กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
พัฒนาครูกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

โรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคมเป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจ พอเพียงด้านการศึกษา มีหน้าที่ในการขยายเครือข่ายพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงและศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียน เพื่อเสริมสร้างลักษณะการอยู่อย่างพอเพียงได้และโรงเรียนที่เป็นศูนย์ต้อง เป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งศึกษาดูงานของผู้ที่สนใจในการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจมาบริหาร จัดการในสถานศึกษา โรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้าง คุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงขึ้น


วัตถุประสงค์

  1. เพื่อพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจหลัก3 ห่วง 2เงื่อนไข 4 มิติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  2. เพื่อให้ครูสามารถออกแบบหน่วยการเรียนรู้และเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อ เสริมสร้างคุณลักษณะการอยู่อย่างพอเพียงและนำไปใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนได้


เป้าหมาย

  กิจกรรมภายในโรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม

  1. ครูโรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคมทุกคน  ออกแบบหน่วยการเรียนรู้และเขียนแผนนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้าง คุณลักษณะการอยู่อย่างพอเพียงได้
  2. ครูจากโรงเรียนอื่นที่มาศึกษาดูงานและจัดประชุมปฏิบัติการการออกแบบหน่วยการ เรียนรู้และเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการอยู่อย่างพอเพียง
กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน
  1. คณะครูโรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคมได้ดำเนินการพัฒนาให้มีความรู้ความเข้าใจหลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข 4 มิติ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง
  2. คณะครูโรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคมสามารถออกแบบหน่วยการเรียนรู้และเขียนแผนการ จัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการอยู่อย่างพอเพียงและนำไปใช้ใน กิจกรรมการเรียนการสอนได้คลอบคลุมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และทุกรายวิชา
  3. คณะครูจากโรงเรียนต่าง ๆ ทั้งในจังหวัดและนอกจังหวัดได้มาศึกษาดูงานเป็นจำนวน 21 โรงเรียน  484 คน  และได้รับทราบผลการประเมินการพัฒนาด้วยวิธีการจัดประชุมปฏิบัติการ ในระดับ ดีมาก  เฉลี่ย 4.50
  4. การพัฒนาครูโรงเรียนเครือข่ายนอกโรงเรียนทั้งในจังหวัดและนอกจังหวัดตามสถาน ที่ที่ผู้รับ  การขยายผลกำหนด  ในลักษณะจัดเป็นกลุ่มหลายโรงเรียนพร้อมกันและ

จัดเป็นโรงเรียนเดียวในกรณีมีจำนวนบุคลากรมาก  จำนวน 30 โรงเรียน  จำนวน  1,857 คน  ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดี  เฉลี่ย 4.20


"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