กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
โครงการขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

   โรงเรียนห้วยยอดน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นหลักคิดในการพัฒนาการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้ เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนห้วยยอดสู่มาตรฐานสากล

­

1. หลักการและเหตุผล
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ชี้ให้เห็นถึงการพัฒนาคุณภาพคน ทั้งความรู้คู่คุณธรรม สังคม มั่นคงเป็นธรรม มีพลังและเอื้ออาทร เน้นการผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ  สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนาเยาวชนของชาติ โดยมุ่งส่งเสริมผู้เรียนให้มีคุณธรรม รักความเป็นไทย มีทักษะการคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ มีทักษะด้านเทคโนโลยี สามารถทำงาน ร่วมกับผู้อื่นและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสันติ เป็นไปตามเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.  2542  และที่แก้ไขเพิ่มเติม  (ฉบับที่  2)  พ.ศ.  2545  ที่มีจุดมุ่งหมายพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี คนเก่งและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข อีกทั้งเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ การศึกษา (องค์การมหาชน) และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์อยู่อย่างพอเพียง สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขในฐานะเป็นพลเมืองไทยและ พลโลก  โรงเรียนห้วยยอดจึงน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวเป็นหลักคิดในการพัฒนาการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนห้วยยอดสู่มาตรฐานสากล

2. วัตถุประสงค์
2.1  ผลผลิต  (OUTPUT)
2.1.1  เพื่อให้โรงเรียนจัดการบริหารการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2.1.2  เพื่อให้นักเรียน ครู ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2.1.3  เพื่อขยายหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่โรงเรียนเครือข่าย
2.1.4  เพื่อให้ชุมชนเข้ามีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชีวิตอยู่อย่างพอเพียง
2.2  ผลลัพธ์  (OUTCOME)
เพื่อให้นักเรียนเป็นคนดี คนเก่งและมีความสุข


3. เป้าหมาย
3.1 ด้านปริมาณ

3.1.1 นักเรียน ครู ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาร้อยละ  90
3.1.2 หน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาศึกษาดูงาน จำนวน  20  หน่วยงาน
3.1.3 ชุมชน จำนวน  5  ชุมชน
3’14 หน่วยงานภายนอกเข้าร่วมส่งเสริมสนับสนุน จำนวน  4  หน่วยงาน
3.2 ด้านคุณภาพ
3.2.1 นักเรียน ครู ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษามีวิถีชีวิตอยู่อย่างพอเพียง
3.2.2 นักเรียนเป็นคนเก่ง คนดีและมีความสุข
3.2.3 โรงเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินสู่มาตรฐานการศึกษาของสำนักงานรับรองมาตรฐานและ ประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) และมาตรฐานสากล

วิเคราะห์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
หลักความพอประมาณ

- พอประมาณกับการจัดงาน/กิจกรรม
- พอประมาณกับงบประมาณ
- พอประมาณกับวัสดุอุปกรณ์
- พอประมาณกับเวลาในการดำเนินงาน
หลักการมีเหตุผล
- พัฒนานักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีวิถีชีวิตอยู่อย่างพอเพียง
- พัฒนาโรงเรียนตามมาตรฐานการศึกษาของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) และมาตรฐานสากล
หลักภูมิคุ้มกัน
- นักเรียนเป็นคนดีและมีความสุข
- มีการวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ
- มีการประเมินการทำงานเป็นระยะแล้วนำผลมาใช้ปรับปรุงการทำงานครั้งต่อไป
- มีการประเมินการทำงานสรุปงานแล้วนำผลมาใช้ปรับปรุง วางแผนการทำงานครั้งต่อไป
เงื่อนไขคุณธรรม
- มีความรับผิดชอบตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
- รู้จักประหยัดใช้งบประมาณและวัสดุอย่างคุ้มค่า
- สร้างวิถีชีวิตพอเพียง
เงื่อนไขความรู้
- มีความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- มีความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.  2542  และที่แก้ไขเพิ่มเติม  (ฉบับที่  2)  พ.ศ.  2545
- มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการศึกษาของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
- มีความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
  นำสู่สมดุลอย่างมั่นคงและยั่งยืนใน 4 มิติ คือ
สังคม

- ร่วมคิด ร่วมทำ
- ขยายโรงเรียนเครือข่าย
- ประสานชุมชน
เศรษฐกิจ
- ใช้งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์อย่างพอประมาณ
สิ่งแวดล้อม
- สร้างศูนย์การเรียนรู้อนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม
วัฒนธรรม
- ส่งเสริมการทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข
- สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครู นักเรียน ผู้ปกครอง โรงเรียนเครือข่ายและชุมชน

­

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

6/6/55

ประชุม เชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนประสบการณ์บริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาเพื่อความยั่งยืน เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้

ในวันที่ 27-28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 
ณ ศูนย์ประชุมธนาคารไทยพาณิชย์ หาดตะวันรอน จังหวัดชลบุรี

นายสม จริง อินทรักเดช ผู้อำนวยการโรงเรียนห้วยยอด นางสาวสุนีย์ พาณิชย์ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงานวิชาการ นายอุทัย ศรีเทพ ปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการโรงเรียนฝ่ายสัมพันธ์ชุมชน นายสุทธิรัตน์ เสนีชัย นางจรวยพรรณ เย่าเฉื้อง นางสาวการกวิน ศรีเทพ และนายวิชัย ขันตี ครูโรงเรียนห้วยยอด เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนประสบการณ์บริหารจัดการศูนย์การ เรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาเพื่อความยั่งยืน เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ พร้อมทั้งร่วมกันพัฒนาวิธีการสร้างเครือข่ายขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในแต่ ละภูมิภาคให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน ในวันที่ 27-28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ณ ศูนย์ประชุมธนาคารไทยพาณิชย์ หาดตะวันรอน จังหวัดชลบุรี โดยมี ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ หัวหน้าโครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล คุณศศินี ลิ้มพงษ์ ผู้จัดการโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง เป็นกระบวนกรประชุมเชิงปฏิบัติการ

