โครงการฮอมแฮงฮักป่าซาง (กลุ่มเยาวชนฟรีด้อมโปรเจคเชียงราย จ.เชียงราย)
โครงการฮอมแฮงฮักป่าซาง (กลุ่มเยาวชนฟรีด้อมโปรเจคเชียงราย จ.เชียงราย)
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สรุปผลโครงการฮอมแฮงฮักป่าซาง
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

ฮอมแฮงฮักป่าซาง

กลุ่มเยาวชนฟรีด้อมโปรเจคเชียงราย จ.เชียงราย

­

เยาวชนกลุ่มหนึ่งซึ่งมักจะเข้ามาร่วมทำกิจกรรมกับ มูลนิธิ The SOLD Project เช่น เรียนคอมพิวเตอร์ เรียนภาษาอังกฤษ หรือมาร่วมกิจกรรมตามเทศกาลต่างๆ เช่น วันเด็ก วันคริสมาส เป็นต้น จนกระทั้งมีทางมูลนิธิฯได้รับเอกสารประชาสัมพันธ์โครงการปลูกใจรักษ์โลก น.ส.นงนุช จำปารัตน์ (แข) จึงได้ชักชวนเด็กๆมาทำโครงการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เพราะเห็นว่าในหมู่บ้านก็มีป่าชุมชนอยู่เป็นหย่อมๆ เด็กๆจึงได้รวมตัวกันและตั้งชื่อกลุ่มว่า “กลุ่มเยาวชนฟรีด้อมโปรเจคเชียงราย” พ.ศ. 2556

­

รายชื่อสมาชิกกลุ่มเยาวชน

1.น.ส.อังคณา หมื่นแก้ว

2.น.ส.จุฑามาศ นาลัย

3.น.ส.สุธินี ละราธิ

4.น.ส.ไพรินทร์ น้อยสถิต

5.น.ส.ทิพย์สุดา วินประโคน

­

ข้อมูลพื้นที่ / ชุมชนที่ทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อม

ป่าชุมชนในหมู่บ้านป่าซางใต้ มีเนื้อที่ 1,567 ไร่ อยู่ในหมู่ที่ 2 ตำบลโป่งแพร่ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย มีลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ลาดชัน ภูเขาสูง ทรัพยากรที่มีมากในป่าชุมชน คือ หน่อไม้ เห็ด ผักป่าตามฤดู สมุนไพรต่างๆ คนในชุมชุนมีอาชีพทำการเกษตร เช่น ทำไร่หมุนเวียน ข้าวโพด ข้าวไร่ ข้าวนา ขิง และทำสวนมะเขือเทศ มะระ ถั่วฝักยาว และมีอาชีพรับจ้างทั่วไป เผาถ่านขาย ทำเฟอร์นิเจอร์ขาย ตัดลำไผ่ขาย

­

โจทย์ปัญหา และเหตุผลที่ทำโครงการ

สภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุมชน คือ ป่าชุมชนเสื่อมโทรม มีการตัดต้นไม้ เผาป่า เพื่อขยายพื้นที่ทำกิน คนในชุมชนและนอกชุมชน มาตัดต้นไม้ไปทำเฟอร์นิเจอร์ นอกจากนั้นก็มีการเผาถ่านใช้เองและนำไปขาย ทำให้ต้นไม้ในป่าชุมชนลดน้อยลง แหล่งอาหารของคนและสัตว์ลดลง รายได้เสริมของคนในชุมชนก็ลดลงด้วย เพราะ เห็ด หน่อไม้ ผักป่า สมุนไพร ลดน้อยลงมาก สาเหตุเกิดจากการที่คนในชุมชนตัดต้นไม้ เผาป่า ทำให้ความชุ่มชื่นและความหลากหลายทางชีวภาพ ลดน้อยลงอย่างมาก ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ทำให้การเกษตรก็ได้ผลผลิตที่น้อยตามไปด้วย อากาศก็เปลี่ยนแปลงไปมาก

