จัดทำโดย
1. นางสาวยุวนันท์ แซ่ซ้ง
2. นางสาวพิมชนก คีรีมาลี
3. นางสาวเพ็ญรัตน์ เพียรพนากิจ
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3
คุณครูที่ปรึกษา
คุณครูบังอร จันทร์ชุ่ม
ที่มาและความสำคัญ
แผนการศึกษาแห่งชาติ แผนพัฒนาการศึกษา นโยบายของรัฐบาล ต่างมุ่งเน้นการจัดการศึกษา “เพื่อชีวิตและสังคม “ ให้เยาวชนของชาติ คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ มีวัฒนธรรม คุณธรรม สามารถทำงานเป็นกลุ่ม พึ่งตนเองและเห็นแนวทางในการประกอบอาชีพรวมทั้งสามารถใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ในชีวิต ดังนั้น เมื่อนำแผนและนโยบายไปสู่การปฏิบัติในรูปของหลักสูตรระดับมัธยมศึกษา แนวทางหนึ่งที่จะทำให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่เรียนจากรายวิชาและกิจกรรมต่าง ๆ มาใช้ในลักษณะบูรณาการ การส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระเพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียน ซึ่งการส่งเสริมดังกล่าวจำเป็นต้องใช้ความรู้และทักษะหลายอย่างประกอบกัน นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นให้นักเรียนมั่นใจในคุณค่าของ การเรียน ว่าสามารถนำไปใช้ใน ชีวิตจริง มั่นใจในศักยภาพของตน รู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น รู้จักแหล่งความรู้ รู้จักคิดแก้ปัญหา รู้จักสร้างงาน และมีคุณธรรมที่เอื้อประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม
ด้วยโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ตาก เป็นโรงเรียนประจำ ประเภทด้อยโอกาส 10 ประเภทประกอบด้วยชนเผ่าต่าง ๆ อาทิเช่น เผ่าม้ง เผ่ากระเหรี่ยง เผ่าลีซอ เผ่าเหย้า และเผ่าไทย และมุ่งเน้นให้นักเรียนมีสมรรถนะสำคัญ คือ
1) ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
2) ความสามารถในการแก้ปัญหา รู้จักการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรม ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม 3) ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและ ความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น ด้วยการปฏิบัติจริงในศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงทางกลุ่มโครงงานตลาดนัดพอเพียง เคียงคู่คุณธรรม นำภูมิปัญญา พัฒนาชีวิต เศรษฐกิจยั่งยืน มีความสนใจที่จะทำธุรกิจขนาดย่อม ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนตามแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ด้านความสามารถในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ตามสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน อีกทั้งเป็นการสนองพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับตลาดนัด ได้อย่างมีคุณภาพ
2. นำผลงานที่เป็นฝีมือของตนเองเพื่อหารายได้เสริมระหว่างเรียน
3. เพื่อฝึกลักษณะนิสัย การช่วยเหลือตนเอง การประหยัด การแบ่งเบาภาระของผู้ปกครอง
4. เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนมีนิสัยรักการทำงาน ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และพึ่งตนเอง
5. มีกระบวนการในการทำงาน มีความคิดวิเคราะห์ วางแผน ปรับปรุงและพัฒนางานได้
6. มีคุณธรรมจริยธรรมด้านความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ ขยัน ประหยัด อดทนในการทำงาน
7. มีการช่วยเหลือในการทำงานซึ่งกันและกัน
วิธีการดำเนินงาน
ระยะเวลาดำเนินโครงการ
ตลอดโครงการตั้งแต่เปิดภาคเรียนจนถึงปิดภาคเรียน (16 พฤษภาคม - 30 กันยายน และ 1 พฤศจิกายน - 15 มีนาคม)
1.แผนการปฏิบัติงานรายสัปดาห์
สัปดาห์ที่ 1-3 ศึกษาค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานอาชีพ
สัปดาห์ที่ 4 สร้างแบบสอบถามเพื่อศึกษาข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกอาชีพ
สัปดาห์ที่ 5 ออกเก็บข้อมูลสำรวจสภาพต่างๆด้านอาชีพของแหล่งที่จะใช้เป็นสถานที่ ปฏิบัติ โครงงานอาชีพ
สัปดาห์ที่ 6 สรุปวิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจเลือกอาชีพ
สัปดาห์ที่ 7 ศึกษาวิธีการเขียนโครงงานอาชีพ
สัปดาห์ที่ 8 เขียนโครงงานอาชีพและขออนุมัติดำเนินโครงงานอาชีพ
สัปดาห์ที่ 9 ศึกษาความรู้เกี่ยวกับอาชีพที่เลือกเพิ่มเติมเตรียมอุปกรณ์ สถานที่และ ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายทราบว่าจะมีร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆ
สัปดาห์ที่ 10-17 ลงมือปฏิบัติงานจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ประเมินและปรับปรุงการปฏิบัติงานเป็นระยะ ๆ
สัปดาห์ที่ 18 ประเมินสรุปการปฏิบัติโครงงานอาชีพ
