วันที่ 11 ธันวาคม 2555 คณะกรรมการตรวจเยี่ยมประเมินความพร้อมการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอ เพียงสู่สถานศึกษา เข้าตรวจเยี่ยมโรงเรียนบ้านหนองผักชี ต.หนองสิม อ.เนินสง่า จ.ชัยภูมิ
วัตถุประสงค์ของการตรวจเยี่ยมประเมินความพร้อมฯ
- ประเมินความก้าวหน้าของการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่โรงเรียน
- สะท้อนข้อคิดเห็น และเสนอะแนะแนวทางในการขับเคลื่อนสู่ความพร้อมในการประเมินเป็นโรงเรียน ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- รายงานผลการตรวจเยี่ยมประเมินความพร้อมฯ ต่อผู้จัดการโครงการส่งเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่เยาวชน
29/12/55
คณะกรรมการตรวจเยี่ยมประเมินความพร้อมการขับเคลื่อนฯ ของโรงเรียนบ้านหนองผักชี มีดังนี้ครับ
- ผอ.ธนิตา กุลสุวรรณ ผอ.โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร ร้อยเอ็ด
- คุณครูวิไลวรรณ หลาลหนองแสง ครูแกนนำขับเคลื่อนจากโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร
- ผอ.สวัสดิ์ มะลาหอม ผอ.โรงเรียนชุมชนบ้านห้วยค้อมิตรภาพที่ 206
-
ศึกษานิเทศก์ สมเกียรติ ตุงคะเสรีรักษ์ จาก สพป. ชัยภูมิ เขต 3
เราเดินทางไปถึงตั้งแต่ 7:00 น. ตามแผนของ ผอ.พอเพียง ทั้งสองท่าน
เพื่อที่จะสังเกตพฤติกรรมการทำหน้าที่ของนักเรียน เราไม่ผิดหวังครับ
ต่อไปนี้เป็นบันทึกเหตุการณ์โดยย่อเพื่อให้พอเข้าใจในสังเขปครับ
-
นักเรียนทำความสะอาดตามหน้าที่เวรอย่างแขงขัน จาการซักถาม
ทราบว่าเมื่อวานนี้ทางโรงเรียนเพิ่งจะเสร็จสิ้นภาระกิจต้อนรับเพื่อนครูและ
นักเรียนต่างถิ่นกว่าสองร้อยคน
ที่มาร่วมงานแข่งขันในงานนวัตกรรมประจำปีของกระทรวงฯ
วันนี้เป็นวันแรกของการเปิดเรียนหลังจากหยุดไป 7 วันเต็ม
เมื่อฟังดังนั้นผมยิ่งแปลกใจว่า
ทำไมโรงเรียนสะอาดได้อย่างที่แสดงให้เห็นในภาพ ท่าน ผอ. แจ้งเสริมว่า
เมื่อวานนี้ทางกรรมการสถานศึกษาและชาวบ้าน
ได้มาร่วมด้วยช่วยกันในการเก็บกวาดขยะต่างๆ ที่ทาง "แขก" ฝากไว้
ไม่เช่นั้นนักเรียนระดับประถม คงต้องระดมกันทั้งวันเป็นแน่
- ก่อนมีกิจกรรมหน้าเสาธง ผมได้ยินเสียงตามสาย (เครื่องกระจายเสียง) เป็นเสียงเด็กนักเรียนบอกเล่าว่า วันนี้มีคณะกรรมการมาตรวจเยี่ยมประเมินที่โรงเรียน..... กิจกรรมนี้ได้รับคำชมจากคณะกรรมการว่า ดีมาก เพราะนอกจากจะประหยัดกระชับเวลาของกิจกรรมหน้าเสาธงแล้ว ยังเป็นเวทีให้นักเรียนได้ฝึกฝนตนเอง นักเรียนจะได้ทักษะหลายด้านจากกิจกรรมนี้ ซึ่งกิจกรรมเดียวกันนี้ก็มีดำเนินอยู่ในโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ฯเช่นกัน
-
จากการสังเกตของผม นักเรียนยัง "ไม่นิ่ง" มากนัก คือ
ต้องใช้เวลาพอสมควรเพื่อจัดแถวและเงียบสงบลงได้
