กลุ่มสานเสียนรักษ์โลก เกิดจากการรวมตัวกันของนักศึกษา ชั้นปี 2 คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
รายชื่อสมาชิกกลุ่มเยาวชน
1.นายสิทธิการ เจริญงามประธานโครงการ
2.นายอชิตพล อินทรไชยรองประธานโครงการ
3.นางสาวปัญญาทิพย์ บุญเส็งเลขานุการ
4.นางสาวธมลวรรณ สาเจริญ
5.นางสาวโสรญา วรรณขำ
6.นางสาวสุภาพร วงศ์รื่น
7.นายศตวรรณ แก้วไทย
8.นายเจตชนินทร์ เอ้งฉ้วน
ข้อมูลพื้นที่ หรือ ชุมชนที่ทำโครงการ
คลองชวดหมัน หรือคลองชวดต้นหมัน เป็นแหล่งน้ำจืดธรรมชาติประเภทน้ำผิวดิน ที่ไหลผ่านทางด้านหลังของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 3.5 กิโลเมตร ความกว้างประมาณ 3 เมตร ลึกประมาณ 1.5 เมตร ในอดีตประชาชนบริเวณคลองเคยใช้
ประโยชน์จากน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค แต่ในปัจจุบันประชาชนไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เนื่องจากคุณภาพน้ำ อาจเนื่องมาจากกิจกรรมต่างๆ เช่น การปล่อยน้ำทิ้งของชุมชน และโรงงานอุตสาหกรรม การตื้นเขินของลำคลอง และการเน่าเสียของพืชน้ำ เป็นต้น (กนกอร ศรีจันทวงษ์ และคณะ 2551: 18-20)
โจทย์ปัญหา และเหตุผลที่ทำโครงการ
จากการสัมภาษณ์ลุงจำลอง สุขสบาย (ปราชญ์ชาวบ้าน) ที่อาศัยอยู่ในชุมชนมากว่า 50 ปี พบว่า น้ำในคลองชวดหมันในสมัยก่อนใสมาก จนสามารถมองเห็นก้นคลองได้และในคลองนี้จะมีความอุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยพืชและสัตว์แทบทุกชนิด ลุงจำลองกล่าวว่า
“ในอดีตจำนวนประชากรก็ยังน้อยอยู่ ชาวบ้านใช้เรือพายและเรือแจวในการไปมาหาสู่กัน แต่ปัจจุบันนี้สภาพแวดล้อมของชุมชนเปลี่ยนแปลงไปมาก ความเปลี่ยนแปลงเริ่มขึ้นเมื่อประมาณปี 2508 หลังจากการสร้างถนนบางนา-ตราดขึ้น นายทุนเริ่มเข้ามาซื้อที่เพื่อสร้างโรงงาน หมู่บ้านจัดสรร อพาร์ทเม้นท์
เมื่อมีคนมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากก็จะปล่อยของเสียต่างๆ ลงสู่คลอง จนในที่สุดคลองก็ถึงภาวะวิกฤติเน่าเสียอย่างทุกวันนี้”
ปัจจุบันสภาพน้ำในคลองชวดหมันเป็นสีดำ ส่งกลิ่นเหม็น และมีขยะถูกทิ้งอยู่ในลำคลองมากมาย เช่น ถุงพลาสติก ขวดน้ำ แก้วน้ำ กล่องสินค้าผลิตภัณฑ์เครื่องใช้อุปโภค บริโภคในครัวเรือน เป็นต้น ปรากฏการณ์เหล่านี้สะท้อนว่า คนในชุมชนเองก็มีส่วนละเลยความสำคัญของคลองชวดหมันด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้คนที่อาศัยอยู่ในชุมชนเริ่มต้นพัฒนาคลองด้วยตนเองก่อน ด้วยการปลูกจิตสำนึกที่จะอนุรักษ์ลำคลองร่วมกัน โดยทำให้เห็นว่าลำคลองชวดหมันแห่งนี้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของทุกคนที่อาศัยในชุมชนที่ต้องรับผิดชอบช่วยกันอนุรักษ์ไว้ให้สามารถกลับมาใช้ประโยชน์ในการอุปโภค บริโภคได้อย่างเช่นในอดีต แม้ว่าชาวชุมชนบางคน หรือบางกลุ่มจะเพียงแค่เข้ามาอาศัยชั่วคราว แต่ลำคลองแห่งนี้ก็คือส่วนหนึ่งของชุมชนที่ทุกคนเข้ามาอาศัยอยู่ ดังนั้นการสร้างความร่วมมือร่วมใจกันของทุกคนที่เข้ามาอาศัยอยู่ในชุมชนจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเร่งทำก่อนเรื่องใด เพราะทุกคนที่เข้ามาอาศัยอยู่ในชุมชนแห่งนี้สามารถใช้ประโยชน์จากลำคลองได้เช่นกัน แม้ไม่ใช่เป็นคนดั้งเดิมของชุมชน ซึ่งการจัดทำโครงการนี้ขึ้นจึงเป็นเสมือนเครื่องมือที่ช่วยประสานความร่วมมือร่วมใจให้เห็นถึงประโยชน์ของส่วนรวม และกระตุ้นให้ทุกคนที่อาศัยอยู่ในชุมชนเกิดความตระหนักมีความรับผิดชอบร่วมกัน เกิดการทำงานจิตอาสาขึ้นในชุมชนเพื่ออนุรักษ์ลำคลองชวดหมันให้กลับมาสามารถใช้ประโยชน์ได้เหมือนดั่งอดีต
เป้าหมายของโครงการ
ลำคลองมีสภาพภูมิทัศน์ที่ดี ไม่มีกลิ่นเหม็น และไม่มีขยะในลำคลอง ชาวบ้านในชุมชนรับรู้ถึงสถานการณ์ปัญหาน้ำเน่าเสียและให้ความสำคัญกับลำคลองเกิดความร่วมมือร่วมใจในการดูแลรักษา และฟื้นฟูลำคลองให้มีสภาพที่ดีขึ้น ซึ่งให้ความสำคัญว่าลำคลองให้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของทุกคนที่เข้ามาอาศัยอยู่ในชุมชน และสามารถกลับมาใช้ประโยชน์จากลำคลองได้มากขึ้น เช่น การพายเรือ การนำน้ำมารดต้นไม้ เป็นต้น
กลุ่มเป้าหมาย
1)ครัวเรือนที่อาศัยอยู่บริเวณลำคลองชวดหมัน
2)มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
3)องค์การบริหารส่วนตำบลโฉลง
สรุปผลโครงการส่งเสริมวัยใส ใส่ใจลำคลอง
กลุ่มเยาวชนสานเสียน จ.สมุทรปราการ
กลุ่มสานเสียนรักษ์โลก เกิดจากการรวมตัวกันของนักศึกษา ชั้นปี 2 คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
รายชื่อสมาชิกกลุ่มเยาวชน
1.นายสิทธิการ เจริญงามประธานโครงการ
2.นายอชิตพล อินทรไชยรองประธานโครงการ
3.นางสาวปัญญาทิพย์ บุญเส็งเลขานุการ
4.นางสาวธมลวรรณ สาเจริญ
5.นางสาวโสรญา วรรณขำ
6.นางสาวสุภาพร วงศ์รื่น
7.นายศตวรรณ แก้วไทย
8.นายเจตชนินทร์ เอ้งฉ้วน
ข้อมูลพื้นที่ หรือ ชุมชนที่ทำโครงการ
คลองชวดหมัน หรือคลองชวดต้นหมัน เป็นแหล่งน้ำจืดธรรมชาติประเภทน้ำผิวดิน ที่ไหลผ่านทางด้านหลังของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 3.5 กิโลเมตร ความกว้างประมาณ 3 เมตร ลึกประมาณ 1.5 เมตร ในอดีตประชาชนบริเวณคลองเคยใช้
ประโยชน์จากน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค แต่ในปัจจุบันประชาชนไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เนื่องจากคุณภาพน้ำ อาจเนื่องมาจากกิจกรรมต่างๆ เช่น การปล่อยน้ำทิ้งของชุมชน และโรงงานอุตสาหกรรม การตื้นเขินของลำคลอง และการเน่าเสียของพืชน้ำ เป็นต้น (กนกอร ศรีจันทวงษ์ และคณะ 2551: 18-20)
โจทย์ปัญหา และเหตุผลที่ทำโครงการ
จากการสัมภาษณ์ลุงจำลอง สุขสบาย (ปราชญ์ชาวบ้าน) ที่อาศัยอยู่ในชุมชนมากว่า 50 ปี พบว่า น้ำในคลองชวดหมันในสมัยก่อนใสมาก จนสามารถมองเห็นก้นคลองได้และในคลองนี้จะมีความอุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยพืชและสัตว์แทบทุกชนิด ลุงจำลองกล่าวว่า
