กลุ่มเยาวชนรักษ์วารี เกิดจากการรวมตัวของนักเรียนในโรงเรียนเสาไห้ “วิมลวิทยานุกูล” ที่เห็นปัญหาน้ำเน่าเสียของคลองชลประทานที่ไหลผ่านโรงเรียนและปัญหาขยะในโรงเรียน จึงทำให้กลุ่มเยาวชนคิดและแก้ปัญหา โดยได้ประสานความร่วมมือกับโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จ.สระบุรีในการให้ความรู้และแนวคิดการทำกิจกรรม จากนั้นจึงได้เขียนข้อเสนอโครงการส่งมายังปลูกใจรักษ์โลก มูลนิธิกองทุนไทย
รายชื่อเยาวชนที่รับผิดชอบโครงการ
1.นางสาวเมธาพร หงษ์อ้าย ประธานกรรมการ
2.นางสาวพันธิวา เถาะรอด หัวหน้าฝ่ายภาคสนาม/บริการทั่วไป
3.นายชัยวัฒน์ รัตเนตร หัวหน้าส่งเสริมกิจกรรม
4.นางสาวปราณี แก้วดี
5.นางสาวรัตนาภรณ์ นวะบุตร
ข้อมูลพื้นที่ / ชุมชนที่ทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อม
โรงเรียนเสาไห้ “วิมลวิทยานุกูล” เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ประจำอำเภอ ตั้งอยู่ที่ อ.เสาไห้ จ.สระบุรี นักเรียนส่วนใหญ่เป็นนักเรียนที่อาศัยอยู่ในเขตใกล้เคียงโรงเรียน ผู้ปกครองร้อยละ 50 มีอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา เลี้ยงสัตว์ ทำประมงน้ำจืด
เป้าหมายของโครงการ
น้ำในคลองรับน้ำบริเวณโดยรอบโรงเรียน และในโรงเรียนจำนวน 10 จุดได้รับการบำบัดก่อนปล่อยลงสู่นา เกิดเครือข่ายเครือข่ายและความร่วมมือกันระหว่างโรงเรียนกับชาวนา ในชุมชนใกล้เคียงในการแก้ปัญหาและการอนุรักษ์แหล่งน้ำให้ใสสะอาด มีคุณภาพต่อการทำนา การเพาะปลูกและการอุปโภคบริโภค
สรุปผลโครงการรักษ์วารี
กลุ่มเยาวชนรักษ์วารี จ.สระบุรี
กลุ่มเยาวชนรักษ์วารี เกิดจากการรวมตัวของนักเรียนในโรงเรียนเสาไห้ “วิมลวิทยานุกูล” ที่เห็นปัญหาน้ำเน่าเสียของคลองชลประทานที่ไหลผ่านโรงเรียนและปัญหาขยะในโรงเรียน จึงทำให้กลุ่มเยาวชนคิดและแก้ปัญหา โดยได้ประสานความร่วมมือกับโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จ.สระบุรีในการให้ความรู้และแนวคิดการทำกิจกรรม จากนั้นจึงได้เขียนข้อเสนอโครงการส่งมายังปลูกใจรักษ์โลก มูลนิธิกองทุนไทย
รายชื่อเยาวชนที่รับผิดชอบโครงการ
1.นางสาวเมธาพร หงษ์อ้าย ประธานกรรมการ
2.นางสาวพันธิวา เถาะรอด หัวหน้าฝ่ายภาคสนาม/บริการทั่วไป
3.นายชัยวัฒน์ รัตเนตร หัวหน้าส่งเสริมกิจกรรม
4.นางสาวปราณี แก้วดี
5.นางสาวรัตนาภรณ์ นวะบุตร
ข้อมูลพื้นที่ / ชุมชนที่ทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อม
โรงเรียนเสาไห้ “วิมลวิทยานุกูล” เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ประจำอำเภอ ตั้งอยู่ที่ อ.เสาไห้ จ.สระบุรี นักเรียนส่วนใหญ่เป็นนักเรียนที่อาศัยอยู่ในเขตใกล้เคียงโรงเรียน ผู้ปกครองร้อยละ 50 มีอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา เลี้ยงสัตว์ ทำประมงน้ำจืด
เป้าหมายของโครงการ
น้ำในคลองรับน้ำบริเวณโดยรอบโรงเรียน และในโรงเรียนจำนวน 10 จุดได้รับการบำบัดก่อนปล่อยลงสู่นา เกิดเครือข่ายเครือข่ายและความร่วมมือกันระหว่างโรงเรียนกับชาวนา ในชุมชนใกล้เคียงในการแก้ปัญหาและการอนุรักษ์แหล่งน้ำให้ใสสะอาด มีคุณภาพต่อการทำนา การเพาะปลูกและการอุปโภคบริโภค
กระบวนการทำงานของกลุ่มเยาวชนในการแก้ไขปัญหาหรือดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชน
1.สำรวจปัญหาน้ำเน่าเสียและปัญหาขยะในโรงเรียนและรอบๆโรงเรียน
เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 57 สมาชิกชมรมรักษ์วารี 59 คน มาประชุมเพื่อออกแบบการสำรวจข้อมูลปัญหาน้ำเน่าเสียและปัญหาขยะ จากนั้นได้มีการแบ่งทีมงานลงสำรวจข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลการสำรวจที่ออกแบบร่วมกัน ในแบบสอบถามจะให้ระบุเกี่ยวกับความรุนแรงของปัญหา สาเหตุ จากนั้นให้แต่ละทีมนำข้อมูลมานำเสนอเพื่อคัดเลือกจุดสำรวจ ดังนี้ แหล่งน้ำในชุมชน 9 จุด และในโรงเรียน 1 จุด รวมเป็น 10 จุด เพื่อวางแผนในการแก้ไขปัญหาหรือลดความรุนแรงของปัญหาน้ำเสียนั้นต่อไป
2.รณรงค์ให้ความรู้ เรื่องสถานการณ์ปัญหาน้ำเน่าเสีย
กลุ่มเยาวชนได้จัดทำบอร์ดนิทรรศการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำเน่าเสีย และรณรงค์แก่นักเรียนในโรงเรียน ออกไปจัดนิทรรศการในตลาดนัดหน้าโรงเรียนเพื่อให้คนที่มาเดินตลาดได้รับรู้ จัดแสดงผลงานในวันประชุมผู้ปกครอง การพูดหน้าเสาธงเดือนละ 2 ครั้ง และแจกแผ่นพับ
ผลที่เกิดขึ้นคือขยะภายในโรงเรียนลดลง ขยะตามคลองหน้าโรงเรียนลดลง
3.กิจกรรมร่วมกันอนุรักษ์แหล่งน้ำและลดปัญหาน้ำเน่าเสีย
·กลุ่มเยาวชนฯรวมกันจัดทำ น้ำหมักชีวภาพ ระเบิดจุลินทรี และน้ำยาเอนกประสงค์ จากนั้นไปแจกจ่ายให้กับชาวบ้านได้ทดลองใช้ และนำไปจำหน่ายเพื่อนำรายได้มาต่อยอดกิจกรรม
·จัดทำตะแกรงคัดแยกขยะ
·ทำความสะอาดคลองน้ำหน้าโรงเรียนและหลังโรงเรียน
4.ประเมินผลการทำงานของกลุ่มเยาวชน
ประเมินความพึงพอใจผลของการทำกิจกรรมของกลุ่มเยาวชน โดยให้ตอบแบบสอบถาม มีผู้เข้าร่วม 59 คน ประกอบด้วย นักเรียน ครู และเจ้าหน้าที่โรงเรียน พบว่าการตอบรับอยู่ในระดับดี ชาวบ้านหันมาใช้น้ำหมักชีวภาพ และน้ำยาเอนกประสงค์มากขึ้น ทำให้น้ำมีคุณภาพดีขึ้น ชุมชนให้ความร่วมมือและมีความพึงพอใจที่เห็นว่าขยะลดลง
ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการของเยาวชน
1.ผลต่อกลุ่มเยาวชน
·มีการวางแผนการทำงาน
·การทำงานร่วมกันกับเพื่อน จากเมื่อก่อนไม่เคยได้รู้จักกันมาก่อน ไม่เคยทำงานร่วมกันมาก่อน แต่เมื่อมาทำโครงการทำให้ได้ทำงานร่วมกับเพื่อนๆ และเพื่อนๆมักจะคอยถามเสมอว่ามีอะไรให้ช่วยหรือเปล่า ทำให้เห็นถึงความรัก ความเสียสละที่ทำงานร่วมกัน
·เริ่มเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชนมากขึ้น เช่น เวลาไปเผยแพร่ความรู้ หรือไปแจกน้ำหมักชีวภาพ และ น้ำยาเอนกประสงค์ จะมีคนในชุมชนมาคอยบอกว่าทำอย่างนี้ดีมาก
2.ผลต่อแกนนำเยาวชน
·ทักษะเพิ่มขึ้น ได้แก่ การพูดนำเสนอ การสรุปงาน การเขียนโครงการ
·ยอมรับความคิดเห็นของเพื่อนที่ทำงานด้วยกัน
ปัญหา/อุปสรรค และแนวทางการแก้ไข
1.เวลาในการดำเนินกิจกรรมน้อย เพราะสมาชิกในกลุ่มเรียนหนัก และโรงเรียนมีกิจกรรมหลายกิจกรรมที่ต้องเข้าร่วม
2.ในกิจกรรมคัดแยกขยะ สมาชิกในกลุ่มมีน้อยทำให้เหนื่อยมาก จึงได้ประสานให้คณะสีส่งตัวแทนมาคัดแยกขยะแล้วนำเงินเข้าคณะสี
3.ยังมีนักเรียน บุคลากร และชาวบ้านไม่ให้ความร่วมมือ แต่ทางกลุ่มก็ยังคงทำกิจกรรมรณรงค์อย่างต่อเนื่อง
คุณค่าจากการทำโครงการ
