กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
อ่านคล่อง เขียนคล่อง สนองพระราชดำรัส
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

ที่มาและความสำคัญ

ภาษาไทยเป็นเครื่องแสดงความคิดเป็นสมบัติของคนไทยที่ต้องหวงแหนและรักษาไว้ โดยเฉพาะการอ่านและเขียนคำไทยที่มักใช้ผิด ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีความจำเป็นในชีวิตประจำวัน ดังนั้นร่วมกันอนุรักษ์ภาษาไทยให้ใช้กันอย่างถูกต้อง

­

แรงบันดาลใจในการทำโครงงาน “อ่านคล่อง เขียนคล่อง” สนองพระราชดำรัส เพราะผู้ทำโครงงานให้ความสำคัญอย่างลึกซึ้งกับภาษาซึ่งเป็นมรดกล้ำค่าของไทยแต่โบราณมา และแนวทางพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง ซึ่งได้ตระหนักว่าปัจจุบัน การเขียนภาษาไทยเป็นอย่างกว้างขวางทั่วถึง อีกทั้งภาษาไทยเป็นภาษาที่งดงามซับซ้อน มีคำพ้องรูป พ้องเสียงมากมายจึงทำให้เกิดความสับสน ในการสะกดคำบางคำ นานวันเข้าจึงมีคำที่มักเขียนผิดมากมายผู้จัดทำเห็นความจำเป็นที่ความจะรวบรวมคำที่มักใช้ผิดในภาษาไทย ซึ่งมักจะเป็นคำที่คุ้นเคย การรวบรวมคำที่มักใช้ผิด พร้อมทั้งค้นหาความหมายนั้นได้จัดเรื่องตามลำดับเลขที่ โดยการทำชิ้นงานผ่านหนังสือเล่มเล็กเพื่อเพิ่มความน่าสนใจของผู้อ่านอย่างสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นในทุกรายวิชา

­

ดังนั้นสมาชิกจึงสนใจและเลือกทำโครงงาน “อ่านคล่อง เขียนคล่อง” สนองพระราชดำรัส ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาเล่าเรียน การทำงานกลุ่ม และบูรณาการการเรียนรู้กับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

­

วัตถุประสงค์

เพื่อเรียนรู้เรื่องคำที่มักใช้ผิด ทั้งอ่าน-เขียนผิด

เพื่อสนองพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง

เพื่อเป็นการอนุรักษ์ภาษาไทย

เพื่อมีความรู้ในการทำหนังสือเล่มเล็กอย่างสร้างสรรค์

เพื่อนำผลงานหนังสือเล่มเล็กสู่ชุมชน

­

ระยะเวลาในการทำโครงงาน

22 พฤษภาคม – 22 มิถุนายน 2555

­

สถานที่ดำเนินงาน

โรงเรียนรัษฎา ตำบลคลองปาง อำเภอรักษา จังหวัดตรัง

­

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สมาชิกร่วมกันนำเสนอข้อมูลแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ และประสบการณ์จากการเรียนรู้ในห้องเรียนเผยแพร่ผ่านเสียงตามสาย โดยจัดทำโครงงาน “อ่านคล่อง เขียนคล่อง” สนองพระราชดำรัสจากการศึกษาค้นความผลการจัดทำโครงงาน สมาชิกได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ โครงงานผ่านเสียงตามสายเพื่อให้ความรู้ในเรื่องคำไทยที่มักใช้ผิดกับพี่ๆ เพื่อนๆ และน้องๆ อย่างมีความสุข พร้อมทั้งการที่ได้ร่วมจัดทำโครงงานมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น

­

วิธีการดำเนินงาน

ในการทำโครงงานภาษาไทย เรื่อง “อ่านคล่อง เขียนคล่อง” สนองพระราชดำรัส มีวัสดุอุปกรณ์และวิธีดำเนินงาน ดังต่อไปนี้

­

ผลการศึกษา

หนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง บทนมัสการมาตาปิตุคุณ และบทนมัสการอาจาริยคุณ

หนังสือพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542

การเตรียมอุปกรณ์ การทำหนังสือเล่มเล็ก ดังนี้

กระดาษสำหรับวาดรูป ใช้กระดาษ A4 สีขาว

ในกรณีที่วาดรูป ใช้กระดาษ 100 ปอนด์

ในกรณีที่ต้องพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ ใช้กระดาษ 150 แกรมขึ้นไป ตามความเหมาะสม ( กรณีนี้ให้ตั้งค่าหน้ากระดาษเป็นแนวนอน และแบ่งเป็น 2 คอลัมน์ )