จนบางแถวคุณครูต้องเดินเข้าไปบอกปรามแบบที่ผม "บอก สั่ง" กิจกรรมหน้าเสาธง
ดำเนินไปตามการนำของประธานนักเรียน บรรยากาศเป็นเหมือนโรงเรียนประถมทั่วไป
ที่ยังควรต้องใส่ใจหรือทำด้วยใจอีกนิดหนึ่ง
เพื่อให้ถึงผลสำเร็จตามเหตุและผลของแต่ละกิจกรรม
มากกว่าการว่าตามหรือท่องจำกันเท่านั้น
- หลังจากร้องเพลงชาติ สวดมนตร์ไหว้พระ รายงานผลการตรวจการทำเวร ครูประจำวันอบรม ฯลฯ ทางโรงเรียนได้จัดให้มีกิจกรรมนั่งสมาธิหน้าชั้นเรียน ซึ่ง อาจเป็นเพราะปิดไปนาน นักเรียนเลยยัง "ไม่นิ่ง" เท่าใดนัก.....แต่ถ้าหากนักเรียนทำเป็นกิจวัตร ทั้งที่โรงเรียนและที่บ้านก็คงดี และคงมีผลกับวินัย สมาธิ และความอดทนของเด็กด้วย....ผมคิดอย่างนั้นครับ
-
หลังจากนักเรียนเข้าชั้นเรียน ทางโรงเรียน โดยผอ.วินัย
ได้นำเสนอการขับเคลื่อนฯ ของโรงเรียน ท่ามกลางกรรมการสถานศึกษา
ผู้อำนวยการโรงเรียนเครือข่ายที่ไปขับเคลื่อน ผู้บริหารชุมชน
ผู้บริหารท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน ฯลฯ ...... ความร่วมมือกับชุมชน ท้องถิ่น
และหน่วยงานภายนอก นับเป็นจุดเด่นสำคัญหนึ่ง ที่เป็น Best ได้ครับ
- ต่อไปนี้เป็นคำสำคัญที่ผมโน็ตไว้จากการนำเสนอของท่าน ผอ. วินัย ครับ .......เน้นการบูรณาการในกลุ่มสาระต่างๆ ต้องวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ เน้นการพูดคุยมีส่วนร่วม เด็กเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอยู่นอกห้องเรียน กิจกรรม 5ห้องชีวิต เนรมิตรนิสัยพอเพียง สำหรับครูต้องนำมาใช้ในการเตรียม ตัวสอน ทำอะไรอย่าอยู่ในความประมาท เมื่อวานทานข้าวกันอยู่ตรงนี้ กิจกรรมเข้าแถวหน้าเสาธง ครูต้องสร้างความมั่นใจ ฐานการเรียนรู้ ถ้าครูบอกว่าต้องการ เราคือผู้อำนวยการต้องอำนวยเต็มที่ เมื่อสอนแล้วให้นำไปใช้จึงจะยั่งยืน ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องแต่งตัว ห้องครัว และห้องทำงาน เด็กทำเป็นวิถีชีวิตพอเพียง เรากำลังเริ่มดำเนินการใช้อยู่ มีระบบเยี่ยมบ้าน สร้างเงื่อนไขการเสริมแรง เชื่อมโยงที่บ้าน เรากำลังทำคู่มือ ผอ.ถ่ายทอดสู่ครูจะรู้ไปถึงนักเรียนเอง พยายามใช้ฐานการเรียนรู้ กรรมการสถานศึกษามีส่วนร่วมตลอด โดยเฉพาะประธานกรรมการสถานศึกษา วันที่ 31 เรากำลังจะทำผ้าป่าวันที่ 31 นี้ อาจารย์สุบรรณ สอนศิลปะ เป็นกำลังสำคัญทางกายภาพ โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม นายอำเภอนำชาวบ้านมาอบรมเรื่อง ปศพพ. ผอ.เป็นวิทยากร เรามีฐานการเรียนรู้ทั้งหมดแปดฐาน โดยเฉพาะห้องน้ำเราถือว่าเป็นหัวใจ สาธารณสุขจังหวัดมาทำโครงการห้องน้ำ ต่อมาโครงการแฮ็ก ทำส้วมสุขสรรค์ ที่เข้าประกวดต่างถืออยากกระตุ้น ท่านนายกนำไปทำโครงการสุขภาวะ....
