กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
รายงานผลการดำเนินงานประจำเดือนกรกฏาคม 2551 จังหวัดพะเยา “คิดใหม่ ทำใหม่ ประสานใหม่”
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

“คิดใหม่ ทำใหม่ ประสานใหม่”

ตลอดระยะเวลาสองสามเดือนที่ผ่านมานั้น ทำให้ตัวเราเข้าใจธรรมชาติของคนมากขึ้น“ตัวกูของกู “และคงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกท้อแท้ จิตใจเหี่ยวเฉาท่ามกลางสายฝนที่โปรยปรายมาตามฤดูกาลก็ตามที( อารมณ์นี้จริง ๆ )ใช้เวลาหลายวันกับความนิ่งความเงียบทบทวนตัวตนอีกครั้งจนได้ข้อสรุปว่าลุยให้ถึงเพื่อพิสูจน์ความจริงบางอย่างที่ยังคาใจ

เริ่มต้นที่กลุ่มธนาคารขยะรีไซเคิล ความจริงก็ได้ปรากฏอย่างชัดเจนกับทีมที่ปรึกษาธนาคารขยะครับใช้เวลาร่วมชั่วโมงกับพูดคุยที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่าจะลงเอยย่างไร??แต่ก็เชื่อว่าสิ่งที่เราพูดคุยไม่มีประเด็นแอบแฝงแต่อย่างใด หลังจากนั้นเราก็ปล่อยวันเวลาให้ผ่านไปตามธรรมชาติ จากนั้นผมก็ต้องเข้าไปปรึกษาและประสานกับทาง ผอ. สิทธิ์กาวิละ ( โรงเรียนเทศบาล 5 )และอาจารย์ชุติกัญ นัดประชุมร่วมระหว่างชุมชน – โรงเรียน – เทศบาล

ในวันที่29สิงหาคม2551วันประชุมมีที่ปรึกษาจากชุมชน3 ท่านตัวแทนเทศบาลแกนนำเยาวชนคณะกรรมการธนาคารขยะของโรงเรียน เริ่มต้นด้วยท่านผู้อำนวยการมาช่วยเปิดเวทีประชุมแสดงความยินดีที่หลายภาคส่วนได้เห็นความสำคัญการดำเนินงานของชุมชนและโรงเรียนพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการขับเคลื่อนกิจกรรมพัฒนาด้านต่าง ๆ ต่อเยาวชนและชุมชนต่อด้วยคุณอรัญอินต๊ะราช( 084 – 0459946 ) เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อมได้ให้ข้อมูลภาพรวมของการจัดการขยะของเทศบาลเมืองพะเยาปัจจุบันเทศบาลได้จัดเก็บขยะจากชุมชนไปฝังกลบ ที่บ่อขยะพื้นที่ตำบลจำป่าหวายยังสามารถรองรับขยะได้อีกประมาณ5ปีและเทศบาลก็ได้จัดซื้อที่ดินแปลงใหม่อยู่ในเขตตำบลท่าวังไว้รองรับในอนาคตปัญหาที่พบคือผู้ที่เก็บขยะในถังขาดความรับผิดชอบส่งผลให้ขยะเรี่ยราดตามพื้น( แต่ละวันจะมีคนคุ้ยขยะประมาณ 5รอบต่อจุด )

นอกจากนั้นยังพบขยะที่นำมาจากนอกเขตมาทิ้ง ( มาจากเทศบาลท่าวังทองอบต. บ้านต๋อม ) ซึ่งเป็นการผลักภาระให้เทศบาลเมืองต้องมาจัดการแทน แต่ก็กำลังประสานเพื่อหาแนวทางร่วมกันในระยะยาวเทศบาลยังไม่สามารถทำงานในเชิงรุกได้คงต้องอาศัยชุมชนเข้ามาเป็นคนดำเนินการเทศบาลจะเป็นฝ่ายสนับสนุนต่อด้วยการนำเสนอการดำเนินกิจกรรมธนาคารขยะของเยาวชนอาจารย์ชุติกัญเพิ่มเติมว่าการดำเนินงานที่ผ่านมายังมีข้อจำกัดมากและต้องการศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมในเรื่องการจัดการขยะแบบยั่งยืน เพิ่มเติมด้วยข้อมูลที่ทางสถาบันฯจะเข้ามาทำงานร่วมกับชุมชน – โรงเรียนเพื่อหนุนเสริมให้การดำเนินกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพโดยจะทำงานด้านการพัฒนาฐานอาชีพให้กับแกนนำเยาวชน 3 คนหลักส่วนที่เหลือจะพัฒนายกระดับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ธนาคารขยะรีไซเคิลเวทีมีข้อสรุปคือเทศบาลจะเข้ามาสนับสนุนชุดถังขยะแบบคัดแยกขยะ รายละเอียดจำนวนพร้อมจุดที่วางทางชุมชนจะร่วมกันพิจารณาในวันประชุมเลือกตั้งคณะกรรมการซึ่งทางอาจารย์ชุติกัญเป็นผู้รับประสานกับชุมชนกำหนดวันที่ชัดเจนจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง

ส่วนวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีฯเบื้องต้นเราคัดเลือกเด็กเข้าร่วมโครงการอยู่4คนจากการติดตามเพื่อประเมินความพร้อมเหลือเยาวชนเพียง3คน ดังนั้นจึงทำให้เกิดแนวความคิดใหม่ว่าโครงการดังกล่าวคงจะไม่มีผลกระทบในวงกว้างของสถาบันทำให้มีการนัดหมายเพื่อหาแนวทางการทำงานผ่านชมรมต่างๆ ของสถาบันเช่นเดียวกันครับบ่ายสองโมงโดยประมาณของวันที่29 กรกฏาคม2551ทีมเราจึงนัดหมายแกนนำของชมรมฯและคณะกรมการอกท.มาร่วมประชุมจนมีข้อสรุปร่วมกันว่าเราจะทำงานผ่านชมรมพืชศาสตร์ซึ่งมีกิจกรรมแปลงการปลูกผักอินทรีย์เป็นสื่อกลางเบื้องต้นของการเรียนรู้ให้เพิ่มสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมในจำนวนไม่เกิน15คน( ให้ชวนเพื่อนที่สนใจและให้อาจารย์นภดลช่วยพิจารณาเพิ่มเติม )

สมาชิกใหม่นั้นจำนวน 4คนจะเป็นรุ่นพี่ปีสองที่อยู่ชมรมพืชศาสตร์เพื่อจะคอยดูแลน้องปีที่หนึ่งด้วยส่วนการเรียนรู้เพิ่มเติมน้องนักศึกษาสามารถเรียนรู้การทำงานกับคณะกรรมการอกท. อีกช่องทางหนึ่ง แต่ก็ต้องมีการวางแผนในเรื่องเวลาให้สอดคล้องกับกิจกรรมและตารางการเรียนด้วย ทีมคณะกรรมการอกท.ยินดีที่จะฝึกพร้อมอำนวยความสะดวกเวทีแห่งการเรียนรู้ของน้อง ๆ อย่างเต็มที่ เพื่อจะให้ได้ผู้นำกิจกรรมขึ้นมาแทนรุ่นพี่ที่จะจบหลักสูตรนัดหมายเพิ่มเติมการส่งใบสมัครสมาชิกใหม่ให้ส่งกับอาจารย์นภดล ถ้าพร้อมแล้วประสานพี่เอ็มอีกครั้งเพื่อนัดหมายทำความเข้าใจร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง .

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