­

พวกเราซึ่งเป็นลูกหลานอาศัยอยู่ในชุมชนจึงตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและหวงแหนป่าชุมชนของเรา เพราะว่าการที่ป่าชุมชนเกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้นทำให้เราได้รับผลกระทบโดยตรงเกี่ยวกับรายได้ของครอบครัวเพราะว่าปกติครอบครัวของเรามีรายได้เสริม เมื่อเกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้นทำให้รายได้เสริมจากการเก็บเห็ดและการเก็บของป่าขายลดลง

­

เป้าหมายของโครงการ

เพื่อให้เยาวชนได้เก็บข้อมูลป่าชุมชนว่ามีอะไรหลงเหลืออยู่บ้างและได้เรียนรู้สถานการณ์ปัญหาและสามารถคืนข้อมูลและคนในชุมชนจะร่วมให้ข้อมูลความรู้แก่เรา

­

พื้นที่ดำเนินการป่าใช้สอยชุมชน (ปงฝาย)

กลุ่มเป้าหมายแกนนำเยาวชนและเยาวชนในชุมชนบ้านป่าซาง ต.โป่งแพร่ อ.แม่ลาว จ.เชียงราย

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

ฮอมแฮงฮักป่าซาง


กลุ่มเยาวชนฟรีด้อมโปรเจคเชียงราย จ.เชียงราย


เยาวชนกลุ่มหนึ่งซึ่งมักจะเข้ามาร่วมทำกิจกรรมกับ มูลนิธิ The SOLD Project เช่น เรียนคอมพิวเตอร์ เรียนภาษาอังกฤษ หรือมาร่วมกิจกรรมตามเทศกาลต่างๆ เช่น วันเด็ก วันคริสมาส เป็นต้น จนกระทั้งมีทางมูลนิธิฯได้รับเอกสารประชาสัมพันธ์โครงการปลูกใจรักษ์โลก น.ส.นงนุช จำปารัตน์ (แข) จึงได้ชักชวนเด็กๆมาทำโครงการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เพราะเห็นว่าในหมู่บ้านก็มีป่าชุมชนอยู่เป็นหย่อมๆ เด็กๆจึงได้รวมตัวกันและตั้งชื่อกลุ่มว่า “กลุ่มเยาวชนฟรีด้อมโปรเจคเชียงราย” พ.ศ. 2556


รายชื่อสมาชิกกลุ่มเยาวชน

1.น.ส.อังคณา หมื่นแก้ว

2.น.ส.จุฑามาศ นาลัย

3.น.ส.สุธินี ละราธิ

4.น.ส.ไพรินทร์ น้อยสถิต

5.น.ส.ทิพย์สุดา วินประโคน

­

ข้อมูลพื้นที่ / ชุมชนที่ทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อม

ป่าชุมชนในหมู่บ้านป่าซางใต้ มีเนื้อที่ 1,567 ไร่ อยู่ในหมู่ที่ 2 ตำบลโป่งแพร่ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย มีลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ลาดชัน ภูเขาสูง ทรัพยากรที่มีมากในป่าชุมชน คือ หน่อไม้ เห็ด ผักป่าตามฤดู สมุนไพรต่างๆ คนในชุมชุนมีอาชีพทำการเกษตร เช่น ทำไร่หมุนเวียน ข้าวโพด ข้าวไร่ ข้าวนา ขิง และทำสวนมะเขือเทศ มะระ ถั่วฝักยาว และมีอาชีพรับจ้างทั่วไป เผาถ่านขาย ทำเฟอร์นิเจอร์ขาย ตัดลำไผ่ขาย

­

โจทย์ปัญหา และเหตุผลที่ทำโครงการ

สภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุมชน คือ ป่าชุมชนเสื่อมโทรม มีการตัดต้นไม้ เผาป่า เพื่อขยายพื้นที่ทำกิน คนในชุมชนและนอกชุมชน มาตัดต้นไม้ไปทำเฟอร์นิเจอร์ นอกจากนั้นก็มีการเผาถ่านใช้เองและนำไปขาย ทำให้ต้นไม้ในป่าชุมชนลดน้อยลง แหล่งอาหารของคนและสัตว์ลดลง รายได้เสริมของคนในชุมชนก็ลดลงด้วย เพราะ เห็ด หน่อไม้ ผักป่า สมุนไพร ลดน้อยลงมาก สาเหตุเกิดจากการที่คนในชุมชนตัดต้นไม้ เผาป่า ทำให้ความชุ่มชื่นและความหลากหลายทางชีวภาพ ลดน้อยลงอย่างมาก ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ทำให้การเกษตรก็ได้ผลผลิตที่น้อยตามไปด้วย อากาศก็เปลี่ยนแปลงไปมาก

