กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
ศูนย์การเรียนรู้ ชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน สู่เศรษฐกิจพอเพียง
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ตากได้ยึดแนวทางตามพระราชดำริ "เศรษฐกิจพอเพียง" ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ให้นักเรียนและบุคลากรภายในโรงเรียนยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการดำรงชีพอย่างเรียบง่าย ที่เน้นการพึ่งพาตนเอง

­

  1. หลักการและเหตุผล


พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2540 ความว่า “สิ่งสำคัญที่เราพอกินอุ้มชูตัวเราได้ ให้มีความพอเพียงแก่ตัวเองพึ่งตนเอง หมายความว่า ให้สามารถดำรงชีวิต ได้อย่างไม่เดือดร้อน มีความเป็นอยู่อย่างประมาณตน มีกินมีใช้ตามอัตภาพ แล้วที่เหลือจึงจะขายเป็นรายได้ต่อไป”


การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงร่วม สืบสานพระราชปณิธาน ดำเนินนโยบาย โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนา อย่างยั่งยืน ตามแนวพระราชดำริ เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้ว่าการ กฟผ. ให้มีการส่งเสริมการใช้ จุลินทรีย์ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเกษตรกรรม ด้านปศุสัตว์ ด้านประมง และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ เรื่องเศรษฐกิจ โดยการดำเนินชีวิต แบบพออยู่ พอกิน พึ่งพาตนเองได้ด้วยการทำเกษตรธรรมชาติ ลดการใช้ สารเคมี จึงได้จัดตั้งกลุ่มงาน โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กฟผ.


โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ตาก จึงได้ยึดแนวทางตามพระราชดำริ  “เศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ให้นักเรียนและบุคลากรภายในโรงเรียนยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการดำรงชีพอย่างเรียบง่าย ที่เน้นการพึ่งพาตนเอง มีความพร้อมในการรองรับความเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมภายนอก โดยจัดทำโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน สู่เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้บุคลากร นักเรียนและผู้ที่สนใจมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานให้มีการส่งเสริมการใช้ จุลินทรีย์ทั้ง 4 ด้าน  เพื่อฝึกประสบการณ์จริง และเผยแพร่ความรู้ให้แก่ชุมชนต่อไป

­

2.วัตถุประสงค์


  1. เพื่อนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม
  2. ส่งเสริมวิถีชีวิตของชุมชน ให้รู้จักพอมีพอกิน พึ่งตนเองได้
  3. ให้ความรู้ ความเข้าใจในการทำการเกษตรโดยไม่ใช้สารเคมี ไม่ทำลายระบบนิเวศ
  4. เสริมสร้างจิตสำนึก ให้เกิดการเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน
  5. เสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง และสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้ยั่งยืน
  6. ส่งเสริมการผลิตอาหารปลอดภัยสู่สุขภาพอนามัยที่ดี ทั้งเกษตรกรผู้ผลิต และผู้บริโภค อันนำไปสู่คุณภาพ ชีวิตที่ดี
  7. ส่งเสริมให้ทำเกษตรกรรมธรรมชาติ ลดต้นทุนจาการใช้สารเคมี
  8. สนับสนุนและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
  9. ให้ความรู้ประโยชน์จากการนำมูลสัตว์ไปผลิตก๊าชหุงต้มใช้ในครัวเรือน และวิธีทำ จุลินทรีย์ประโยชน์ของจุลินทรีย์ที่สามารถใช้ในด้านต่างๆ

­

3.เป้าหมาย

ด้านปริมาณ จำนวนผู้เข้าใช้แหล่งเรียนรู้

นักเรียน 1,037 คน
บุคลากร80 คน
รวม1,117 คน

                                               

ด้านคุณภาพ มีศูนย์การเรียนรู้ ชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน สู่เศรษฐกิจพอเพียง เพียงพอ


4.ระยะเวลาดำเนินการ ปีการศึกษา  2554


5.พื้นที่ดำเนินการ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ตาก  อำเภอเมือง  จังหวัดตาก


6.วิธีการดำเนินงาน

   1.เสนออนุมัติโครงการ
   2.แต่งตั้งคณะกรรมและคณะทำงาน จากบุคลากรในโรงเรียน และคณะนักเรียนโดยมีคณะที่ปรึกษา จากผู้บริหารโรงเรียน และกรรมการสถานศึกษา
   3.วางแผนการดำเนินการ
         - ให้ความรู้ อบรบฝึกงานให้กับนักเรียน 
         - คณะกรรมการทำงานมีการประชุม
         - การจัดเตรียมสถานที่
         - ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้

   4.ดำเนินงานตามโครงการ ได้แก่ การรับสมัครคณะทำงาน / คณะทำงานมีการประชุม / จัดเตรียมพื้นที่ / การประชาสัมพันธ์ / ดำเนินการ / การประเมินผลกิจกรรม


7.งบประมาณ   -


8.ผู้รับผิดชอบโครงการ นายครรชิต  บัวบาน  ตำแหน่ง ครู


9.หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

   1. กระทรวงพลังงาน

   2.วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตาก

­

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

ความสำเร็จของโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน  สู่เศรษฐกิจพอเพียง


                เป็นตัวแทนจังหวัดประเภท โรงเรียนแข่งขันระดับภาคเหนือ ได้รับรางวัลชนะเลิศ เป็นตัวเหนือของภาคเหนือเป็นตัวเทศแข่งขันในระดับประเทศต่อไป

­

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