กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
โครงการตลาดนัดความรู้ ภาคเหนือ : “พลังเยาวชน.....พลังสู่การพัฒนาชุมชนท้องถิ่น”
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

ความเป็นมา

ตามที่สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) ได้ร่วมมือกับมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) จัดทำ “โครงการส่งเสริมการจัดการความรู้ของเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น (4 ภาค) ” ภายใต้การสนับสนุนของบ้าน วัด โรงเรียนชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย(กศน.) หน่วยราชการ สถาบันการศึกษาระดับวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย

ในส่วนของโครงการส่งเสริมการจัดการความรู้ของเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น ภาคเหนือ ได้ดำเนินงานใน 4 จังหวัดได้แก่ จังหวัดพะเยา จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลำพูน ที่ได้เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2551 เพื่อเป็นการสนับสนุนส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องราวของความสำเร็จ ความภาคภูมิใจสิ่งดีๆของเยาวชนและผู้ที่เกี่ยวข้องข้ามเขตข้ามพื้นที่ จึงได้มีการจัดตลาดนัดความรู้ ภาคเหนือ “พลังเยาวชน.....พลังสู่การพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ขึ้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการนำความรู้ไปพัฒนาต่อยอด หมุนเกลียว ยกระดับงานของตนเองให้ดียิ่งๆขึ้น

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเปิดตัวการทำงานพัฒนาเยาวชนเชิงพื้นที่ภาคเหนือต่อสาธารณะ
  2. เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีคิด วิธีทำงาน ความสำเร็จและประสบการณ์ของเยาวชนกับหน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวกับเยาวชน
  3. เพื่อสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ระหว่างเยาวชนในพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน


กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 90 คน ได้แก่

1.แกนนำ เยาวชนและพี่เลี้ยงในโครงการการจัดการความรู้เยาวชนในชุมชนท้องถิ่นภาคเหนือ ได้แก่

1.1จังหวัดพะเยา

  • ·มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา
  • ·กลุ่มยุวชนเกษตรพะเยา วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี
  • ·กลุ่มธนาคารขยะรีไซเคิล โรงเรียนเทศบาล 5


1.2จังหวัดเชียงราย

  • ·เครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำโขง-ล้านนา อ.เชียงของ
  • ·กลุ่มเยาวชนรักษ์ถิ่น เชียงของ


1.3จังหวัดเชียงใหม่

  • ·สกว. แม่โจ้
  • ·กลุ่มเยาวชนคืนถิ่น บ้านปางจำปี อ.แม่ออน


1.4จังหวัดลำพูน

  • ·กลุ่มเยาวชนบ้านไร่น้อย อ.ป่าซาง
  • ·สถาบันวิจัยหริภุญชัย


2.ภาคความร่วมมือ หน่วยงานในพื้นที่ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ทำงานด้านการสนับสนุนการพัฒนาเยาวชนเชิงพื้นที่ ได้แก่

  • ·เทศบาลเชียงแสน
  • ·เทศบาลเวียงเชียงของ
  • ·เทศบาลเชียงของ
  • ·เทศบาลแม่สรวย
  • ·กลุ่มรักษ์เชียงแสน
  • ·สกว.แม่โจ้
  • ·สถาบันวิจัยหริภุญชัยจ.ลำพูน
  • ·วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพะเยา
  • ·มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา
  • ·โรงเรียนเทศบาล ๕ จ.พะเยา
  • ·เครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำโขง-ล้านนา อ.เชียงของ


3.เจ้าหน้าที่จากมูลนิธิสยามกัมมาจล และสถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข

4.ภาคีจากโครงการส่งเสริมการจัดการความรู้ของเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น ภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคใต้

ประเด็นการเรียนรู้

1.การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพด้านการเกษตร

2.การพัฒนาทักษะชีวิต จิตอาสาและพัฒนาท้องถิ่น

3.การจัดการความรู้ของเยาวชน

4.การอนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรมท้องถิ่น

5.การพัฒนาทักษะคนทำงานด้านเด็ก เยาวชน

6.การส่งเสริมและพัฒนาเยาวชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

กระบวนการ

1.แบ่งกลุ่มย่อย จับคู่ซื้อขายสินค้าเด่น ตามความสนใจ

กลุ่มย่อย 1ครอบครัวยุวชนเกษตรพะเยา : ครอบครัวเกษตรกรพอเพียง

กลุ่มย่อย 2ละอ่อนจำขี้มด : พลังวัยซน พลังพัฒนาท้องถิ่น

กลุ่มย่อย 3ชาวหริภุญชัยคลับ : เยาวชนจิตอาสา

กลุ่มย่อย 4 พี่เลี้ยงเครือข่ายเด็กเยาวชนลำพูน: เวทีนี้ต้องมีพี่เลี้ยง

กลุ่มย่อย 5ท้องถิ่นใส่ใจเยาวชน : องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทา

2.แบ่งกลุ่มตามพื้นที่ ๔ จังหวัด แต่ละพื้นที่ได้เรียนรู้กระบวนการ วิธีการทำงาน บทเรียนจาก best practice อย่างไร และโยงความรู้ที่ได้ไปใช้ในพื้นที่ได้อย่างไร

3.ทำแผนปฏิบัติการร่วมแต่ละพื้นที่ และแนวทางการเชื่อมต่อกับองค์กรปกครองท้องถิ่น

4.แต่ละพื้นที่นำเสนอแผนการปฏิบัติงาน

5.ติดตามสนับสนุนการนำความรู้ไปพัฒนางานในพื้นที่ของกลุ่มเป้าหมาย

ระยะเวลา วันที่ 21-22 พฤศจิกายน 2551

สถานที่ ห้องประชุมโยนก โรงแรมอิมพีเรียลโกลเด้นไทรแองเกิ้ล สามเหลี่ยมทองคำ

อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

ความคาดหวัง

  1. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การประยุกต์ใช้การจัดการความรู้ของกลุ่มเยาวชน
  2. การโยงความรู้จากวิธีปฏิบัติที่ดีไปใช้ในพื้นที่
  3. เครือข่ายการเรียนรู้ระหว่างเยาวชนในพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน
  4. แผนปฏิบัติการของแต่ละพื้นที่ และแนวทางการเชื่อมโยงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่
  5. หนังสือเล่มเล็กของวิธีปฏิบัติที่ดีนอกโครงการ (best practice) ฉบับสมบูรณ์ จำนวน 5 เรื่อง
  6. .หนังสือเล่มเล็กของวิธีปฏิบัติที่ดีในโครงการ (best practice) ฉบับสมบูรณ์ จำนวน 4 เรื่อง
กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