จิ๋วมหัศจรรย์ สร้างบ้านในฝัน ชุมชนปลอดขยะ
กลุ่มเยาวชนอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าดอนหนองโจน จ.ร้อยเอ็ด
สมัยก่อนเยาวชนบ้านสำราญ ต.หนองแคน อ.ปทุมรัตน์ จ.ร้อยเอ็ด เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มคนหนุ่มสาว โดยจะให้เยาวชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมประเพณีต่างๆของหมู่บ้าน เช่น งานปีใหม่ งานลอยกระทง ที่ผ่านมากิจกรรมของเยาวชนในหมู่บ้านถือว่าไม่เด่นอะไร กลุ่มคนหนุ่มสาวสมัยนั้นหลายคนไม่ได้เรียนต่อ พอจบประถมก็ช่วยพ่อแม่ทำงาน โตขึ้นหน่อยพอดูแลตัวเองได้ก็ไปทำงานรับจ้างที่กรุงเทพ จึงทำให้กิจกรรมของเยาวชนขาดช่วงไป ไม่มีพี่เลี้ยง อีกทั้งปัจจุบันเยาวชนจะสนใจสื่อทีวี เพลง อินเตอร์เน็ตมากกว่ามารวมตัวกันทำกิจกรรม
จนกระทั้งพี่สว่าง สุขแสง หนึ่งในสมาชิกกลุ่มคนหนุ่มสาวสมัยนั้นได้กลับมาอยู่บ้านเมื่อปี 2550 เห็นว่ากิจกรรมของเยาวชนเงียบลงจึงกลับมารื้อฟื้นจัดตั้งกลุ่มเยาวชนอีกครั้งเมื่อปลายปี 2552 กิจกรรมแรกที่ชวนเด็กๆในหมู่บ้านมาช่วยกัน คือ จัดงานลอยกระทง เพื่อระดมเงินมาไว้ใช้ในกิจกรรมของเด็กๆ ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือจากผู้ใหญ่ในหมู่บ้านเป็นอย่างดี ขณะเดียวกันก็พบว่ามีปัญหาการทิ้งขยะในบริเวณป่าดอนหนองโจน พี่สว่างจึงชวนเด็กๆจาก 3 หมู่บ้าน คือ บ้านสำราญ บ้านหนองบาก และบ้านหนองบัวบาน มาช่วยกันเก็บขยะในป่าและรณรงค์ไม่ทิ้งขยะบริเวณป่าผ่านตัวเด็ก เพื่อให้เด็กกลับไปบอกพ่อแม่ที่บ้าน จากนั้นปี 2553 ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่าได้เข้ามาพัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชนและหนุนเสริมการทำกิจกรรมของกลุ่มเยาวชนในรูปแบบเครือข่าย “ต้นกล้าในป่าใหญ่” ทำให้ กลุ่มเยาวชนอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าดอนหนองโจน ได้ทำกิจกรรมเรื่อยมาจนถีงปัจจุบัน
รายชื่อสมาชิกกลุ่มเยาวชน
1.นางสาวเพชรรัตน์ ศิริเพชร ผู้รับผิดชอบโครงการ/ประชาสัมพันธ์
2.นางสาวอรญา ชัยหา การเงิน
3.นายจักรพันธ์ สุขแสง ผู้ประสานงานโครงการ
4.นางสาววิลัย ไตรล้ำ
5.นางสาวธัญญลักษณ์ รนกระโทก
6.ด.ญ.วิไลวรรณ วัฒนวงค์คีรี
7.ด.ญ.รัชนีพร ลุยตัน
8.ด.ช.วิวัฒน์ นาคะ
9.ด.ช.อภิสิทธิ์ แว่นไธสงค์
ข้อมูลพื้นที่ / ชุมชนที่ทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อม