“ในอดีตจำนวนประชากรก็ยังน้อยอยู่ ชาวบ้านใช้เรือพายและเรือแจวในการไปมาหาสู่กัน แต่ปัจจุบันนี้สภาพแวดล้อมของชุมชนเปลี่ยนแปลงไปมาก ความเปลี่ยนแปลงเริ่มขึ้นเมื่อประมาณปี 2508 หลังจากการสร้างถนนบางนา-ตราดขึ้น นายทุนเริ่มเข้ามาซื้อที่เพื่อสร้างโรงงาน หมู่บ้านจัดสรร อพาร์ทเม้นท์
เมื่อมีคนมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากก็จะปล่อยของเสียต่างๆ ลงสู่คลอง จนในที่สุดคลองก็ถึงภาวะวิกฤติเน่าเสียอย่างทุกวันนี้”
ปัจจุบันสภาพน้ำในคลองชวดหมันเป็นสีดำ ส่งกลิ่นเหม็น และมีขยะถูกทิ้งอยู่ในลำคลองมากมาย เช่น ถุงพลาสติก ขวดน้ำ แก้วน้ำ กล่องสินค้าผลิตภัณฑ์เครื่องใช้อุปโภค บริโภคในครัวเรือน เป็นต้น ปรากฏการณ์เหล่านี้สะท้อนว่า คนในชุมชนเองก็มีส่วนละเลยความสำคัญของคลองชวดหมันด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้คนที่อาศัยอยู่ในชุมชนเริ่มต้นพัฒนาคลองด้วยตนเองก่อน ด้วยการปลูกจิตสำนึกที่จะอนุรักษ์ลำคลองร่วมกัน โดยทำให้เห็นว่าลำคลองชวดหมันแห่งนี้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของทุกคนที่อาศัยในชุมชนที่ต้องรับผิดชอบช่วยกันอนุรักษ์ไว้ให้สามารถกลับมาใช้ประโยชน์ในการอุปโภค บริโภคได้อย่างเช่นในอดีต แม้ว่าชาวชุมชนบางคน หรือบางกลุ่มจะเพียงแค่เข้ามาอาศัยชั่วคราว แต่ลำคลองแห่งนี้ก็คือส่วนหนึ่งของชุมชนที่ทุกคนเข้ามาอาศัยอยู่ ดังนั้นการสร้างความร่วมมือร่วมใจกันของทุกคนที่เข้ามาอาศัยอยู่ในชุมชนจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเร่งทำก่อนเรื่องใด เพราะทุกคนที่เข้ามาอาศัยอยู่ในชุมชนแห่งนี้สามารถใช้ประโยชน์จากลำคลองได้เช่นกัน แม้ไม่ใช่เป็นคนดั้งเดิมของชุมชน ซึ่งการจัดทำโครงการนี้ขึ้นจึงเป็นเสมือนเครื่องมือที่ช่วยประสานความร่วมมือร่วมใจให้เห็นถึงประโยชน์ของส่วนรวม และกระตุ้นให้ทุกคนที่อาศัยอยู่ในชุมชนเกิดความตระหนักมีความรับผิดชอบร่วมกัน เกิดการทำงานจิตอาสาขึ้นในชุมชนเพื่ออนุรักษ์ลำคลองชวดหมันให้กลับมาสามารถใช้ประโยชน์ได้เหมือนดั่งอดีต
เป้าหมายของโครงการ
ลำคลองมีสภาพภูมิทัศน์ที่ดี ไม่มีกลิ่นเหม็น และไม่มีขยะในลำคลอง ชาวบ้านในชุมชนรับรู้ถึงสถานการณ์ปัญหาน้ำเน่าเสียและให้ความสำคัญกับลำคลองเกิดความร่วมมือร่วมใจในการดูแลรักษา และฟื้นฟูลำคลองให้มีสภาพที่ดีขึ้น ซึ่งให้ความสำคัญว่าลำคลองให้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของทุกคนที่เข้ามาอาศัยอยู่ในชุมชน และสามารถกลับมาใช้ประโยชน์จากลำคลองได้มากขึ้น เช่น การพายเรือ การนำน้ำมารดต้นไม้ เป็นต้น
กลุ่มเป้าหมาย
1)ครัวเรือนที่อาศัยอยู่บริเวณลำคลองชวดหมัน
2)มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
3)องค์การบริหารส่วนตำบลโฉลง
กระบวนการทำงานของกลุ่มเยาวชนในการแก้ไขปัญหาหรือดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน
1.ปลูกจิตสำนึกคนที่อาศัยอยู่ในชุมชนให้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมของชุมชน
·ลงพื้นที่สำรวจปริมาณครัวเรือนศึกษาสาเหตุและปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ทำให้คลองเน่าเสีย เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 56 แกนนำ 5 คน พร้อมด้วยอาจารย์ที่ปรึกษาลงพื้นที่สำรวจ ครั้งนี้ทำให้กลุ่มได้ข้อมูลสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้ลำคลองเน่าเสีย ได้ข้อมูลแผนภาพครัวเรือนที่ตั้งอยู่บริเวณลำคลองชวดหมัน
·นำข้อมูลจากการสำรวจมาจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านทางช่องต่างๆ เพื่อระดมความร่วมมือจิตอาสา เช่น Facebook
·สำรวจปริมาณครัวเรือน และศึกษาสาเหตุ ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ทำให้คลองเน่าเสียเพิ่มเติม โดยการทำแผนที่เดินดิน
2.ส่งเสริมให้คนที่อาศัยอยู่ในชุมชนมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูลำคลองชวดหมันให้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของชุมชน
·จัดกิจกรรมประชุมแลกเปลี่ยนคณะทำงานแกนนำ เพื่อวางแผนการดำเนินงาน เมื่อวันที่ 30 พค. 57 ครั้งนี้ทำให้กลุ่มได้แผนการทำงานที่เป็นรูปธรรม มีผู้รับผิดชอบในแต่ละงาน
·ประสานงานระดมทุนทั้งภายใน (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, มหาวิทยาลัย) และภายนอกชุมชน (เอกชน) ซึ่งได้รับการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมพัฒนาลำคลอง มีภาคีเครือข่ายในการทำงาน เกิดแผนการทำงานพัฒนาลำคลองประจำปี 2557 ของคณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลับหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
·จัดทำสื่อแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 20-29 มิ.ย. 57 มีจิตอาสา จำนวน 100 คน ประกอบด้วย นักศึกษา อาจารย์ และเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยร่วมกันจัดทำสื่อ
3.ฟื้นฟูคลองชวนหมันใสสะอาด ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีขยะ กลับมาใช้ประโยชน์ได้ และทำให้สภาพภูมิทัศน์ของลำคลองดีขึ้น
·จัดกิจกรรมเก็บขยะและปรับปรุงภูมิทัศน์ลำคลองชวดหมัน เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 57 มีจิตอาสาเข้าร่วมรวม 86 คน ประกอบด้วย นักศึกษา อาจารย์ และเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัย
ปัญหา อุปสรรค
1.ไม่ได้จัดทำสื่อวีดีทัศน์ตามที่คิดไว้เนื่องจากไม่มีบุคลากรที่มีความชำนาญในการทำ
2.ไม่ได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับคนที่อาศัยอยู่บริเวณคลองชวดหมัน เนื่องจากคนในชุมชนมีเวลาว่างไม่ตรงกัน เพราะส่วนใหญ่ต้องทำงานนอกบ้าน, ระยะเวลาในการดำเนินงานโครงการค่อนข้างจำกัด จึงทำให้ไม่สามารถประสานงานเพื่อขอความร่วมมือในการเข้าร่วมได้อย่างเต็มที่ และภายในโครงการมีหลายกิจกรรมที่จำเป็นต้องทำ อีกทั้งต้องใช้งบประมาณในการจัดกิจกรรมค่อนข้างมาก โดยเฉพาะเรื่องอาหาร เครื่องดื่ม และสถานที่ ซึ่งยังไม่มีแหล่งทุนสนับสนุนที่เพียงพอ