­

พวกเราซึ่งเป็นลูกหลานอาศัยอยู่ในชุมชนจึงตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและหวงแหนป่าชุมชนของเรา เพราะว่าการที่ป่าชุมชนเกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้นทำให้เราได้รับผลกระทบโดยตรงเกี่ยวกับรายได้ของครอบครัวเพราะว่าปกติครอบครัวของเรามีรายได้เสริม เมื่อเกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้นทำให้รายได้เสริมจากการเก็บเห็ดและการเก็บของป่าขายลดลง

­

เป้าหมายของโครงการ

เพื่อให้เยาวชนได้เก็บข้อมูลป่าชุมชนว่ามีอะไรหลงเหลืออยู่บ้างและได้เรียนรู้สถานการณ์ปัญหาและสามารถคืนข้อมูลและคนในชุมชนจะร่วมให้ข้อมูลความรู้แก่เรา

­

พื้นที่ดำเนินการป่าใช้สอยชุมชน (ปงฝาย)

กลุ่มเป้าหมายแกนนำเยาวชนและเยาวชนในชุมชนบ้านป่าซาง ต.โป่งแพร่ อ.แม่ลาว จ.เชียงราย

­

กระบวนการทำงานของกลุ่มเยาวชนในการแก้ไขปัญหาหรือดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน

  1. เก็บข้อมูลป่าชุมชนปงฝาย ซึ่งเป็นป่าใช้สอย เพื่อให้กลุ่มเยาวชน และเยาวชนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ และสมุนไพรที่มีอยู่ในป่าชุมชน และมีจิตสำนึกรักษาทรัพยากรธรรมชาติในป่าชุมชน
  2. เก็บข้อมูลประวัติป่าชุมชน โดยได้ไปสัมภาษณ์ชาวบ้าน
  3. เมื่อวันที่ 30 เม.ย. – 1 พ.ค. ได้จัดอบรมการสำรวจป่า โดยได้เชิญวิทยากรจากมูลนิธิกองทุนไทยมาให้ความรู้การสำรวจป่า และได้สำรวจป่าใช้สอย (ปงฝาย) โดยการตีแปลง 3 แปลง ทำให้ได้ข้อมูลต้นไม้ 34 ชนิด เช่น ต้นขี้เหล็ก จามจุรี เปือย ต้นหัด นอกจากนี้ยังพบพืชสมุนไพร เช่น ดีหมี เป็นต้น
  4. จากนั้นได้จัดค่าย “ฮอมแฮงฮักป่าซาง” โดยมีเยาวชนเข้าร่วม 28 คน มี นายก อบต. มาเป็นประธานในพิธีเปิดและพร้อมให้การสนับสนุน มีพ่อเฒ่ามาเล่าเรื่องประวัติป่าชุมชน
  5. เยาวชนมาร่วมด้วยช่วยกันเพาะเมล็ดพันธุ์ไม้ป่า ซึ่งได้ทำการเพาะเมล็ดมะค่า 100 เมล็ด ราชฟฤกษ์ 100 ต้น ประดู่ 20 ต้น
  6. นำต้นกล้าจากแปลงเพาะมาลงในถุงดำและแจกให้กับสมาชิกไปปลูกที่บ้าน และได้มีการจัดประกวดให้รางวัลแก่เด็กที่นำต้นไม้ไปปลูกที่บ้าน โดยแกนนำเยาวชนจะลงไปเยี่ยมที่บ้านติดตามการเติบโตของต้นไม้และให้รางวัลเล็กๆน้อยๆ เช่น สมุด ปากกา ดินสอ


