โครงการลดมลพิษพลิกฟื้นชีวิตดิน ปี 2
กลุ่มฮักนะเชียงยืน จ.มหาสารคาม
กลุ่มเยาวชนฮักนะเชียงยืน เกิดขึ้นจากการรวมตัวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โปรแกรมวิทย์-คณิต โรงเรียนเชียงยืนพิทยา ที่ต้องการเรียนรู้การทำโครงงานด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน โดยการสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบใหม่ให้กับเด็กในโรงเรียนของครูเพ็ญศรี ใจกล้า เมื่อปี 2554 ก่อนที่จะขยายการเรียนรู้สู่การมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนในปี 2555 เริ่มต้นกลุ่มฮักนะเชียงยืนมีสมาชิก 10 คน ได้ดำเนินโครงการลดมลพิษฟื้นชีวิตดินปี 1 และในปี 2556 กลุ่มฮักนะเชียงยืนยังคงดำเนินกิจกรรมโครงการอย่างต่อเนื่อง โดยมีน้องๆรุ่นที่ 2 มาสานต่องานจากรุ่นพี่ มีสมาชิกทั้งหมด 11 คน
สำหรับในปี 2556 กลุ่มฮักนะเชียงยืนยังคงดำเนินกิจกรรมโครงการอย่างต่อเนื่อง โดยได้มีน้องๆรุ่น 2 มาสานต่องานโครงการจากรุ่นพี่
รายชื่อเยาวชนที่รับผิดชอบโครงการปี 2
1.นายพงศกร ดวงสุฤทธิ์ ประธาน
2.นางสาวพรไพรินทร์ หีบแก้ว เลขานุการ/เอกสาร
3.นางสาวปิยนารถ ชิณแสน ฝ่ายการเงิน
4.นางสาววิลาสินี อาจฤทธิ์
5.นางสาวชนิดา เอี่ยมใส
6.นายอดิเรก สิงห์ทรงพล
7.นายเจษฎา ดวงแพงมาตร
8.นายณัฐพล สิทสูงเนิน
9.นายดำรง แสงตารัตน์
10.นางสาววารุณีช่างไชย
11.นายศราวุธ ศิริวัง
ข้อมูลพื้นที่ / ชุมชนที่ทำโครงการ
บ้านแบก อยู่ใน ต.นาทอง อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม เป็นหมู่บ้านที่เหมาะสำหรับการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ มีป่าชุมชนที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ มีระบบน้ำคลองชลประทานไหลผ่าน เมื่อปี 2535 การเพาะปลูกแบบเกษตรระบบพันธะสัญญาเข้ามา ทำให้วิถีชีวิตชาวบ้านแบกเปลี่ยนไป จากรายงานโครงการของกลุ่มฮักนะเชียงยืนรุ่น 1 พบว่า ผลจากการตรวจเลือดของกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 3 คือ เสี่ยง การใช้หน้าดินในรอบ 1 ปีจะปลูกแตงแคนตาลูป 3 ฤดู ใช้สารเคมีกระบวนการดูแลรักษาผลผลิตมากถึง 19 ครั้งต่อ ๆรอบการผลิต ความอุดมสมบูรณ์ต่ำและค่าฟอสฟอรัสสูงมาก ส่งผลกระทบต่อดินทำให้ดินเสื่อมโทรม ชาวบ้านห่วงรายได้มากกว่าสุขภาพตนเอง การป้องกันตนเองในการฉีดพ่นสารเคมีมีน้อย แม้ทราบว่าผลตรวจเลือดมีความเสี่ยงแล้วก็ตาม
โจทย์ปัญหาและเหตุผลที่ทำโครงการ
จากการดำเนินงานของกลุ่มฮักนะเชียงยืนรุ่นที่ 1 มีความคาดหวังสูงสุดคือตลาดเขียวและชาวบ้านลดการใช้สารเคมียังไม่ได้บรรลุตั้งเป้าหมายไว้ คือ ชาวบ้านลดการใช้สารเคมีในการทำการเกษตร สมาชิกเห็นว่าการทำโครงการยังต้องทำอย่างต่อเนื่อง กลุ่มฮักนะเชียงยืนรุ่นที่ 2 จึงได้มาสานต่องานจากรุ่น 1 เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการทำโครงการลดมลพิษฟื้นชีวิตดินต่อไป
