กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สุทธิดา แก้วสองสี : ส่งต่อวงกลมแห่งความสุข
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

"หญิง" สุทธิดา แก้วสองสี นักศึกษาคณะสังคมสงเคราะห์ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เธอสนใจการทำกิจกรรมเพื่อสังคมตั้งแต่ยังเรียนอยู่ชั้นปีที่ 1 ด้วยการเข้าร่วมโครงการธรรมศาสตร์อาสาเพื่อชุมชนซึ่งเธอได้ทำกิจกรรมวันเด็ก ทุกวันโดยทำติดต่อกันเป็นระยะเวลา 1 ปีเต็ม จากนั้นก็ทำงานอาสาสมัครร่วมกับศูนย์อาสาสมัครของมหาวิทยาลัยเป็นต้นมา ไม่ว่าจะเป็นอาสาสมัครแม่โดมเกมส์ งานดนตรีไทยอุดมศึกษา และอาสาสมัครงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

      “หญิง” สุทธิดา แก้วสองสี นักศึกษาคณะสังคมสงเคราะห์ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เธอสนใจการทำกิจกรรมเพื่อสังคมตั้งแต่ยังเรียนอยู่ชั้นปีที่ 1 ด้วยการเข้าร่วมโครงการธรรมศาสตร์อาสาเพื่อชุมชนซึ่งเธอได้ทำกิจกรรมวันเด็กทุกวันโดยทำติดต่อกันเป็นระยะเวลา 1 ปีเต็มจากนั้นก็ทำงานอาสาสมัครร่วมกับศูนย์อาสาสมัครของมหาวิทยาลัยเป็นต้นมา ไม่ว่าจะเป็นอาสาสมัครแม่โดมเกมส์ งานดนตรีไทยอุดมศึกษา และอาสาสมัครงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ

จุดเริ่มต้นที่ได้เข้าร่วมโครงการธรรมศาสตร์อาสาเพื่อชุมชน ในโครงการวันเด็กทุกวัน ซึ่งร่วมกับพี่ๆ และเพื่อนในกลุ่มที่ชื่อว่ารวมมิตรน้ำข้น เพราะอยากให้เด็กๆ มีวันเด็กทุกวัน ไม่ใช่แค่วันเด็กเท่านั้น เมื่อไปลงพื้นที่ใกล้ๆ ก็พบโรงเรียนหนึ่งซึ่งเด็กๆ ต้องการสนามเด็กเล่น จึงตัดสินใจว่าจะช่วยกันทำสนามเด็กเล่น เพื่อให้เด็กๆ ได้สนุกทุกวัน และการเล่นยังถือเป็นการพัฒนาเด็กไปด้วย เมื่อทำสนามเด็กเล่นแล้ว ก็ขยายออกไปเป็นการจัดห้องสมุด และซ่อมแซมศาลาธรรมชาติเพื่อให้พวกเขามีสถานที่เรียนรู้และทำกิจกรรมร่วมกัน ตอนที่โครงการสำเร็จแล้ว รอยยิ้มของเด็กๆ ที่เล่นอย่างสนุกสนาน เพราะมีความสุขกับสนามเด็กเล่นที่ได้ช่วยกันสร้างขึ้น พร้อมรอยยิ้มและคำขอบคุณ สิ่งเหล่านี้เป็น “แรงบันดาลใจ” ให้เธอทำงานเรื่อยมา รวมถึงการสนับสนุนและผลักดันจากครอบครัวที่มีอยู่เสมอ