ตำบลหนองแคน อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด อยู่ห่างจากตัวจังหวัดร้อยเอ็ดประมาณ 56 กิโลเมตร อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวจังหวัดร้อยเอ็ด และอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอปทุมรัตต์ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 10 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมด 26,327 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ทำการเกษตร 25,174 ไร่ สภาพภูมิประเทศทั่วไปของตำบลหนองแคนส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ดอน เป็นดินร่วนปนทรายมีสภาพแห้งแล้งและขาดระบบชลประทาน มีจำนวน 14 หมู่บ้าน รวมประชากรทั้งสิ้น 7,842 คน แยกเป็นชาย 3,818 คน หญิง 4,024 คน สภาพป่าไม้ตำบลหนองแคน โดยทั่วไปป่าไม้ธรรมชาติมีน้อย และมีความเสื่อมโทรม
โจทย์ปัญหา และเหตุผลที่ทำโครงการ
สถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นของตำบลหนองแคน คือ คนในชุมชนและนอกชุมชนนำขยะมาทิ้งในที่สาธารณะและป่าชุมชน จึงส่งผลกระทบ ส่งกลิ่นเหม็นและเป็นมลพิษทางอากาศ มีสารพิษตกค้างในดิน ทำให้ความสวยงามของป่าไม้ลดลง ต้นไม้ไม่เจริญเติบโตเต็มที่ในบริเวณทิ้งขยะ แหล่งอาหารทางธรรมชาติถูกทำลาย ซึ่งมีสาเหตุมาจากคนในชุมชนยังไม่มีการจัดการขยะในครัวเรือน และ คนนอกชุมชนยังไม่เข้าใจและไม่เห็นความสำคัญของปัญหาส่วนรวม หน่วยงานท้องถิ่นกับชุมชนไม่มีแนวทางหรือข้อตกลงและวิธีการจัดการปัญหาขยะอย่างเหมาะสม จึงส่งผลให้คนในชุมชนจัดการปัญหาขยะด้วยตนเอง เลยส่งผลกระทบต่อชุมชนและที่สาธารณะในชุมชนเพราะจำนวนขยะมีจำนวนเพิ่มคนอย่างต่อเนื่อง
กลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าดอนหนองโจน ซึ่งเป็นกลุ่มเยาวชนที่รับผลกระทบจากปัญหาขยะที่ส่งกลิ่นเหม็นและส่งผลให้ป่าชุมชนซึ่งเป็นแหล่งอาหารของคนในชุมชนเสื่อมโทรม อย่างเห็นได้ชัด จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะเร่งแก้ไขปัญหาการทิ้งขยะ ซึ่งมาจากคนในชุมชนและนอกชุมชน และการสร้างกระบวนการเรียนรู้การจัดการขยะในครัวเรือน สร้างจิตสำนึกให้กับคนในชุมชนและเชื่อมโยงเครือข่ายเยาวชนในตำบลหนองแคน ให้เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเพื่อแก้ไขปัญหาในดังกล่าว และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและยังเป็นการสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป
เป้าหมายของโครงการ
เยาวชนและคนในชุมชนเข้าใจถึงปัญหา สาเหตุ ครัวเรือนในชุมชน 20 ครัวเรือน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีการจัดการขยะจากครัวเรือน และเกิดแนวทางในการแก้ปัญหาขยะร่วมกันของชุมชน
กระบวนการทำงานของกลุ่มเยาวชนในการแก้ไขปัญหาหรือดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน
- กิจกรรมทำความเข้าใจการทำโครงการและออกแบบเครื่องมือในการสำรวจข้อมูลขยะในชุมชน โดยกลุ่มแกนนำเยาวชน ร่วมกับผู้นำชุมชน ผู้อำนวยการโรงเรียน เพื่อให้เกิดความเข้าใจและได้ร่วมมือในการจัดการปัญหาขยะร่วมกันในทุกภาคส่วน เช่น โรงเรียน ผู้นำชุมชน กลุ่ม อสม. และเยาวชน รวมทั้งได้เครื่องมือในการสำรวจข้อมูลปริมาณขยะในระดับครัวเรือนเพื่อนำไปเป็นข้อมูลกำหนดแนวทางการจัดการปัญหาร่วมกัน