เป้าหมายของการทำโครงการ
ชาวบ้านกลุ่มเป้าหมาย 20 ครัวเรือน ในชุมชนบ้านแบกลดการใช้สารเคมีในการทำเกษตร
ลดมลพิษพลิกฟื้นชีวิตดิน ปี 2
กลุ่มฮักนะเชียงยืน จ.มหาสารคาม
กลุ่มเยาวชนฮักนะเชียงยืน เกิดขึ้นจากการรวมตัวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โปรแกรมวิทย์-คณิต โรงเรียนเชียงยืนพิทยา ที่ต้องการเรียนรู้การทำโครงงานด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน โดยการสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบใหม่ให้กับเด็กในโรงเรียนของครูเพ็ญศรี ใจกล้า เมื่อปี 2554 ก่อนที่จะขยายการเรียนรู้สู่การมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนในปี 2555 เริ่มต้นกลุ่มฮักนะเชียงยืนมีสมาชิก 10 คน ได้ดำเนินโครงการลดมลพิษฟื้นชีวิตดินปี 1 และในปี 2556 กลุ่มฮักนะเชียงยืนยังคงดำเนินกิจกรรมโครงการอย่างต่อเนื่อง โดยมีน้องๆรุ่นที่ 2 มาสานต่องานจากรุ่นพี่ มีสมาชิกทั้งหมด 11 คน
โครงสร้างกลุ่มฮักนะเชียงยืน รุ่น 1 (2555)
1.นายธีระวุฒิ ศรีมังคละ ประธาน
2.นางสาวศิรินญา บุญอาจ รองประธาน
3.นางสาวศิริลักษณ์ โพธิ์หล้า คณะกรรมการ / ผู้ประสานงาน
4.นางสาวศิริลักษณ์ สงคราม คณะกรรมการ / เลขานุการ
5.นายอนุชา ฆ้องแก้ว คณะกรรมการ
6.นายกฤษฎา นาซอนสมาชิก
7.นางสาวศิริวรรณ ทะสาสมาชิก
8.นางสาวภาวิณี แก้วศิลาสมาชิก
9.นายเกียรติพล พลศิริสมาชิก
10.นางสาวนุสริยา พิมพาสมาชิก
สำหรับในปี 2556 กลุ่มฮักนะเชียงยืนยังคงดำเนินกิจกรรมโครงการอย่างต่อเนื่อง โดยได้มีน้องๆรุ่น 2 มาสานต่องานโครงการจากรุ่นพี่
รายชื่อเยาวชนที่รับผิดชอบโครงการปี 2
1.นายพงศกร ดวงสุฤทธิ์ ประธาน
2.นางสาวพรไพรินทร์ หีบแก้ว เลขานุการ/เอกสาร
3.นางสาวปิยนารถ ชิณแสน ฝ่ายการเงิน
4.นางสาววิลาสินี อาจฤทธิ์
5.นางสาวชนิดา เอี่ยมใส
6.นายอดิเรก สิงห์ทรงพล
7.นายเจษฎา ดวงแพงมาตร
8.นายณัฐพล สิทสูงเนิน
9.นายดำรง แสงตารัตน์
10.นางสาววารุณีช่างไชย
11.นายศราวุธ ศิริวัง
ข้อมูลพื้นที่ / ชุมชนที่ทำโครงการ
บ้านแบก อยู่ใน ต.นาทอง อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม เป็นหมู่บ้านที่เหมาะสำหรับการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ มีป่าชุมชนที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ มีระบบน้ำคลองชลประทานไหลผ่าน เมื่อปี 2535 การเพาะปลูกแบบเกษตรระบบพันธะสัญญาเข้ามา ทำให้วิถีชีวิตชาวบ้านแบกเปลี่ยนไป จากรายงานโครงการของกลุ่มฮักนะเชียงยืนรุ่น 1 พบว่า ผลจากการตรวจเลือดของกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 3 คือ เสี่ยง การใช้หน้าดินในรอบ 1 ปีจะปลูกแตงแคนตาลูป 3 ฤดู ใช้สารเคมีกระบวนการดูแลรักษาผลผลิตมากถึง 19 ครั้งต่อ ๆรอบการผลิต ความอุดมสมบูรณ์ต่ำและค่าฟอสฟอรัสสูงมาก ส่งผลกระทบต่อดินทำให้ดินเสื่อมโทรม ชาวบ้านห่วงรายได้มากกว่าสุขภาพตนเอง การป้องกันตนเองในการฉีดพ่นสารเคมีมีน้อย แม้ทราบว่าผลตรวจเลือดมีความเสี่ยงแล้วก็ตาม
