โครงการพัฒนาเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น 4 ภาค ระยะที่ 2 : หลักสูตรนักถักทอชุมชน เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชน และครอบครัว
โครงการพัฒนาเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น 4 ภาค ระยะที่ 2 : หลักสูตรนักถักทอชุมชน เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชน และครอบครัว
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
กิจกรรมสร้างเครือข่ายและออกแบบกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะ“พี่เลี้ยงเยาวชน” ครั้งที่ 1
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

        สืบเนื่องจากการศึกษาดูงานและการจัดประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ครั้งที่ 1/2558 ของโครงการพัฒนาเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น (4 ภาค) ระยะที่ 2 : หลักสูตรนักถักทอชุมชน เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชนและครอบครัว ส่งผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในพื้นที่เป้าหมาย 4 ตำบล ในจังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ เทศบาลตำบลเมืองแก องค์การบริหารส่วนตำบลหนองอียอ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสนิท และองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองลีง ตระหนักถึงการสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในชุมชนในการขับเคลื่อนกลไกเพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชนและครอบครัว โดยผลักดันให้เกิด “โรงเรียนโรงเรียนครอบครัว” ใน ทต.เมืองแก และอบต.หนองอียอ ซึ่งเป็นลักษณะการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้ปกครองกับเยาวชนได้เรียนรู้ร่วมกันผ่านการทำกิจกรรม/โครงงานชุมชนในสถานศึกษา โดยมีเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น/ นักถักทอชุมชน และครูแกนนำ/ พี่เลี้ยง มาร่วมเป็นที่ปรึกษาและเป็นพี่เลี้ยงให้แก่เยาวชน แต่ทว่าเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น/ ถักทอชุมชน และครูแกนนำ/พี่เลี้ยงยังต้องการหนุนเสริมศักยภาพด้านทักษะการเป็นพี่เลี้ยง ที่สามารถออกแบบกระบวนการเรียนรู้และบูรณาการด้านการเรียนการสอนให้เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตจริงในชุมชน

        มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) จึงร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 4 ตำบล และสถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) จึงได้จัดให้มีกิจกรรมสร้างเครือข่ายและออกแบบจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะ “พี่เลี้ยงเยาวชน” ครั้งที่ 1 เพื่อศึกษาดูงานและอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการออกแบบจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะพี่เลี้ยงแกนนำเยาวชนทั้ง 4 ตำบลในจังหวัดสุรินทร์ ระหว่างวันที่ 7-9 มิถุนายน 2558 ณ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ต.โคกกลาง อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์  

กำหนดการและรายงานผล
07
มิถุนายน
2015
ฺเตรียมความพร้อมก่อนอบรมเชิงปฏิบัติการ : BAR
17.00 - 18.00 น.
ลงทะเบียน เพื่อรายงานตัวและเตรียมความพร้อม
18.00 - 19.15 น.
• กล่าวต้อนรับ และทักทายทำความรู้จัก

• ชม VDO เอนิเมชั่น แนะนำมูลนิธิสยามกัมมาจล และ VDO แนวคิดและวิธีการทำงานของมูลนิธิสยามกัมมาจล โดย คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล

• แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างมูลนิธิฯ สถานศึกษาและ อปท. 4 ตำบล
โจทย์ แต่ละท่านชมแล้ว รู้สึกอย่างไร และมีข้อคิดเห็นอย่างไรกับการพัฒนาเยาวชน ที่ต้องปรับบทบาทของครูผู้สอน (Teacher) มาเป็น "ครูฝึก" (Coacher) และมีบทบาทหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงแกนนำเยาวชน
19.15 - 20.00 น.
• ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการศึกษาดูงานและอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการสร้างเครือข่ายและพัฒนาทักษะของพี่เลี้ยงแกนนำเยาวชนในครั้งนี้
โดย คุณสุทิน ศิรินคร ผู้ช่วยผู้จัดการโครงการฯ มูลนิธิสยามกัมมาจล
1. เพื่อสร้างเครือข่ายและหนุนเสริมศักยภาพพี่เลี้ยงแกนนำเยาวชนระหว่างสถานศึกษากับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) 4 ตำบล ได้แก่ ทต.เมืองแก อบต.หนองอียอ อบต.หนองสนิท และ อบต.เมืองลีง
2.เพื่อยกระดับการทำงานของนักถักทอชุมชน อปท. รุ่นที่ 1 ในพื้นที่ จ.สุรินทร์ทั้ง 4 ตำบล เพื่อขับเคลื่อนกลไกเพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชนและ ครอบครัวแ โดยสร้างการมีส่วนร่วมกับสถานศึกษา