- กิจกรรมค่ายเยาวชนฮักถิ่นอีสาน เป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างความเข้าใจให้กับกลุ่มเยาวชนที่อยู่ในพื้นที่บ้านสำราญ บ้านหนองบากและบ้านสวนปอ เรื่องแบบสำรวจข้อมูลปริมาณขยะ เพื่อให้กลุ่มเยาวชนสามารถนำกลับไปสอบถามที่ครัวเรือนของตนเองและครัวเรือนใกล้เคียงได้ รวมถึงให้เยาวชนมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการขยะ
- กิจกรรมรณรงค์ สร้างความเข้าใจเรื่องการจัดการขยะและกระตุ้นให้คนในชุมชนจัดการขยะในบ้านเรือนของตนเอง เป็นกิจกรรมที่เชิญชวนให้ครัวเรือนในชุมชนเข้ามาร่วมกันจัดการขยะ โดยเริ่มจากครัวเรือนของตนเองก่อน และขยายออกมาเป็นการจัดการขยะร่วมกันในชุมชน
จิ๋วมหัศจรรย์ สร้างบ้านในฝัน ชุมชนปลอดขยะ
กลุ่มเยาวชนอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าดอนหนองโจน จ.ร้อยเอ็ด
สมัยก่อนเยาวชนบ้านสำราญ ต.หนองแคน อ.ปทุมรัตน์ จ.ร้อยเอ็ด เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มคนหนุ่มสาว โดยจะให้เยาวชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมประเพณีต่างๆของหมู่บ้าน เช่น งานปีใหม่ งานลอยกระทง ที่ผ่านมากิจกรรมของเยาวชนในหมู่บ้านถือว่าไม่เด่นอะไร กลุ่มคนหนุ่มสาวสมัยนั้นหลายคนไม่ได้เรียนต่อ พอจบประถมก็ช่วยพ่อแม่ทำงาน โตขึ้นหน่อยพอดูแลตัวเองได้ก็ไปทำงานรับจ้างที่กรุงเทพ จึงทำให้กิจกรรมของเยาวชนขาดช่วงไป ไม่มีพี่เลี้ยง อีกทั้งปัจจุบันเยาวชนจะสนใจสื่อทีวี เพลง อินเตอร์เน็ตมากกว่ามารวมตัวกันทำกิจกรรม
จนกระทั้งพี่สว่าง สุขแสง หนึ่งในสมาชิกกลุ่มคนหนุ่มสาวสมัยนั้นได้กลับมาอยู่บ้านเมื่อปี 2550 เห็นว่ากิจกรรมของเยาวชนเงียบลงจึงกลับมารื้อฟื้นจัดตั้งกลุ่มเยาวชนอีกครั้งเมื่อปลายปี 2552 กิจกรรมแรกที่ชวนเด็กๆในหมู่บ้านมาช่วยกัน คือ จัดงานลอยกระทง เพื่อระดมเงินมาไว้ใช้ในกิจกรรมของเด็กๆ ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือจากผู้ใหญ่ในหมู่บ้านเป็นอย่างดี ขณะเดียวกันก็พบว่ามีปัญหาการทิ้งขยะในบริเวณป่าดอนหนองโจน พี่สว่างจึงชวนเด็กๆจาก 3 หมู่บ้าน คือ บ้านสำราญ บ้านหนองบาก และบ้านหนองบัวบาน มาช่วยกันเก็บขยะในป่าและรณรงค์ไม่ทิ้งขยะบริเวณป่าผ่านตัวเด็ก เพื่อให้เด็กกลับไปบอกพ่อแม่ที่บ้าน จากนั้นปี 2553 ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่าได้เข้ามาพัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชนและหนุนเสริมการทำกิจกรรมของกลุ่มเยาวชนในรูปแบบเครือข่าย “ต้นกล้าในป่าใหญ่” ทำให้ กลุ่มเยาวชนอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าดอนหนองโจน ได้ทำกิจกรรมเรื่อยมาจนถีงปัจจุบัน
