โครงการปลูกใจรักษ์น้ำตกฉัตรวาริน ปี 2
กลุ่มเยาวชนพงลีแป สุไหงปาดี
กลุ่มเยาวชน “พงลีแป สุไหงปาดี” เกิดขึ้นจากการที่เยาวชนในพื้นที่กลุ่มหนึ่ง ไปเที่ยวน้ำตกฉัตรวาริน แล้วพบกับสภาพน้ำตกที่เต็มไปด้วยขยะจึงเกิดความรู้สึกอยากแก้ปัญหาเหล่านี้ เยาวชนกลุ่มนี้จึงรวมกลุ่มกันขึ้นมา ตั้งแต่ 30 เมษายน 2554 ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่เรียนอยู่นอกระบบโรงเรียน เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนในพื้นที่ ได้ร่วมกันทำกิจกรรมเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสืบสานวัฒนธรรม ประเพณีพื้นบ้านเพื่อให้เยาวชนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และห่างไกลยาเสพติด ปัจจุบันมีจำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 50 คน โดยชื่อกลุ่มตั้งตามชื่อพืชที่มีความสำคัญชนิดหนึ่ง ซึ่งมีถิ่นกำเนิดใน อ.สุไหงปาดี คือ “ต้นปาล์มบังสูรย์”หรือในชื่อภาษามลายู คือ “พงลีแป” นั่นเอง
รายชื่อสมาชิกกลุ่มเยาวชน
1.นายอานุวา อุเซ็ง แกนนำกลุ่ม
2.นายซุลกิฟลี กะจิ แกนนำกลุ่ม
3.นายจิราวัฒน์ บัวแก้ว แกนนำกลุ่ม
4.นายอานันต์ ดือราแม
5.นายมะรีดวน กะจิ
6.นายซูกาเปียน เจ๊ะอีซอ
7.นางสาวยามีละห์ นารอเอ็ง
8.นายอานูวา ตาเฮ
9.นายมะดิง สือแม
10.นายมาหามะกอรี ยูโซ๊ะ
11.นายอับดุลฮาฟิส ปะลุรักษ์
12.นางสาวบิสมี ระเด่นมนตรี
13.นางสาวอารีซา เจ๊ะสือแม
14.เด็กชายณัฐวุฒิ จันทราช
15.เด็กหญิงนิรันดร์รัตน์ อินทร์ราช
ข้อมูลพื้นที่ / ชุมชนที่ทำงาน
อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส มีจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด 50 หมู่บ้าน มีครัวเรือนอาศัยอยู่ 8946 ครัวเรือน ประชากรประกอบอาชีพหลัก คือ เกษตรกรรม รับจ้าง ค้าขาย และรับราชการ เป็นลำดับ ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิม พื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภอสุไหงปาดีเป็นที่ราบเหมาะสำหรับการเพาะปลูก และมีเทือกเขาสลับซับซ้อน เรียกว่า “เทือกเขาสันกาลาคีรี” ปกคลุมไปด้วยป่าไม้ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำ และสถานท่องเที่ยวสำคัญของอำเภอสุไหงปาดี คือ น้ำตกฉัตรวาริน ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติ บูโด-สุไหงปาดี มีน้ำไหลตลอดทั้งปี ซึ่งคนทั้งอำเภอสุไหงปาดีใช้เป็นแหล่งน้ำในการอุปโภคบริโภค และเป็นแหล่งท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจ ที่สำคัญของจังหวัดนราธิวาส และจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งจากประเทศมาเลเซียอีกด้วย
โจทย์ปัญหา
เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวและคนในพื้นที่นิยมเดินทางมาเที่ยวเป็นจำนวนมาก จึงทำให้น้ำตกมีสภาพเสื่อมโทรม เพราะมีขยะเยอะมาก ส่งกลิ่นเหม็นจากขยะเน่าเสีย ซึ่งทำให้แหล่งต้นน้ำเน่าเสียไปด้วย รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวมีสภาพเสื่อมโทรม ไม่สะอาด ไม่เหมาะสำหรับเป็นสถานที่พักผ่อน ซึ่งปัญหาเหล่านี้มีสาเหตุมาจาก