โจทย์ปัญหาและเหตุผลที่ทำโครงการ
จากการดำเนินงานของกลุ่มฮักนะเชียงยืนรุ่นที่ 1 มีความคาดหวังสูงสุดคือตลาดเขียวและชาวบ้านลดการใช้สารเคมียังไม่ได้บรรลุตั้งเป้าหมายไว้ คือ ชาวบ้านลดการใช้สารเคมีในการทำการเกษตร สมาชิกเห็นว่าการทำโครงการยังต้องทำอย่างต่อเนื่อง กลุ่มฮักนะเชียงยืนรุ่นที่ 2 จึงได้มาสานต่องานจากรุ่น 1 เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการทำโครงการลดมลพิษฟื้นชีวิตดินต่อไป
เป้าหมายของการทำโครงการ
ชาวบ้านกลุ่มเป้าหมาย 20 ครัวเรือน ในชุมชนบ้านแบกลดการใช้สารเคมีในการทำเกษตร
กระบวนการทำงานของกลุ่มเยาวชนในการแก้ปัญหาหรือดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน
กระบวนการทำงานของเยาวชนมีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ
1.เพื่อให้ชาวบ้านตระหนักรู้ถึงพิษภัยของสารเคมีในการเพาะปลูก
2.เพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านทำน้ำหมักชีวภาพในการเพาะปลูก
กิจกรรมที่ได้ทำประกอบด้วย
1.ศึกษาคุณภาพดินและเกษตรอินทรีย์
กลุ่มฮักนะเชียงยืน 20 คน และ กลุ่มเยาวชนบ้านแบก 20 คน ได้ไปเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์จากกรมพัฒนาการเกษตร จ.ขอนแก่น และการทำเกษตรอินทรีย์ที่ไร่เปรมสุข หมู่บ้านไร่ดงมูล จ.กาฬสินธุ์
2.ศึกษาเปรียบเทียบสิ่งมีชีวิตในดินระหว่างแปลงที่ปลูกแคนตาลูปติดต่อกันระยะเวลา 4-5 ปี กับ แปลงที่ปลูกและหมุนเวียน 2 ปี
3.ทำแปลงทดลองปลูกโดยใช้ปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ
จากการศึกษาข้อมูลรอบการปลูกแคนตาลูปแต่ละครั้งต้องใช้สารเคมีในการดูแลผลผลิตมากถึง 19 ครั้ง กลุ่มฮักนะเชียงยืนจึงได้มาทำการทดลองปลูกแบบไม่ใช่สารเคมีและใช้เมล็ดพันธุ์แคนตาลูปที่ได้มาจากระบบเกษตรพันธะสัญญา
ผลจากการทดลองปลูกแคนตาลูปที่ไม่ใช้สารเคมีพบว่า สารอินทรีย์ไม่สามารถควบคุมแมลงศัตรูพืชได้ ผลผลิตที่ออกมามีการเจริญเติบโตไม่เต็มทีเพราะเมล็ดพันธุ์ถูกตัดแต่งพันธุกรรมมาแล้วจากบริษัท
4.จัดเวทีเสวนาชาวบ้าน
เพื่อสื่อสารพิษภัยของการทำเกษตรเคมีและให้เห็นถึงผลดีของการทำเกษตรอินทรีย์ผ่านละครเร่ เรื่อง “เกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง” จากนั้นเปิดวงพูดคุยแลกเปลี่ยนกันระหว่างชาวบ้าน เยาวชน อาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตัวแทนจากโรงพยาบาลชุมชนบ้านแบก เกษตรอำเภอเชียงยืน และคนทำอาชีพเกษตรอินทรีย์จากกาฬสินธุ์
ผลจากการเปิดเวทีเสวนาชาวบ้านพบว่า ชาวบ้านเองรู้และเข้าใจเรื่องพิษภัยของสารเคมีดี แต่ยังไม่ตระหนักในเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพของตนเอง เนื่องจากเป็นอาชีพที่สามารถเลี้ยงปากท้องของคนในครอบครัวได้และก็ทำกันมาหลายสิบปีแล้ว ถ้าไม่ทำก็ไม่รู้จะกินอะไร จากข้อมูลของคุณหมอบอกว่าชาวบ้านแบก 80% ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ และที่น่าเป็นห่วงคือ 98% ที่อยู่ในช่วงอายุ 45 ปีมันเป็นมะเร็ง