-
ต่อจาก
น้้น นักเรียนแกนนำได้นำคณะกรรมการเดินดูตามฐานการเรียนรู้ต่างๆ
ซึ่งมีมากมายหลายฐาน ที่เป็นจุดเด่นที่สุด คือ ห้องสุขา ตามที่ท่าน
ผอ.ได้นำเสนอไว้
- หลังจากรับประทานอาหารเที่ยง เราได้ประชุมกันอีกครั้ง เพื่อสะท้อนและให้ข้อเสนอแนะต่อทางโรงเรียน เพื่อพัฒนาต่อไป (อ่านผลการตรวจเยี่ยมและข้อเสนอแนะในส่วนของผลสำเร็จของกิจกรรม)
Best Practice จากโรงเรียนบ้านหนองผักชี
- ห้องสุขาที่สะอาด สวยงาม..... ผมสังเกตว่า นักเรียนและทุกคนภูมิใจ และมีความสุขเมื่อได้นำเสนอว่า มีการจัดการห้องสุขาของโรงเรียนอย่างไร นักเรียนขยัน เต็มใจที่ได้รับผิดชอบหน้าที่ทำความสะอาดห้องสุขา ผมคิดว่ามีปัจจัยที่ทำให้ห้องสุขาของโรงเรียนบ้านหนองผักชีนั้นดีที่สุดที่ เคยเห็นมา คือ ผอ. และ ครูแกนนำนั้นเต็มที่ โดยเฉพาะทั้งสองท่าน เป็นครูสอนศิลปะมาก่อน การทำสิ่งที่ถนัดอย่างเต็มที่ และสม่ำเสมอ จนเกิด ทำให้มีผลงานปรากฎสมกับรางวัลต่างๆ ที่ได้มา ความสำเร็จนี้ได้แผ่สู่ไปครูทุกคนและนักเรียนรุ่นแล้วรุ่นเล่า จนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรไปแล้ว
- เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับ ชุมชน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฯ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ปกครอง และ โรงเรียนภายนอกอื่นๆ ที่ได้รับการถ่ายทอดขยายผล..... ผมคิดว่า ปัจจัยของจุดเด่นด้านนี้น่าจะเป็น วิถีและวิธีของ ผอ.วินัย ที่ท่านทำงานแบบขยัน มุ่งมั่น จนชนะใจใครๆ จากหน่วยงานต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น
-
การจัดตกแต่างทางกายภาพและสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน
เพื่อให้เอื้อต่อการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการศึกษา
หากใช้วิธีการถาม กระตุ้นให้คิดและเชื่อมโยงกับ สิ่งต่างๆ
ที่จัดไว้อย่างดีเหล่านี้แล้ว ความรู้ความเข้าในและแรงบันดาลใจ
ย่อมเกิดแน่นอน
ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะสำหรับการขับเคลื่อน เติมเต็ม
-
นักเรียนชั้น ป.1 ป. 2 กลุ่มที่ปรากฎดังภาพด้านล่างนี้
ประทับใจคณะกรรมการมาก พวกเขาเกิดอุปนิสัยพอเพียง และมีความมั่นใจ กล้าคิด