- นักท่องเที่ยวและคนในชุมชนขาดจิตสำนึกและไม่เห็นคุณค่าเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- การบังคับใช้กฎระเบียบหรือระบบการจัดการขยะที่มีอยู่ยังไม่ได้ผล จึงมีการทิ้งขยะบนน้ำตก
- เนื่องจากปัญหาความไม่สงบในสถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ทำให้เจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบดูแลน้ำตกฉัตรวาริน ถอนตัวไม่มาจัดการดูแลสถานที่ อีกทั้งคนในชุมชมไม่รับรู้ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาขยะบนแหล่งต้นน้ำที่จะส่งผลต่อกลางน้ำและปลายน้ำอีกด้วย
ทำไมถึงสนใจทำโครงการ
จากที่กลุ่มเยาวชน “พงลีแป สุไหงปาดี” จังหวัดนราธิวาส ได้เห็นถึงปัญหาขยะบนน้ำตกฉัตรวาริน ซึ่งสร้างความสกปรกตลอดจน ส่งผลทั้งกับนักท่องเที่ยวและแหล่งน้ำกินน้ำใช้ของคนในอำเภอสุไหงปาดี และได้ดำเนินการโครงการปลูกใจ รักษ์โลก มาแล้ว1 ปี ในปี พ.ศ.2555 ซึ่งในปีแรกที่ดำเนินโครงการ มีกิจกรรมที่ทำสำเร็จและกิจกรรมที่ยังไม่สำเร็จ(ศูนย์คัดแยกขยะ) และจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้ฟื้นฟูน้ำตกฉัตรวารินให้กลับมามีสภาพสะอาดเป็นแหล่งต้นน้ำที่คนทั้งอำเภอสุไหงปาดีใช้อุปโภคบริโภคต่อไป และรณรงค์ให้นักเที่ยวไม่ให้ทิ้งขยะบนน้ำตก หรือทิ้งในถังขยะที่รองรับไว้ รวมทั้งสามารถให้แกนนำเยาวชนซึ่งถือว่าเป็นเมล็ดพันธุ์คนรุ่นใหม่ ที่จะสานต่อกิจกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชนต่อไป
เป้าหมาย
เยาวชน คนในชุมชน มีความรู้เรื่องการจัดการขยะและการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ และช่วยกันแก้ไขปัญหาและดูแลรักษาน้ำตกฉัตรวาริน ให้มีความสะอาดมากขึ้น และเกิดแกนนำเยาวชนแนวร่วมที่มีความรู้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถดูแลน้ำตกฉัตรวารินได้อย่างยั่งยืน
โครงการปลูกใจรักษ์น้ำตกฉัตรวาริน ปี 2
กลุ่มเยาวชนพงลีแป สุไหงปาดี
กลุ่มเยาวชน “พงลีแป สุไหงปาดี” เกิดขึ้นจากการที่เยาวชนในพื้นที่กลุ่มหนึ่ง ไปเที่ยวน้ำตกฉัตรวาริน แล้วพบกับสภาพน้ำตกที่เต็มไปด้วยขยะจึงเกิดความรู้สึกอยากแก้ปัญหาเหล่านี้ เยาวชนกลุ่มนี้จึงรวมกลุ่มกันขึ้นมา ตั้งแต่ 30 เมษายน 2554 ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่เรียนอยู่นอกระบบโรงเรียน เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนในพื้นที่ ได้ร่วมกันทำกิจกรรมเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสืบสานวัฒนธรรม ประเพณีพื้นบ้านเพื่อให้เยาวชนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และห่างไกลยาเสพติด ปัจจุบันมีจำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 50 คน โดยชื่อกลุ่มตั้งตามชื่อพืชที่มีความสำคัญชนิดหนึ่ง ซึ่งมีถิ่นกำเนิดใน อ.สุไหงปาดี คือ “ต้นปาล์มบังสูรย์”หรือในชื่อภาษามลายู คือ “พงลีแป” นั่นเอง
รายชื่อสมาชิกกลุ่มเยาวชน
1.นายอานุวา อุเซ็ง แกนนำกลุ่ม
2.นายซุลกิฟลี กะจิ แกนนำกลุ่ม
