กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สืบสานศิลปะวัฒนธรรมกระบี่ กระบอง
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

กลุ่มสืบสานศิลปวัฒนธรรมล้านนา บ้านต๊ำดอนมูล ตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

แรงบันดาลใจ การก่อเกิด

              กลุ่มกระบี่กระบอง ตำบลบ้านต้ำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เป็นการรวมตัวของเยาวชนที่รักการต่อสู้แบบศิลปะของล้านนาที่เรียกว่า “การรำกระบี่ กระบอง” ซึ่งถ้าคนที่ไม่เข้าใจและไม่เคยเข้ามาเรียนกระบี่กระบอกอย่างจริงจังแล้วก็จะไม่เข้าใจว่ากระบี่กระบองสามารถฝึกผู้เรียนได้หลายอย่าง กลุ่มเยาวชนกระบี่กระบองเกิดจากการรวมตัวของน้องๆเยาวชนไม่กี่คนที่เริ่มต้นจากความชอบของตนเองที่มีใจรักศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น และเนื่องจากวัฒนธรรมล้านนา “การรำกระบี่ กระบอง” นั้นเป็นวิชาที่มีครูเยาวชนไม่สามารถฝึกกันเองได้ ดังนั้นเกิดผู้ใหญ่ใจดี มีครูผู้สอนซึ่งเป็นบุคคลที่มีความรู้สามารถถ่ายทอดความรู้ด้านนี้ในชุมชนได้ จุดเริ่มต้นของการเกิดกลุ่มกระบี่กระบองนั้นเกิดขึ้นจากหลักสูตรในโรงเรียนที่มีการสอนกระบี่กระบองอยู่แล้ว แต่ในโรงเรียนนั้นครูจะสอนท่ารำพื้นฐานเท่านั้น ซึ่งใครต้องการเรียนวิชากระบี่กระบองที่มากกว่านั้นต้องแสวงหาความรู้เพิ่มเติม

ย้อนกลับไปประมาณเกือบ 2 ปีกว่ากลุ่มเยาวชนกลุ่มนี้ชุมชนจะเข้าใจว่าเป็นเด็กเกเรในหมู่บ้าน ชอบความรุนแรงมีเรื่องสร้างปัญหาให้กับครอบครัวตลอดเวลา ซึ่งก็เป็นเรื่องจริงในขณะนั้น แต่เมื่อได้มีโอกาสฝึกกระบี่กระบองส่งผลให้พฤติกรรมของน้องกลุ่มเยาวชน กระบี่กระบองเปลี่ยนไป คือ เกิดอุปนิสัยที่ดี คือ เกิดความอดทน อดกลั่นมากขึ้น ซึ่งอุปนิสัยนี้เกิดจากกระบวนการฝึกกระบี่กระบองนั้นเอง เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงจากนิสันที่ดีนั้นส่งผลให้ครอบครัวและคนในชุมชนเริ่มให้ความเชื่อถือ จนน้องๆเยาวชนกลุ่มนี้เกิดความเชื่อมั่นในตนเองและครอบครัวเกิดความภาคภูมิใจ

 

              เมื่อน้องแกนนำได้สัมผัสกับความเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อตนเองนั้น แนวความคิดที่ต้องการขยายผลให้กับน้องๆเยาวชนในชุมชนต่อจึงเกิดขึ้น อยากให้เด็กและเยาวชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงๆต่างๆได้เข้ามาเรียนและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองต่อไป จากแรงบันดาลใจนี้เองที่ทำให้น้องๆแกนนำกลุ่มกระบี่กระบองเกิดการรวมตัวกันเปิดสอน “กระบี่กระบอง” ในหมู่บ้านขึ้นในช่วงตอนเย็นของทุกวันหลังจากกลับมาจากโรงเรียนแล้ว ซึ่งกิจกรรมนี้ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านในหมู่บ้านเป็นอย่างดี สนใจและส่งลูกหลานเข้าเรียนจำนวนหลายคนและยังสนับสนุนสถานที่ในการเรียนการสอนกระบี่กระบองให้กับลูกหลานของตนเองในชุมชนด้วย

 

