบุคลิกที่กล้าพูด กล้าแสดงออก จึงเป็นที่ชื่นชอบของเหล่าคุณครูในโรงเรียน ได้เข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียน เช่น รณรงค์การลดใช้ขยะ รณรงค์งดเหล้า ร่วมกิจกรรมปลูกป่ารอบโรงเรียน ประกวดนวัตกรรมการทำขนมนางเล็กโดยใช้ต้นตดหมาแทนผงฟู

­

แรงบันดาลใจที่ทำให้เต๋ามาร่วมทำกิจกรรม คือ “เพราะเห็นป่าชุมชนที่อยู่ติดโรงเรียนมีสภาพแย่ลงทุกวัน เห็นรอยบากบนต้นไม้ที่คนลักลอบมาทำไว้เพื่อให้ต้นไม้ตายแล้วตัดไปเผาถ่าน เห็นขยะที่คนนำมาทิ้งและเผาขยะจนลุกลามเป็นไฟไหม้เกือบจะถึงโรงเรียน เห็นต้นไม้ที่ปลูกไว้ไม่มีใครสนใจและดูแล มีแต่คนที่เข้ามาหาเก็บเห็ดในป่าออกไปเยอะมาก เก็บสมุนไพรและของป่าออกไป บวกกับรู้สึกว่าตนเองและกลุ่มเพื่อน พี่ น้อง ในโรงเรียนพลพัฒนา เติบโตขึ้น เป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่มีพลังและความคิดสร้างสรรค์ อยากจะชวนกันรวมกลุ่มลุกขึ้นมาดูแลรักษาป่า ปกป้องป่า และคืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับป่าซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของบ้านเกิดตัวเอง

­

ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ


-ช่วงที่พี่เลี้ยงลงไปเยี่ยมในพื้นที่ครั้งที่ 1 แล้วชวนกลุ่มแกนนำเด็กพูดคุยข้อมูลป่าชุมชน วางแผนการทำงาน ช่วยกันคิด วิเคราะห์ แลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆทำให้ตัวน้องเต๋ารู้ว่า การทำกิจกรรมหรือขับเคลื่อนงานนี้ ตัวพวกเขาเองต้องมีข้อมูล ต้องมีความรู้อะไรบ้าง อะไรที่ต้องเข้าไปเรียนรู้กับคนในชุมชน อะไรที่ต้องหาวิทยากรมาช่วยเติมความรู้ ก่อนที่จะลงมือพาเยาวชนและชาวบ้านในพื้นที่ทำกิจกรรมดูแลป่าชุมชน โดยเต๋าได้พูดสะท้อนออกมาในวันที่ 2 ที่พี่เลี้ยงลงไปเยี่ยมว่า “มีสิ่งที่เราไม่รู้อีกมากมายที่เราต้องเรียนรู้ หากเราไม่มีความรู้อย่าคิดดันทุรัง เพราะมีคนที่รู้อยู่สามารถเข้าไปเรียนรู้กับเขาได้ และได้รู้ความคิดกับเพื่อนๆนำมาบวกกัน แลกเปลี่ยนกันทำให้วางกิจกรรมและรูปแบบการดำเนินงานได้ดีขึ้น”

-สิ่งที่เกิดขึ้นก่อนทำโครงการ คือ มีวิธีการเก็บข้อมูลที่ไม่ละเอียดมากนัก การสังเกตต้นไม้มักดูแต่ต้นไม้ใหญ่ๆ แต่เมื่อทำโครงการทำให้เต๋าได้รู้จักวิธีเก็บข้อมูลที่ถูกวิธีมากขึ้น รู้จักสังเกตสิ่งเล็กๆน้อยๆในป่า ได้รู้จักการเข้าหาชุมชน การเข้าไปขอข้อมูลกับคนในชุมชน รู้จักวิธีปลูกต้นไม้ที่ถูก