3.นายจิราวัฒน์ บัวแก้ว แกนนำกลุ่ม
4.นายอานันต์ ดือราแม
5.นายมะรีดวน กะจิ
6.นายซูกาเปียน เจ๊ะอีซอ
7.นางสาวยามีละห์ นารอเอ็ง
8.นายอานูวา ตาเฮ
9.นายมะดิง สือแม
10.นายมาหามะกอรี ยูโซ๊ะ
11.นายอับดุลฮาฟิส ปะลุรักษ์
12.นางสาวบิสมี ระเด่นมนตรี
13.นางสาวอารีซา เจ๊ะสือแม
14.เด็กชายณัฐวุฒิ จันทราช
15.เด็กหญิงนิรันดร์รัตน์ อินทร์ราช
ข้อมูลพื้นที่ / ชุมชนที่ทำงาน
อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส มีจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด 50 หมู่บ้าน มีครัวเรือนอาศัยอยู่ 8946 ครัวเรือน ประชากรประกอบอาชีพหลัก คือ เกษตรกรรม รับจ้าง ค้าขาย และรับราชการ เป็นลำดับ ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิม พื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภอสุไหงปาดีเป็นที่ราบเหมาะสำหรับการเพาะปลูก และมีเทือกเขาสลับซับซ้อน เรียกว่า “เทือกเขาสันกาลาคีรี” ปกคลุมไปด้วยป่าไม้ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำ และสถานท่องเที่ยวสำคัญของอำเภอสุไหงปาดี คือ น้ำตกฉัตรวาริน ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติ บูโด-สุไหงปาดี มีน้ำไหลตลอดทั้งปี ซึ่งคนทั้งอำเภอสุไหงปาดีใช้เป็นแหล่งน้ำในการอุปโภคบริโภค และเป็นแหล่งท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจ ที่สำคัญของจังหวัดนราธิวาส และจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งจากประเทศมาเลเซียอีกด้วย
โจทย์ปัญหา
เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวและคนในพื้นที่นิยมเดินทางมาเที่ยวเป็นจำนวนมาก จึงทำให้น้ำตกมีสภาพเสื่อมโทรม เพราะมีขยะเยอะมาก ส่งกลิ่นเหม็นจากขยะเน่าเสีย ซึ่งทำให้แหล่งต้นน้ำเน่าเสียไปด้วย รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวมีสภาพเสื่อมโทรม ไม่สะอาด ไม่เหมาะสำหรับเป็นสถานที่พักผ่อน ซึ่งปัญหาเหล่านี้มีสาเหตุมาจาก
- นักท่องเที่ยวและคนในชุมชนขาดจิตสำนึกและไม่เห็นคุณค่าเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- การบังคับใช้กฎระเบียบหรือระบบการจัดการขยะที่มีอยู่ยังไม่ได้ผล จึงมีการทิ้งขยะบนน้ำตก
- เนื่องจากปัญหาความไม่สงบในสถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ทำให้เจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบดูแลน้ำตกฉัตรวาริน ถอนตัวไม่มาจัดการดูแลสถานที่ อีกทั้งคนในชุมชมไม่รับรู้ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาขยะบนแหล่งต้นน้ำที่จะส่งผลต่อกลางน้ำและปลายน้ำอีกด้วย
ทำไมถึงสนใจทำโครงการ
