ทางโรงเรียนจัดทำ
"โครงการการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
แบบสหวิทยาการ 8 กลุ่มสาระ" ขึ้นมา
เพื่อทำตามนโยบายของโรงเรียนในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถาน
ศึกษา โดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนบูรณาการ 8 กลุ่มสาระ ทุกระดับชั้น
เพื่อให้นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้และปฏิบัติจริง
วัตถุประสงค์
จัดกิจกรรมการเรียนการสอนบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียง 8 กลุ่มสาระ ทุกระดับชั้น ให้นักเรียน
เกิดการเรียน สามารถนำไปใช้ได้จริง
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
- ฝ่ายบริหารประชุมกำหนดนโยบายของโรงเรียนในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่สถานศึกษา
- กลุ่มงานบริหารวิชาการประชุมนิเทศหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และหัวหน้าสายชั้น แล้ว กำหนดสัปดาห์บูรณาการของแต่ละสายชั้น
- หัวหน้าสายชั้นประชุมครูผู้สอนทุกรายวิชาในแต่ละสายชั้น เพื่อกำหนดกลุ่มสาระแกนนำ และกำหนดหน่วยการเรียนรู้ร่วมกัน
- ครูแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้แต่ละระดับชั้นเลือกประธานและเลขานุการ ในการบริหาร จัดการร่วมกัน วางแผนสร้างหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้
- ครูผู้สอนแต่ละสายชั้นประชุมกำหนดชื่อหน่วยการเรียนรู้ จัดทำแผนภูมิหน่วยการเรียนรู้ที่ สัมพันธ์กับวิชาอื่นๆ
- จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ระยะเวลา สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ในการจัดหน่วยการเรียนรู้ 1 สัปดาห์
- เสนอแผนการจัดการเรียนรู้ต่อผู้บริหาร ขออนุญาตใช้แผนการจัดการเรียนรู้
- จัดทำเอกสารประกอบการเรียนการสอน
- ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนบูรณาการแบบสหวิทยาการตามตารางที่กำหนดไว้
- ประเมินผลการจัดการเรียนการสอน
- สรุปผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
- รายงานผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบูรณาการแบบสหวิทยาการของแต่ละสายชั้น
ระยะเวลาดำเนินโครงการ ภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ระดับชั้นละ 1 สัปดาห์
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม
- ครูเกิดความสามัคคี มีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรม ครูผู้สอนในแต่ระดับชั้นมีแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้ทำกิจกกรมร่วมกัน ช่วยกันแก้ปัญหา พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่กำหนด
- นักเรียนเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน มีความสามัคคีในหมู่คณะ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ควบคู่การปฏิบัติจริง กล้าแสดงออกเชิงสร้างสรรค์ มีความรับผิดชอบ ดำเนินชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ประหยัด อดออม ภาคภูมิใจ อนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น
- ผู้ปกครองให้การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ เช่น พืชผัก ผลผลิตในบ้านมาจำหน่ายในงานตลาดนัดเศรษฐกิจพอเพียง เห็นประโยชน์และตระหนักถึงการใช้ชีวิตตามวิถีพอเพียง
เงื่อนไขความสำเร็จ
เนื่องจากเป็นกระบวนการสร้างการเรียนรู้ให้เกิดกับผู้เรียนอย่างได้ผลและเป็นรูปธรรมด้วยกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน การร่วมมือกันทำงานเป็นทีม และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีการวัดและประเมินผล มีผลการเรียนรองรับ จึงทำให้โครงการประสบผลสำเร็จ
กิจกรรมเด่นอื่น ๆ
1. โครงการกิจกรรมสานสัมพันธ์วันทำบุญอบอุ่นทั้งตำบล
เป็นการจัดกิจกรรม เพื่อพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ที่มีวัตถุประสงค์เชิงซ้อนหลายเป้าหมาย นับเป็นกิจกรรมที่ดี สร้างความภูมิใจ มีความประหยัด และเกิดความคุ้มค่าแก่ทุกฝ่ายได้เป็นอย่างดี ได้สร้างภาพแห่งความประทับใจในความสัมพันธ์อันดีงามของภาคีเครือข่ายหลายด้าน เช่น การให้ความร่วมมือ และแสดงความห่วงใยของพระสงฆ์และผู้นำชุมชนที่มีต่อนักเรียนโดยหลักธรรมคำสอน ข้อคิด ข้อเสนอแนะที่ชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติได้
2. กิจกรรมการเข้าค่ายพักแรม ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด และผู้บำเพ็ญประโยชน์ “รวมใจเทิดไท้องค์ราชัน”
เดิมการเข้าค่ายพักแรม ของลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด และผู้บำเพ็ญประโยชน์ จะไปใช้ค่ายนอกโรเรียนทำให้เสียค่าใช้จ่าย แต่ละปีเป็นจำนวนมาก ผู้ปกครองได้รับความเดือดร้อนไม่สบายใจ โรงเรียนจึงจัดพัฒนาบริเวณโรงเรียนให้เป็นค่ายพักแรมที่มีมาตรฐานระดับหนึ่ง สามารถจัดกิจกรรมการเข้าค่ายพักแรมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้แก่นักเรียนได้ และน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ เป็นการเทิดพระเกียรติเนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่เจริญพระชนมายุ 81 พรรษา