กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
ฐานปุ๋ยชีวภาพ
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

การทำ EM ขยาย


ส่วนผสม

1. EM ขยาย 1 ลิตร

2. กากน้ำตาล 1 ลิตร

3. น้ำสะอาด 10 ลิตร


วิธีทำ

1. นำการน้ำตาลผสมกับน้ำสะอาด (ข้อ 1 + ข้อ 3 ) คนให้เข้ากันแล้วใส่ถังพลาสติกที่มีฝาปิด

2. นำ EM ขยาย ใส่ผสมกับน้ำสะอาดและกากน้ำตาล ในข้อ 1 คนให้เข้ากัน ปิดฝาทิ้งไว้

3. เปิดฝาถังวันละ 1 ครั้งเพื่อระบายอากาศ

4. ลองดมดูหากมีกลิ่นหอมใช้ได้ หากมีกลิ่นบูดใช้ไม่ได้


วิธีใช้

1. ใช้รด ราด ฉีด หรือพ่น พืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ ฯลฯ

2. ใช้ทำปุ๋ยหมัก (โบกาฉิ)

3. ใช้กำจัดกลิ่นในห้องน้ำห้องส้วม

4. ใช้ทำความสะอาดพื้น ต่าง ๆ

5. ใช้ปรับสภาพน้ำ

6. ใช้ย่อยสลายในท่อน้ำทิ้ง ป้องกันการอุดตัน


การทำปุ๋ยหมักหรือจุลินทรีย์แห้ง(โบกาฉิ)

การทำจุลินทรีย์แห้ง หมายถึง การนำเอา EM มาหมักกับอินทรียวัตถุ เป็นการขยายจำนวนจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ให้มีจำนวนมากขึ้นแข็งแรงขึ้นและพักตัวอยู่ในอินทรียวัตถุ เพื่อนำไปปรับปรุงสภาพดินให้ร่วนซุย มีธาตุอาหารที่สำคัญเหมาะแก่การเพาะปลูก นอกจากนี้ยังใช้กับการเลี้ยงสัตว์ได้ด้วย


ส่วนผสม

1. มูลสัตว์ต่าง ๆ เช่น ไก่ สุกร เป็ด ค้างคาว วัว ฯลฯ นำมาผึ่งให้แห้ง 1 ส่วน หรือ 1 กระสอบ

2. แกลบดิบ หรือฟางแห้ง หรือหญ้าแห้ง หรือใบไม้แห้ง หรือผักตบชวาแห้ง หรือขี้เลื่อย 1 ส่วน หรือ 1 กระสอบ

3. รำละเอียด หรือมันสำปะหลังป่น หรือคายข้าว 1 ส่วน หรือ 1 กระสอบ

4. EM + กากน้ำตาล อย่างละ 2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 10 ลิตร หรือ 1 ถัง คนให้เข้ากัน


วิธีทำ

1. คลุกรำละเอียดกับมูลสัตว์แห้งที่บดละเอียด หรือย่อยให้เล็กเข้าด้วยกัน

2. นำแกลบดิบ หรือวัสดุที่ใช้แทนตัดให้สั้น ๆ จุ่มลงในถังน้ำที่ผสม EM + กากน้ำตาลไว้ ช้อนเอามาคลุกกับรำและมูลสัตว์ที่ผสมไว้แล้ว คลุกส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน

3. ความชื้นให้ได้ 40-50 % ดูได้จากส่วนผสมเมื่อบีบเป็นก้อนจะไม่มีน้ำไหลออกจากง่ามนิ้วมือ และแตกเมื่อคลายมือออก หรือเมื่อทิ้งลงพื้น แสดงว่าใช้ได้

4. นำส่วนผสมไปใส่กระสอบ ถุงปุ๋ย หรือถุงอาหารสัตว์ ที่อากาศถ่ายเทได้ 3/4 ของกระสอบ ไม่ต้องกดให้แน่น มัดปากกระสอบไว้ออพลิกกระสอบแต่ละด้านทุกวัน วันที่ 2-3 จับกระสอบดูจะร้อน อุณหภูมิประมาณ 50-60 C วันที่ 4-5 จะค่อยเย็น ๆ ลง จนอุณหภูมิปกติ เปิดกระสอบดูจะได้จุลินทรีย์แห้งร่วนซุยนำไปใช้ได้

5. หากไม่มีกระสอบ หรือทำปริมาณมาก เมือผสมกันดีแล้วให้นำไปกองบนกระสอบป่าน หรือฟางแห้งที่รองพื้นหนาประมาณ 1 ฟุต แล้วคลุมด้วยกระสอบ หรือแสลน กลับวันละ 1-2 ครั้ง ให้อากาศถ่ายเททั่วถึงประมาณ 5-7 วัน ดูให้อุณหภูมิปกติจุลินทรีย์ร่วนดี เก็บใส่ถุงไว้ใช้


ประโยชน์ของการกลับกองปุ๋ย

1. เพื่อให้การหมักทั่วถึง

2. ทำให้แห้งเร็ว

3. ไม่จับเป็นก้อนแข็ง ง่ายต่อการนำไปใช้


การทำฮอร์โมนผลไม้

ส่วนผสม

1. มะละกอสุก 2 กก.

2. ฟักทองแก่จัด 2 กก.

3. กล้วยน้ำว้าสุก 2 กก.

4. EM 200 ซีซี หรือ 1 แก้ว หรือ 25 ช้อนโต๊ะ

5. กากน้ำตาล200 ซีซี หรือ 1 แก้ว หรือ 25 ช้อนโต๊ะ

6. น้ำสะอาด 10 ลิตร

หมายเหตุ อาจเพิ่ม นมสด เปลือกไข่


วิธีทำ

1. หั่นมะละกอ ฟักทอง กล้วยทั้งเปลือกและเมล็ดเข้าด้วยกัน ใส่ในถังพิทักษ์โลก หรือถังพลาสติก หรือภาชนะดินเคลือบ

2. ผสม EM กากน้ำตาล ลงในภาชนะใส่น้ำให้ท่วมผลไม้ คลุกให้เข้ากัน ปิดฝา หมักไว้ 7-10 วัน

3. เมื่อเปิดฝาออก ส่วนที่เป็นไขมันเหลืองด้านบน นำไปใช้ทากิ่งตอน กิ่งปักชำ ฯลฯ ช่วยเร่งดีมาก

4. กรองน้ำหรือรินใส่ขวดพลาสติกไว้ใช้ เก็บไว้นาน 3 เดือน


วิธีใช้

1. นำฮอร์โมน 4-5 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 10 ลิตร ฉีด พ่น รด ราด ไม้ผลช่วงติดดอก ก่อนดอกบาน ทำให้ติดผลดี หรือฉีดเร่งการออกดอก บำรุงราก เดือนละครั้ง

2. ใช้กับพืชผักสวนครัว สัปดาห์ละครั้งสลับกับจุลินทรีย์น้ำ