จากที่กลุ่มเยาวชน “พงลีแป สุไหงปาดี” จังหวัดนราธิวาส ได้เห็นถึงปัญหาขยะบนน้ำตกฉัตรวาริน ซึ่งสร้างความสกปรกตลอดจน ส่งผลทั้งกับนักท่องเที่ยวและแหล่งน้ำกินน้ำใช้ของคนในอำเภอสุไหงปาดี และได้ดำเนินการโครงการปลูกใจ รักษ์โลก มาแล้ว1 ปี ในปี พ.ศ.2555 ซึ่งในปีแรกที่ดำเนินโครงการ มีกิจกรรมที่ทำสำเร็จและกิจกรรมที่ยังไม่สำเร็จ(ศูนย์คัดแยกขยะ) และจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้ฟื้นฟูน้ำตกฉัตรวารินให้กลับมามีสภาพสะอาดเป็นแหล่งต้นน้ำที่คนทั้งอำเภอสุไหงปาดีใช้อุปโภคบริโภคต่อไป และรณรงค์ให้นักเที่ยวไม่ให้ทิ้งขยะบนน้ำตก หรือทิ้งในถังขยะที่รองรับไว้ รวมทั้งสามารถให้แกนนำเยาวชนซึ่งถือว่าเป็นเมล็ดพันธุ์คนรุ่นใหม่ ที่จะสานต่อกิจกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชนต่อไป
เป้าหมาย
เยาวชน คนในชุมชน มีความรู้เรื่องการจัดการขยะและการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ และช่วยกันแก้ไขปัญหาและดูแลรักษาน้ำตกฉัตรวาริน ให้มีความสะอาดมากขึ้น และเกิดแกนนำเยาวชนแนวร่วมที่มีความรู้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถดูแลน้ำตกฉัตรวารินได้อย่างยั่งยืน
กระบวนการทำงานของกลุ่มเยาวชนในการแก้ไขปัญหาหรือดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน
- พัฒนาเยาวชนแกนนำ มาร่วมเรียนรู้ เห็นคุณค่า และร่วมแก้ปัญหาที่เกิดจากขยะบนน้ำตกฉัตรวาริน โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่เยาวชนจากโรงเรียนที่เคยลงไปทำกิจกรรมเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งอยู่รอบๆ พื้นที่น้ำตกฉัตรวาริน ให้ความรู้ถึงปัญหา สถานการณ์เรื่องขยะบนน้ำตกฉัตรวาริน ให้เด็กๆ ได้ร่วมกันวางแผนรณรงค์บนน้ำตกฉัตรวาริน และรณรงค์ผ่านสื่อรายการวิทยุ
- การประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ ผ่านทางรายการวิทยุและการเดินรณรงค์ เผยแพร่แนวคิด ให้ความรู้ และปลูกฝังจิตสำนึกเพื่อการรักษา ดูแลน้ำตกฉัตรวาริน
- ประสาน ดึงการมีส่วนร่วมจากหน่วยงานราชการ โดยการจัดเวทีประชาคม ให้เจ้าหน้าที่ส่วนต่างๆ มาพูดคุยแลกเปลี่ยนหาแนวทางในการจัดการปัญหาขยะบนน้ำตกฉัตรวาริน เพื่อนำไปสู่การจัดการขยะที่ยั่งยืน นั่นคือ การมีโรงคัดแยกขยะ ซึ่งเป็นจุดพักและจัดการขยะ จัดโซนนิ่ง รวมการวางกลยุทธ์ในการเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวนำขยะมาให้ที่ศูนย์จัดการขยะ
- จัดประกวดภาพถ่ายและนิทรรศการภาพน้ำตกฉัตรวาริน เพื่อนำภาพที่ชนะการประกวดมาจัดทำสื่อรณรงค์ต่อไป
- การจัดตั้งศูนย์คัดแยกขยะ บนน้ำตกฉัตรวาริน เพื่อเป็นที่พักขยะ เพื่อคัดแยกขยะที่สามารถนำกลับมาแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ เพื่อนำไปขายเป็นทุนทำกิจกรรมได้ต่อไป แต่เนื่องจากเมื่ออุทยานกลับเข้ามาดูแล จึงปรับกิจกรรมในส่วนนี้ให้เป็นการทำธนาคารขยะในโรงเรียนนำร่อง เพื่อให้เด็กๆ ได้ฝึกการคัดแยกขยะ และเห็นคุณค่าของขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
ต้นทุนเดิม (เครือข่าย, ความรู้, ทักษะ) ของกลุ่มเยาวชน
เป็นกลุ่มที่มีการทำงานในพื้นที่อย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว ตั้งแต่ปี 2554 จึงได้รับการสนับสนุนเรื่องของเวลาจาก สวท.สุไหงโกลกและสถานีวิทยุทักษิณสัมพันธ์ 403 ให้ไปจัดรายการวิทยุ เพื่อเป็นช่องทางประชาสัมพันธ์แนวความคิดเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อม ทำให้เด็กๆ ได้ฝึกการจัดรายการวิทยุ จึงมีทักษะการพูด การหาข้อมูล ความรู้เรื่องเกี่ยวกับขยะ การคัดแยก การย่อยสลาย