รายชื่อสมาชิกกลุ่มเยาวชน
1.นางสาวเพชรรัตน์ ศิริเพชร ผู้รับผิดชอบโครงการ/ประชาสัมพันธ์
2.นางสาวอรญา ชัยหา การเงิน
3.นายจักรพันธ์ สุขแสง ผู้ประสานงานโครงการ
4.นางสาววิลัย ไตรล้ำ
5.นางสาวธัญญลักษณ์ รนกระโทก
6.ด.ญ.วิไลวรรณ วัฒนวงค์คีรี
7.ด.ญ.รัชนีพร ลุยตัน
8.ด.ช.วิวัฒน์ นาคะ
9.ด.ช.อภิสิทธิ์ แว่นไธสงค์
ข้อมูลพื้นที่ / ชุมชนที่ทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อม
ตำบลหนองแคน อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด อยู่ห่างจากตัวจังหวัดร้อยเอ็ดประมาณ 56 กิโลเมตร อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวจังหวัดร้อยเอ็ด และอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอปทุมรัตต์ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 10 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมด 26,327 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ทำการเกษตร 25,174 ไร่ สภาพภูมิประเทศทั่วไปของตำบลหนองแคนส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ดอน เป็นดินร่วนปนทรายมีสภาพแห้งแล้งและขาดระบบชลประทาน มีจำนวน 14 หมู่บ้าน รวมประชากรทั้งสิ้น 7,842 คน แยกเป็นชาย 3,818 คน หญิง 4,024 คน สภาพป่าไม้ตำบลหนองแคน โดยทั่วไปป่าไม้ธรรมชาติมีน้อย และมีความเสื่อมโทรม
โจทย์ปัญหา และเหตุผลที่ทำโครงการ
สถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นของตำบลหนองแคน คือ คนในชุมชนและนอกชุมชนนำขยะมาทิ้งในที่สาธารณะและป่าชุมชน จึงส่งผลกระทบ ส่งกลิ่นเหม็นและเป็นมลพิษทางอากาศ มีสารพิษตกค้างในดิน ทำให้ความสวยงามของป่าไม้ลดลง ต้นไม้ไม่เจริญเติบโตเต็มที่ในบริเวณทิ้งขยะ แหล่งอาหารทางธรรมชาติถูกทำลาย ซึ่งมีสาเหตุมาจากคนในชุมชนยังไม่มีการจัดการขยะในครัวเรือน และ คนนอกชุมชนยังไม่เข้าใจและไม่เห็นความสำคัญของปัญหาส่วนรวม หน่วยงานท้องถิ่นกับชุมชนไม่มีแนวทางหรือข้อตกลงและวิธีการจัดการปัญหาขยะอย่างเหมาะสม จึงส่งผลให้คนในชุมชนจัดการปัญหาขยะด้วยตนเอง เลยส่งผลกระทบต่อชุมชนและที่สาธารณะในชุมชนเพราะจำนวนขยะมีจำนวนเพิ่มคนอย่างต่อเนื่อง
กลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าดอนหนองโจน ซึ่งเป็นกลุ่มเยาวชนที่รับผลกระทบจากปัญหาขยะที่ส่งกลิ่นเหม็นและส่งผลให้ป่าชุมชนซึ่งเป็นแหล่งอาหารของคนในชุมชนเสื่อมโทรม อย่างเห็นได้ชัด จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะเร่งแก้ไขปัญหาการทิ้งขยะ ซึ่งมาจากคนในชุมชนและนอกชุมชน และการสร้างกระบวนการเรียนรู้การจัดการขยะในครัวเรือน สร้างจิตสำนึกให้กับคนในชุมชนและเชื่อมโยงเครือข่ายเยาวชนในตำบลหนองแคน ให้เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเพื่อแก้ไขปัญหาในดังกล่าว และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและยังเป็นการสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป
เป้าหมายของโครงการ
เยาวชนและคนในชุมชนเข้าใจถึงปัญหา สาเหตุ ครัวเรือนในชุมชน 20 ครัวเรือน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีการจัดการขยะจากครัวเรือน และเกิดแนวทางในการแก้ปัญหาขยะร่วมกันของชุมชน
กระบวนการทำงานของกลุ่มเยาวชนในการแก้ไขปัญหาหรือดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน
- กิจกรรมทำความเข้าใจการทำโครงการและออกแบบเครื่องมือในการสำรวจข้อมูลขยะในชุมชน โดยกลุ่มแกนนำเยาวชน ร่วมกับผู้นำชุมชน ผู้อำนวยการโรงเรียน เพื่อให้เกิดความเข้าใจและได้ร่วมมือในการจัดการปัญหาขยะร่วมกันในทุกภาคส่วน เช่น โรงเรียน ผู้นำชุมชน กลุ่ม อสม. และเยาวชน รวมทั้งได้เครื่องมือในการสำรวจข้อมูลปริมาณขยะในระดับครัวเรือนเพื่อนำไปเป็นข้อมูลกำหนดแนวทางการจัดการปัญหาร่วมกัน
- กิจกรรมค่ายเยาวชนฮักถิ่นอีสาน เป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างความเข้าใจให้กับกลุ่มเยาวชนที่อยู่ในพื้นที่บ้านสำราญ บ้านหนองบากและบ้านสวนปอ เรื่องแบบสำรวจข้อมูลปริมาณขยะ เพื่อให้กลุ่มเยาวชนสามารถนำกลับไปสอบถามที่ครัวเรือนของตนเองและครัวเรือนใกล้เคียงได้ รวมถึงให้เยาวชนมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการขยะ
- กิจกรรมรณรงค์ สร้างความเข้าใจเรื่องการจัดการขยะและกระตุ้นให้คนในชุมชนจัดการขยะในบ้านเรือนของตนเอง เป็นกิจกรรมที่เชิญชวนให้ครัวเรือนในชุมชนเข้ามาร่วมกันจัดการขยะ โดยเริ่มจากครัวเรือนของตนเองก่อน และขยายออกมาเป็นการจัดการขยะร่วมกันในชุมชน
ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
ผลต่อกลุ่มเยาวชน
เกิดการขยายความรับผิดชอบในการจัดกิจกรรมให้กับแกนนำเยาวชนรุ่นที่ 2 เช่นบ้านสวนปอ มีแกนนำที่สามารถประชุมร่วมกับผู้นำชุมชนได้โดยที่ไม่ต้องมีพี่เลี้ยงจากกลุ่มใหญ่
ผลต่อแกนนำเยาวชน
ที่เห็นได้ชัดคือ การกล้าที่จะแสดงออกต่อผู้ใหญ่มากขึ้น เช่น หนิง (นางสาวเพชรรัตน์ ศิริเพชร) กล้าที่จะนำเสนองานต่อนายก อบต.หนองแคน ถึงกิจกรรมที่กลุ่มเยาวชนได้ร่วมกันทำงานที่ผ่านมา,โป่ง (นายจักรพันธ์ สุขแสง) เจน (นางสาววิลัย ไตรล้ำ) กล้าที่จะนำกิจกรรมเกม สันทนาการ ให้กับกลุ่มน้องๆเยาวชนในค่าย
ผลต่อชุมชน
- ชุมชนเป้าหมาย 3 ชุมชน 4 หมู่บ้าน คือบ้านสวนปอ บ้านหนองบาก และบ้านสำราญ มีการร่วมมือกันออกมาทำความสะอาด ชาวบ้านในชุมชนลุกขึ้นมามีบทบาทสำคัญในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน ด้วยการเสนอให้มีการจัดการขยะที่บ้านเรือนของตัวเองก่อนที่จะออกมาสู่สังคม