3.การสร้างแกนนำจิตอาสาน้อยในชุมชน ไม่ได้ทำเนื่องจากชุมชนไม่ค่อยมีเด็กและเยาวชนอาศัยอยู่, ระยะเวลาค่อนข้างจำกัดจึงไม่สามารถประสานงานเพื่อขอความร่วมมือกับโรงเรียนในชุมชนได้เต็มที่, การติดต่อประสานงานกับโรงเรียนภายในชุมชนเป็นช่วงที่นักเรียนมีกิจกรรมอื่นๆค่อนข้างมาก และต้องใช้งบประมาณในการจัดกิจกรรมค่อนข้างมาก โดยเฉพาะเรื่องอาหาร เครื่องดื่ม และสถานที่ ซึ่งยังไม่มีแหล่งทุนสนับสนุนที่เพียงพอ
4.กิจกรรมการฟื้นฟูและอนุรักษ์ลำคลองน้ำหมักชีวภาพ ปริมาณน้ำหมักชีวภาพที่ได้รับการสนับสนุนมีไม่เพียงพอกับการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียของลำคลอง
5.ไม่ได้จัดสัมมนาสรุปการดำเนินการ เนื่องจากระยะเวลาในการดำเนินงานโครงการค่อนข้างจำกัด, แกนนำจิตอาสาที่เข้าร่วมกิจกรรมอยู่ในช่วงปิดเทอมซึ่งหลายคนต้องการเดินทางกลับบ้านต่างจังหวัด จึงไม่สามารถเข้าร่วมสัมมนาการดำเนินการได้ อีกทั้งต้องใช้งบประมาณในการจัดกิจกรรมค่อนข้างมาก โดยเฉพาะเรื่องอาหาร เครื่องดื่ม และสถานที่ ซึ่งยังไม่มีแหล่งทุนสนับสนุนที่เพียงพอ
ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
1.ความร่วมมือของนักศึกษาที่พร้อมใจทำงานจิตอาสาภายใต้หลักปรัชญาของมหาวิทยาลัย คือ การเรียนรู้เพื่อรับใช้สังคม และได้จัดทำเป็นแผนงานในระดับคณะวิชา เพื่อพัฒนาต่อยอดให้เกิดการทำโครงการพัฒนาลำคลองชวดหมันในทุกๆปี ซึ่งจะถูกระบุไว้เป็นวัฒนธรรมในการต้อนรับน้องใหม่ของคณะวิชาด้วย
2.การทำงานเป็นทีม จากปัญหาต่างๆที่พบไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกน้อยใจจากการถูกทอดทิ้ง แรงกดดัน ทำให้เกิดพลังที่จะต้องช่วยกันทำกิจกรรมโครงการให้ออกมาดีที่สุด
3.แกนนำเยาวชนมีทักษะในการระดมทรัพยากร เพราะการทำกิจกรรมต้องอประสานความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน เช่น อปท. มหาวิทยาลัย ชุมชน ผู้ประกอบการ ร้านค้า หอพัก เป็นต้น เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการอนุรักษ์ลำคลองชวดหมันร่วมกัน
4.ชุมชนให้ความร่วมมือและสนับสนุนเข้าร่วมกิจกรรม ช่วยเก็บขยะ ผักตบชวา บางครั้งก็ซื้อน้ำดื่ม น้ำแข็งมาให้ พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะในการจัดทำกิจกรรมโครงการ และอยากให้ทำอย่างต่อเนื่อง
5.เนื่องจากปัญหาน้ำเน่าเสียในลำคลองเป็นปัญหาที่สะสมมานานหลายปี การทำโครงการนี้เป็นเพียงการเริ่มต้นเพื่อให้คนในชุมชนตระหนัก และเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ลำคลองเท่านั้น แต่ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีในการอนุรักษ์ฟื้นฟูลำคลองชวดหมัน เพราะเกิดการทำงานร่วมกันกับหลายฝาย ไม่ว่าจะเป็นชุมชน มหาวิทยาลัย องค์กรภาครัฐ และภาคเอกชน จึงทำให้กลายเป็นกระแสที่ทุกคนอยากให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะมีความหวังว่าลำคลองจะกลับมาใสสะอาดเหมือนเดิม
