กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
โครงการค่ายวิชาการ
ความเป็นมา วัตถุประสงค์
กิจกรรมค่ายวิชาการ เป็นกิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระเพื่อ ต้องการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเพิ่มแนวทางในการศึกษาเรียนรู้ของนักเรียน ที่ครูและนักเรียนร่วมกันกำหนดเรื่องราวที่จะจัดกิจกรรมค่ายให้สอดคล้องกับ มาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระ โดยยึดถือความแตกต่างระหว่างบุคคล และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็ม ศักยภาพ การจัดกระบวนการเรียนรู้ ต้องสอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล การพัฒนาประเทศให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก ต้องพัฒนาคนของประเทศเป็นสำคัญ โดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือของการพัฒนา และมุ่งให้เยาวชนของชาติมีภูมิคุ้มกันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวโดยนำ แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริมาใช้ในการสร้างภูมิคุ้มกัน

1. หลักการและเหตุผล
การเรียนการสอนในยุคปฏิรูปการเรียนรู้ ครูผู้สอนต้องปฏิบัติตามแนวของกฎหมายที่เกี่ยวกับการศึกษา 2 ฉบับ คือพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2554 ที่ระบุว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักที่ว่าผู้เรียนทุกคนมีคนมีความสามารถ เรียนรู้และพัฒนาตัวเองได้ ถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ตาม ธรรมชาติและเต็มศักยภาพ (มาตรา 22) ส่วนเนื้อหาสาระของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นั้นต้องเน้นกระบวนการ ที่ให้เกิดการพัฒนาความรู้ พัฒนาด้านคุณธรรม และจะต้องมีการบูรณาการความรู้ระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ตามความเหมาะสม ของแต่ละช่วงชั้น (มาตรา 23) เนื้อหาสาระและกิจกรรมของรายวิชาที่จัดในกระบวนการเรียนรู้จะต้องสอดคล้อง กับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล อีกทั้งสถานศึกษาต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ อีกทั้งจัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นทุกเวลาทุกสถานที่ (มาตรา 24) ส่วนกฎหมายอีกฉบับหนึ่งคือหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2554  ที่ได้มีการกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้รายภาค และสาระการเรียนรู้ของแต่ละช่วงชั้นไว้ สถานศึกษาต้องกำหนดโครงสร้างที่เป็นสาระการเรียนรู้ จำนวนเวลาไว้โดยกว้างๆ มาตรฐานการเรียนรู้ที่แสดงคุณภาพของผู้เรียนเมื่อครบ 12 ปี และเมื่อจบหลักสูตรการเรียนรู้แต่ละช่วงชั้นของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ สถานศึกษาต้องนำโครงสร้างดังกล่าวไปจัดทำหลักสูตรสถานการศึกษา  โดยคำนึงถึงสภาพปัญหา ความพร้อม เอกลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สถานศึกษาต้องจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นฝึกทักษะกระบวนการคิด การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้ป้องกันและแก้ปัญหา จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็นทำเป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง ผสมผสานความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน ปลูกฝังคุณธรรมค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ อำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีความรอบรู้ รวมทั้งความสามารถในการใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบานการเรียนรู้ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ จะต้องนำเอาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กระบวนการคิดและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สอดแทรกเข้าไปในการเรียนการสอนใน ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และก้าวสู่สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ ประชาคมอาเซียน/ประชาคมโลกเพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือทาง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และการบริหาร ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาคส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียน กับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ
กิจกรรมค่ายวิชาการ เป็นกิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระเพื่อ ต้องการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเพิ่มแนวทางในการศึกษาเรียนรู้ของนักเรียน ที่ครูและนักเรียนร่วมกันกำหนดเรื่องราวที่จะจัดกิจกรรมค่ายให้สอดคล้องกับ มาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระ  โดยยึดถือความแตกต่างระหว่างบุคคล  และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้  กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็ม ศักยภาพ  การจัดกระบวนการเรียนรู้  ต้องสอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดของผู้เรียน  โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล  การพัฒนาประเทศให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก ต้องพัฒนาคนของประเทศเป็นสำคัญ โดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือของการพัฒนา และมุ่งให้เยาวชนของชาติมีภูมิคุ้มกันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวโดยนำ แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริมาใช้ในการสร้างภูมิคุ้มกัน