การเปิดเวทีครั้งนี้ชาวบ้านหลายคนเริ่มพูดคุยและเปิดใจมากยิ่งขึ้น โดยมีเด็กในชุมชนบ้านแบกมาร่วมนั่งฟังและพูดถึงความรู้สึก และยิ่งมีผู้รู้มาพูดถึงประเด็นสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นก็ยิ่งทำให้ชาวบ้านฟังและเริ่มให้ความร่วมมือ
5.ค่ายหัวใจใกล้กันสานสัมพันธ์ชีวภาพ
กลุ่มฮักนะเชียงยืนและเยาวชนบ้านแบกเรียนรู้การทำน้ำหมักจากหน่อกล้วย ใบสะเดา ยูคาลิปตัส เหล้าขาว
6.Amazing Ban Bag
- เปิดตลาดนัดชีวภาพ
- ฉายหนังสั้นเพื่อสื่อสารให้เห็นสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านแบก
- เกษตรอำเภอเชียงยืนสาธิตการทำไตโคโดมา
นอกจากนี้กลุ่มเยาวชนยังได้ทำกิจกรรมเพิ่มเติมจากแผนที่วางได้ในโครงการ ประกอบด้วย
- การไปศึกษาดูงานเกษตรอินทรีย์ ที่ จ.กาฬสินธุ์ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและเรียนรู้ต้นแบบในการทำเกษตรอินทรีย์
- การปลูกผักอินทรีย์เพราะอยากแสดงให้ชาวบ้านเห็นว่าการปลูกผักโดยใช้อินทรีย์นั้นทำได้จริงและปลอดภัยต่อตัวเกษตรกรเอง ถึงแม้ผลการทดลองปลูกผักของเยาวชนครั้งนี้จะยังไม่สำเร็จตามที่คาดหวังไว้
- รวมกลุ่มจัดตั้งกลุ่มยุวเกษตร เพราะผลจากการจัดงาน Amazing Ban Bag ทำให้เยาวชนรู้ว่าชาวบ้านนั้นรู้และเข้าใจโทษภัยของสารเคมี และวิธีป้องกันตัวเอง แต่ยังไม่มีความตระหนักถึงโทษ ทางกลุ่มฮักนะเชียงยืน จึงคิดตั้งกลุ่มยุวเกษตรขึ้นมา (ซึ่งเป็นสมาชิกของชุมชนทั้งหมด) หวังให้เป็นแรงกระตุ้นให้ผู้ปกครองลดการใช้สารเคมีต่อไป ซึ่งงานนี้ได้รับการสนับสนุนจากเกษตรอำเภอเชียงยืน
ปัญหา/อุปสรรคและแนวทางการแก้ไข
- เวลาไม่ตรงกัน
- ภาระการเรียนในเนื้อหาของหลักสูตรของโรงเรียน
- ชุมชนบางส่วนไม่ให้ความร่วมมืออาจเนื่องมาจากภาระการทำเกษตรแบบพันธสัญญาที่ต้องดูแลผลผลิตของตนอย่างใกล้ชิด
ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการของเยาวชน
1.ผลต่อกลุ่มเยาวชน
- กลุ่มเยาวชนสามารถนำกระบวนการทำงานจากมูลนิธิกองทุนไทยมาปรับใช้ในกิจจรรมของโรงเรียนได้ เช่น กิจกรรมเปิดบ้านรับน้อง กิจกรรมห้องเรียนสีขาว
- กลุ่มเยาวชนสามารถขยายเครือข่ายลงในชุมชนและโรงเรียนข้างเคียง ได้แก่ โรงเรียนบ้านแบก อ.เชียงยืน และ โรงเรียนบ้านหนองกุง อ.ชื่นชม จ.มหาสารคาม
- กลุ่มเยาวชนสามารถพัฒนาการทำงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.ผลต่อแกนนำเยาวชน
- การทำงานเป็นทีม
- การแก้ปัญหา
- การสืบค้นข้อมูล
- การสื่อสารกับชุมชน
3.ผลต่อชุมชนเป้าหมาย / ชุมชน
- ชุมชนเปิดใจพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องการทำเกษตรแบบเคมี และยอมรับการทำงานของกลุ่มเยาวชน
- ชุมชนให้ความร่วมมือทุกครั้งที่ออกสำรวจข้อมูล