- มีการลดการทิ้งขยะในที่สาธารณะลงได้มาก เช่น บ้านสวนปอ และบ้านหนองบาและป่าดอนหนองโจน
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแคนมีการสนับสนุนงบประมาณให้หมู่บ้านที่ทำกิจกรรมรณรงค์เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการจัดการปัญหาขยะ
ผลต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ภายในชุมชนดูสะอาด ลดภาพขยะที่ทิ้งเต็มถนน
- ชาวบ้านกล้าที่จะไปหาอาหารในป่าเพราะมีการลดการทิ้งลงได้เยอะ
- ชาวบ้านเห็นความสำคัญต่อทรัพยากรของตัวเองมากเช่น มีคนแปลกหน้าเข้าไปในป่าชุมชน จะแจ้งกรรมการป่าทันที เพราะกลัวเข้าไปขโมยไม้ เป็นต้น
ปัญหาอุปสรรค/แนวทางแก้ปัญหา
- ทีมแกนนำเยาวชนที่ป็นแกนนำหลัก จะไม่ค่อยมีเวลาว่าง ต้องเตรียมอ่านหนังสือและไปเรียนพิเศษเพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย จึงไม่ค่อยได้เข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ วิธีการแก้ไขปัญหาคือ พยายามดึงกลุ่มเยาวชนรุ่นที่ 2 ซึ่งส่วนใหญ่กำลังเรียนอยู่ในระดับ ม.ต้น เข้ามาร่วมทำและคิดกิจกรรมมากขึ้น เพื่อพัฒนาเป็นแกนนำในการทำกิจกรรมต่อไป
- ทางโรงเรียนมัธยม มักจะมีกิจกรรมสำหรับเด็กนักเรียนช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ทำให้กลุ่มเยาวชนไม่ค่อยมีช่วงเวลาว่างในการทำกิจกรรมในชุมชน วิธีการแก้ไขปัยหาคือ กลุ่มเยาวชนพยายามประสานงานกับทางโรงเรียนเพื่อเป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดกิจกรรม เช่นกิจกรรมค่ายเยาวชน เพื่อให้กลุ่มเยาวชนได้เข้าร่วมกิจกรรม
อนาคตที่อยากทำต่อ
- การขยายพื้นที่การจัดการปัญหาขยะไปยังหมู่บ้านในตำบลหนองแคนจำนวน 14 หมู่บ้าน และสร้างกระบวนการเรียนรู้การจัดการปัญหาขยะแก่กลุ่มเครือข่ายเยาวชนและประชาชนในตำบลหนองแคน
การเรียนรู้ของแกนนำเยาวชน
นางสาวเพชรรัตน์ ศิริเพชร (หนิง) อายุ 17 ปี
กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนปทุมรัตต์พิทยาคม
ตำแหน่ง ผู้รับผิดชอบโครงการ/ประชาสัมพันธ์
แรงบันดาลใจที่มาทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมหรือเข้ามาร่วมกับกลุ่มเยาวชน
อนุรักษ์และรักษาไม้ในสิ่งที่ตนรักและชอบทิ้ง ธรรมชาติ(ป่าตก)และหยุดยั่งกระบวนการทำลายสิ่งแวดล้อมของคนในชุมชน เช่น การทิ้งขยะ ตัดไม้ทำลายป่า
บทบาทหน้าที่
- ช่วยเป็นผู้ช่วยในการสันทนาการในการจัดค่าย
- ถ่ายทอดความรู้ที่ได้จากการเข้าค่ายหรือพัฒนาศักยภาพให้น้องๆสมาชิกในกลุ่ม
- ทำความเข้าใจ ฝึกฝนและพัฒนาศักยภาพของน้องๆ เพื่อเป็นแกนนำรุ่นต่อไป
