ร่วมติตตามเวทีสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "การพัฒนาวิชาการสายรับใช้สังคม"
วันที่ 29 มิถุนายน 2554 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพฯ โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)
* เข้าชมเว็บไซต์ได้ที่ https://www.scbfoundation.com/seminar_usr/
1. การพัฒนาหลักสูตรวิชาพลเมือง (TU 100) เป็นวิชาบังคับในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป ของนักศึกษาปีที่ 1 ได้สำเร็จ
● เป็นการเปิดพื้นที่การเรียนรู้นอกห้องเรียน หรือเปิดประตูรั้วมหาวิทยาลัยสู่ชุมชนและสังคมให้กับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยได้สัมผัสการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างแท้จริง โดยสภามหาวิทยาลัยและผู้บริหารสถาบันการศึกษา ได้ตระหนักถึงความสำคัญและสนับสนุนให้บุคลากรในมหาวิทยาลัย สามารถดึงศักยภาพภายในตนและภาวะความเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) มาปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนการสอนด้วยการบริการสังคม (Service Learning)
● เป็นรูปธรรมตัวอย่างด้านการจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา ที่เชื่อมโยงกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษาตามยุทธศาสตร์การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง (Civic Education) ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา และยุทธศาสตร์อุดมศึกษาร่วมสร้างประเทศไทยน่าอยู่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กระทรวงศึกษาธิการ
● มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ขยายแนวคิดการจัดการศึกษา และบทเรียนความสำเร็จในการพัฒนาหลักสูตรวิชาพลเมือง ให้กับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่สนใจ
● เกิดเครือข่ายอาจารย์อาสา จำนวน 50 คน ที่พร้อมเป็นแกนนำในการพัฒนาวิชาการสายรับใช้สังคมต่อไป
2. ศูนย์อาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สามารถพัฒนาระบบงาน บริหารจัดการ งานอาสาสมัคร เพื่อเสริมสร้างสำนึกความเป็นพลเมือง และสนับสนุนการเรียนรู้นอกห้องเรียนของนักศึกษาได้อย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ ดังนี้
● เป็น “กลไก” ในการสนับสนุน และส่งเสริมให้นักศึกษาดำเนินโครงการพัฒนาชุมชน โดยให้การสนับสนุนงบประมาณ และเป็นพี่เลี้ยง ในการเสริมศักยภาพ เติมเต็มความรู้ ทักษะ ในการโครงการ ทำให้นักศึกษาได้มีโอกาสได้เรียนรู้การทำงานร่วมกับชุมชน บนโจทย์ปัญหาชุมชน ผ่านการปฏิบัติจริง อย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง
● ทำหน้าที่เป็น “หน่วยประสานงานกลาง” ระหว่างองค์กร/หน่วยงาน ที่ต้องการอาสาสมัคร และนักศึกษา หรือผู้ต้องการทำงานอาสาสมัคร ได้เป็นอยางดี โดยได้เชื่อมร้อยให้เกิดเครือข่ายแกนนำนักศึกษาจิตอาสา ประมาณ 50 คน และเกิดเครือข่ายนักศึกษาอาสาสมัครที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของมหาวิทยาลัย กว่า 1,500 คน
การขยายผลความสำเร็จของโครงการ
จากความสำเร็จของการดำเนินงานโครงการ จึงมีการขยายผลขยายผลไปสู่คณะต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สู่มหาวิทยาลัยอื่นๆ และร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ขยายผลหลักสูตรการเรียนการสอนแบบบริการสังคม (Service learning) สู่มหาวิทยาลัยอื่นๆ โดยจัด “การสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพัฒนาวิชาการสายรับใช้สังคม” เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2554 ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ
1.ถอดบทเรียนและนำเสนอรูปธรรมตัวอย่างความสำเร็จของสถาบันอุดมศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษา การปรับกระบวนการเรียนการสอน และผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพและเป็นพลเมืองที่ดี และนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
2.กระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจ และผลักดันให้เกิดการนำองค์ความรู้ไปต่อยอดและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ
3.ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างใหม่ในการบริหารจัดการศึกษาในสายวิชาการรับใช้สังคม ที่เน้นการเรียนรู้และเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network)
โดยมูลนิธิสยามกัมมาจลได้ถอดบทเรียนตัวอย่างความสำเร็จของมหาวิทยาลัยนำร่อง ที่มีนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการจัดการศึกษา ที่เน้นการปรับวิธีการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาด้วยการเรียนรู้จากโจทย์ในสังคมผ่านการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการต่างๆ 2 แห่ง ได้แก่ 1) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 3) วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 4) มหาวิทยาลัยมหิดล 5) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ และ 6) สถาบันอาศรมศิลป์ เพื่อนำมาเสนอภายในงานเพื่อให้เข้าใจบทบาทของมหาวิทยาลัยในการจัดวิชาการเพื่อรับใช้สังคมมากขึ้น และสร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยนำร่อง และมหาวิทยาลัยอื่น เพื่อการขยายผลในเชิงนโยบายและยุทธศาสาตร์ ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในห้องย่อย 4 ห้อง ได้แก่
1.ผู้บริหารกับบทบาทจัดการระบบการศึกษาเพื่อสนับสนุนให้เกิดการจัดการเรียนการสอนเพื่อรับใช้ชุมชน/สังคม
2.อาจารย์ผู้สอนกับบทบาทของผู้สนับสนุนการเรียนรู้จากโจทย์ชุมชน/สังคม
3.นักศึกษากับการเรียนรู้ในชุมชน
4.ชาวบ้านคิดอย่างไรเมื่อมหาวิทยาลัยเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาชุมชน/สังคม
* เข้าชมเว็บไซต์ได้ที่ https://www.scbfoundation.com/seminar_usr/