-ความรู้สึก/ความสุขที่ได้จากการทำโครงการ (พูดสะท้อนในเวทีถอดบทเรียน) เช่น “พอได้รู้จักสังเกตสิ่งเล็กๆน้อยๆท่ามกลางป่าว่ามีอะไร พอได้เริ่มมองแล้วรู้สึกว่าสิ่งเล็กๆที่ไม่เคยมองเห็นมาก่อนนั้นสวยงามมากขนาดไหน” และ “เมื่อได้เริ่มก้าวเดินเข้าไปสำรวจป่าชุมชนอย่างจริงจังและตั้งใจที่จะทำอย่างมีความสุข และรู้ว่าถึงจะตั้งใจทำอะไรสักอย่างแต่จะมีแค่ความตั้งใจอย่างเดียวไม่เป็นประโยชน์เท่าไหร่ เราต้องมีก้าวแรกเสมอ อย่างนี้ถึงจะเรียกว่าตั้งใจอย่างแท้จริง” 

­

นางสาวประภัสสร ศรีบุญเรือง (นุ่น) อายุ 15 ปี

กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 4 (วิทย์-คณิต) โรงเรียนพลพัฒนาศึกษา

­

ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ

ความรู้สึกของนุ่นที่สะท้อน หลังจากคุยกับพี่เลี้ยงมูลนิธิฯ ที่ลงไปเยี่ยมติดตามคุยทำความเข้าใจความชัดเจน ครั้งที่ 1 คือ “แม้จะรู้ว่าเหนื่อย แต่ก็จะเฮ็ดไปเรื่อยๆ หนูก็รู้ว่าหมู่ก็เหนื่อยคือกัน” และในเวทีถอดบทเรียนการทำโครงการร่วมกับเพื่อนแกนนำในกลุ่ม นุ่น พบว่าตัวเองเกิดการเปลี่ยนแปลงจากการทำโครงการครั้งนี้ “แต่ก่อนไม่เคยสนใจเรื่องของป่าไม้และไม่เคยคิดจะทำเรื่องนี้มาก่อนเลย ไม่เคยมองปัญหาที่เกิดขึ้นรอบตัว รวมถึงไม่สนใจที่จะทำงานหรือทำโครงการ ป่าก็ไม่เคยเดิน แต่เมื่อต้องมาทำโครงการนี้ ทำให้ตัวเองได้ลงพื้นที่สำรวจป่าชุมชนข้างโรงเรียน ต้องดูและสังเกตเรื่องเก็บข้อมูล เป้าหมายความคืบหน้าของงาน ได้แนวคิดในการทำโครงการมากขึ้น และรู้สึกดีที่ได้ใช้ความคิด ได้แลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ

­

นางยุพิน ลุนบง (ครูแดง) อายุ 45 ปี ครูชีววิทยา โรงเรียนพลพัฒนาศึกษา

­

ครูที่ปรึกษาโครงการเยาวชน ที่ทำหน้าที่คอยส่งเสริมสนับสนุนการทำงานของกลุ่มเยาวชน ประสานความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆเพื่อหนุนเสริมการทำงานของเยาวชน ความตั้งใจที่ครูแดงมีต่อกลุ่มเยาวชนคือ ต้องการเปิดโอกาสให้เด็กได้พัฒนาศักยภาพตัวเองจากการทำงานโครงการ ครูแดงสะท้อนความรู้สึกในช่วงแรกที่ทีมงานลงไปเยี่ยมติดตามโครงการในพื้นที่ว่า “ถือว่าเป็นโครงการแรกที่กลุ่มเยาวชนทำงานกับชุมชน ถามว่าคิดว่ายากไหม? ส่วนตัวในฐานะที่ปรึกษา คิดว่ายากที่เด็กๆจะเข้าหาชุมชน แต่ด้วยต้นทุนที่โรงเรียนเองเคยทำงานร่วมกับชุมชนมาก่อน ทำให้ชุมชนเองก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับเยาวชน ที่สำคัญคือเยาวชนพร้อมที่จะเข้าหาชุมชนหรือไม่? มีวิธีการกระบวนการเข้าหาชุมชนอย่างไร อาจจะเริ่มต้นจากครอบครัวก่อนได้”


โครงการสายล่อฟ้า Top Ten Life

กลุ่ม PP. พิทักษ์โลก โรงเรียนพลพัฒนาศึกษา จ.ขอนแก่น

ผู้ประสานงาน รัตนภรณ์ ขวัญทอง (เต๋า) โทรศัพท์ 08-1412-9206

­

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