วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักเรียนร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์ต้านภัยสารเสพติดจนเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก
2. เพื่อเผยแพร่ความรู้ และสร้างความตระหนักเรื่อง โทษ และพิษภัยของสารเสพติดในโรงเรียนและชุมชน
3. เพื่อให้นักเรียนนำความรู้ไปเผยแพร่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกแก่ผู้อื่น ครอบครัว และชุมชน
วิธีดำเนินการ
ขั้นตอนที่ 1 สำรวจข้อมูลปัญหาด้านสารเสพติดเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาทั้งภายในโรงเรียนและชุมชน
ขั้นตอนที่ 2 วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา และจัดลำดับปัญหาตามความสำคัญจำเป็นและเร่งด่วนจากมากไปหาน้อย
ขั้นตอนที่ 3 วางแผน ออกแบบกิจกรรมจุดเปลี่ยน (จิตอาสาต้านภัยยาเสพติด) จัดทำแนวปฏิบัติและปฏิทินการปฏิบัติกิจกรรม
ขั้นตอนที่ 4 ปฏิบัติกิจกรรมตามแผนที่วางไว้
1. เผยแพร่ความรู้ด้านพิษภัยจากการใช้ยาเสพติดบริเวณสวนหย่อมหน้าห้องน้ำห้องส้วมชาย-หญิง
2.
บูรณาการกิจกรรมจิตอาสาด้วยการจัดแสดงละครสะท้านปัญหายาเสพติดโดยชมรม
SL.PLAY และให้ความรู้โดยชมรม”จุดเปลี่ยน… จิตอาสาต้านภัยยาเสพติด”
ขั้นตอนที่ 5 แลก เปลี่ยนเรียนรู้หลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติกิจกรรม เพื่อถอดบทเรียนและสะท้อนในประเด็นดังนี้ คือ ผลที่เกิดกับผู้ปฎิบัติกิจกรรม และผลที่เกิดแก่สังคม ภายหลังจากการปฏิบัติกิจกรรม จากนั้นนำไปสรุป รายงาน และเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์การปฏิบัติกิจกรรม
การติดตามประเมินผล
1. การเข้าร่วมกิจกรรม
2. การสังเกต
3. จากการถอดบทเรียน (AAR)
สิ่งที่ได้รับ/ การเปลี่ยนแปลง
• การเรียนรู้และเปลี่ยนแปลง “ยิ่งให้….ยิ่งได้รับ”
- กิจกรรมดีๆ เพื่อสังคมและงานอาสาสมัคร ช่วยสร้างภูมิปัญญาและภูมิคุ้มกันให้กับชีวิต
- มีความสุขที่ได้ทำประโยชน์ให้สังคม และเป็นจุดเปลี่ยนทัศนคติเชิงบวกให้แก่เด็กและเยาวชน
• เชื่อมโยงพื้นที่เรียนรู้
การทำความดีต้องมีเพื่อนร่วมทาง
การทำกิจกรรมโดดเดี่ยวเพียงลำพัง
หรือต่างกลุ่มต่างทำอาจไม่สำเร็จเท่าที่ควร
โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัยจึงมีการทำงานเป็นเครือข่ายจิตอาสา
เชื่อมโยงกลุ่มจิตอาสาในโรงเรียนเช่น กิจกรรมจุดเปลี่ยน
กลุ่มละครสะท้อนจิตอาสา (SL . PLAY) ชมรม “คุยเปิดใจ รักปลอดภัย”
รณรงค์ด้านภัยเอดส์ และกลุ่มอื่นๆ ที่ทำงานอาสาสมัครเพื่อสังคม
ให้มาบูรณาการทำงานร่วมกัน