โครงการพัฒนาเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น 4 ภาค ระยะที่ 1 : ส่งเสริม อปท. ในการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาเยาวชน
โครงการพัฒนาเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น 4 ภาค ระยะที่ 1 : ส่งเสริม อปท. ในการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาเยาวชน
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
เวทีประชุมหารือแนวทางความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากรท้องถิ่นร่วมกับ อปท.
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

มูลนิธิสยามกัมมาจล ร่วมกับสถาบัน สรส.จัดเวทีประชุมที่เน้นการมีส่วนร่วมกับปลัด อบต.เพื่อพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้เกี่ยวกับสถานณการณ์ของเด็ก เยาวชนในชุมชนท้องถิ่น และหารือแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรท้องถิ่น เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน นักพัฒนาชุมชน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายการศึกษา) ให้มีขีดความสามารถในการสร้างการมีส่วนร่วมและจัดการศึกษาเรียนรู้ของชุมชนในการขับเคลื่อนกลไกเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนของชุมชนท้องถิ่น ตลอดจนนำเสนอความก้าวหน้าไตรมาสที่ 2(เดือนเมษายน-เดือนมิถุนายน 2555)ในการขับเคลื่อนโรงเรียนครอบครัวทั้ง 6 พื้นที่เป้าหมาย