ขั้นตอนการทำกิจกรรม

ขั้นที่ 1 : การสอนกระบี่ กระบอง น้องๆแกนนำได้เปิดรับสมัครเด็กและเยาวชนในหมู่บ้านเข้าเรียนกระบี่กระบอง โดยเปิดโอกาสให้กับเยาวชนที่สนใจ แต่เนื่องจากกระบี่กระบองเป็นวัฒนธรรมของการป้องกันตัว เยาวชนที่เข้ามาเรียนส่วนใหญ่จึงเป็นเยาวชนชายทั้งหมดและส่วนใหญ่ก็ค่อนข้างมีพฤติกรรมชอบความรุนแรงเป็นทุนเดิม เมื่อมีเยาวชนมาสมัครแล้วแกนนำได้ไปทำความเข้าใจกับผู้ปกครองของเยาวชนที่มาสมัครเรียนเนื่องจากบางครั้งอาจจะมีการผิดพลาดในการสอนบ้างเพื่อให้ผู้ปกครองได้ทราบก่อนและให้อนุญาตลูกหลานของตนเองเข้ามาเรียนกับกลุ่มเยาวชน กระบี่กระบอง  ในขั้นตอนของการสอนนี้มีความสำคัญมากเนื่องจากเยาวชนที่มาเรียนนั้น ตอนแรกจะเข้าใจว่ากระบี่กระบองคือการต่อสู้และเข้าใจว่าเมื่อเรียนแล้วจะสามารถนำไปใช้ต่อสู้ที่อื่นๆเมื่อมีเรื่องได้   กลุ่มแกนนำเยาวชน กระบี่กระบองเล่าว่า “กระบี่กระบองคือการป้องกันตัว ไม่ใช่การต่อสู้หรือการนำไปหาเรื่องกับคนอื่น” ในการเริ่มต้นสอนกระบี่กระบองนั้นแกนนำจะสอนให้น้องเยาวชนรู้และเข้าใจความจริงของกระบี่กระบองข้อนี้ก่อน โดยน้องๆแกนนำได้นำขั้นตอนที่ตนเองได้รับการฝึกมาที่เรียกว่า “ตี” คือน้องๆที่เข้ามาเรียนจะต้องฝึกการป้องกันตัวเองโดยแกนนำรุ่นพี่จะใช้กระบี่กระบองตี ซึ่งเยาวชนที่เข้ามาเรียนจะต้องใช้กระบี่กระบองป้องกันตนเองให้ได้ โดยลักษณะการป้องกันตัว

เองจะต้องตีกระบี่กระบองเป็นวงกลม ซึ่งถ้าฝึกฝนจดมั่นใจแล้วจะต้องผ่านการทดสอบและสามารถเรียนกระบี่กระบองขั้นสูงต่อไปได้

 

              การ “ตี” นั้นส่งผลต่อผู้ฝึกหลายอย่างแกนนำได้เล่าประสบการณ์ในขั้นตอนนี้ให้ฟังว่า ได้เรียนรู้เรื่องการฝึก “ความอดทน” ซึ่งจะต้องอดทนต่อการฝึกซ้อม ต้องอดทนต่อความเจ็บที่เกิดขึ้นจากความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจากการโดนแกนนำรุ่นพี่ตีเพราะการฝึกฝน ความชำนาญมีไม่เพียงพอ น้องแกนนำเล่าว่าในช่วงของการฝึกซ้อมและทดสอบนี้จะเจ็บปวดมากแต่ต้องอดทน  “ความอดกลั้น” น้องๆที่เข้ามาเรียนนั้นส่วนใหญ่นิยมความรุนแรงอยู่เป็นทุนแต่เมื่อต้องได้รับการทดสอบและต้องการผ่านเพื่อเข้าไปเรียนในขั้นสูงตามกติกานั้น ถึงแม้ว่าจะโดนรุ่นพี่ตีแต่ก็ต้องอดกลั้นเมื่อทำบ่อยๆจนเกิดเป็นนิสัยของตนเอง น้องๆที่เรียนกระบี่กระบองหลายคนเล่าประสบการณ์ว่า “เดี่ยวนี้ไม่ค่อยมีเรื่องทะเลาะกับเด็กบ้านอื่นๆ ใจเย็นขึ้น อะไรที่ยอมได้ก็ยอมเขาไป” จากการปรับตัวที่เกิดจากการเปลี่ยนนิสัยทำให้ชุมชนน่าอยู่ขึ้น แกนนำรุ่นพี่กลุ่มกระบี่กระบองเล่าว่า “สมัยก่อนเยาวชนในหมู่บ้านจะไปงานหมู่บ้านอื่นต้องมีเรื่องทะเลาะกันเป็นประจำ แต่เดี่ยวนี้ไม่ค่อยมี ทำให้ครอบครัวมีความสุขขึ้น ชุมชนมีความสุขขึ้น เกิดมิตรภาพของกลุ่มเยาวชนระหว่างหมู่บ้าน” 