2/10/55

 1 ตุลาคม 2555 โรงเรียนห้วยยอดร่วมกับศูนย์ประสานงานเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนจังหวัด ตรังนิเทศติดตามโรงเรียนวชิรธรรมสถิตอย่างเป็นกัลยาณมิตรเพื่อการพัฒนาเป็น ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยผอ.สมจริง อินทรักเดช ประธานศูนย์ประสานงานเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนจังหวัดตรัง อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนห้วยยอด ให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง นายสุทธิรัตน์ เสนีชัย นางวิฬาวัลย์ สีสุข และนางสาวบุษบา ชูคำ ครูโรงเรียนห้วยยอดจัดทำข้อมูลพื้นฐานเพื่อการพัฒนา นางจรวยพรรณ เย่าเฉื้อง ครูโรงเรียนห้วยยอด และนายสถาพร พันธุ์ประดิษฐ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนจังหวัดตรัง ถอดบทเรียนนักเรียนพอเพียง  

24/10/55

นาง จรวยพรรณ เย่าเฉื้อง ครูโรงเรียนห้วยยอด และนายสถาพร พันธุ์ประดิษฐ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนจังหวัดตรัง
ให้การนิเทศการออกแบบการจัดการเรียนรู้ครูโรงเรียนรัษฎาเพื่อเตรียมการถอดบทเรียนเวทีครู
โดยมีนายสาคร เย่าเฉื้อง ผู้อำนวยการโรงเรียนรัษฎาให้การโฮมรูมเพิ่มเติม ในวันที่ 23 ตุลาคม 2555 ณ โรงเรียนรัษฎา

25/10/55

       ศูนย์ประสานงานเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนจังหวัดตรัง นำทีมโดยนายสถาพร พันธุ์ประดิษฐ ผู้อำนวยการศูนย์ พร้อมด้วยนายสมโชค คชแก้ว รองผู้อำนวยการศูนย์ นายอภิสิทธิ์ ศรนิรันด์ และนายอรรถชัย เอี่ยมอักษร กรรมการศูนย์ ศิษย์เก่าโรงเรียนห้วยยอด พร้อมด้วยนางจรวยพรรณ เย่าเฉื้อง ครูโรงเรียนห้วยยอด ถอดบทเรียนนักเรียนโครงงานจิตอาสาบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยความร่วมมือของครูที่ปรึกษาโครงงาน ในวันที่ 24 ตุลาคม 2555 มีโครงงานนักเรียนทั้งหมด 23 โครงงาน นายสาคร เย่าเฉื้อง ผู้อำนวยการโรงเรียนรัษฎา ครูโรงเรียนรัษฎาประกอบด้วยนางกรกวีย์ สุจิตะพันธ์ นายอำนวย ธนูศิลป์ นางจันทนา ทองอ่อน นางสาวสมจิตร ทองพริก และคณะกรรมการจากศูนย์ประสานงานเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนจังหวัดตรังร่วม เป็นคณะกรรมการประเมินโครงงาน ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ ในเวทีครั้งต่อไป จะฝึกทักษะการนำเสนอให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น

18/11/55

ในวันเสาร์  ที่  17  เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 13  นำคณะครู นักเรียนจากโรงเรียนหาดใหญ่ราษฎ์รังสรรค์ ศึกษาดูงาน"โครงงานจิตอาสา" โรงเรียนห้วยยอด โดยครูจรูญ  เเก้วละเอียด  ครูจรวยพรรณ  เย่าเฉื้อง เเละครูสุทธิรัตน์  เสนีชัย นำคุณครูเเละนักเรียนเรียนรู้จากสถานศึกษาเเหล่งเรียนรู้พอเพียง "วังเทพธาโร"ซึ่งเป็นเเหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงสำคัญของโรงเรียนห้วยยอด โดยมีคณะผู้บริหารโรงเรียนห้วยยอด ให้การต้อนรับ  ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง  ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

5/12/55

   โรงเรียนห้วยยอดจัดนิทรรศการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในงานเฉลิมพระ ชนมพรรษาและงานฉลองรัฐธรรมนูญ ประจำปี 2555 

ระหว่างวันที่ 5-15 ธันวาคม 2555 ณ สนามกีฬาจังหวัดตรัง

­

7/12/55

   ด้วย ทีมขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ม.สงขลานครินทร์ โดยการสนับสนุนของมูลนิธิสยามกัมมาจล มอบหมายให้ทีมขับเคลื่อนฯ พัฒนาศักยภาพโรงเรียนในเขตจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต สงขลา ปัตตานีและนราธิวาส เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ปศพพ.) และจัดศึกษาดูงานโรงเรียนที่เป็นศูนย์การเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอ เพียง คือ โรงเรียนห้วยยอด อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

 19/12/55

นายพิไชย  ชั่งคิด ผู้อำนวยการโรงเรียนห้วยยอดรับป้ายศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา

จากนายพงษ์เทพ  เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

วันที่  19  ธันวาคม  พ.ศ. 2555 ณ โรงเเรมดิเเอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จ.ชลบุรี

­

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