โครงการสร้างชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์เพื่อปฏิรูปการศึกษา
โครงการสร้างชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์เพื่อปฏิรูปการศึกษา
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
เวที "สร้างชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์" ครั้งที่ 2
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์

  1. ครูเพื่อศิษย์ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การออกแบบการเรียนรู้ PBL (Project Based Learning) โดยใช้เรื่องเล่าเร้าพลัง
  2. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การส่งเสริมชุมชนการเรียนรู้ PLC (Professional Learning Community) ในโรงเรียน
  3. เสริมศักยภาพครูเพื่อศิษย์ นำไปจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ในพื้นที่
กำหนดการและรายงานผล
26
พฤศจิกายน
2011
กิจกรรมวันที่หนึ่ง
08.30 - 09.00 น.
Before Action Review (BAR)
10.45 - 12.00 น.
เสวนาเพื่อการเรียนรู้ หัวข้อ "กระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะเด็กไทย"
- ลมข้าวเบา เงาเดือนเพ็ญ ของโรงเรียนเพลินพัฒนา กทม.
- การเรียนรู้ แบบโรงเรียนนอกกะลา ของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์
12.00 - 13.00 น.
พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 17.00 น.
วงที่ 1 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้บริหาร, ผู้สนับสนุนในพื้นที่ : เด็กเรียนรู้...ครูเรียนรู้..โดยบทบาทผู้บริหารโรงเรียนอย่างไร

วงที่ 2 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครูเพื่อศิษย์ : เรื่องเล่า...พาศิษย์สู่ทักษะอนาคต
17.00 - 19.00 น.
พักผ่อนตามอัยาศัย รับประทานอาหารเย็น
19.00 - 20.30 น.
สะท้อนการเรียนรู้ร่วมกัน
27
พฤศจิกายน
2011
กิจกรรมวันที่สอง
08.30 - 09.00 น.
กิจกรรมเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้
09.00 - 10.00 น.
ชมสื่อ/เสวนา กระบวนการพัฒนาครูด้วย Lesson study
10.00 - 10.30 น.
รับประทานอาหารว่าง
10.30 - 12.00 น.
เปิดวงสนทนา/ สะท้อนการเรียนรู้ครู และผู้บริหาร
12.00 - 13.00 น.
รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 15.00 น.
After Action Review (AAR)/ปิดวง
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

1.จำนวนผู้เข้าร่วมลดลงเหลือ 36 คน (ลดลง 16% คิดจากเวทีโครงการ ครั้งที่ 1) เนื่องจากผู้บริหารส่วนหนึ่งไม่ตอบรับการเข้าร่วม แต่จะให้ครูในสังกัดมาเข้าร่วมเป็นตัวแทน ซึ่งอาจแสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญที่น้อยลง ผนวกกับเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ของประเทศ จึงทำให้ครูหลายพื้นที่ประสบปัญหาไม่สามารถออกจากพื้นที่มาร่วมเวทีฯ ได้

2.จากผลสะท้อน AAR หลังจบเวทีครั้งที่ 2 นี้ กลุ่มผู้เข้าร่วมประทับใจกับบรรยากาศและกระบวนการเล่าเรื่องในวง PLC มากตามที่คาดหวังไว้ ซึ่งเกิดจากศักยภาพของทีมวิทยากรกระบวนการกลุ่มของโครงการทำหน้าที่เป็น “คุณอำนวย” สามารถทำให้วง ลปรร. มีประสิทธิภาพ (สร้างบรรยากาศให้ผู้เข้าร่วมรู้สึกดี รับฟัง ไม่ตัดสิน กระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมมีส่วนร่วมในการ ลปรร. และตรวจสอบความเข้าใจในประเด็นที่พูดคุยโดยไม่ทำให้ผู้เข้าร่วมรู้สึกถูกปฏิเสธ โดยใช้ Appreciative Inquiry ในการสะท้อนด้วยท่าทีเชิงบวก) ซึ่งทางโครงการหวังว่าจะผลักดันให้ผู้เข้าร่วมอยากจะกลับไปสร้าง PLC ในพื้นที่ตนเองมากขึ้น