“มีแกนนำ ที่น้องๆเชื่อฟัง” ผลอีกอย่างที่เกิดขึ้นจากการเปิดการสอนกระบี่กระบองคือ แกนนำกลุ่มเยาวชนกระบี่กระบองเป็นรุ่นพี่ในหมู่บ้านที่น้องๆเชื่อฟัง ปัจจุบันนี้น้องแกนนำเยาวชนกระบี่กระบองนอกจะทำหน้าที่สอนความรู้เรื่องกระบี่กระบองแล้วยังต้องทำหน้าที่เป็น “สื่อกลางระหว่างผู้ปกครองกับเยาวชน” ด้วยความแตกต่างเรื่องวัยระหว่างผู้ปกครองกับลูกหลานนั้น ปัญหาในบางเรื่องอาจจะไม่สามารถแก้ไขในครอบครัวได้เนื่องจากไม่เข้าใจกัน พ่อแม่ผู้ปกครองจะมาบอกเล่าให้กับแกนนำรุ่นพี่กลุ่มกระบี่กระบอง ซึ่งน้องๆกลุ่มนี้ก็จะช่วยหาวิธีการแก้ปัญหาให้อย่างได้ผลทีเดียว

 

              เมื่อน้องแกนนำเยาวชนกลุ่มกระบี่กระบองดำเนินการมาระยะหนึ่งได้มีโอกาสมาทบทวนผลการดำเนินงานของตนเอง พบว่าตนเองก็มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นหลายด้านเช่นกัน เรื่องความรู้ทักษะการป้องกันตัวเองที่ได้เรียนรู้จากการรำกระบี่กระบองเกิดขึ้นเป็นอันดับแรก แต่ที่ตามมานั้นเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวก็มี  แกนนำบางคนเล่าว่าในสมัยก่อนที่จะมาฝึกกระบี่กระบองร่างกายเล็กไม่แข็งแรง แต่ปัจจุบันนี้ร่างกายแข็งแรงสมชาย เนื่องจากได้ออกกำลังกายเป็นประจำ และจากที่รุ่นพี่ต้องถ่ายทอดความรู้ การฝึกฝนทักษะต่างๆให้กับน้องๆนั้นเดิมไม่กล้าพูด เป็นคนเงียบๆแต่ปัจจุบันนี้กล้าพูดกล้าคุยมากขึ้นไม่กลัวเวลาต้องออกไปนำเสนอหน้าชั้นในห้องเรียนหรือในสถานที่ต่างๆ ซึ่งเหล่านี้น้องๆแกนนำกลุ่มเยาวชนกระบี่กระบองบอกเล่าว่า “การเรียนกระบี่กระบอง ไม่ใช่ได้เพียงรำกระบี่กระบองเป็นเท่านั้น”

 

              เมื่อความสำเร็จเกิดขึ้นมากมายดังที่เล่าให้ฟังที่ผ่านมา แต่ปัญหาก็เกิดขึ้นเช่นกัน ปัญหาใหญ่ที่ตามมาคือเรื่องของความต่อเนื่องของการทำกิจกรรม แกนนำเยาวชนกระบี่กระบองและเยาวชนที่เข้าร่วมจำนวนหลายคนต้องออกไปเรียนนอกชุมชน ต่างจังหวัดทำให้คนที่จะมาสืบทอด การรำกระบี่กระบองนั้นอาจจะไม่มีซึ่งสร้างความกังวลให้แกนนำตลอดมา เมื่อปลายปี ๒๕๕๒ ที่ผ่านมากลุ่มเยาวชนกระบี่กระบองได้เข้าโครงการ “คิดดี ทำดีเพื่อตนเอง ครอบครัวและชุมชน” ได้มีโอกาสคิดโครงการต่อยอดการสอนกระบี่กระบองดังนั้นกลุ่มน้องๆเยาวชนจึงคิด เชื่อมโยงกับปัญหาเรื่องการสืบทอดขึ้น

 