การเรียนรู้ของแกนนำเยาวชน
นาย พงศกร ดวงสุฤทธิ์ (เกมส์) อายุ 15 ปี
กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม
ตำแหน่ง/หน้าที่รับผิดชอบ ประธาน
แรงบันดาลใจในตอนแรก จากความรู้สึกรักบ้านเกิด อยากมีส่วนในการพัฒนาบ้านเกิดตัวเอง ซึ่งเกมส์บอกไว้ตอนเริ่มโครงการฯ ว่า “สิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจแรกๆ ของผมที่เข้ามาร่วมกลุ่มก็คือ รักบ้านเกิดครับ ผมอยากพัฒนาบ้านเกิดของตนเอง ให้ชาวบ้านใช้สารเคมีลดลงและอยากให้ชาวบ้านหันมาทำน้ำหมักแทนการใช้สารเคมี อีกอย่างที่ผมอยากทำเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมก็คือ โลกของเราสภาพแวดล้อมของเราเปลี่ยนไปมาก เกิดจากมนุษย์เองที่ทำร้ายโลก หากไม่มีคนลุกขึ้นมาทำแล้วโลกของเราจะเป็นอย่างไร”
ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ (การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง ความสุข ฯ)
- จากเริ่มแรกที่เป็นคนขาดความมั่นใจในตัวเอง ไม่ค่อยกล้าพูด กล้าสื่อสารกับคนในชุมชนและไม่ค่อยกล้าแสดงความคิดเห็น เพราะรู้สึกว่าตัวเองยังมีกระบวนการคิดที่ยังไม่เพียงพอที่จะไปบอกต่อผู้อื่นได้ เมื่อมาทำโครงการ ได้ศึกษาหาข้อมูลความรู้มากขึ้น ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล ได้ทดลอง และฝึกการคิดอย่างเป็นระบบในการทำงานร่วมกับเพื่อนๆ ในโครงการ ทำให้มีความมั่นใจมากขึ้น รู้จักสิ่งต่างๆ ในชุมชนมากขึ้น กล้าเข้าไปพูดคุยกับผู้อื่น
- นำเทคนิคการจดบันทึกข้อมูลไปปรับใช้ในงานอื่นๆ ของตัวเอง
- จากเดิมไม่ชอบรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น เปลี่ยนเป็นฟังความเห็นของเพื่อนๆ พ่อแม่ คนในชุมชนมากขึ้น ทำให้เข้าถึง เข้าใจพ่อแม่ และคนในชุมชนมากขึ้น ที่จำเป็นต้องใช้สารเคมีปลูกแตง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี ราคาดี และมีรายได้มาเลี้ยงดูลูกหลาน
- ทำงานเป็นทีมกับเพื่อนมากขึ้น รู้จักสืบค้นข้อมูล จับประเด็นปัญหาของตัวเองและหาวิธีแก้ได้
นางสาวพรไพรินทร์ หีบแก้ว (แอน) อายุ 15 ปี
กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม
ตำแหน่ง/หน้าที่รับผิดชอบ เลขานุการ/เอกสาร
“ได้มีโอกาสเข้าร่วมทำกิจกรรมตอนเปิดเวทีเสวนาของรุ่นพี่ฮักนะเชียงยืนรุ่นที่ 1 เห็นการทำงานของรุ่นพี่ทำให้เกิดแรงบันดาลใจและอีกอย่างก็อยากจะพัฒนาตนเองอยากได้ประสบการณ์จาการทำงานจริง”
ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ (การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง ความสุข ฯ)
- จากเดิมเป็นคนไม่ชอบคิด ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น และไม่อยากรับผิดชอบงาน จึงไม่ค่อยได้ทำงานร่วมกับชุมชน เมื่อได้ทำโครงการนี้เพราะเกิดแรงบันดาลใจจากรุ่นพี่และอยากพัฒนาตนเอง ทำให้แอนต้องฝึกความรับผิดชอบมากขึ้น มีความรับผิดชอบต่อตนเองและตรงต่อเวลา และซื่อตรงต่อผู้อื่นมากขึ้น ซึ่งตอนนี้แอนถือว่าเป็นเด็กที่มีความรับผิดชอบ ช่วยพ่อแม่ทำงาน ช่วยดูแลแปลงผักของที่บ้านที่พ่อเพิ่งเริ่มปลูกผักปลอดภัยกินเอง และนำไปขายการได้ทำงานกับชุมชน ทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับชุมชน และเข้าใจคนในชุมชนมากขึ้น
- มีระบบความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดเชื่อมโยงมากขึ้น และมีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีทักษะในการพูดคุยสื่อสารกับผู้ใหญ่ คนในชุมชน
- มีความสุขที่ครอบครัวหันมาปลูกผักปลอดสารกินเอง ใช้ปุ๋ยชีวภาพที่ตนเองและเพื่อนๆ ทำในโครงการ และรู้สึกภูมิใจที่ได้กินผักปลอดสารที่บ้าน และได้เก็บเกี่ยวผลผลิตไปขายให้คนอื่นได้กินด้วย + ครอบครัวมีรายได้เสริม
นางสาว ปิยนารถ ชิณแสน (ป๊อบ) อายุ 15 ปี
กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม
ตำแหน่ง/หน้าที่รับผิดชอบ ฝ่ายการเงิน
ได้เห็นปัญหาของชุมชนจากที่ร่วมทำกิจกรรมกับรุ่นพี่ จึงอยากช่วยหาวิธีแก้ปัญหา ดูจากที่น้องป๊อบให้ข้อมูลก่อนเข้าโครงการ “ดิฉันเคยเข้าร่วมกิจกรรมของรุ่นพี่ฮักนะเชียงยืนรุ่นที่ 1 ได้ลงพื้นที่จริง ได้เห็นสภาพการเป็นอยู่และปัญหาต่างๆของชาวบ้าน จากจุดเริ่มต้นตรงนี้จึงทำให้ดิฉันอยากเข้าร่วมกลุ่มเยาวชนนี้ เพื่อช่วยหาวิธีการแก้ปัญหาให้กับชาวบ้าน”
ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ (การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง ความสุข ฯ)
ได้ฝึกทักษะการทำงานร่วมกับเพื่อนๆ, รู้จักการคิดอย่างเป็นระบบมากขึ้น การพูดคุยสื่อสารกับคนในชุมชนและพัฒนาศักยภาพตัวเองจากกิจกรรมแสดงละคร และเป็นพิธีกรในเวที/ค่าย แม้ในช่วงระยะหลังๆ ของโครงการมีเวลาทำกิจกรรมน้อยลง เพราะต้องไปเรียนพิเศษเพิ่ม
พี่เลี้ยงกลุ่มเยาวชน
1.นายธีรวุฒิ ศรีมังคละ ชื่อเล่น แสน อายุ 17 ปี
กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 6 (วิทย์-คณิต) โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม
แสน เป็นเยาวชนที่มีอุดมการณ์ ต้องการพัฒนาศักยภาพตัวเอง ซึ่งมีครูที่สอน ครูเพ็ญศรี ใจกล้า และ ดร.ฤทธิ์ไกร ไชยงาม อาจารย์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม รวมทั้งผู้ใหญ่หลายคนที่มีโอกาสได้เจอ เป็นแบบอย่างที่สร้างแรงบันดาลใจให้ตัวเอง
“แรงบันดาลใจมาจากหลายสิ่งหลายอย่างที่อยู่รอบตัว อาทิ ท้องฟ้า สายลม สายฝน บทเพลง บทกวี บุคคลตัวอย่าง องค์การผู้นำด้านการพัฒนางานด้านสิ่งแวดล้อม และบางที่อาจได้แรงบันดาลใจมาจากความฝันของตนเอง คือ นักพัฒนา ที่คอยย้ำเตือนและปลอบโยนจิตใจ ให้สนใจงานด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อม “ทุกสิ่งคือสิ่งแวดล้อม” เราขาดสิ่งแวดล้อมไม่ได้ ถ้าสิ่งแวดล้อมดี เราก็จะดี แต่ถ้าสิ่งแวดล้อมเสื่อม เราก็จะเสื่อม สิ่งแวดล้อมถ้าขาดเรา สิ่งแวดล้อมสามารถอยู่ได้ แต่ถ้าเราขาดสิ่งแวดล้อม เราไม่สามารถอยู่ได้ (เป็น Keyword คำเดียวที่เป็นโจทย์ในใจของผมอยู่มิลืม)”