สัปดาห์ที่ 19 สรุปวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรคการปฏิบัติงานอาชีพ และศึกษาแนวทางการ พัฒนางานอาชีพ
สถานที่ประกอบอาชีพ
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ตาก 170 หมู่ 4 ตำบลแม่ท้อ อำเภอ เมือง จังหวัดตาก รหัสไปรษณีย์ 63000
งบประมาณ
1. แหล่งเงินทุน เงินสะสมของสมาชิกกลุ่ม จำนวน 10 คน คนละ 50 บาท และยืมโครงการส่งเสริมอาชีพฯ โรงเรียนเป็นเงิน 5,000 บาท รวมเป็นเงิน 5,500 บาท
2. ทรัพย์สินถาวร โต๊ะ เก้าอี้ เต็นท์
สรุปผลการศึกษา และข้อเสนอแนะ
ผลการดำเนินงาน
จากการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการผลิตภัณฑ์ของนักเรียน ของผู้ซื้อสินค้าสรุปได้ว่า ผู้ซื้อสินค้าส่วนใหญ่เป็นนักเรียน เพศหญิง อายุประมาณ 11 – 15 ปี โดยส่วนใหญ่จะซื้อพวงกุญแจพู่ยาวสัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง ผลิตภัณฑ์ที่ผู้ซื้อนิยมใช้มากที่สุดคือ พวงกุญแจพู่ยาว ในด้านราคาส่วนใหญ่เห็นว่าผ้าปักชาวเขามีราคาแพง รองลงมาคือพวงกุญแจพู่ยาว ส่วนผลิตภัณฑ์ที่มีราคาเหมาะสมคือ ย่ามกระเหรี่ยง ผู้บริโภคส่วนใหญ่เห็นว่าพวงกุญแจพู่ยาวมีประโยชน์ต่อตนเองมากที่สุด แต่ยังผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงมีความเห็นว่าควรผลิตและวางขายตามร้านค้าทั่วไปด้วย สำหรับการทำโครงงานเรื่อง ตลาดนัดพอเพียง เคียงคู่คุณธรรม นำภูมิปัญญา พัฒนาชีวิต เศรษฐกิจยั่งยืน เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อนักเรียนผู้ศึกษามากที่สุด
ผลการดำเนินงานผลิตภัณฑ์ของนักเรียนเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ซื้อสินค้า เนื่องจากมีประโยชน์ ราคาถูกกว่าผลิตภัณฑ์อื่นเนื่องจากต้นทุนต่ำกว่าสินค้าตัวอื่น ทำให้ผู้ซื้อมีความสนใจ ผลจากสรุปจากแบบสอบถามยังผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลงานของนักเรียนยังไม่มีจำหน่ายในท้องตลาดเลย อีกทั้งใช้วัตถุดิบไม่มากชนิดสามารถหาได้ในชุมชน และผลิตภัณฑ์ที่เป็นวัตถุดิบหลักก็มีมากในชุมชนท้องถิ่น ราคาจึงถูกทำให้เป็นที่นิยมของผู้บริโภค เนื่องจากเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นและราคาถูก
ผลการดำเนินงานตามโครงงานตลาดนัดพอเพียง เคียงคู่คุณธรรม นำภูมิปัญญา พัฒนาชีวิตเศรษฐกิจยั่งยืน พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการคิด การแก้ไขปัญหา และการใช้ทักษะชีวิต สอดคล้องกับสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลาง ได้เรียนรู้การประกอบธุรกิจ เพื่อการจำหน่ายสร้างรายได้ จากการนำทรัพยากรในชุมชนมาแปรรูปให้เกิดประโยชน์สูงสุด นักเรียนเกิด จิตสาธารณะมีจิตสำนึกคนอยู่กับป่า ป่าอยู่กับคน รู้จักการอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมอย่างเอื้ออาทรต่อกัน บนพื้นฐานตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
สรุปผล
นักเรียนเรียนรู้การประกอบธุรกิจเพื่อการจำหน่าย โดยการนำวัตถุดิบตามธรรมชาติ สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่นของตนเอง รู้จักการพึ่งตนเอง การสืบค้นข้อมูล การตัดสินใจอย่างมีเหตุผล การลงทุน การทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย ความคิดสร้างสรรค์ ได้รู้จักการลงมือปฏิบัติด้วยกระบวนการอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยคุณธรรมเป็นแนวทางในการดำเนินงาน การใช้หลักคุณธรรมในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งผลักให้การประกอบธุรกิจประสบความสำเร็จ ซึ่งวัดจากกำไรจากการประกอบการ การนำผลกำไรไปคืนประโยชน์ต่อสังคมเป็นหลัก เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ระหว่างป่ากับชุมชน
จากการทำโครงงานอาชีพ ส่งผลให้เยาวชนในชุมชนเริ่มตระหนัก เห็นคุณค่าของการดำรงชีวิตด้วยแนวคิด คนอยู่กับป่า ป่าอยู่กับคนบนพื้นฐานของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อันเป็นจุดเริ่มต้นในการรักษาสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติให้คงอยู่ต่อไป
ข้อเสนอแนะ
1. ควรจัดโครงงานอาชีพโดยให้นักเรียนมีจิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมากที่สุด เน้นให้เห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ปลูกฝังให้นักเรียนได้มีจิตอาสาต่อสังคม รู้จักการดำเนินตามแบบอย่างขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภายใต้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
2. โครงการต่อไปควรเปลี่ยนการแปรรูปเป็นวัตถุดิบอย่างอื่นที่มีอยู่ในชุมชน เช่น การทำนมจากข้าวโพด การนำไม้ไผ่มาประดิษฐ์เป็นของใช้ ให้มีสินค้าให้หลากหลายกว่าเดิม
3. ควรเพิ่มการตลาดให้มากกว่านี้