บทเรียนและข้อค้นพบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ
1.การทำให้ทุกคนมองเห็นปัญหาร่วมกันจะเป็นจุดสำคัญที่ทำให้เกิดการรวมพลังในการทำงานได้เป็นอย่างดี เพราะปัญหาที่ทุกคนเจอจะเป็นพลังผลักดันในการทำให้เกิดความรู้สึกอยากช่วยกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นๆ โดยเฉพาะปัญหาน้ำเน่าเสียของลำคลองชวดหมัน ซึ่งทุกคนเข้ามาร่วมทำกิจกรรมล้วนยอมรับว่าตนเองมีส่วนเกี่ยวข้องที่ทำให้เกิดปัญหานี้ขึ้น จึงต้องพยายามที่จะช่วยทำให้ลำคลองชวดหมันกลับมาใสสะอาดดังเดิม
2.การสร้างพลังการทำงานของเยาวชนเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้น การกระตุ้นการทำงานแบบจิตอาสาจึงต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง และแสดงออกถึงความจริงใจ มีมิตรภาพที่ดี เพื่อไม่ให้เยาวชนเกิดความท้อถอย และไม่อยากทำกิจกรรมโครงการอาสาเช่นนี้ แต่ทุกอย่างก็ผ่านมาได้เพราะการทำงานเป็นทีมอย่างสามัคคี แกนนำต่างฝ่ายต่างช่วยกันหนุนเสริมพลังซึ่งกันและกัน เพื่อให้ผ่านพ้นปัญหาอุปสรรคต่างๆที่เกิดขึ้นมาบั่นทอนความรู้สึก
.................................................................................................
การเรียนรู้ของแกนนำเยาวชน
นายสิทธิกร เจริญงาม (เติ้ล) อายุ 20 ปี
กำลังศึกษาชั้นปริญญาตรี คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ในช่วงแรกทำงานไม่เป็นระบบ และขาดหลักการในการทำงาน ซึ่งการทำงานโครงการทำให้ได้วิธีการทำงานโดยมีการประชุมแบ่งบทบาทหน้าที่ ทำให้การทำงานชัดเจนมากขึ้นนอกจากนี้ยังได้ทักษะการระดมทรัพยากรและความร่วมมือในการงาน
นายอชิตพล อินทร์ไชย (นิว) อายุ 20 ปี
กำลังศึกษาชั้นปริญญาตรี คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
“เดิมคิดว่าตัวเองมีองค์ความรู้ในด้านต่างๆ และมีข้อมูลพื้นฐานในการดำเนินการที่จะขอร่วมการทำงานจากภาคีเครือข่ายมีทักษะ กระบวนการในการดำเนินงานโครงการจากประสบการณ์เดิมที่เคยได้ร่วมทำกิจกรรม” แต่สิ่งที่ได้จากการทำโครงการคือ สามารถประเมินทีมที่ทำงานของเราได้ได้รับความร่วมมือเป้นอย่างอีจากภาคีเครือข่ายจนได้ประสบการณ์ในด้านต่างๆ จากผลตอบรับที่เกิดขึ้น ทำให้รู้ว่าผู้ร่วมทีมได้รับข้อมูลที่แตกต่างไปจากเรา เพราะมีความต่างในเรื่องของการให้ข้อมูลในเบื้อต้นหรือข้อมูลพื้นฐานที่แต่ละคนได้รับ
*******
ที่ปรึกษาโครงการ
นางสาวเบญจพร บัวสำลี (อาจารย์ก้อย) อายุ......ปี
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
*******
โครงการส่งเสริมวัยใส ใส่ใจลำคลอง
กลุ่มสานเสียนรักษ์โลก มหาวิทยาลัยหัวเฉียว จ.สมุทรปราการ
ผู้ประสานงาน สิทธิกร เจริญงาม (เติ้ล)โทรศัพท์ 08-435-7414 อีเมล์ Sittikorn_mic@hotmail.com