วัตถุประสงค์

  • เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับปลัด อบต. ในการหารือแนวทางในการพัฒนาบุคลกรท้องถิ่นร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาทิ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน นักพัฒนาชุมชน เจ้าหน้าที่ฝ่ายการศึกษา และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบล เป็นต้น
  • เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าไตรมาสที่ 2 (เดือนเมษายน-เดือนมิถุนายน) ของ 6 พื้นที่โรงเรียนครอบครัว ได้แก่ ต.ห้วยม้าลอย จ.สุพรรณบุรี, ต.วัดดาว จ.สุพรรณบุรี, ต.เนินศาลา จ.นครสวรรค์, ต.ตะเคียนเลื่อน จ.นครสวรรค์, ต.มหาดไทย จ.อ่างทอง, ต.หัวไผ่ จ.สิงห์บุรี
กำหนดการและรายงานผล
19
กรกฎาคม
2012
การประชุมสถานการณ์ปัญหาของเด็ก เยาวชนในชุมชนท้องถิ่น สมรรถนะที่พึ่งประสงค์ และ แนวทางในการพัฒนา เจ้าหน้าที่วิเคาระห์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายการศึกษา และนักพัฒนาชุมชน ณ ห้องรสสุคนธ์ โรงเโกลเด้นดราก้อน รีสอร์น อ.เมือง จ.สิงห์บุรี
09.00 - 10.00 น.
กล่าวต้อนรับ โดย อ.ทรงพล เจตนาวณิชย์ ผู้อำนวยการ สรส.
แนะนำตัวและองค์กร ชี้แจงวัตถุประสงค์และความคาดหวังในการประชุมระดมสมอง
1.สถานการณ์ปัญหาของเด็ก เยาวชนในชุมชนท้องถิ่น
2.สถานการณ์ของเจ้าหน้าที่ อบต.
3.ความคาดหวังของปลัด อบต. ที่มีต่อเจ้าหน้าที่และสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
4.สมถรรนะที่ควรได้รับการพัฒนาของ
เจ้าหน้าที่วิเคราะห์
เจ้าหน้าที่ฝ่ายการศึกษา
นักพัฒนาชุมชน
10.05 - 11.30 น.
นายสวัสดิ์ กันจรัตน์ ปลัด อบต.หน่องสาหร่าย จ.สุพรรณบุรี
นายภิญโญ ปุญญาคม ปลัด อบต.หัวไผ่ จ.สิงห์บุรี
นายสัญญา บรรณสาร นักพัฒนาชุมชน อบต.ตลิ่งชั่น จ.พระนครศรีอยุธยา
นางสาวสวรส วัฒนาพิบูลย์ชัย รอง อบต.ตะเคียนเลื่อน จ.นครสวรรค์
11.30 - 12.30 น.
วีทีอาร์ ประสบการณ์สรส.โมเดลประเทศตำบล ตัวอย่างรูปธรรมการจัดการเรียนรู้ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับท้องถิ่น กศน.จังหวัดสุรินทร์ (ให้การสนับสนุนโดย สคส.)
วีทีอาร์ ประสบการณ์สรส.โมเดลประเทศตำบล ตัวอย่างรูปธรรมการจัดการเรียนรู้ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับท้องถิ่น ร.ร. ตำบลวัดดาว (ให้การสนับสนุนโดย สคส.)
กล่าวสรุป เสนอแนะ สถานการณ์ของเด็ก เยาวชน
อ.ทรงพล เจตนาวณิชย์ ผู้อำนวยการ สรส.
นางกษมา สัตยานุรักษ์ ผู้ประสานงาน สรส.
12.30 - 13.30 น.
พักรับประทานอาหารว่าง
13.30 - 15.00 น.
ถอดบทเรียน (AAR) ทีมงาน สรส. จากเวทีในช่วงเช้า
15.00 - 17.40 น.
รายงานผลความคืบหน้าการทำงานของ 6 พื้นที่โรงเรียนครอบครัว (โดยผู้ประสานงาน สรส.)
นางสาวชไมพร พราหมณโชติ ผู้ประสานงาน สรส. 2 พื้นที่ได้แก่
ตำบลหัวม้าลอย จังหวัดสุพรรณบุรี
ตำบลวัดดาว จังหวัดสุพรรณบุรี
นางสาวศิริพร คดบุญ ผู้ประสานงาน สรส. 2 พื้นที่ได้แก่
ตำบลเนินศาลา จังหวัดนครสวรรค์
ตำบลตะเคียนเลื่อน จังหวัดนครสวรรค์
นางอัฒยา สง่าแสง ผู้ประสานงาน สรส. 2 พื้นที่ได้แก่
15.00 - 17.35 น.
ตำบลมหาดไทย จังหวัดอ่างทอง
15.00 - 17.40 น.
ตำบลหัวไผ่ จังหวัดสิงห์บุรี
17.40 - 18.00 น.
สรุปและปิดเวทีการประชุม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน
  • ได้เครือข่ายความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเบื้องต้น จำนวน 3 อบต. ได้แก่ 1) อบต.หัวไผ่ 2) อบต.หนองสาหร่าย 3) อบต.ตลิ่งชัน ในการพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น ให้มีขีดความสามารถในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น
  • ผู้ประสานงานพื้นที่ สรส. จะนำผลสรุปจากเวทีประชุมในครั้งนี้ เพื่อหารือและประสานความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประมาณ 17 แห่ง เพื่อเตรียมประเมินศักยภาพและทุนทางสังคมของพื้นที่ กำหนดเกณฑ์การประเมิน และคัดเลือก อบต.เป้าหมาย ประมาณ 10-12 แห่ง เข้าร่วมโครงการฯ ระยะที่ 2
  • ความก้าวหน้าในการดำเนินงานของโรงเรียนครอบครัวทั้ง 6 พื้นที่ ไตรมาสที่ 2 (เม.ย. - มิ.ย. 2555) โดยสรุปภาพรวมพอสังเขปว่า เด็กทุกคนล้วนต้องการเป็นคนดี มีเป้าหมายชีวิต มีอาชีพที่ใฝ่ฝัน แต่ถูกทอดทิ้ง ละเลยจากพ่อแม่ ผู้ปกครองและชุมชน รวมทั้งขาดการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการดำเนินวิถีชีวิตประจำวัน ดังนั้น ต้องพลิกฟื้นบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้คนในชุมชนให้หันกลับมาเป็นเบ้าหลอมที่ดีให้แก่เด็กเยาวชน โดยเริ่มต้นจากครอบครัว หมู่บ้านตำบล ชุมชนท้องถิ่น เพื่อเปิดพื้นที่การเรียนรู้และเปิดโอกาสให้เด็กเยาวชนได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่องที่นอกเหนือจากที่เรียนรู้ในระบบการศึกษา ตลอดจนเริ่มมองเห็นการเปลี่ยนแปลงของเด็กเยาวชน ที่จะพัฒนาเป็นแกนนำเยาวชนในลักษณะพี่ดูแลน้อง หรือเรียกว่า "หัวหน้านายหมู่" เกิดภาวะผู้นำ มีวินัยและมีความรับผิดชอบมากยิ่งขึ้น ประมาณ 30 คนใน 6 พื้นที่