ปัญหา/อุปสรรค และแนวทางการแก้ไข

  1. ในวันจัดค่ายฮอมแฮงฮักป่าซางเกิดแผ่นดินไหว ในช่วงเย็นวันแรกของการจัดค่ายทำให้วันที่สองไม่สามารถจัดค่ายต่อได้ แต่ทางกลุ่มก็ได้นัดหมายจัดค่ายต่อหลังเหตุการณ์สงบ
  2. กลุ่มเยาวชนเกิดความขัดแย้งกัน แบ่งพรรค แบ่งพวก ซึ่งมีผลต่อการทำกิจกรรมร่วมกัน
  3. ในการเพาะเมล็ดพันธุ์ด้วยตนเองไม่สำเร็จ เพราะเยาวชนไม่มีความรู้ในเรื่องการเพาะกล้าไม้ จึงได้เชิญเจ้าหน้าที่จากกรมป่าไม้มาให้ความรู้
  4. เยาวชนไม่กล้าแสดงความคิดเห็นและไม่กล้าแสดงออก เพราะไม่เคยทำงานร่วมกันและไม่คุ้นเคยสนิทกัน พี่เลี้ยงจึงต้องใช้วิธีการให้ตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นเป็นรายบุคคล
  5. เวลาว่างของแกนนำไม่ตรงกัน ทำให้มีผลต่อการวางแผนทำกิจกรรม และดำเนินงานล่าช้า พี่เลี้ยงจึงใช้วิธีนัดหมายคนที่ว่างมาช่วยทำงานก่อนไม่ต้องรอให้ครบทุกคน
  6. เยาวชนยังไม่ค่อยรับผิดชอบต่อหน้าที่ บางครั้งมีเล่นในเวลาทำงาน พี่เลี้ยงจึงต้องคอยย้ำเตือนและชี้แจง แบ่งหน้าที่อีกครั้งหนึ่งก่อนทำงาน

­

บทเรียนและข้อค้นพบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานโครงการ

  1. ได้เรียนรู้พันธุ์ไม้ที่หลากหลายในป่าชุมชน จากที่ไม่เคยรู้มาก่อน
  2. การทำให้คนในชุมชนและเพื่อนๆหันมาให้ความสนใจเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต้องเริ่มจากตัวเองก่อน
  3. การสื่อสารกับผู้ใหญ่ในชุมชนหรือชาวบ้านต้องสื่อสารให้ชัดเจน เข้าใจง่ายและเวลานัดกับผู้ใหญ่ควรจะทำความเข้าใจให้ตรงกันเพื่อความแน่นอน
  4. การทำงานในชุมชนให้สำเร็จได้นั้นต้องอาศัยคนหลายๆกลุ่มแค่กลุ่มแกนนำเยาวชนเพียงกลุ่มเดียวนั้นเป็นไปได้ยาก อย่างน้อยต้องมีแนวร่วมหรือกลุ่มอื่นๆที่คอยสนับสนุนงานของพวกเราด้วย

­


ผลที่เกิดจากการดำเนินโครงการ

  1. การเรียนรู้การทำงานเป็นทีม การแบ่งบทบาทหน้าที่ และการวางแผนการทำงาน
  2. เยาวชนได้เรียนรู้เกี่ยวกับทรัพยากรป่าไม้ เห็นถึงความสำคัญ และอยากอนุรักษ์ไว้
  3. เห็นคุณค่าในตัวเองจากการทำกิจกรรม
  4. แกนนำเยาวชน มีภาวะผู้นำมากขึ้น
  5. ผู้นำชุมชนเห็นความตั้งใจของเยาวชนที่อยากช่วยกันอนุรักษ์ป่าอย่างจริงจัง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

­

การเรียนรู้ของแกนนำเยาวชน



นางสาว อังคณา หมื่นแก้ว (แคท) อายุ 16 ปี

กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 4 (วิทย์-คณิต) โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์

ตำแหน่ง/หน้าที่รับผิดชอบ หัวหน้ากลุ่ม

­

แรงบันดาลใจที่มาทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมหรือเข้ามาร่วมกับกลุ่มเยาวชน