2. วัตถุประสงค์
2.1  ผลผลิต  (OUTPUT)

จัดกิจกรรมนอกตารางเรียนให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะ  สามารถคิดวิเคราะห์ และสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์  คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์จากกิจกรรมการเรียนรู้ ตามหลักคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 
2.2  ผลลัพธ์  (OUTCOME)
จัดกิจกรรมนอกตารางเรียนให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะ  สามารถคิดวิเคราะห์ และสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์  คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์จากกิจกรรมการเรียนรู้ ตามหลักคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ที่จำเป็นตามหลักสูตร  นักเรียนทุกคนเข้ากิจกรรมอย่างน้อย  1  กิจกรรม

3. เป้าหมาย
3.1 ด้านปริมาณ

นักเรียน โรงเรียนห้วยยอด  จำนวน 2,777 คน เข้าร่วมโครงการ
3.2 ด้านคุณภาพ
3.2.1  ให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
3.2.2  ให้นักเรียนเกิดทักษะในการแสวงหาความรู้
  3.2.3  นักเรียนมีความสุขในการเข้าค่ายตามความต้องการของตนเอง
3.2.4  นักเรียนเกิดทักษะในการทำงานและอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ
3.2.5  นักเรียนเกิดการเรียนรู้จากสภาพจริง

วิเคราะห์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

หลักความพอประมาณ

  • พอประมาณกับเวลาที่ใช้ดำเนินกิจกรรมตั้งแต่เตรียมการ จัดทำ และสรุปประเมินผล
  • พอประมาณกับความสามารถของครู ผู้ปกครอง และนักเรียน ที่จะช่วยกันดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • พอประมาณกับวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆที่ต้องใช้ในการซ่อมและเรียนเสริม
  • พอประมาณกับสภาพความแตกต่างระหว่างบุคคล

หลักการมีเหตุผล

  • เป็นการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • พัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบรูณ์
  • ยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้
  • การสร้างนักเรียนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
  • เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความสามารถศึกษาต่อระดับสูงได้มากขึ้น

 

หลักภูมิคุ้มกัน

  • ต้องมีการตั้งกรรมการดำเนินงานและเตรียมจัดกิจกรรมเป็นอย่างดี
  • ต้องมีการตั้งกรรมการดำเนินงานรับผิดชอบด้านต่างๆให้ชัดเจน
  • ต้องมีการประชุมปรึกษาหารืออย่างเสมอ
  • ต้องมีการประสานงานกับกลุ่มเป้าหมาย ครู ผู้ปกครอง ชุมชน และผู้เกี่ยวข้อง
  • มีการประเมินการทำงานเป็นระยะแล้วนำผลมาใช้ปรับปรุงการทำงานต่อไป
  • มีการประเมินการทำงาน สรุปงาน แล้วนำผลมาใช้ปรับปรุง วางแผนการทำงานครั้งต่อไป

เงื่อนไขคุณธรรม

  • มีความรับผิดชอบในหน้าที่ของครูและนักเรียน
  • ประหยัดการใช้งบประมาณ วัสดุอย่างคุ้มค่า
  • ความขยันอดทน ประหยัด
  • สร้างความสำนึกให้นักเรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

เงื่อนไขความรู้

  • องค์ความรู้ที่ได้รับด้านการจัดการเรียนการสอนของครู
  • ความรู้ฝึกทักษะให้นักเรียนรู้จักคิด วิเคราะห์  และความรู้ด้านการประสานงาน
  • ความรู้ด้านการสรุปงานประเมินงาน


กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

  • โรงเรียนจัดฐานการเรียนรู้ ตามหลักคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  • ครูทุกกลุ่มสาระสามารถจัดแผนการจัดการเรียนรู้ตามที่ได้รับมอบหมาย เป็นไปตามหลักสูตรสถานศึกษา  จัดการเรียนรู้บูรณาการตามหลักคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 
  • นักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้ฐานการเรียนรู้ ตามหลักคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  • โรงเรียนเป็นศูนย์การเรียนรู้และศึกษาดูงาน  ตามหลักคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการจัดการศึกษา  จากฐานการเรียนรู้  ทั้งในและนอกเขตพื้นที่การศึกษา


"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