กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
วีระ นากระโทก : เรียนรู้จากชุมชน
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

"โอม" วีระ นากระโทก นักศึกษาชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตลำปาง หนึ่งในแกนนำอาสาสมัครของศูนย์อาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขารับผิดชอบดูแลแหล่งเรียนรู้บ้านดินและวิถีพึ่งตนเองที่ตั้งอยู่ใน มหาวิทยาลัย ก่อนหน้านี้โอมเคยทำงานอาสาสมัครทำกิจกรรมสันทนาการโครงการสร้างสุขภาวะให้ เด็กชาวเขาในภาคเหนือ นอกจากนั้นอีกโครงการหนึ่งที่โอมทำต่อเนื่องติดต่อกันเป็นระยะเวลา 3 ปี คือ โครงการกล้าใหม่...ใฝ่รู้ สนับสนุนโดยธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเข้าไปทำเตาเผาขยะให้กับชุมชนใน จังหวัดลำปาง ปัจจุบันโอมเป็นกำลังสำคัญในกลุ่มแกนนำอาสาสมัคร ที่วิทยาเขตลำปาง ทำงานขับเคลื่อนกิจกรรมที่นักศึกษาสนใจ ช่วยจัดกระบวนการต่างๆ เช่น การถอดบทเรียนจากการทำงาน หรือรวบรวมอาสาสมัครในการทำกิจกรรมเพื่อชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน
 

 



 “โอม” วีระ นากระโทก นักศึกษาชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตลำปาง หนึ่งในแกนนำอาสาสมัครของศูนย์อาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขารับผิดชอบดูแลแหล่งเรียนรู้บ้านดินและวิถีพึ่งตนเองที่ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัย ก่อนหน้านี้โอมเคยทำงานอาสาสมัครทำกิจกรรมสันทนาการโครงการสร้างสุขภาวะให้เด็กชาวเขาในภาคเหนือ นอกจากนั้นอีกโครงการหนึ่งที่โอมทำต่อเนื่องติดต่อกันเป็นระยะเวลา 3 ปี คือ โครงการกล้าใหม่...ใฝ่รู้ สนับสนุนโดยธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเข้าไปทำเตาเผาขยะให้กับชุมชนใน จังหวัดลำปาง ปัจจุบันโอมเป็นกำลังสำคัญในกลุ่มแกนนำอาสาสมัคร ที่วิทยาเขตลำปาง ทำงานขับเคลื่อนกิจกรรมที่นักศึกษาสนใจ ช่วยจัดกระบวนการต่างๆ เช่น การถอดบทเรียนจากการทำงาน หรือรวบรวมอาสาสมัครในการทำกิจกรรมเพื่อชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย


จากการเข้าร่วมโครงการกล้าใหม่...ใฝ่รู้ ทำให้โอมมีโอกาสได้ทำงานกับชุมชนในชนบทเป็นครั้งแรก และถือเป็น “จุดเปลี่ยน” ครั้งสำคัญในชีวิตของเขา เขาได้ลงพื้นที่สำรวจชุมชน พูดคุยกับคนในท้องที่ และทำงานร่วมกัน ซึ่งต่อยอดจากข้อสังเกตเกี่ยวกับปัญหาหมอกควันในภาคเหนือ การทำงานในลักษณะเช่นนี้ถือเป็นการนำ “ข้อมูล” จากพื้นที่จริงมาสนับสนุนกับ “ความรู้” ที่ได้รับจากห้องเรียน

สิ่งที่เขาคิดว่าเป็นความสำเร็จของการทำงานที่ผ่านมาคือ ความรักฉันครอบครัวที่เกิดขึ้นในหมู่เพื่อนๆ ที่ทำงานร่วมกัน เพราะมิตรภาพถือเป็นความสุขอย่างยิ่ง เขาเชื่อว่าต้องใช้ “ใจ” ในการทำงานมากกว่าการออกคำสั่ง เพราะทุกคนต่างต้องการทำสิ่งที่สร้างสรรค์ ขณะเดียวกันการทำงานร่วมกับคนหมู่มากก็ทำให้เขารู้จักเรียนรู้เพื่อเข้าใจตัวเองมากยิ่งขึ้น หากไม่มีการทำงานเป็นหมู่คณะที่ดี โอมคิดว่าจะไม่สามารถขับเคลื่อนงานได้มากเช่นนี้