กระดาษหลังรูปขนาด A4 ( 1 แผ่น เข้าเล่มได้ 1 เล่ม )

สติ๊กเกอร์ใส (1 แผ่นใหญ่ ) แบ่งเป็น 4 ส่วนสามารถเข้าเล่มได 4 เล่ม

กระดาษมุข (1 แผ่นใหญ่ ) แบ่งเป็น 4 ส่วน สามารถเข้าเล่มได้ 4 เล่ม

กระดาษ A4 สี ( สำหรับทาใบรองปก 2 แผ่น : 1 เล่ม )

กาว 2 หน้าบาง ขนาดความกว้าง 1 เซนติเมตร 1 ม้วน สามารถเข้า ได้ 2 เล่ม

กรรไกร

คัตเตอร์

ไม้บรรทัดเหล็ก

­

วิธีดำเนินงาน

นักเรียนเลือกเรื่องที่จะทำโครงงาน

นักเรียนร่วมกันวางแผนการดำเนินงาน

นักเรียนดำเนินการทำโครงงานตามแผนที่วางไว้

นักเรียนปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมผลงานหนังสือเล่มเล็ก

นักเรียนเขียนรายงานโครงงาน

นักเรียนแสดงผลงานหนังสือเล่มเล็ก

นักเรียนเผยแพร่ผลงานผ่านเสียงตามสายของโรงเรียน

­

ผลการดำเนินงาน

ผลการศึกษา

หลังจากที่สมาชิกในกลุ่มโครงงานภาษาไทย เรื่อง “อ่านคล่อง เขียนคล่อง” สนองพระราชดำรัส ได้ทำโครงงานจนครบกระบวนการแล้ว พวกเรารู้สึกว่าการทำโครงงานนี้ทำให้พวกเราเกิดความสุข เกิดความรู้และเป็นทักษะที่สามารถพัฒนาชีวิตให้พวกเราอยู่ในชุมชนได้อย่างมีความสุข อาจสรุปผลการศึกษาได้เป็นข้อๆ ดังนี้

นักเรียนมีความรู้ในเรื่องคำไทยที่มัก อ่าน และเขียนผิด

นักเรียนสามารถสร้างผลงานหนังสือเล่มเล็กได้อย่างสร้างสรรค์

นักเรียนได้คิดอย่างอิสระและมีความคิดสร้างสรรค์

นักเรียนกล้าแสดงออกมากยิ่งขึ้น

นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นและดำรงชีวิตอยู่อย่างพอเพียง

­

สรุปผลและอภิปรายผลการดำเนินงาน

ในการทำโครงงานภาษาไทย โครงงานภาษาไทย เรื่อง “อ่านคล่อง เขียนคล่อง” สนองพระราชดำรัส สามารถสรุปผลและอภิปรายผลการดำเนินงานได้ดังนี้

ผลการศึกษา

การเขียนคำภาษาไทยให้ถูกต้องตามแบบแผนนั้น นับเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่ง การเขียนคำภาษาไทยได้ถูกต้องเป็นการแสดงถึงความเข้าใจ และให้ความสำคัญอย่างลึกซึ้งกับภาษาซึ่งเป็นมรดกล้ำค่าของไทยแต่โบราณมา ทว่าในปัจจุบัน การเขียนภาษาไทยเป็นไปอย่างกว้างขวางทั่งถึง อีกทั้งภาษาไทยเป็นภาษาที่งดงามซับซ้อน

­

การอ่านและเขียนคำในภาษาไทย จึงมีความจำเป็นที่ผู้เรียนต้องศึกษาค้นคว้า คำที่มักอ่านและเขียนผิดโดยถ่ายทอดความรู้ออกมาในรูปแบบของหนังสือเล่มเล็กอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งสามารถบูรณาการกับรายวิชาศิลปะ ในการสร้างสรรค์ผลงาน

­

ในส่วนของโครงงานพวกเราก็ได้ถ่ายทอดความรู้ให้กับพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ โรงเรียนรัษฎา ตำบลคลองปาง อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง ผ่านเสียงตามสายของ ซึ่งเป็นความภูมิใจของพวกเรามาก ทั้งยังได้ให้ความรู้คำไทยที่มักอ่านและเขียนผิด ให้กับพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ถ้าพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ได้ฝึกฝนเพิ่มขึ้น พวกเขาก็จะประสบความสำเร็จความสุขก็จะเกิดขึ้นกับพวกเราและชุมชน

­

เอกสารอ้างอิง

ราชบัณฑิตยสถาน. อ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

(แก้ไขเพิ่มเติม) พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ : คอมฟอร์ม,2540

พจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ.2542.

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