นักเรียนสามารถเรียนรู้ชนิดของเห็ดและการปลูกเห็ดเพื่อสร้างรายได้และนำมาแปรรูปอาหารได้อย่างถูกต้อง
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ตาก สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษมีโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์/ราชประชานุเคราะห์ ทั่วประเทศจำนวน 51 โรงเรียน จัดการศึกษาแก่เด็กด้อยโอกาส 10 ประเภท ประกอบด้วย
1.เด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือเด็กกำพร้า
2.เด็กที่อยู่ในชนกลุ่มน้อย
3.เด็กที่ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์หรือโรคติดต่อร้ายแรงที่สังคมรังเกียจ
4.เด็กเร่ร่อน
5.เด็กที่ถูกทำร้ายทารุณ
6.เด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด
7.เด็กในสถานพินิจ และคุ้มครองเด็ก
8.เด็กที่อยู่ในธุรกิจทางเพศ
9.เด็กที่ถูกบังคับให้ขายแรงงานหรือแรงงานเด็ก
10.เด็กยากจน(มากเป็นพิเศษ)
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ตาก เป็นโรงเรียนเดียวในสังกัดที่ผ่านการประเมินเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา จำเป็นต้องมีแนวทางกิจกรรมขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเป็นระบบ ทั้งภายในและสู่ภายนอก เป็นพลังพอเพียง ที่จะช่วยโรงเรียน ชุมชน สังคม และประเทศชาติให้ยืนยัดอยู่ได้อย่างยั่งยืน ดังนั้นกิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ ประกอบด้วย
- กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการของโครงการต้นสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ มีดังนี้
- โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
- รายงานสรุปผลการดำเนินโครงการสนองพระราชดำริ ร่วมกับสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
- การกำกับติดตามผ่านเว็บไซต์ พลังพอเพียงของสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ โดยร่วมกับสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
- กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการของโรงเรียน มีดังนี้
- กิจกรรมค่ายนักเรียนแกนนำพลังพอเพียง
- กิจกรรมโครงการชีววิถีพอเพียง
- กิจกรรมโครงการอาหารกลางวัน
- กิจกรรมการบริหารชนเผ่า
- กิจกรรมหอนอนพอเพียง
- กิจกรรมพัฒนาแหล่งเรียนรู้/ศึกษาดูงานภูมิปัญญาท้องถิ่น
- กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการสานสายใย รวมใจพลังพอเพียงสู่สังคม
- เปิดบ้านต้อนรับญาติพลังพอเพียง โดยให้บริการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ข้อมูล แหล่งเรียนรู้ กิจกรรมที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วิทยากรมีทั้งครู และนักเรียนแกนนำ บริการทุกวันอังคาร และวันศุกร์ ติดต่อให้ทราบก่อนล่วงหน้า
- ขยายผล สู่ภายนอกโดยครูและนักเรียนแกนนำเป็นวิทยากรและกิจกรรมจิตอาสา ช่วงปิดภาคเรียน วันหยุด
- ตลาดนัดพอเพียง เผยแพร่ผลงานของนักเรียนด้านเกษตรอาชีพ ทุกวันเสาร์ที่ตลาดเทศบาลเมืองตาก
- เผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์เศรษฐกิจพอเพียง
1.หลักการและเหตุผล
เห็ดจัดเป็นผักที่นิยมรับประทานกันมาก มีรสชาติดีและมีคุณค่าทางอาหารสูง สภาพดินฟ้าอากาศของไทยเหมาะต่อการเจริญเติบโตของเห็ด การเพาะเห็ดในถุงพลาสติกมีเห็ดหลายชนิดที่เพาะได้ เช่น เห็ดนางรม เห็ดหูหนู เห็ดขอนขาว เห็ดบด เห็ดนางฟ้า เป็นต้น
นอกจากนี้ การเพาะเห็ดในถุงพลาสติกเป็นที่นิยมกันมากที่สุด เพราะว่าเพาะง่าย ผลผลิตสูง ขายง่าย ได้ราคาดี เป็นที่ต้องการของตลาด วิธีการเพาะเห็ดเองทำได้ง่ายลงทุนไม่มาก เพื่อฝึกให้นักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถเผยแพร่ความรู้ให้กับชุมชน
2. วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้ที่สนใจมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเพาะเห็ดชนิดต่างๆ
2.เพื่อฝึกประสบการณ์จริง ในการเพาะเห็ด
3.เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้แก่ชุมชน
3.เป้าหมาย
ด้านปริมาณ
1.)มีโรงเรือนเพาะเห็ด 1 โรงเรือน ขนาด 4x6 เมตร
2.)มีก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าจำนวน 2,000 ก้อน
ด้านคุณภาพ
นักเรียนโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ตากมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถประกอบอาชีพได้ มีรายได้ช่วยเหลือตัวเอง และครอบครัว และยังสามารถปรับตัวให้อยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข
4.ระยะเวลาดำเนินการ
ปีการศึกษา 2554
5.พื้นที่ดำเนินการ
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ตาก อำเภอเมือง จังหวัดตาก
6.วิธีการดำเนินงาน
1.เสนออนุมัติโครงการ
2.แต่งตั้งคณะกรรมและคณะทำงาน จากบุคลากรในโรงเรียน และคณะนักเรียนโดยมีคณะที่ปรึกษา จากผู้บริหารโรงเรียน และกรรมการสถานศึกษา
3.วางแผนการดำเนินการ
-ให้ความรู้ อบรบฝึกงานให้กับนักเรียน
-คณะกรรมการทำงานมีการประชุม
-การจัดเตรียมสถานที่ในการเพาะเห็ด
-ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องการเพาะเห็ด
4.ดำเนินงานตามโครงการ
4.1 การรับสมัครคณะทำงาน
4.2 คณะทำงานมีการประชุม
4.3 จัดเตรียมโรงเรือนในการเพาะเห็ด
4.4 การประชาสัมพันธ์
4.5 ดำเนินการเพาะเห็ด
4.6 การประเมินผลกิจกรรม
7.งบประมาณ
งบดำเนินการ 10,000 บาท
งบซ่อมแซม + สร้าง 10,000 บาท
รวมจำนวนเงิน 20,000 บาท
8.ผู้รับผิดชอบโครงการ
นางสาวอารีรัตน์ อยู่รัมย์ ตำแหน่ง พนักงานราชการ
9.หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตาก
10.การประเมินผล
1.ประเมินก่อนกานดำเนินโครงการ
-สังเกตจากการให้ความสนใจ
2.ประเมินขณะดำเนินโครงการ
-สังเกตการณ์เข้าร่วมเป็นสมาชิก
-การให้ความร่วมมือ
3.ประเมินหลังดำเนินโครงการ
-แบบปรามนความพึงพอใจ
-ประเมินความก้าวหน้าของโครงการ
-ประเมินความรู้ความเข้าใจ และแนวทางการดำเนินกิจกรรมโครงการ เพื่อประเมินจุดอ่อนจุดแข็ง และนำไปปรับปรุงต่อไป
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
นักเรียน บุคลากรครู ตลอดจนผู้สนใจ ใช้ประโยชน์การเพาะเห็ด ทั้งแบบการค้าและแบบรับประทานภายในบ้าน หรือใช้เป็นแหล่งความรู้สำหรับนักเรียนหรือผู้ที่สนใจ