เหตุการณ์ที่ประทับใจที่สุดเกิดขึ้นในวันสุดท้ายของโครงการวันเด็กทุกวัน เด็กๆที่ โรงเรียนก็บอกเล่าความรู้สึกว่า “ดีใจที่พี่ๆมาทำกิจกรรมด้วย” และอยากให้มาอีก ไม่รวมถึงดอกกุหลาบและกระดาษพับกระดาษรูปหัวใจที่เด็กมอบให้ ตอนนั้นเธอรู้สึกดีใจมากและนั่นคือ “จุดเริ่มต้น” ของ “ความสุขใจ” ที่ได้จากการเป็นอาสาสมัคร จากนั้นมาการไปเป็นอาสาสมัครของเธอก็ดำเนินไปอย่างสม่ำเสมอตามวาระโอกาส และหญิงก็ได้ค้นพบว่างาน “อาสาสมัคร” คือการ “ส่งความสุข” ไปอย่างไม่สิ้นสุด เหตุการณ์เล็กๆ อีกครั้งหนึ่งจากประสบการณ์อาสาสมัครซึ่งสร้างความสุขใจให้หญิงเกิดขึ้น เมื่อตอนที่เธอไปเป็นอาสาสมัครงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติซึ่งได้ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้เข้าร่วมประชุม ขณะที่กำลังช่วยยกกระเป๋าอยู่ ผู้ใหญ่ท่านนั้นก็ได้หันมาพูดคำขอบคุณและอวยพรให้กับหญิง เหมือนกับว่าต่างฝ่ายต่างมอบความปรารถนาดีซึ่งกันและกัน และอีกครั้งหนึ่งที่ทำให้เธอเรียนรู้ว่าความสุขสามารถส่งต่อไปเรื่อยๆ คือ ตอนไปสร้างศาลาให้เด็กๆ ตอนนั้นพบกับคุณตาท่านหนึ่งที่มาทำของเล่นให้หลานซึ่งเรียนอยู่ที่นี่ มีคนในหมู่บ้านมาช่วยกันทำมากมายโดยไม่ต้องการค่าจ้าง หญิงมองว่าเหมือนกับ “วงกลม” คือ เธอและเพื่อนๆ ไปทำให้คนอื่น คนที่นั่นก็ทำให้หลานของพวกเขา เด็กๆก็มีความสุข พวกเธอก็มีความสุขไปด้วย




 จากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา เธอเห็นว่า การทำงานกับสังคมหรือชุมชนเป็นการทำงานกับคนหลากหลาย และแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ซึ่งไม่สามารถนำความคิดของตนเองเป็นกรอบในการทำงานอย่างเดียว แต่ต้องเปิดใจให้กว้าง รู้จักรับฟัง และเรียนรู้ เปิดโอกาสให้กับคนในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมด้วย เพราะเราเป็นเพียงคนที่ผ่านมาทำ แต่คนที่อยู่บริเวณนั้นคือคนที่จะอยู่ตลอดไป และเขาจะต้องเป็นคนดูแลชุมชนของเขาต่อไปเองให้ได้
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในเธอคือ จากเดิมที่เคยเป็นคนทำงานที่มุ่งแต่จุดหมายปลายทางว่าต้องสำเร็จ แต่เมื่อมาทำงานอาสาซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้คนที่หลากหลายมากขึ้น ทำให้เธอใส่ใจกับสิ่งข้างทางมากขึ้น สามารถยิ้มและหัวเราะกับสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวได้ เรียกได้ว่าเป็นก้าวเดินที่ช้าเพื่อไปให้ถึงจุดหมายโดยใส่ใจกับสิ่งรอบข้างมากขึ้น

นอกจากนี้เธอเรียนรู้ว่าการทำงานอาสาต้องเป็นการเข้าไปช่วยให้คนที่ต้องการความช่วยเหลือเหล่านั้นให้ช่วยเหลือตัวเองให้ได้ ไม่จำเป็นต้องช่วยพวกเขาทุกอย่าง แต่ให้โอกาสเขาได้แก้ปัญหาด้วยตัวเองด้วย จึงจะสร้างความยั่งยืนได้มากที่สุด

หญิงมองว่าความประทับใจต่างๆ เหล่านี้ที่เกิดขึ้นจากการทำงาน เกิดมาจากปัจจัยหลายอย่าง เริ่มจากการมี “ใจที่อยากจะทำ” เปรียบเทียบเหมือนกับยาเสพติดที่ต้องเสพบ่อยๆ เพราะทำให้มีความสุข สิ่งสนับสนุนต่อมาคือศูนย์อาสาสมัครที่คอยเป็นตัวสนับสนุน และเป็นแรงผลักดันซึ่งเธอมักได้รับข่าวสารผ่านพี่ๆ ที่ทำงานอยู่ในศูนย์และให้คำปรึกษาเวลามีปัญหา ต่อมาก็คือผู้ที่หญิงเรียกว่า “คนข้างทาง” ซึ่งหมายถึงคนที่ได้เข้าไปร่วมทำกิจกรรมอาสาด้วย พวกเขาเหล่านี้คือ “เส้นทาง” ที่ทำให้เธอได้เดินไปพบกับเส้นทางสายอาสา อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญคือ ระยะเวลาของกิจกรรมที่เป็นโครงการระยะยาว ทำให้คนทำงานไม่ต้องเร่งรีบ มีโอกาสได้คิดทบทวนตัวเองซึ่งเป็นประโยชน์มาก สุดท้ายคือครอบครัวที่จะอยู่เคียงข้างเสมอ เวลาที่เหนื่อยก็จะกลับบ้าน
 

สุทธิดา แก้วสองสี
โทร.087-232-2214
E-mail : ying_zheenior@windowslive.com
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