 


 




ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อความสำเร็จที่เกิดขึ้นคือ ความ “ศรัทธา” ที่มีต่อการทำงาน เพราะทำให้เขาพร้อมจะทุ่มเทให้กับงานอย่างเต็มที่ และแก้ไขปัญหาทุกอย่างผ่านความศรัทธา เกิดจากศรัทธาต่อสิ่งที่ตัวเองทำ จะทุ่มเทให้ ใช้ความศรัทธาแก้ปัญหาทุกอย่าง และ “ทีมเวิร์ค” ก็มีความสำคัญมากเช่นกัน นอกจากนี้การขวยขวายหาการเรียนรู้อยู่เสมอช่วยพัฒนาศักยภาพและเข้าใจตนเองมากขึ้นเรื่อยๆ

การมีโอกาสได้ทำงานในพื้นที่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง ทำให้เขาเรียนรู้ว่าชุมชนส่วนใหญ่นั้นมี “ทุนทางสังคม”อยู่เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นทุนทางปัญญา วัฒนธรรม หรือมนุษย์ซึ่งสามารถพึ่งพาตนเองได้โดยไม่ต้องพึ่งหน่วยงานรัฐแต่เพียงอย่างเดียว หากมี “กระบวนการ” สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างคนในชุมชนก็จะสามารถมองเห็นแนวทางในการจัดการปัญหาในชุมชนของตนเองได้ รวมทั้งจะก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนอีกด้วย ซึ่งต่างจากก่อนหน้านี้ที่โอมคิดว่าชุมชนต้องเป็นฝ่ายรับอย่างเดียว เช่น การบริจาคสิ่งของต่างๆ อันมาจากความคิดที่ว่าคนเมืองมีศักยภาพมากกว่าชนบท แต่ในความเป็นจริงแล้วคนในพื้นที่เองก็มีความคิดที่ดีได้เช่นกัน การให้ความเชื่อเหลือโดยที่ผู้รับไม่ต้องการอาจเป็นเรื่องเปล่าประโยชน์ โอมเห็นว่าคนชนบทมีศักยภาพและพึ่งพาตนเองน้อยกว่าคนเมือง
 

ประสบการณ์ครั้งสำคัญหนึ่งที่โอมได้เล่าคือ ตอนที่ทำเตาเผาขยะในชุมชน โอมพบว่าภูมิปัญญาชาวบ้านนั้นดีกว่าที่เขาเองได้วางแผนไว้มาก เตาเผาที่เกิดขึ้นไม่ได้มาจากความคิดของเขาอย่างเดียว แต่มีความคิดของคนในพื้นที่เป็นหลัก เป็นวิธีการที่ชาวบ้านผสมภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งเกิดจากการสั่งสมมานานและมีความเหมาะสมมากกว่าทฤษฎีต่างๆที่เขาเคยร่ำเรียนในตำรา นอกจากนั้นกระบวนการมีส่วนร่วมดังกล่าวยังช่วยให้คนในพื้นที่รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของมากขึ้นด้วย

แรงบันดาลใจในการทำกิจกรรมเพื่อสังคมของโอม ส่วนหนึ่งมาจากครอบครัวที่ให้อิสระในการทำสิ่งต่างๆ โดยมีเงื่อนไขอย่างเดียวคือต้องไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ครอบครัวมีส่วนอย่างยิ่งในการให้คำแนะนำในการทำกิจกรรมเพื่อสังคมและชุมชน และอีกส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญต่อเขาคือ เพื่อนอาสาสมัครซึ่งร่วมด้วยช่วยกันทำงาน รวมถึงคนในพื้นที่ชุมชนที่เขาได้เข้าไปทำงานด้วย ก็เป็นแรงใจสำคัญที่ทำให้โอมรู้สึกว่าต้องทำให้พวกเขาเข้มแข็งขึ้นได้อย่างแท้จริง
 

วิทยาลัยสหวิทยาการ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตลำปาง
วีระ นากระโทก

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