ได้เรียนรู้เรื่องการทำงานเป็นกลุ่มมากขึ้น จากแต่ก่อนตอนที่ทำงานร่วมกับผู้ใหญ่ เราก็จะเป็นตัวแทนของกลุ่มเพื่อนๆและน้อง รับงานมาจากผู้ใหญ้แล้วก็หมอบหมายให้คนอื่นๆไป ซึ่งทำให้งานแต่ละส่วนออกมาไม่ดีเท่าที่ควร แต่ตอนนี้เวลาทำงาน เราก็จะพยายามชวนเพื่อนๆและน้องๆสมาชิกในกลุ่มเข้ามาร่วมประชุม ร่วมคิด วางแผน แต่ละกิจกรรมมากขึ้น ใครถนัดแบบไหนก็รับอาสาไปทำ งานแต่ละส่วนก็จะออกมาดี ก็เลยได้เรียนรู้เรื่องการทำงานเป็นกลุ่มการทำงานเป็นทีม ทำงานร่วมกับผู้อื่น
นางสาวอรญา ชัยหา (ออ) อายุ 17 ปี
กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนปทุมรัตต์พิทยาคม
ตำแหน่ง การเงิน
แรงบันดาลใจที่มาทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมหรือเข้ามาร่วมกับกลุ่มเยาวชน
เนื่องจากได้เข้าร่วมทำกิจกรรมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและก็เกิดความประทับใจจึงอยากที่จะทำกิจกรรมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมครอบครัว เพราะปัญหาป่าดอนหนองโจนที่เกิดขึ้นตัวดิฉันเองได้รับผลกระทบโดยตรง
บทบาทหน้าที่
เป็นแกนนำในการทำกิจกรรมต่างๆและดูแลเรื่องการเงินของกลุ่ม
แต่ก่อนเป็นคนไม่ค่อยกล้าพูด ไม่กล้าแสดงออก ก็เริ่มกล้าแสดงออกมากขึ้น สามารถนำกิจกรรมบางกิจกรรมได้ เช่น สันทนาการ เป็นผู้นำเกมส์ต่างๆ
นายจักรพันธุ์ สุขแสง (โป่ง) อายุ 17 ปี
กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนปทุมรัตต์พิทยาคม
ตำแหน่ง ผู้ประสานงานโครงการ
แรงบันดาลใจที่มาทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมหรือเข้ามาร่วมกับกลุ่มเยาวชน
เนื่องจากได้เข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่มเยาวชนและคุณพ่อก็ทำงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์ จึงทำให้ผมอยากเข้าร่วมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
บทบาทหน้าที่
เป็นแกนนำกลุ่มและผู้ประสานงานสมาชิกในทีม
เวลาทำงานก็คือเวลาทำงาน เวลาเล่นก็คือเวลาเล่น พยายามแยกแยะ 2 อย่างนี้ออกจากกัน แต่ก่อนจะเล่นมากไป ช่วยเพื่อนทำงานได้ไม่เต็มที่ แต่เดี๋ยวนี้ก็พยายามปรับเปลี่ยนตัวเอง ช่วยงานเพื่อนมากขึ้น
ที่ปรึกษาโครงการ
นายสว่าง สุขแสง (สว่าง) อายุ 40 ปี
ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรชุมชนตำบลหนองแคน สมาคมเกษตรอินทรีย์ทุ่งกุลาร้องไห้
บทบาทหน้าที่การหนุนเสริมกลุ่มเยาวชน
สร้างกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มเยาวชนผ่านการทำงานด้านต่างๆในชุมชน เช่น ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม เปิดโอกาสให้เยาวชนได้เรียนรู้และพัฒนาตนเอง รวมทั้งเป็นผู้เชื่อมโยงกลุ่มเยาวชนและคนในชุมชนรวมทั้งหน่วยงานต่างๆ เช่น อบต., อสม., รพ.สต. เป็นต้น ให้มีการทำงานร่วมกันมากขึ้น