·จากบุคคลบางกลุ่มที่คอยดูถูกว่าเราทำไปแล้วได้อะไรขึ้นมา จบมาแล้วทำเกษตรเลยไหม งานของพวกกรรมกร เมื่อพวกเขาได้เห็นในสิ่งที่พวกเราทำขึ้นมาทีละเล็กละน้อยจนมันสำเร็จไปได้ระดับหนึ่ง ทำให้พวกเขาหันมาชื่นชมเรา ทำให้พบว่า สิ่งใดก็ตามที่เราคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ดี แต่กลับไม่มีใครยอมรับ ก็ให้ทำไป แล้วสักวันพวกคนที่ไม่ยอมรับก็จะต้องกลับมื่นชมในสิ่งที่เราทำขึ้น
·เมื่อผ่านความลำบากมาหลายๆ ครั้งทำให้เราได้พบเพื่อนแท้
·พบว่ายังมีผู้คนอีกมากมายที่ยังให้การสนับสนุนในสิ่งที่เราทำเพื่อส่วนรวม
·การทำงานเพื่อคนอื่นแม้เราจะรู้สึกลำบากมากแค่ไหน แต่มันก็จะทำให้คุณค่าภายในตัวของเราเพิ่มมากขึ้น
·งานที่เราทำอาจดูเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ มันก็จะกลายเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาอย่างแท้จริง
อนาคตที่อยากทำต่อ
·ต้องการทำต่อเนื่อง และให้เพื่อนๆ รวมถึงทุกคนในโรงเรียนมาช่วยกัน
·สร้างแกนนำรุ่นต่อไป เพื่อช่วยกันสืบสานโครงการ และหาสมาชิกที่มีอุดมการณ์เดียวกันเพิ่มขึ้นเพื่องานจะได้แบ่งความรับผิดชอบกันทำให้สม่ำเสมอที่สุด
·พัฒนาทักษะในการเป็นผู้นำ และการพูดให้ความรู้ต่อชุมชน
·ยังคงเดินหน้าทำงานต่อตามแผนที่วางไว้ในโรงเรียนให้สม่ำเสมอและหาวิธีที่ใช้วัสดุธรรมชาติมาใช้
· ขยายผลกิจกรรมที่ทำ สู่โรงเรียนน้องข้างๆโรงเรียน ตั้งไว้ที่ 6 โรงเรียนตามแนวแม่น้ำป่าสักและสร้างแกนนำในโรงเรียนนั้นให้เกิดขึ้นจริงให้ได้
·ปรับปรุงผลการดำเนินงานของกลุ่มให้มีความแปลกใหม่มากขึ้น
·อยากขยายผลสู่แม่ค้า ร้านค้าตามจุดต่างๆ ที่ปล่อยน้ำเสีย หรือ ให้ความรู้โดยแจกแผ่นพับตามตลาดนัดถ้ามีเวลาว่าง
การเรียนรู้ของแกนนำเยาวชน
นายชัยวัฒน์ รัตเนตร (อาร์ม) อายุ 16 ปี
กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 4 (วิทย์-คณิต) โรงเรียนเสาไห้ “วิมลวิทยานุกูล”
“ในหลวงคือแรงบันดาลใจในการทำกิจกรรมเพราะในหลวงท่านทรงทำงานหนักเพื่อประชาชนชาวไทย”
ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ (การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง ความสุข ฯ)
เป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่ ได้ความรู้ และได้ลงมือทำในสิ่งใหม่ที่ไม่เคยได้ทำมาก่อน เช่น เขียนเค้าโครงในการทำโครงการ เรียนรู้เกี่ยวกับการบำบัดน้ำเสีย การทำน้ำหมักชีวภาพ EM Ball และการทำน้ำยาเอนกประสงค์ ซึ่งสามารถทำรายได้ให้กับกลุ่ม และโรงเรียนจากการนำผลิตภัณฑ์ไปขาย
นางสาวเมธาพร หงส์อ้าย (มีน)อายุ 16 ปี
กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 4 (วิทย์-คณิต) โรงเรียนเสาไห้ “วิมลวิทยานุกูล”
“แรงบันดาลใจมาจากในหลวง ที่ได้ทรงมีพระราชกรณียกิจมากมายที่พระองค์ทรงทำเพื่อคนไทย ประเทศชาติของเรา พระองค์ทรงเป็นผู้นำในการดูแลสิ่งแวดล้อมของหนู สิ่งที่พระองค์ทำมันทำให้หนูรู้สึกว่าขนาดพระเจ้าอยู่หัวของเราพระองค์ที่มีพระราชกรณียกิจในด้านต่างๆมากมาย พระองค์ทรงค่อยดูแลสิ่งแวดล้อม ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น แล้วทำไมเราถึงไม่ทำบ้าง หลังจากนั้นหนูจึงตัดสินใจที่จะมาทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม”
ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ (การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง ความสุข ฯ)