3.แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อวิเคราะห์เนื้อหาของเรื่องเล่า พบว่าเรื่องเล่า Storytelling ของกลุ่มครูผู้เข้าร่วมยังไม่สามารถบอกถึงการออกแบบจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ที่ดี หรือบทบาทการเป็นโค้ชให้กับศิษย์ได้ แม้ว่าจะได้ฟังตัวอย่าง PBL ที่ดีจากโรงเรียนเพลินพัฒนาและโรงเรียนลำปลายมาศ ทั้งนี้อาจเพราะผู้เข้าร่วมมีระดับความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ที่ไม่เท่ากัน หลายคนแม้จะมีประสบการณ์จัดกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL แต่เป็น PBL ที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนฐานคิดการออกแบบโดยคำนึงถึงการฝึกทักษะอนาคตใหม่ (21st Century Skills) ให้กับศิษย์

4.การนำสื่อวีดีทัศน์มาใช้ในกระบวนการ คือ การนำเสนอ Lesson Study ตัวอย่างกระบวนการจริงที่เกิดขึ้นที่โรงเรียนเพลินพัฒนา ได้ผลดี ทำให้ผู้เข้าร่วมเห็นกระบวนการจริงที่เกิดขึ้นครบถ้วน ตั้งแต่เริ่มทำ ระหว่างทำ และหลังทำ (pre, while, post- Lesson Study) ซึ่งมีทั้งเป็นตัวอย่างที่ดี และบางแง่มุมที่เป็นปัญหาอุปสรรค ทำให้ผู้เข้าร่วมกล้าที่จะแสดงความคิดเห็น มีการซักถามเพิ่มเติมกับโรงเรียนเพลินพัฒนาและเกิดความมั่นใจที่จะนำไปทดลองทำ เนื่องจากตัวอย่างที่นำมาเสนอ มีทั้งดีและอุปสรรค

5.ผู้เข้าร่วมท่านที่ประทับใจกับการทำ PLC ในรูปแบบของ Lesson Study มาก เช่น คุณวิชชา ครุปิติ รอง สพป.ตราด จึงนำ Lesson Study กลับไปโน้มน้าวชักชวนโรงเรียนในพื้นที่บางแห่งทดลองทำ Lesson Study ร่วมกัน 

6.ผู้บริหารส่วนใหญ่จะประทับใจการจัดการศึกษาของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา และการบริหารงานของโรงเรียนกงไกรลาศวิทยา เห็นความสำคัญของการรู้จักเด็กนักเรียน การให้ครูมีส่วนร่วมและการทำงานด้วยใจของครู แต่ยังรู้สึกถึงข้อจำกัดในการเป็นโรงเรียนรัฐบาล การต้องต่อสู้กับตัวเองเพื่อให้เกิดความกล้าในการเปลี่ยนแปลง (เวทีฯ ได้สร้างให้เกิดแรงบันดาลใจในการพัฒนาโรงเรียนของตัวเอง แต่เมื่อกลับไปแล้ว จะลงมือทำได้แค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับศักยภาพแต่ละบุคคล และปัจจัยที่เป็นบริบทแวดล้อม)

7.พบว่าการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการสนับสนุนให้เกิด PLC ของกลุ่มผู้บริหารโรงเรียน ไม่สามารถทำได้ สันนิษฐานได้ว่าผู้บริหารโรงเรียนส่วนใหญ่ไม่เคยมีประสบการณ์ทำบทบาทส่งเสริมการสร้างชุมชนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาครูโรงเรียน แต่ใช้การบริหารครูโดยการทำตามนโยบายหรือการกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติมาแล้วจากฝ่ายนโยบายส่วนกลางของประเทศ และเป็นเรื่องยากที่ผู้บริหารและครูจะทำสิ่งที่แตกต่างจากขั้นตอนปฏิบัติของส่วนกลาง (สื่อถึงโครงสร้างบริหารเชิงอำนาจที่กดทับสูงมากในภาคการศึกษา เมื่อเทียบกับภาคสาธารณสุขหรือภาคอื่นๆ)