
โครงการส่งเสริมการจัดการความรู้ของเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น (4 ภาค) ดำเนินการโดยความร่วมมือของสถาบันสร้างเสริมการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา สนับสนุนโดยมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เยาวชนมีขีดความสามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ในชุมชนอย่างมีคุณค่า มีศักดิ์ศรีสามารถสร้างประโยชน์ให้กับตนเอง ครอบครัวชุมชน และมีศักยภาพที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของตนเอง อีกประการที่สำคัญคือ เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีนโยบายและแผนงานที่ชัดเจนในการสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาเด็ก เยาวชน ในท้องถิ่นรวมทั้งเกิดเครือข่ายการจัดการความรู้ในเรื่องการพัฒนาเด็กและเยาวชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน บ้าน วัดโรงเรียน สถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่
“ตลาดนัดความรู้” เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องราวดีๆ ที่ผ่านการปฏิบัติมาแล้ว และสามารถกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมเกิดแรงบันดาลใจ มีทิศทาง และวิธีการที่สามารถนำกลับไปใช้จริงได้
วัตถุประสงค์
- เพื่อเป็นการเปิดตัวโครงการส่งเสริมการจัดการความรู้ของเด็กและเยาวชนในท้องถิ่นภาคใต้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระสบการณ์เด่น ความสำเร็จ บทเรียน ความภาคภูมิใจ ตลอดจนเติมเต็มการเรียนรู้แก่เด็กและเยาวชนในพื้นที่เป้าหมาย ทั้งด้านทักษะชีวิต จิตอาสา และพัฒนาอาชีพ
- เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการพัฒนาเด็กและเยาวชน ระหว่างหน่วยบ่มเพาะ ได้แก่ บ้าน วัด โรงเรียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรอื่นๆที่เกี่ยวข้อง อันจะนำไปสู่วิสัยทัศน์ และแผนร่วมกันในอนาคต
กลุ่มเป้าหมาย
ประกอบด้วยเยาวชนในโครงการฯพื้นที่นครศรีธรรมราชและสงขลา ภาคีเพื่อการบ่มเพาะเด็กในพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้สนใจ รวมทั้งสิ้นประมาณ 120 คน
- แกนนำเด็กและเยาวชน พี่เลี้ยง ผู้ประสานงานพื้นที่ภาคใต้ ประมาณ 80 คน
- แกนนำเด็กและเยาวชน พี่เลี้ยง ผู้ประสานงานพื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคกลาง ประมาณ 10 คน
- ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนหน่วยบ่มเพาะเด็กและเยาวชนอื่นๆ ในพื้นที่ปฏิบัติการและพื้นที่เป้าหมายเพื่อขยายผลในอนาคต ประมาณ 25 คน
- สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข และมูลนิธิสยามกัมมาจล ประมาณ 5 คน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- เยาวชนในพื้นที่กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในแนวคิด แนวทาง และแผนการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง กลุ่ม และชุมชนชัดเจนมากยิ่งขึ้น
- ผู้รู้ แหล่งเรียนรู้ และหน่วยบ่มเพาะเด็กและเยาวชน (บ้าน วัด โรงเรียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรอื่นๆ) ได้ช่วยเติมเต็มการเรียนรู้ ตระหนักถึงความสำคัญ มีแผน นโยบาย และแนวทาง ในการหนุนเสริมเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่
- เกิดเครือข่ายหน่วยบ่มเพาะเด็กและเยาวชนในพื้นที่ทั้งด้านทักษะชีวิต จิตอาสา และพัฒนาอาชีพ ที่มีวิสัยทัศน์ แนวทาง หรือแผนในการพัฒนาเด็กและเยาวชนร่วมกัน
องค์กรผู้จัด
ดำเนินการโดย สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนาสนับสนุนโดย มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
กลุ่มย่อย ๑ เยาวชนกับการพัฒนาอาชีพเกษตร
เติมเต็มการเรียนรู้โดย ลุงช่วง สิงโหพล
นายวินัย ศิริเสน (สองชายฟาร์ม)
กลุ่มย่อย ๒ เยาวชนกับการพัฒนาอาชีพอื่นๆ
เติมเต็มการเรียนรู้โดย วิทยาลัยศิลปหัตกรรม
และวิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช
กลุ่มย่อย ๓ เยาวชนกับวัฒนธรรมท้องถิ่น
เติมเต็มการเรียนรู้โดย นายบุญธรรม เทิดเกียรติชาติ
และวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช
กลุ่มย่อย ๔ เยาวชนกับคุณภาพชีวิต (ทักษะชีวิต)
เติมเต็มการเรียนรู้โดย เครือข่ายพลเมืองเด็ก สงขลา
กลุ่มย่อย ๕ เยาวชนกับคุณภาพชีวิต (จิตอาสา)
เติมเต็มการเรียนรู้โดย กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์ สุราษฎร์ธานี
กลุ่มย่อย ๑ ชุมชนกับการบ่มเพาะเด็กและเยาวชน
ประสบการณ์เด่นจากชุมชนไสต้นทง
กลุ่มย่อย ๒ วัดและสถาบันทางศาสนากับการบ่มเพาะเด็กและเยาวชน
ประสบการณ์เด่นของวัดทุ่งโพธิ์ อำเภอจุฬาภรณ์
และวัดสระเรียง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
กลุ่มย่อย ๓ โรงเรียนกับการบ่มเพาะเด็กและเยาวชน
ประสบการณ์เด่นของโรงเรียนวัดโพธิ์ทอง
โรงเรียนเสาธงวิทยา
กลุ่มย่อย ๔ อปท.และองค์กรต่างๆกับการบ่มเพาะเด็กและเยาวชน
ประสบการณ์เด่นของอบต.ปากพูนและอบต.ท่าข้าม