จัดทำโดย
โรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์
11/8/55
หลักการและเหตุผล
ใน ปัจจุบันคลองภาษีเจริญของเรา ต้องประสบกับภาวะน้ำเน่าเสียมีขยะมากมายและน้ำขาดออกซิเจน จึงทำให้สิ่งมีชีวิตในคลองตาย และส่งผลให้น้ำเน่าเสียเพิ่มขึ้น การบำบัดน้ำและรักษาสิ่งแวดล้อมบริเวณคลองภาษีเจริญ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะคลองแห่งนี้จะอยู่คู่กับวิถีชีวิตของประชาชนในชุมชน โดยมีการปลูกจิตสำนึกและให้ความรู้เกี่ยวกับโครงงาน เพื่อช่วยอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรน้ำอย่างต่อเนื่อง
โครง งานคลองสวยน้ำใน ด้วยน้ำใจชาว อ.ส. เป็นโครงงานที่ต้องการให้นักเรียน ได้พัฒนาและใช้ความสามารถได้อย่างเต็มที่ จากประสบการณ์ตรงและยังลงมือทำงานร่วมกัน ภายใต้การบริหารจัดการของนักเรียนแกนนำ และนำไปสู่การขยายและสร้างเครือข่ายในระดับโรงเรียน ในการนี้นักเรียนยังได้รับการปลูกจิตสำนึกให้มีความรับผิดชอบในโครงงาน เพื่อนำไปสู่การจัดการน้ำอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้สมาชิกในชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของน้ำ
- เพื่อให้สมาชิกในชุมชนมีจิตสำนึกและความรับผิดชอบในการใช้น้ำ
- เพื่อสร้างเครือข่ายการเรียนรู้น้ำในโรงเรียน
- สมาชิกสามารถนำน้ำจุลินทรีย์ไปใช้และเผยแพร่ได้อย่างถูกต้องตามสภาวะแวดล้อม
- เพื่อให้นักเรียนของโรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์ เป็นกำลังสำคัญในการช่วยเหลือสังคม ชุมชน และทรัพยากรน้ำในชุมชน
- สามารถนำไปเผยแพร่ และชักชวนให้คนในชุมชนช่วยกันอนุรักษ์น้ำ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชุมชน
เป้าหมาย
1.1. เป้าหมายเชิงปริมาณ
- คณะครูและนักเรียนโรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์
- สมาชิกในชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์และคลองภาษีเจริญ
1.2. เป้าหมายเชิงคุณภาพ
- สมาชิกในชุมชนสามารถนำน้ำในคลองกลับมาใช้ได้อีก
- น้ำจะมีความสะอาดอย่างยั่งยืน
- สมาชิกในชุมชนเข้าใจ และเห็นความสำคัญของน้ำ และช่วยกันอนุรักษ์น้ำ
- สภาพแวดล้อมในชุมชนดีและมีคุณภาพ
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. วางแผนและประชุมคณะทำงาน
2.
สำรวจและตรวจสอบสภาพของน้ำ คือ ค่า ph ของน้ำ ความกว้าง ความยาวของคลอง
ปริมาณและชนิดของขยะในคลอง
ปริมาณและชนิดของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในคลองภาษีเจริญ
3. แบ่งความยาวของคลองเป็น 3 ส่วน และแบ่งสมาชิกรับผิดชอบ
4. เดินรณรงค์ และเชิญชวนให้คนที่อาศัยอยู่ริมคลองงดทิ้งขยะลงในคลอง และอนุรักษ์น้ำในคลองให้สะอาดตลอดเวลา
5. สมาชิกที่รับผิดชอบในแต่ละกลุ่ม ดูแลบริเวณที่รับผิดชอบของตน พร้อมทั้งให้ความรู้ คำปรึกษาแก่คนที่อาศัยอยู่ในชุมชน
- ทำแผ่นพับแจกคนในชุมชน
- รณรงค์ประกาศให้คนในชุมชนรับทราบ
6. ติดตามผลการปฏิบัติงานของกลุ่มที่รับผิดชอบ
- แต่ละกลุ่มนำข้อมูลมาสรุปผลในวันที่ 16 และวันที่ 31 หรือวันที่ 1 ของทุกเดือน เพื่อปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่างๆ
7. สรุปและประเมินผล
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- สมาชิกในชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของน้ำในชุมชน
- สมาชิกในชุมชนมีจิตสำนึก และมีความรับผิดชอบในโครงงาน
- สมาชิกเป็นกำลังสำคัญในชุมชน
- สมาชิกและคนในชุมชน รู้จักวิธีการอนุรักษ์น้ำ และร่วมมือกันอนุรักษ์น้ำ เพื่อมีใช้ตลอดทั้งปี และอย่างยั่งยืนต่อไป
- คลองภาษีเจริญเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำและปริมาณเพิ่มขึ้น'
การปฏิบัติงานที่ผ่านมา
- เริ่มศึกษาจากปัญหาที่แท้จริงก่อน สำรวจดูว่าพื้นที่ เป็นอย่างไร
- ทำแผ่นพับ บอกวิธีการแก้ ปัญหา ขอความร่วมมือจาก คนในชุมชน
- ประสานงานกับกลุ่ม EM เพื่อที่จะเตรียม น้ำ EM ไปแจกให้กับคนในชุมชน
ลงเรือครั้งแรก
- การลงเรือครั้งแรก ยังไม่มีน้ำ EM ไป เป็นการลงไปตักขยะ และสร้างความเข้าใจกับคนในชุมชน
-
ลงเรือเก็บขยะไปด้วย หลังจากที่ประชาสัมพันธ์ ให้รู้คุณ
และเห็นโทษของการไม่ดูแลรักษาแม่น้ำลำคลอง รวมถึงรับฟังชาวบ้าน
เพื่อที่จะส่งต่อและให้คนในชุมชน
เป็นกระบอกเสียงส่งต่อให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป
ลงเรือครั้งที่ 2
-
การลงเรือครั้งที่ 2 เพื่อเก็บขยะในคลองอย่างเคย แต่ครั้งนี้ มีน้ำ EM
ไปเทลงในคลอง เพื่อฟื้นฟูสภาพน้ำ และยังมีน้ำ EM และคู่มือ
ไปแจกจ่ายให้กับชาวบ้านอีกด้วย