ขั้นที่ 2 : สื่อการสอนกระบี่กระบอง แกนนำมีแนวความคิดว่าถ้าไม่มีผู้สอนก็ต้องใช้สื่ออื่นๆสอนแทนถึงแม้ว่าจะไม่เหมือนกับการสอนตัวต่อตัวที่จะส่งผลดีๆเกิดขึ้นมากมายอย่างที่กล่าวข้างต้นแต่อย่างน้อยก็เป็นการสืบทอดการรำกระบี่กระบองต่อไปในหมู่บ้านได้และยังมีการสวบรวมความรู้ด้านนี้ไว้อย่างเป็นระบบ น้องๆแกนนำเยาวชนกลุ่มกระบี่กระบองจึงคิดทำ VCD ท่ารำกระบี่กระบองไว้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยกิจกรรมของโครงการนี้เป็นการสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับท่ารำกระบี่กระบองโดยหาความรู้เพิ่มเติมจากผู้รู้ในชุมชน คือ ครู พระ เป็นต้น ซึ่งน้องๆแกนนำพบว่ามีท่ารำอีกมากมายที่ยังไม่รู้และได้รู้เพิ่มเติมในขั้นตอนของการสืบค้นนี้ เมื่อมีการรวบรวมข้อมูลแล้วน้องๆแกนนำกลุ่มกระบี่กระบองได้บันทึกการรำกระบี่กระบองท่ารำต่างๆพร้อมมีการอธิบายอย่างเป็นขั้นเป็นตอนง่ายต่อการนำไปใช้ง่ายได้ต่อ

 

              ในขั้นตอนนี้น้องๆแกนนำต้องใช้ทักษะความรู้ต่างๆเพิ่มขึ้นหลายอย่าง “การบันทึก” ในการสืบค้นความรู้เรื่องกระบี่กระบองนั้นน้องๆแกนนำต้องมีการบันทึกท่ารำต่างๆที่ถูกต้องไว้เพื่อนำมาถ่ายทอดโดยการรำสาธิตและบันทึกไว้เป็น VCD ต่อไป “ความรู้เรื่องการถ่าย VCD และการใช้คอมพิวเตอร์”   เมื่อมีการสืบค้นความรู้จนครบถ้วนแล้วน้องๆแกนนำจะต้องนำการรำมาสาธิตทีละขั้นตอนอย่างถูกต้องและต้องมีการถ่าย VCD ให้ชัดเจนดังนั้นแต่ละท่านั้นต้องรำให้ชัดเจนอย่างช้า ซึ่งแกนนำเยาวชนกลุ่มกระบี่กระบองเล่าว่า ยากมากเพราะไม่เคยชินกับการรำอย่างนี้ ถ้าผิดก็ต้องเริ่มต้นใหม่ ในขั้นตอนนี้ต้องใช้ความรู้เรื่องการถ่ายทำ มุมกล้องที่สามารถสื่อสารเรื่องท่าต่างๆให้เห็นได้อย่างชัดเจน เมื่อถ่ายสำเร็จแล้วก็ต้องนำมาตกแต่งในโปรแกรมคอมพิวเตอร์อีกครั้งเพื่อความสวยงาม

 

              จากกิจกรรมการทำสื่อท่ารำกระบี่กระบองของกลุ่มเยาวชนกระบี่กระบอง ทำให้แกนนำเยาวชนเกิดความภาคภูมิใจที่ตนเองสามารถรวบรวมท่ารำต่างๆได้สำเร็จ ครบถ้วนและถูกต้องในอนาคตถึงแม้ว่าแกนนำกลุ่มของตนเองต้องมีภาระอื่นที่ต้องออกไปอยู่ที่อื่น ในชุมชนก็ยังมีสื่อที่สามารถเรียนรู้เรื่องการรำกระบี่กระบองได้ แต่ข้อกังวลในการเรียนผ่านสื่อนี้คือ เยาวชนที่เรียนนั้นจะเรียนเฉพาะท่ารำเท่านั้นไม่สามารถฝึกฝนเรื่องทักษะอื่นๆได้กลุ่มเยาวชนกระบี่กระบองจึงต้องหาวิธีการอื่นๆต่อไป  

 

              แต่จากการทำดีของน้องๆกลุ่มนี้ทำให้มีผู้ใหญ่ใจดีเห็นความพยายามและเห็นคุณค่าของ VCD ที่น้องกลุ่มเยาวชนกระบี่กระบองทำขึ้น โรงเรียนในชุมชนจึงนำสื่อดังกล่าวนี้ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนให้กับนักเรียนในโรงเรียนต่อไป ซึ่งเป็นแนวทางการขยายผลที่ทำให้ “การรำกระบี่กระบอง” ยังคงมีการสืบทอดต่อไปในหมู่บ้าน

 

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