• ทำความเข้าใจและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับความเป็นมาของหลักสูตรนักถักทอชุมชน อปท. รุ่น 1
08
มิถุนายน
2015
การสังเกตและการเรียนรู้
07.00 - 08.15 น.
• วิถีการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครู นักเรียน ผู้ปกครอง
• พิธีกรรมการเริ่มต้นวันที่มีความหมาย การมีสติ การนอบน้อม การขอบคุณ การมอบความรักให้กับสรรพสิ่ง
08.15 - 08.30 น.
• วิถีปฏิบัติของผู้เรียนรู้ร่วมกันกับโรงเรียนนอกกะลา และวิถีการทำงานของหัวใจเพื่อพัฒนาปัญญาภายในโดยผ่านกิจกรรมจิตศึกษา
08.30 - 10.30 น.
• การทำงานของสมองเพื่อสร้างฐานการเรียนรู้ในขั้นสูง
• สร้างบรรยากาศเรียนรู้ บรรยากาศสื่อสารการเรียนรู้ผ่านภาระงาน ชิ้นงาน
10.30 - 10.45 น.
พักรับประทานอาหารว่าง
10.45 - 12.30 น.
แนวทางการจัดการเรียนการสอนตามกรอบคิดใหม่ (กรณีโรงเรียนนอกกะลา)
12.30 - 13.30 น.
พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 17.00 น.
การปฏิบัติและการเรียนรู้
• Check in การเริ่มต้นกิจกรรมที่มีความหมาย
• กรอบคิดและทิศทางการศึกษาสำหรับอนาคต/ปัญหาใหม่ / เครื่องมือใหม่
• กระบวนการสร้างการเรียนรู้โดยกระบวนการ PBL : Problem Based Leaning
• กระบวนการออกแบบการเรียนรู้หน่วยบูรณาการโดย PBL
• การวิเคราะห์เชื่อมโยงหน่วยการเรียนกับมาตรฐาน ตัวชีวัดของหลักสูตรแกนกลางฯ
• ทักษะการฝึกผู้เรียนสร้างผังความคิดโดย Mind mapping PLC

หมายเหตุ พักรับประทานอาหารว่าง เวลา 14.30 - 14.45 น.
17.00 - 18.00 น.
สังเกตการเรียนรู้คาบสุดท้ายและความสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้ปกครอง
กติการ่วม ผู้ปกครองต้องมาส่งลูกหลานด้วยตนเองทุกวัน และสามารถมีส่วนร่วมช่วยครูในการเรียนการสอนที่ต้องใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือประสบการณ์ตรงของพ่อแม่ผู้ปกครอง
18.00 - 19.00 น.
พักรับประทานอาหารเย็นร่วมกัน
19.00 - 21.00 น.
แรงบันดาลใจแด่ครูผู้มีวุฒิภาวะ
• ชม VDO ภาพยนตร์เรื่อง เดอะ คอรัส เป็นเรื่องราวของครูคนหนึ่งที่เข้าถึงพรสวรรค์ของเด็กนักเรียนและใช้ดนตรีเพื่อดึงศักยภาพของเด็กและปรับพฤติกรรมความก้าวร้าว เกเรของเด็กนักเรียน แต่ต้องต่อสู้กับวุฒิภาวะและนโยบายของผู้บริหารโรงเรียนที่ใช้กฎเหล็ก “แรงมา แรงกลับ”