ครูพี่เลี้ยงยังมีทักษะด้านศิลปวัฒนธรรม คือ การเล่นปันจักศิลัต ซึ่งนำมาใช้เป็นกิจกรรม สำหรับรวมเด็ก ให้เด็กๆ ได้มีกิจกรรมทำอย่างต่อเนื่อง และยังมีองค์ความรู้อีกหลากหลายไม่ว่าจะเป็นกระบวนการสันติวิธี วิทยากรกาชาด-ลูกเสือ กระบวนกรอบรมเยาวชนต้านยาเสพติด
ได้รับการสนับสนุนจากภาคีเครือข่ายในพื้นที่ อย่างมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา สนับสนุนในเรื่ององค์ความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม อช.บูโด - สุไหงปาดี สนับสนุนด้านพื้นที่ทำกิจกรรม อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนตามกำลัง ในสิ่งที่ทางกลุ่มพงลีแปขาด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรถบ้าง วิทยากรบ้าง คนบ้าง สิ่งของบ้าง ที่ปรึกษาบ้าง จากภาคีไม่ว่าจะเป็น เทศบาลตำบลปะลุรู ,ที่ว่าการอ.สุไหงปาดี ,ชุดสันติสุข404 ,ร.ร.มัธยมสุไหงปาดี ,ร.ร.บ้านโผลง ,กศน. สุไหงปาดี
และเนื่องจากเป็นโครงการในปีที่ 2 ที่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการปลูกใจรักษ์โลก จึงมีทุนความรู้ที่ได้รับการเสริมศักยภาพจากปีที่ 1 ในการดำเนินกิจกรรมในโครงการนี้อีกด้วย
ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
ผลที่เกิดขึ้นกับตนเอง
- กลุ่มเยาวชนได้เรียนรู้การทำงานร่วมกันเป็นทีม มีความกล้าแสดงออกมากขึ้น สามารถพัฒนาการพูด การจัดรายการวิทยุ การคิด การสื่อสาร การนำเสนอเนื้อหา การจัดค่ายอบรม การเป็นพี่เลี้ยง
- เกิดความภาคภูมิใจในสิ่งที่ทำ มีนักท่องเที่ยวหลายคนที่สนใจเรื่องขยะ และวิธีการจัดการ อีกทั้งยังให้กำลังใจทีมงานให้ทำงาน ทำโครงการนี้ต่อไป ซึ่งเป็นกำลังใจให้กับทีมงานในการทำกิจกรรมต่อไป
- แกนนำเยาวชนได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะการจัดรายการวิทยุ รูปแบบและวิธีการรณรงค์ ทำให้เกิดความหวงแหนรักบ้านเกิด ทำให้อยากร่วมกันดูแลปกป้องทรัพยากรธรรมชาติอย่างน้ำตกฉัตรวารินให้คงอยู่นานเท่านาน
- มีจิตสำนึกในการดูแล ทิ้งขยะของตนเองและสมาชิกในกลุ่มมากขึ้น เช่นเคยมีครั้งหนึ่งที่ครูอาวีทิ้งขยะในบริเวณจุดทิ้งขยะแต่ไม่ลงถัง เด็กๆ ก็ช่วยกันเตือนครูอาวีให้ทิ้งให้ลงถัง
ผลที่เกิดขึ้นกับชุมชน
- คนในชุมชนและเยาวชนที่ได้รับการอบรมได้รับความรู้เรื่องการจัดการขยะ รู้คุณค่าของขยะ ทำให้เกิดแกนนำเยาวชนดูแลน้ำตกฉัตรวาริน มีการวางแผนช่วยกันรณรงค์กับนักท่องเที่ยว รวมถึงการหาข้อมูลไปพูดในรายการวิทยุเรื่องการทิ้งขยะบนน้ำตก และช่วยกันบำเพ็ญประโยชน์ให้น้ำตกสะอาดขึ้น
- จากการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูลจากรายการวิทยุ ช่วยรณรงค์กับผู้ฟังในการร่วมดูแล รักษาความสะอาดบนน้ำตกฉัตรวาริน มีแฟนรายการรับรู้ข้อมูลถึงมาเลเซีย ซึ่งประเมินจากเวลามีกิจกรรมตอบคำถามคนที่โทรมาตอบคำถามบางคนไปทำงานที่มาเลเซียก็ได้ฟังรายการอยู่ หรือแฟนรายการบางคนก็จะโทรมาพูดคุยข้อมูลประเด็นสิ่งแวดล้อมด้วยเสมอ