บทบาทการหนุนเสริมการทำงานของกลุ่มเยาวชน
เป็นพี่เลี้ยงคอยชวนรุ่นน้องคิด วางแผนการทำงาน แก้ปัญหา และสรุปงานร่วมกัน ซึ่งถ้าเห็นว่าการดำเนินงานมีปัญหาหรือต้องการความช่วยเหลือในระดับที่กลุ่มเยาวชนทำเองไม่ได้ จะเป็นคนประสานต่อกับ ครูเพ็ญศรี ใจกล้า (พี่เลี้ยงเยาวชนฮักนะเชียงยืน รุ่น 1) และผู้ใหญ่คนอื่นมาช่วยด้วย
ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ (การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง ความสุข ฯ)
ได้ฝึกทักษะการเป็นพี่เลี้ยงในรุ่นน้อง แม้จะยังใจร้อนอยู่บ้าง ลุกขึ้นมาเป็นแกนนำเองเหมือนตอนทำโครงการฯ รุ่น 1 เนื่องจากเป็นงานที่ตัวเองมีประสบการณ์ทำเองมาก่อนและมุ่งมั่นกับผลสำเร็จของโครงการมากกว่า การช่วยเป็นพี่เลี้ยงพัฒนาศักยภาพให้น้องๆ
2.ครูเพ็ญศรี ใจกล้า
ความสามารถ/ความถนัด/ความรู้/ทักษะหรือประสบการณ์ทำงานที่เด่นๆ
- มีประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนแบบ Project-based Learning และมีประสบการณ์ในการเป็นพี่เลี้ยงในกลุ่มเยาวชนฮักนะเชียงยืน รุ่นที่ 1
- มีทักษะในการชวนเด็กคิด วางแผน แก้ปัญหา และสรุปบทเรียนการทำงาน เปิดโอกาสให้กลุ่มเยาวชนแสดงศักยภาพของตัวเองออกมา
บทบาทการหนุนเสริมการทำงานของกลุ่มเยาวชน
- ยังคอยให้คำปรึกษากับกลุ่มเด็กเยาวชน
- ช่วยประสานงานในระดับหน่วยงาน และอำนวยความสะดวกในการทำงานบางเรื่องให้กลุ่มเยาวชน
แรงบันดาลใจที่มาทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมหรือเข้ามาร่วมกับกลุ่มเยาวชน
ด้วยความหวัง ความห่วงใย ที่อยากจะส่งเยาวชนกลุ่มนี้ให้ถึงฝั่ง “เป็นดินแดนแห่งความหวัง หวังว่าทักษะที่เรามีมาใช้ อยากให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ และมีทักษะการอยู่รอด ถ้าเติบโตไปอยู่ในสังคม ไปทำงาน จึงต้องฝึกทักษะที่จะทำให้พวกเขาอยู่รอดได้ แม้บางครั้ง ครูเพ็ญศรี เองก็เกิดความน้อยใจ กังวลว่าทักษะที่ฝึกฝนให้กับเยาวชนพวกเขาจะได้เรียนรู้หรือไม่ อยากเห็นพัฒนาการของพวกเขาจะพัฒนาไปถึงไหน สิ่งที่ทำน่าจะส่งเสริมศักยภาพเยาวชนได้” เป็นความรู้สึกจากใจของครูเพ็ญศรีที่มุ่งมั่นจะเป็นพี่เลี้ยงคอยประคับประคองเยาวชนสู่การเรียนรู้และเติบโตอย่างมีคุณภาพ
ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ (การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง ความสุข ฯ)
ได้เรียนรู้และตกผลึกแนวคิดกระบวนการพัฒนาศักยภาพเยาวชนมากขึ้น จนสามารถนำไปออกแบบกระบวนการพัฒนาเยาวชนขยายไปที่โรงเรียนอื่นๆ ในพื้นที่ จ.มหาสารคาม (โดยมีกลุ่มเยาวชนแกนนำร่วมด้วย) ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนทำเป็นโครงการโรงเรียนวันสุขจากหน่วยงานอื่น โดยคุณครูเพ็ญศรี ใจกล้า เป็นผู้จัดการโครงการ