กล้าพูด แล้ว ทางโรงเรียนควร ถอดบทเรียนจากครูประจำชั้น
ว่าขับเคลื่อนสู่นักเรียนอย่างไร จึงเกิดผลสำเร็จได้
-
นักเรียนแกนนำรู้และเข้าใจ และได้นำหลักปรัชญาฯ
ไปใช้กับการเรียนรู้ของตนผ่านฐานการเรียนรู้ต่างๆ พอสมควร
แต่จำนวนนักเรียนที่สามารถถ่ายทอดและขยายผลได้ชัดเจน ยังมีจำนวนไม่มากนัก
นั่นคือ หากเปรียบกับเกณฑ์ก้าวหน้า 5 ระดับ
ส่วนที่ต้องเร่งปรับปรุงคือการขยายผลให้มีจำนวนนักเรียนที่เกิดอุปนิสัยมาก
ขึ้น นอกจากนี้แล้ว นักเรียนแกนนำยังไม่สามารถอธิบายการนำหลักปรัชญาฯ
ไปใช้ในแต่ละขั้นตอนของการทำงานที่ตนรับผิดชอบได้ชัดเจนนัก ควรเพิ่มเติม
หรือปรับเปลี่ยนแนวการถอดบทเรียน เป็นดังนี้
- พิจารณาว่า เรานำหลักปรัชญาฯ ไปใช้อย่างไร ในขั้นตอนใด หรือ ในขั้นตอนนั้นๆ เราได้ใช้หลักปรัชญาอย่างไร แทนที่จะถอดบทเรียนในรูปแบบ (คือถอดบทเรียนสู่ 3 ห่วง 2 เงื่อน 4 มิติ) เท่านั้น...... ความจริง ผมเรียนรู้จากหลายท่านว่า นักเรียนระดับชั้น ป.1-ป.6 นั้น คณะกรรมการอาจไม่ได้คาดหวังว่า จะสามารถตีความหรือพิจารณาตามแบบที่กล่าวมานี้ได้อย่างชัดเจน
- ถอดบทเรียนในมิติของเวลา ก่อนกระทำ ระหว่างทำ และ หลังจากกระทำ ของขั้นตอนและวิธีการต่างๆ ที่นักเรียนทำ
-
ผอ.และครู ใช้คำถามกระตุ้น อย่างไม่เป็นทางการ ไม่มีรูปแบบ เช่น
ถามว่าทำอะไรอยู่ ทำไมต้องทำ เมื่อเห็นนักเรียนกำลังทำสิ่งนั้นอยู่
เป็นต้น
- โรงเรียนมีฐานการเรียนรู้ต่างๆ ที่เชื่อมโยง ทั้งการจัดการเรียนการสอนและเชื่อมโยงกับชีวิตได้ดีมาก แต่เมื่อสังเกตจากฐานการเรียนรู้ต่างๆ แล้ว ผมยังมีข้อสงสัยว่า เป็นกิจกรรมที่ทำอย่างสม่ำเสมอ ยั่งยืน หรือไม่ ร่องรอยของการฝึกฝน ปลูกฝังบ่มเพาะความรับผิดชอบ และวินัย (และคุณธรรมพื้นฐานอื่นๆ) ยังไม่ชัดเจนนัก และเมื่อสังเกตจากนักเรียนส่วนใหญ่ด้วยแล้ว.... ก็คงต้องฝากไว้กับท่าน ผอ. และครูทุกท่าน ให้ช่วยกันขับเคลื่อนต่อไปครับ.... อีกไม่ไกลเกิน
จาการสนทนากับท่าน ผอ.วินัย และคุณครูคู่ใจท่าน โจทย์ของท่านยากกว่า
ผอ.อื่นๆ มากโขทีเดียวครับ แต่หากเทียบเป็นระยะทางเดิน
ท่านเกือบมาถึงเส้นชัยแล้วจริงๆ ครับ
ด้วยความเคารพอย่างสูง
ฤทธิไกร