- หน่วยงานต่างๆ ในอำเภอสุไหงปาดีและอำเภอใกล้เคียงมีส่วนร่วม เห็นคุณค่า และให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือสนับสนุนการทำงานของเยาวชนอย่างเต็มที่ ทั้งในส่วนของกำลังคน ความคิด สิ่งของ พาหนะ และกำลังใจ
ผลที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม
- น้ำตกฉัตรวารินมีขยะน้อยลง ทำให้สะอาดขึ้น น่าเที่ยว น้ำไม่เน่าเสีย เป็นน้ำที่สามารถนำมาใช้อุปโภคบริโภคในอำเภอสุไหงปาดีได้อย่างปลอดภัยต่อไป
ปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดความสำเร็จ / ล้มเหลว
- ความสำเร็จ ความตั้งใจจริงของทีมงานในการทำกิจกรรม ทำให้กิจกรรมดำเนินกิจกรรมผ่านไปได้ด้วยดี การที่ทีมงานได้ทบทวนตนเอง ทบทวนเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้โครงการสำเร็จได้ด้วยดี
- การสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เข้าใจการทำงานของกลุ่ม ที่เกื้อหนุนความช่วยเหลือด้านต่างๆ เป็นอย่างดี ตลอดจนหัวหน้าอุทยานแห่งชาติบูโดสุไหงปาดี (ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่น้ำตกฉัตรวาริน) คนใหม่ เป็นคนจ.นราธิวาส จึงทำให้เข้าใจบริบทพื้นที่เป็นอย่างดี จึงเป็นส่วนเสริมทำให้การจัดการขยะทำได้อย่างเต็มที่
- ความล้มเหลว เนื่องจากทีมงานเป็นกลุ่มนักเรียนนอกระบบ ทำให้ต้องทำงานไปด้วย จึงต้องมีการจัดการแบ่งเวลาทำให้ทีมงานบางส่วนที่จัดการเวลาไม่ได้ต้องถอยออกจากกิจกรรมไป
- อีกทั้งปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ ทำให้ผู้ปกครองห่วงความปลอดภัยของเยาวชนแกนนำ จึงไม่อนุญาตให้ลูกตนเองเข้าร่วมกิจกรรม
- บางโรงเรียนไม่ให้ความร่วมมือ ไม่ยอมให้เวลาเรียนกับเยาวชนแกนนำในการมาร่วมกิจกรรม มีการเช็คขาดเรียน ทำให้เยาวชนแกนนำเสียความรู้สึกในการมาร่วมกิจกรรม
- การเมืองเปลี่ยนแปลง เมื่อมีการเปลี่ยนเจ้าหน้าที่รัฐหรือผู้นำชุมชน ซึ่งเดิมทีได้ทำความเข้าใจ และร่วมสนับสนุนกิจกรรมแล้ว เมื่อเกิดการเปลี่ยนตัวบุคคล ทำให้ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่ ในการเข้าไปสร้างความเข้าใจ
คุณค่าจากการทำโครงการ
- จากสภาพปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ ทำให้การดำเนินงานบางอย่างเป็นไปได้อย่างยากลำบาก อันเกิดจากการจำเป็นต้องทิ้งพื้นที่ของหน่วยงานรัฐเพื่อความปลอดภัย แต่เยาวชนกลุ่มหนึ่งตัดสินใจลุกขึ้น มาเรียกร้อง ปกป้อง จัดการปัญหาขยะ และดูแลทรัพยากร ในพื้นที่ด้วยตนเอง ติดต่อประสานงานกับเจ้าของพื้นที่ จนอุทยานกลับเข้ามาดูแลพื้นที่อีกครั้ง แม้จะไม่ได้กลับมาตั้งหน่วยดูแลอย่างเดิมแต่ก็มีการส่งรถจัดเก็บขยะเข้ามาดูแล จนน้ำตกฉัตรวารินกลับมาสะอาดได้อีกครั้ง
- เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จากการได้ลงมือเก็บขยะเอง ทำให้เด็กๆ ใส่ใจในการทิ้งขยะมากขึ้น เตือนสติกันเองมากขึ้นให้ทิ้งให้ถูกที่ ทิ้งให้ลงถัง