• ถอดบทเรียนเพื่อสะท่้อนมุมมองและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการชมภาพยนตร์
- ครูสะท้อนว่า ชื่นชมครู ทำให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะหันกลับมาดูแลเอาใจใส่พฤติกรรมการเรียนรู้และนิสัยของลูกศิษย์ในชั้นเรียนมากยิ่งขึ้น และจะเปลี่ยนความเชื่อใหม่ว่า "แรงมา ไม่แรงตอบ"
- ผู้บริหาร รร. สะท้อนว่า หากโรงเรียนมีครูแบบนี้จะดีมาก ครูเข้าใจพฤติกรรมเด็ก สามารถดึงศักยภาพของเด็กแต่ละคนได้ ใกล้ชิดเอาใจใส่ทำให้เด็กเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเลิกเกเร ก้าวร้าวได้
21.00 - 00.00 น.
พักผ่อนตามอัธยาศัย
09
มิถุนายน
2015
การพัฒนาปัญญาภายในด้วยจิตศึกษา
07.55 - 08.15 น.
ร่วมกิจกรรมหน้าเสาธงของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
08.15 - 12.00 น.
การพัฒนาปัญญาภายในด้วย จิตศึกษา
• การสร้างคุณค่าและปลูกฝังจริยธรรมผ่านนิทานและเรื่องเล่า
• การฝึกสมาธิเพื่อกำกับความเพียร และการกำกับสติเพื่อการรู้ตัวโดย Yoga
• การสร้างบรรยากาศคลื่นสมองต่ำ การผ่อนคลายแบบลึกโดย Body scan
• การเสริมแรงด้านบวก Empower เพื่อสร้างคุณค่ากันและกัน
• กิจกรรมจิตศึกษากับการพัฒนาคลื่นสมองต่ำ สร้างสมาธิ การจดจ่อ การเห็นคุณค่าในตนเองและสรรพสิ่ง
• การสร้างคุณค่าและเคารพคุณค่าความเป็นมนุษย์ PLC
12.15 - 13.30 น.
พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 16.00 น.
การประเมินการเรียนรู้และถอดบทเรียน
• การประเมินผู้เรียนตามสภาพจริง
• Show and Share หน่วยการเรียนรู้
• การพัฒนาปัญญาภายในโดยจิตศึกษา
• การพัฒนาปัญญาภายนอกโดย PBL

13.30 - 17.00 น.
• After Action Review ; AAR
แบ่งกลุ่มย่อยรายพื้นที่ 4 ตำบล
โจทย์ 1) ได้เรียนรู้อะไรจากโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาตลอด 3 วัน 2 คืน หรือตนเองเปลี่ยนแปลงอย่างไรทั้งด้านความรู้ ทักษะ ทัศนคติ/มุมมอง และพฤติกรรมนิสัย
2) สถานศึกษากับ อปท. ทั้ง 4 ตำบล. จะยกระดับการทำงานเพื่อขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาเยาวชนในชุมชนท้องถิ่นอย่างไร


17.00 - 00.00 น.
ปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ และเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

ผลลัพธฺ์รายทาง

  • ได้เครือข่ายพี่เลี้ยงแกนนำเยาวชนจาก อปท. และสถานศึกษา 24 แห่งในพื้นที่ 4 ตำบลใน จ.สุรินทร์ ยอดรวม 61 คน 
พื้นที่เป้าหมาย
อปท.
จน. รร.จน. ผอ.จน.ครูจน.ผดด.จน. ผู้บริหารท้องถิ่น/
       นักถักทอชุมชน
จน.เยาวชนแกนนำ/
ประธานสภาเด็กฯ
ทต.เมืองแก7 แห่ง2 คน12 คน2 คน 2 คน0 คน
อบต.หนองอียอ4 แห่ง0 คน  5 คน0 คน2 คน0 คน
อบต.หนองสนิท6 แห่ง2 คน  6 คน1 คน3 คน0 คน
อบต.เมืองลีง7 แห่ง6 คน14 คน2 คน2 คน1 คน
  • ได้แผนงานเพื่อยกระดับการทำงานของทีมนักถักทอชุมชน อปท.กับสถานศึกษาทั้ง 24 แห่งในการขับเคลื่อนกลไกเพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชนและครอบครัวทั้ง 4 ตำบล