กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ เดินตามรอยพ่ออยู่อย่างพอเพียง
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

โรงเรียน ห้วยยอดคัดเลือก "โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ เดินตามรอยพ่ออยู่อย่างพอเพียง" ขึ้นมาเป็นโครงการเด่น เพื่อเป็นตัวอย่างและแนวทางแก่นักเรียนและผู้สนใจโดยทั่วไป 

วัตถุประสงค์

1.เพื่อพัฒนาผู้บริหาร ครู บุคลากร ให้มีความรู้ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่

2.เพื่อ พัฒนานักเรียน ให้มีความรู้ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ มีทักษะกระบวนการคิดและกระบวนการทำงาน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3.เพื่อ ส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักกระบวนการจัดการกับผลผลิต เพื่อให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าสูงสุด และนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ไปประยุกต์ใช้ในชีวิต ประจำวันและเผยแพร่สู่ครอบครัวและชุมชน

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

1.ขั้นวางแผน

1.1 แต่ง ตั้งคณะกรรมการเพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นในการดำเนินงาน และประชุมคณะกรรมการเพื่อวิเคราะห์นโยบายของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง

1.2 เตรียม การด้านบุคลากร งบประมาณ อาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยีแหล่งเรียนรู้ พร้อมกับประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและให้การสนับสนุน

1.3 สำรวจแหล่งเอกสาร สื่อ นวัตกรรม ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตไว้ให้เพียงพอกับ ครู นักเรียน บุคลากรและผู้เกี่ยวข้อง


 

2. ขั้นดำเนินการ

2.1 อบรม สัมมนาครูและบุคลากรให้มีความรู้-เข้าใจหลักคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และหลักการเกษตรทฤษฎีใหม่

2.2 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการ ประกอบด้วยฝ่ายวิชาการ ฝ่ายงบประมาณ ฝ่ายบุคลากร และฝ่ายบริหารทั่วไป

2.3 ขับเคลื่อนกิจกรรมเกษตรทฤษฎีใหม่

(1) เตรียมสถานที่ และจัดซื้อครุภัณฑ์จัดทำสิ่งก่อสร้าง จัดซื้อจัดหาพันธุ์พืชและพันธุ์ปลามาเลี้ยง

(2) ทำตารางการดูแลบำรุงรักษา โดยมอบหมายครู บุคลากร นักเรียนรับผิดชอบดูแลบำรุงรักษา โดยมีกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยีเป็นหลักในการทำงาน

(3) ดำเนินการผลิตปุ๋ยใช้เอง โดยใช้วัสดุในท้องถิ่นและเศษวัสดุในโรงเรียน

(4) ทำนาข้าวสาธิตได้แบ่งที่ดินเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ไว้เพื่อทำนาปลูกข้าวเจ้าปีละ 2  ครั้ง เพื่อให้นักเรียนเห็นกระบวนการทำนาข้าว การบำรุงรักษาและการเก็บเกี่ยวตลอดถึงแปรรูปเป็นข้าวสาร

(5) นักเรียน ครู บุคลากร นำผลผลิตไปดำเนินการ โดยการส่งป้อนโรงครัวอาหารกลางวัน จำหน่ายแก่ครู บุคลากร จำหน่ายบุคคลทั่วไปและจัดตลาดนัดนักเรียน เพื่อจำหน่ายผลผลิตเดือนละ 2 ครั้ง
 
3. ขั้นตรวจสอบ

3.1 ติดตามการปฏิบัติงาน ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ โดยฝ่ายบริหาร

3.2 สำรวจความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง


4. ขั้นปรับปรุง

สรุป ผลงานเพื่อพัฒนาปรับปรุงใช้ในปีต่อไป ปรับปรุงข้อผิดพลาด เพื่อพัฒนาโครงการให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้เป็นโครงการที่มั่นคงและยั่งยืน สนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2549 - 31 พฤษภาคม 2550

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม

- นักเรียน ครู บุคลากร ได้เรียนรู้และลงมือปฏิบัติในหลักการของเกษตรทฤษฎีใหม่และจัดสรรแบ่งพื้นที่ ในโรงเรียนให้สอดคล้องกับหลักทฤษฎีใหม่ โดยยืดหยุ่นไปตามสภาพจริง
  - โรงเรียนได้กรอบแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนำมาบริการสถานศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้ดี และมีความสุข รวมทั้งมีร้านจำหน่ายผลผลิตนักเรียน ตลาดนัดนักเรียน เป็นศูนย์การเรียนรู้ของโรงเรียนต่างๆ ทั้งในและนอกเขตพื้นที่การศึกษา บริการชุมชนได้มาฝึกปฏิบัติจริง เป็นโรงเรียนต้นแบบปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่สมบูรณ์

เงื่อนไขความสำเร็จ

1.ผู้บริหาร ครู บุคลากรเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่

2.นักเรียนสามารถปฏิบัติกิจกรรมเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยใช้กระบวนการคิดวางแผนกระบวนการทำงาน การสรุปประเมินผลงานอยู่ในขั้นดี

3.นักเรียนสามารถใช้ผลผลิตได้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

4.โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงานด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