การดึงให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมมีแค่ไหน / มุมมองของชุมชนต่อกลุ่มเยาวชน
- โครงการในปีที่ 2 นี้ ยังมุ่งพัฒนากลุ่มเป้าหมายที่เป็นแกนนำเยาวชนจากโรงเรียนต่างๆ ที่สร้างไว้จากปี 1 อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นโรงเรียนที่อยู่ใกล้กับน้ำตกฉัตรวาริน ซึ่งเด็กๆ แกนนำก็อาศัยอยู่ในชุมชนในพื้นที่และมีส่วนร่วมในการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์กับคนในชุมชนและนักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมสื่อวิทยุ ซึ่งมีการให้ความรู้และรณรงค์ ขอความร่วมมือในการร่วมดูแล ไม่ทิ้งขยะบนน้ำตกฉัตรวาริน กับผู้ฟังรายการ หรือการเดินรณรงค์ให้ความรู้ และสร้างจิตสำนึกกับทั้งนักท่องเที่ยวและเจ้าของพื้นที่ คือผู้คนที่อยู่ในเมือง หรือกิจกรรมเวทีประชาคม ที่ดึงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันจัดการปัญหาขยะบนน้ำตกฉัตรวาริน หรือกับกลุ่มนักเรียนแกนนำ ก็จะกลับไปสื่อสารกับครอบครัวและผู้ปกครอง
- มุมมองของคนในชุมชนต่อกลุ่มเยาวชน เนื่องจากกลุ่มเยาวชนพงลีแปมีการทำงานอย่างต่อเนื่องจึงยังได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากคนในชุมชนที่ได้เห็นการทำงาน จึงยังให้การสนับสนุน ในเรื่องต่างๆ ยังยินดีให้บุตรหลานเข้าร่วมเป็นแกนนำในการทำกิจกรรมดุแลสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะน้ำตกฉัตรวาริน ในส่วนการเปลี่ยนถ่ายอำนาจการเมืองในท้องถิ่นยังคงมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง มีการเปลี่ยนนายอำเภอคนใหม่ ทำให้ผู้นำคนใหม่ขาดความเข้าใจ ส่งผลให้ทางกลุ่มต้องสร้างความเข้าใจใหม่อีกครั้ง
การสนับสนุนกลุ่มเยาวชน (ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานของกลุ่มเยาวชน)
โรงเรียนและหน่วยงานราชการ สนใจและให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี ในส่วนของโรงเรียนก็ยินดี และอำนวยความสะดวกส่งนักเรียนแกนนำเข้าร่วมอบรมเสริมศักยภาพกับทางกลุ่ม ส่วนของอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดีเจ้าของพื้นที่น้ำตกฉัตรวาริน ซึ่งปัจจุบัน ไม่มีใครอยู่จัดการดูแลน้ำตก เนื่องจากปัญหาความไม่สงบ เมื่อทางกลุ่มสนใจเข้าไปจัดการดูแลขยะ และรณรงค์ ทางอุทยานอนุญาตและยินดีให้เข้าไปดำเนินกิจกรรมได้
นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากภาคีเครือข่ายในพื้นที่ อย่างมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา สนับสนุนในเรื่ององค์ความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม อช.บูโด - สุไหงปาดี สนับสนุนด้านพื้นที่ทำกิจกรรมในการจัดกิจกรรมค่ายอบรมเสริมศักยภาพแกนนำในบริเวณน้ำตกปาโจ ซึ่งเป็นอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเดียวกันด้วย อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนตามกำลัง ในสิ่งที่ทางกลุ่มพงลีแปขาด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรถบ้าง วิทยากรบ้าง คนบ้าง สิ่งของบ้าง ที่ปรึกษาบ้าง จากภาคีไม่ว่าจะเป็น เทศบาลตำบลปะลุรู ที่ว่าการอ.สุไหงปาดี ชุดสันติสุข404 ร.ร.มัธยมสุไหงปาดี ร.ร.บ้านโผลง กศน. สุไหงปาดี