จากที่ไม่ต้องเป็นผู้นำในการทำงานเพราะมักจะเป็นผู้ตามเสมอ ไม่เคยต้องทำงานหนัก คือไม่ต้องมาจับดิน จับจอบ หรือจับขี้วัว ไม่เคยรู้ว่าคนที่ทำให้น้ำเน่าเสียคือทุกคนที่อยู่ในชุมชมซึ่งเป็นสาเหตุหลักเป็นเพราะความไม่ใส่ใจ ไม่เคยทำโครงการและทำโครงการไม่เป็น แต่หลังจากที่ได้มาเข้าร่วมในโครงการแล้ว ตลอดระยะเวลาการเข้าอบรม และการลงมือทำกิจกรรม ก็ได้ฝึกความเป็นผู้นำให้กับตัวเอง ได้ความรู้ในการบำบัดน้ำเสีย ได้อยู่กับธรรมชาติมากขึ้น รวมถึงสามารถทำงานหนักได้ และยังได้ความรู้เรื่องการทำโครงการเพิ่มมากขึ้นจากการนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมในพื้นที่ของตนได้
นางสาวพันธิวา เถาะรอด (เพลง) อายุ 16 ปี
กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 4 (วิทย์-คณิต) โรงเรียนเสาไห้ “วิมลวิทยานุกูล”
“แรงบันดาลใจคือในหลวง เพราะว่าในหลวงท่านทรงทำงานเพื่อแผ่นดินโดยไม่หวังผลตอบแทน ท่านทรงทำงานด้วยความตั้งพระทัย ทรงหาโครงการต่างๆ เช่น แก้มลิง เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อช่วยกันพัฒนาประเทศของเราโดยที่ท่านทำโดยปิดทองหลังพระ”
ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ (การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง ความสุข ฯ)
ก่อนที่ได้เข้าร่วมโครงการยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับการทำโครงการ ไม่รู้จักการทำน้ำยาเอนกประสงค์ น้ำหมักและอื่นๆ ไม่ได้มีส่วนช่วยในการรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน เพราะไม่ทราบถึงปัญหาของทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน ไม่กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นต่อผู้อื่น เมื่อได้ทำกิจกรรมกับเพื่อนๆในโครงการแล้ว ก็ได้ทราบปัญหาที่เกิดขึ้นภายในชุมชนทั้งที่เกิดต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและคนในชุมชน ได้รับความรู้ใหม่ๆ จากการทำโครงการ เช่น วิธีการบัดน้ำเสีย การทำน้ำยาเอนกประสงค์ไว้ใช้เอง ได้วิธีการทำงานร่วมกับเพื่อนในกลุ่ม และเห็นความสามัคคีภายในกลุ่มทำงาน ได้ลงมือทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ และช่วยดูแลระบบนิเวศของชุมชน และมีจิตสำนึกในการทำงานเพื่อส่วนรวมมากกว่าทำงานเพื่อตนเอง
พี่เลี้ยง/ที่ปรึกษา
นางสุวารี จำนงค์ศาสตร์ (ครูเอื้อม) อายุ 44 ปี
ครูวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเสาไห้ “วิมลวิทยานุกูล” จ.สระบุรี
“ดีใจมากที่มีโอกาสเป็นพี่เลี้ยงเยาวชนปลูกใจรักษ์โลก จริงแล้ว มันก็เป็นอาชีพครู ซึ่งก็ไม่ต่างกัน เข้าใจเขา ให้โอกาส ช่วยเหลือ สั่งสอน เป็นต้น มันเป็นปกติสำหรับอาชีพครู เห็นเด็กทำงานเพื่อสังคมมีจิตอาสาเยาวชนปลูกใจรักษ์โลก ต่างกับกิจกรรมการเรียน การสอนตรงที่ นักเรียนมีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตนเอง กับทีมวิทยากร ทำให้ทำงานเก่งขึ้น ดีขึ้น เชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น”
โครงการรักษ์วารี
กลุ่มเยาวชนรักษ์วารี โรงเรียนเสาไห้ “วิมลวิทยานุกูล” จ.สระบุรี
ผู้ประสานงาน เมธาพร หงษ์อ้าย (มีน)โทรศัพท์ 08-977-52812 อีเมล์ Mathaporn.hongai.1@facebook.com