จัดทำโดย กลุ่มผู้ดำเนินการ
1. นางสาวพรสวรรค์ พฤกษาดำรงกาย
2. นางสาวจันทรา ลือชาเจริญพร
3. นางสาวนิตยาพร มนต์รัตนมณี
4. นางสาวพัชรี ประชารังสรรค์
5. นางสาวกัญจน์ปวีณ์มุก ฉายานามชัย
ที่ปรึกษาโครงงาน
นางสาวปริญญา ยิ้มยวน
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
โครงงานคุณธรรม (moral project) เป็นโครงงานที่เป็นไปเพื่อการพัฒนาเยาวชนให้เป็นมนุษย์ ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ ความสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ซึ่งโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ตาก ได้ส่งเสริมเยาวชนมีจิตสาธารณะในการใช้ชีวิตแบบพอเพียง พึ่งตนเอง และช่วยเหลือผู้อื่นได้ โดยกลุ่มเยาวชนแกนนำระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้จัดกิจกรรมต่างๆ ทั้งในสถานศึกษา นอกสถานศึกษา เพื่อเป็นการปลูกฝังวินัยในการทำความดีเพื่อสังคม เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน ดังนั้น กลุ่มเยาวชนแกนนำ จึงได้จัดทำกิจกรรมโครงงานคุณธรรม เรื่อง เยาวชนต้นกล้าจิตอาสา น้อมนำหลักปรัชญา 324 สู่วิถีชุมชนคนพอเพียง ประจำปีการศึกษา 2554 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรมที่ดีงามให้กับนักเรียน เพื่อสร้างจิตสำนึก และฝึกให้นักเรียนเป็น ผู้มีจิตอาสา เสียสละ ช่วยเหลือคนในสังคมอย่างเต็ม ใจและเต็มศักยภาพของตน และเพื่อให้นักเรียน ชุมชน ตระหนักถึงความสำคัญของการน้อมนำหลักคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ (1) ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมพัฒนา (2) พลพรรค คนพอเพียง (3) ปันรักด้วยใจ ยุวชนสู่ชุมชน
จากการจัดกิจกรรมทำให้นักเรียนเห็นการมีส่วนร่วมกิจกรรมจิตอาสาที่เกิดขึ้น (ทั้งในและนอกสถานศึกษา ) ตลอดจนการทำความดี เพื่อพัฒนาชุมชนโดยน้อมนำหลักคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ลงสู่กระบวนการทำกิจกรรมทุกขั้นตอน ส่งผลให้นักเรียนเป็นผู้มีจิตสำนึกที่ดี รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น ยึดหลัก การดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง มีความมุ่งมั่น ตั้งใจจริงในการเป็นอาสาสมัคร หรือ จิตอาสา สิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้หล่อหลอมให้กลุ่มนักเรียนมีคุณธรรมในการปฏิบัติตนและดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต อดทน ขยัน หมั่นเพียร แบ่งปัน มีสติปัญญา มีวินัย พึ่งพาตนเองได้ มีจิตอาสา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เกื้อกูล มีความรับผิดชอบและมีส่วนร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
วัตถุประสงค์โครงงาน
1. เพื่อเป็นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรมที่ดีงามให้กับนักเรียน
2. เพื่อสร้างจิตสำนึกและฝึกให้นักเรียนเป็นผู้มีจิตอาสา เสียสละ ช่วยเหลือคนในสังคม อย่างเต็มใจ และเต็มศักยภาพของตน
3. เพื่อให้นักเรียน และชุมชน ตระหนักถึงความสำคัญของการน้อมนำหลักคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน
วิธีการดำเนินงาน
1. จัดทำโครงงานคุณธรรม โดยศึกษาจากสภาพปัญหาของชุมชนในปัจจุบันที่ควรได้รับ การส่งเสริม และช่วยเหลือ
2. ประชุมวางแผนการดำเนินการจัดกิจกรรมต่างๆ
กำหนดปฏิทินการดำเนินงาน