หลักการและเหตุผล
ใน ปัจจุบันทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นที่รู้จัก กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งทฤษฎีความพอเพียง หมายถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวต่อผลกระทบที่เกิดจาก การเปลี่ยนแปลงต่างๆ และต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ
เยาวชนกลุ่ม แกนนำจิตอาสากุนนทีสร้างสุข รุ่นที่ 3 จึงมีแนวคิดในการนำทฤษฎีนี้มาปรับใช้ในการทำโครงงานด้านการอนุรักษ์สิ่งแวด ล้อม โดยการรับบริจาควัสดุอุปกรณ์และกระดาษที่เหลือจากการใช้งานมาประยุกต์ ปรับปรุง และสร้างสรรค์ ให้สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แทนที่จะนำเศษกระดาษหรือเศษวัสดุไปทิ้งทำให้เกิดขยะ หรือมลพิษกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจนส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน เช่น กล่องใส่อุปกรณ์อเนกประสงค์ และกล่องใส่เอกสาร เป็นต้น
เยาวชน จิตอาสากุนนทีสร้างสุข รุ่นที่ 3 ซึ่งเป็นคณะผู้จัดทำโครงงานนี้ มุ่งหวังช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ไม่มากก็น้อย สิ่งที่สำคัญยิ่งคือ การสร้างความตระหนักให้ทุกคนมีจิตสำนึกที่ดีในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยใช้หลักความพอเพียงใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ฝึกทักษะความคิดสร้างสรรค์ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในการทำงานร่วมกัน รวมทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนใน โรงเรียนและชุมชน
วัตถุประสงค์
1.
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้เข้าใจถึงหลักการพอเพียง รู้จักประหยัด
รู้จักใช้เท่าที่จำเป็นและนำสิ่งที่เหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์อย่างสร้าง
สรรค์ เช่น สมุดจดบันทึก สมุดวาดรูป เป็นต้น
2. เพื่อให้ผู้ร่วมโครงการเล็งเห็นถึงประโยชน์การนำของเหลือใช้มาปรับเปลี่ยนให้เป็นสิ่งใหม่ที่มีคุณค่า
3.
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการรู้จักการเก็บออมกระดาษ
และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้แล้ว เปลี่ยนเป็นต้นทุนการดำเนินงานเพื่อสังคม
หรือการสร้างงานเพื่อนำมาซึ่งผลกำไรในอนาคต
4.
เพื่อให้นักเรียนแกนนำจิตอาสากุนนทีสร้างสุขสามารถเป็นผู้นำในการสื่อสาร
การรณรงค์ ขยายผลโครงงานตามรอยเท้าพ่อสานต่อความพอเพียงจากระดับกลุ่ม
สู่ระดับห้องเรียน โรงเรียน และชุมชนต่อไป
กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียนโรงเรียนกุนนทีรุทธารามวิทยาคม จำนวน 100 คน
กิจกรรมหลักในโครงงาน
กิจกรรมที่ 1 Tricky Paper : กระดาษแปลงกาย ความคิดดีจากพี่สู่น้อง
กิจกรรมที่ 2 Wonderful paper : กระดาษมหัศจรรย์ สร้างสรรค์สิ่งดีๆ เพื่อสังคม
กิจกรรมที่ 3 Paper Bank : ธนาคารกระดาษรีไซเคิล ความพอเพียงเพื่ออนาคต
วิธีดำเนินการกิจกรรมที่ 1 - 3
1.
วางแผนการทำงานและออกแบบ
กิจกรรม
2.
แบ่งหน้าที่สมาชิกในกิจกรรมเพื่อรับผิดชอบ
3. จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกิจกรรม
4. ประชาสัมพันธ์เพื่อรับบริจาคกระดาษ / วัสดุเหลือใช้
5. คัดแยกประเภทของวัสดุ– อุปกรณ์ที่รับบริจาค
6. เริ่มดำเนินกิจกรรม
7. ประเมินผลการทำกิจกรรม
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีจิตสำนึกที่ดีรู้จักประหยัด ในการใช้สิ่งของ/ วัสดุอุปกรณ์/ ทรัพยากรต่างๆ ด้วยหลักความพอเพียง
2.
ผู้เข้าร่วมโครงการมีจิตสำนึกที่ดีในการรักษาสิ่งแวดล้อม
และรู้จักคุณค่าของการนำวัสดุที่เหลือใช้มาปรับเปลี่ยนหรือสร้างสรรค์ใหม่
ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ลักษณะโครงงาน
โครง
งานตามรอยเท้าพ่อสานต่อความพอเพียง
เป็นโครงงานขยายผลในรูปแบบของกิจกรรมพัฒนาศักยภาพเยาวชนจิตอาสาในสถานศึกษา
รุ่นที่ 3 ร่วมกับมูลนิธิกระจกเงา
โดยการสนับสนุนของมูลนิธิสยามกัมมาจลเพื่อขยายผลไปสู่ชุมชน