อนาคตที่อยากทำต่อ
- ขยายผลการจัดกิจกรรมให้เยาวชนในโรงเรียนเพิ่มขึ้น เพื่อสร้างแกนนำเยาวชนใหม่ๆ ซึ่งถือว่าเป็นเมล็ดพันธุ์
คนรุ่นใหม่ ที่จะสานต่อกิจกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชนต่อไป
- ดำเนินการจัดรายการวิทยุ “เยาวชนพงลีแปฯ หัวใจอนุรักษ์ ในช่วง เรารักษ์น้ำตกฉัตรวาริน” อย่างต่อเนื่อง
- เรื่องวัฒนธรรม ปันจักสีลัต เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้าน สงแข่ง และแสดงเผยแพร่ในงานต่างๆ ด้วย
การเรียนรู้ของแกนนำเยาวชน
นายอานุวา อุเซ็ง (วา) อายุ 18 ปี
กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมัธยมสุไหงปาดี
นางสาวอารีซา เจ๊ะสือแม (ลา) อายุ 18 ปี
กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมัธยมสุไหงปาดี
มีบทบาทในฝ่ายการเงิน และมีหน้าที่ดูแลน้องๆ ในค่าย เมื่อจัดค่ายของกลุ่มเป็นพี่เลี้ยงที่พาน้องๆ ไปเดินรณรงค์บนน้ำตกและเก็บขยะ
“เรื่องของความรู้ ได้ความรู้ ได้ทักษะ ได้พัฒนาตัวเองเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีประสบการณ์จากปี 1 ทั้งการทำกิจกรรมกับน้องๆ การรณณรงค์และการพูดคุยกับนักท่องเที่ยว รวมถึงแนวทางการหาข้อมูลต่างๆ ที่นำมาใช้จัดรายการ ในเรื่องเกี่ยวกับการแก้ปัญหาขยะบนน้ำตกฉัตรวาริน”
นายซุลกิฟลี กะจิ (ลี) อายุ 15 ปี
กำลังศึกษา มัธยมปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมสุไหงปาดี
แกนนำ จัดค่ายในโรงเรียน /เป็นพี่เลี้ยงนำน้องๆ เดินรณรงค์ เก็บขยะบนน้ำตกฉัตรวาริน
“เรื่องของความรู้ คือ ได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม การแบ่งบทบาทหน้าที่ ได้ฝึกการเป็นพี่เลี้ยงดูแลน้องๆ”
พี่เลี้ยง/ที่ปรึกษาโครงการ
นายโมฮัมมัดซัฟฟรีย์ นารอเอ็ง (ครูอาวี)
ตำแหน่ง/อาชีพ เป็นครู กศน.สุไหงปาดี
บทบาท การหนุนเสริมการทำงานของกลุ่มเยาวชน / กระบวนการจัดการเรียนรู้ให้กับเด็กๆ เป็นพี่เลี้ยงกลุ่มเยาวชน ให้คำปรึกษา และเปิดโอกาสให้เยาวชนได้ทำงานอย่างมีระบบ เป็นกันเองให้ความสนิทสนมเป็นแบบพี่น้อง พร้อมช่วยปัญหาทุกๆเรื่อง มีการเยี่ยมเยือนบ้าน/ผู้ปกครองเยาวชน เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจและภูมิใจการทำงานด้านจิตอาสา สิ่งแวดล้อมของเยาวชน
“เรื่ององค์ความรู้ การทำงานต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหา ได้เรียนรู้เรื่องการวางแผนกิจกรรม เพื่อให้สอดคล้องกับปัญหาอย่างแท้จริง ได้ตรวจสอบตนเองว่ากิจกรรมที่ทำนั้นสามารถแก้ปัญหาได้จริงหรือไม่ ไม่ใช่มองว่าทำไปเพราะเราอยากทำเพียงอย่างเดียว
การขับเคลื่อนโครงการโดยเยาวชน พบว่ามีความสำคัญมาก เพราะจะได้เรียนรู้จากของจริง ให้เยาวชนสามารถคิดได้ วางแผนได้ ทำได้ สรุปบทเรียนได้ รายงานได้ ซึ่งจะเป็นประสบการณ์ที่ดีมากของเยาวชน
การแสดงบทบาทของพี่เลี้ยงที่จะต้องเดินหน้าไปด้วยกันกับเยาวชน ตามหน้าที่ของตนเอง”