“จากการที่ดิฉันได้เข้าร่วมปลูกป่าครั้งแรกทำให้ดิฉันได้รับความรู้ เห็นถึงผลกระทบทางธรรมชาติทั้งต่อตนเองและครอบครัว และได้ทราบประโยชน์ของต้นไม้มากยิ่งขึ้น จึงอยากจะทำโครงการขึ้น”

­

ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ (การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง ความสุข ฯ)

  • ได้ฝึกในเรื่องของการรักษาเวลาและเทคนิคความรู้เรื่องการทำสันทนาการ
  • เรียนรู้วิธีการทำงานจากผู้อื่น รวมถึงความแตกต่างในเรื่องของความคิดและทัศนคติที่ไม่เหมือนกันในแต่ละคน
  • ได้ฝึกความรับผิดชอบ และจัดงานตามความถนัดและเหมาะสมให้แต่ละคนได้ รวมถึงสามารถออกแบบกิจกรรมตามความเหมาะสมกับวัย
  • ฝึกการพูดสื่อสาร จนสามารถอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจสิ่งที่ตัวเองต้องการสื่อสารออกไป

­



นางสาว จุฑามาส นาลัย (ดรีม) อายุ 17 ปี

กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ไทย-สังคม-อังกฤษ) โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์

ตำแหน่ง/หน้าที่รับผิดชอบ ผู้ประสานงาน

­

ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ (การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง ความสุข ฯ)

  • มีวิธีการและได้แนวคิดในการออกแบบกิจกรรมที่ชัดเจนมากขึ้น
  • สามารถคิดเกมเพื่อใช้ในกิจกรรมสันทนาการในค่ายเองได้
  • จัดค่ายกิจกรรมการให้ความรู้เกี่ยวกับการสำรวจป่า
  • สามารถเขียนบันทึกและเก็บข้อมูลได้ดีมากขึ้น และครบถ้วน
  • ได้เรียนรู้และทำการเพาะต้นกล้าพันธ์ไม้

­

ที่ปรึกษาโครงการ



นางสาวนงนุช จำปารัตน์ (พี่แข) อายุ 27 ปี

ผู้จัดการด้านพัฒนาชุมชน มูลนิธิ The SOLD Project

­

“คิดว่ามันเป็นโครงการที่ดีมากๆ ถ้า เด็กๆ ที่เราดูแลอยู่เขามีโอกาสได้คิดที่จะทำอะไรเพื่อชุมชนของตัวเองได้เป็นหูเป็นตาว่า ชุมชนอื่นเขาทำอะไรกันบ้าง เด็กๆ ที่อื่นๆ เขามีความคิดทัศนคติอย่างไรบ้าง เพราะที่ผ่านมาในชุมชนที่เราอยู่ก็ไม่เคยมีกิจกรรมอะไรที่ทำเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมาก่อนเลย แถมเด็กๆ ก็ไม่เคยทำกิจกรรมอะไรแบบนี้ ตัวฉันเองก็สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมเรื่องของชุมชนอยู่แล้วเป็นทุนเดิม จึงไปชวนน้องๆ 3 คน มาดูรายละเอียดการรับสมัครโครงการและมาช่วยกันคิดโครงการเขียนโครงการส่งมา”

­

ทั้งๆ ที่ตัวเองที่เป็นพี่เลี้ยงก็ไม่เคยทำงานด้านสิ่งแวดล้อมมาก่อน แค่สนใจเท่านั้น ไม่มีประสบการณ์ในการเป็นพี่เลี้ยงโครงการมาก่อน ทำให้บางครั้งเรามักจะแสดงความคิดเห็นของตัวเองมากเกินไปจนกลายเป็นว่าเป็น “โครงการที่เราจะคิดขึ้นมามากกว่า มันไม่ใช่ความต้องการที่แท้จริงของเด็กรึป่าวนะ” มากไปกว่านั้น พี่แขยังคอยทำหน้าที่ที่จะต้องทำยังไงให้เด็กๆ เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันร่วมแรงร่วมใจกันได้จริงๆ บทบาทพี่แขส่วนใหญ่จึงเป็นไปในลักษณะเหมือนเพื่อนร่วมทีมไปกับน้องๆ 

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