การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความ สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และยึดถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็ม ศักยภาพ
โครงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้วยความคิดชาญฉลาดด้วยยุทธศาสตร์ห้วยยอดโมเดล
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ครูพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลเข้าสู่มาตรฐาน
เพื่อให้ครูจัดกระบวนการเรียนรู้ให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามความถนัดและความสนใจ
เพื่อให้ครู ผู้ปกครอง นักเรียนมีส่วนร่วมในการปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน โดยใช้สื่อและนวัตกรรมเป็นตัวช่วย
เพื่อให้ครูมีระบบการสอนซ่อม สอนเสริม สอบซ่อม สอบเสริมที่หลากหลายในทุกรายวิชา
เพื่อให้ครูมีสื่อเทคโนโลยีอย่างพอเพียงต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้
เพื่อให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 2 ทุกรายวิชา
เป้าหมาย
ด้านปริมาณ
นักเรียนโรงเรียนห้วยยอดทุกคน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 2 ทุกรายวิชา
ด้านคุณภาพ
ครูมีระบบการวัดและประเมินผลที่มีมาตรฐาน
ครูมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ สนองความถนัดความสนใจของผู้เรียน
นักเรียนมีสื่อและนวัตกรรมช่วยให้เกิดการเรียนรู้เต็มความสามารถ เต็มศักยภาพ ด้วยความร่วมมือของครูและผู้ปกครอง
ครูมีระบบการสอนซ่อม สอนเสริม สอบซ่อม สอบเสริมที่หลากหลาย เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
ครูมีสื่อและเทคโนโลยีในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างพอเพียง
นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นอยู่ในระดับดี
ขอบเขตโครงการ
ขั้นวางแผน
1. วิเคราะห์ปัญหาโดยเก็บข้อมูลการรักษาและประเมินผลย้อนหลัง ปีการศึกษา 2547 และ 2548
2. วางแผนการดำเนินงานโดยใช้กระบวนการ การมีส่วนร่วมศึกษาวิเคราะห์พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตร 6 มาตรา 22 มาตรา 23 และมาตรา 26 เพื่อปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้และกระบวนการวัดและประเมินผลให้ประสานสอดคล้องกัน
3. ศึกษามาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านผลผลิตและเน้นมาตรฐานที่ 5 เป็นพิเศษ โดยอ้างอิงเป้าหมายของสำนักงานประเมินผลและรับรองมาตรฐานการศึกษาชาติ (สมศ.)
ขั้นดำเนินการ
1. ศึกษาหลักสูตร วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้
2. อบรมครูเรื่องเทคนิคการวัดผลและประเมินผลด้วยวิธีการวัดผลที่หลากหลาย มุ่งเน้นวัดเพื่อการพัฒนาปรับปรุงการเรียนการสอน
3. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ใช้สื่อ ICT
4. ปรับการเรียนเปลี่ยนวิธีสอนและวิธีการวัดผล โดยมีแผนที่ความคิดด้านการวัดและประเมินผลที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถเติมเต็มศักยภาพและความสามารถ โดยผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีสิทธิ์ทำการทดสอบหลาย ๆ ครั้งจนได้คะแนนเป็นที่พอใจ ทั้งคะแนนรายจุดประสงค์ การสอบระหว่างภาค การสอบปลายภาค ทุกช่วงชั้น
5. จัดกระบวนการเร่งรัดคุณภาพผู้เรียน โดยจัดสอบปรับหรือซ่อมสำหรับนักเรียนที่มีผลการเรียนต่ำกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ของการทดสอบแต่ละครั้งและจัดสอนเสริมสำหรับนักเรียนที่มีผลการเรียนสูงกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ให้ได้สูงยิ่งขึ้นจนเต็มศักยภาพ
ขั้นตรวจสอบ
1. ติดตามประเมินผล นักเรียนรายบุคคลระดับห้องเรียนระดับชั้นเรียน
2. ศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครอง โดยรายงานผลการเรียนอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง นักเรียนรายใดมีผลการเรียนไม่ถึง 2 ในรายวิชาใดทางโรงเรียนจะเรียนเชิญผู้ปกครองมาพบเพื่อการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาผลการเรียน
ขั้นปรับปรุง
1. ปรับปรุงพัฒนาและวิเคราะห์โครงการ
2. ประเมินโครงการ
การวิเคราะห์การใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
C หลักความพอประมาณ
- พอประมาณกับเวลาที่ใช้ดำเนินกิจกรรมตั้งแต่เตรียมการ จัดทำ และสรุปประเมินผล
- พอประมาณกับความสามารถของครู ผู้ปกครอง และนักเรียน ที่จะช่วยกันดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- พอประมาณกับวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆที่ต้องใช้ในการซ่อมและเรียนเสริม
C หลักความมีเหตุผล
- เป็นการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- พัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบรูณ์
- ยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้
- การสร้างนักเรียนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
- เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครบทุกคน
- เพื่อให้นักเรียนสามารถศึกษาต่อระดับสูงได้มากขึ้น
C หลักภูมิคุ้มกัน
- มีการตั้งกรรมการดำเนินงานและเตริยมจัดกิจกรรมเป็นอย่างดี
- มีการประชุมปรึกษาหารืออย่างเสมอ
- มีการประสานงานกับกลุ่มเป้าหมาย ครู ผู้ปกครอง ชุมชน และผู้เกี่ยวข้อง
- มีการประเมินการทำงานเป็นระยะแล้วนำผลมาใช้ปรับปรุงการทำงานต่อไป
- มีการประเมินการทำงาน สรุปงาน แล้วนำผลมาใช้ปรับปรุง วางแผนการทำงานครั้งต่อไป
C เงื่อนไขคุณธรรม
- ความรับผิดชอบในหน้าที่ของครูและนักเรียน
- ประหยัดการใช้งบประมาณ วัสดุอย่างคุ้มค่า
- ความขยันอดทน รู้จักแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
- สร้างความสำนึกให้นักเรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
C เงื่อนไขความรู้
- บริหารงานบุคคลให้ตรงกับความรู้ความสามารถ
- องค์ความรู้ที่ได้รับด้านการจัดการเรียนการสอนของครู
- รู้วิธีการฝึกทักษะให้นักเรียนรู้จักคิดวิเคราะห์
- ความรู้ด้านการประสานงาน
- ความรู้ด้านการสรุปงานประเมินผลงาน
- องค์ความรู้ที่ได้รับจากการจัดโครงการสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
นำสู่สมดุลอย่างมั่นคงและยั่งยืนใน 4 มิติ คือ
C สังคม
- การจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรจะทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานการเรียนรู้สามารถที่นำความรู้ไปใช้ในการศึกษาต่อเพื่อทำประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น
C เศรษฐกิจ
- การจัดการเรียนเสริมทำให้ให้นักเรียนใช้จ่ายอย่างประหยัดไม่ต้องสิ้นเปลืองกับการเรียนพิเศษ
- นักเรียนนำความรู้ไปใช้ในการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ
- นักเรียนทุกคนจบการศึกษาขั้นพื้นฐานตามเวลาที่กำหนด เป็นการช่วยประหยัดเศรษฐกิจของครอบครัว
C สิ่งแวดล้อม
- เป็นกิจกรรมที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
- รักษาระบบนิเวศน์ภายในโรงเรียน ลดมลภาวะเป็นพิษทางอากาศ
- รักษาสภาพแวดล้อม สร้างจิตสำนึกรักสิ่งแวดล้อมให้นักเรียน
C วัฒนธรรม
- ส่งเสริมวัฒนธรรมไทยในเรื่องการทำงานร่วมกัน
- สร้างความสัมพันธ์ระหว่าง นักเรียนกับผู้ปกครอง
- ครู ผู้ปกครอง นักเรียนมีส่วนร่วมในการปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนของนักเรียน
- ครูมีระบบการสอนซ่อม สอนเสริม สอบซ่อม สอบเสริมที่หลากหลายในทุกรายวิชา
- ครูมีสื่อเทคโนโลยีอย่างพอเพียงต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้
- นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 2 ทุกรายวิชา