จัดทำโดย
ครูถาวร ค้าขอ
โครงการพัฒนาศูนย์เรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ของโรงเรียนบ้านคลองไคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่
- ความเป็นมา
- บริบทของโรงเรียน ตั้งอยู่หมู่ที่ 10 ตำบลคลองพน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ อยู่ในพื้นที่ชนบท ระยะทางห่างจากจังหวัดกระบี่ ประมาณ 65 กิโลเมตร นักเรียนส่วนใหญ่ร้อยละ 93 นับถือศาสนาอิสลาม ผู้ปกครองส่วนใหญ่อาชีพประมงและรับจ้างทั่วไป มีฐานะยากจน
- กระบวนการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
จุดเริ่มต้น
โรงเรียนได้ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารงานตั้งแต่ปีการศึกษา 2550 โดยเป็นการวิเคราะห์ภารกิจและแผนปฏิบัติงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีการดำเนินงานที่ต่อเนื่องตามศักยภาพ ผู้บริหารและครูส่วนใหญ่ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
พัฒนาการ
มีการพัฒนาบุคลากรโดยอบรมสัมมนา และศึกษาดูงานโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทุกปี มีการออกแบบ และปรับแผนการจัดการเรียนรู้ พัฒนาแหล่งเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นเป็นลำดับ
ผลที่เกิด
โรงเรียนมีแผนการบริหารจัดการภารกิจ โดยวิเคราะห์แผนปฏิบัติงานและดำเนินงานต่างๆตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ครูมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถออกแบบจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระดับ ปานกลาง ถึง ดี
นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจหลักปรัชญา และมีคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง ระดับ ปานกลาง ถึง ดี
โรงเรียนผ่านการประเมิน เป็นโรงเรียนต้นแบบจัดการเรียนการสอนและบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กระทรวงศึกษาธิการ ปีการศึกษา 2552
ผลจากการพัฒนาที่ต่อเนื่องโรงเรียนผ่านการประเมินเป็นศูนย์เรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กระทรวงศึกษาธิการปีการศึกษา2554
- ทุนทางสังคมและศักยภาพของโรงเรียน
ผู้ปกครองชุมชนองค์กรท้องถิ่นและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือกับกิจกรรมต่างๆของโรงเรียนระดับดี ถึง ดีมาก โรงเรียนมีครูและบุคลากรเพียงพอ
- วิสัยทัศน์
“ บริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมมุ่งให้นักเรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานจัดสภาพแวดล้อมให้น่าอยู่มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายใช้คุณธรรมนำชีวิตยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
- พันธะกิจ
ข้อ 5 พัฒนาหลักสูตรและออกแบบการเรียนรู้ตามแนวทางปฏิรูปการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- ยุทธศาสตร์
ข้อ 1 บริหารจัดการและจัดการเรียนการสอนตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- ภาพความสำเร็จที่อยากให้เกิด
สนับสนุน/ขยายผลให้กับโรงเรียนในเครือข่าย หรือโรงเรียนอื่นๆ ปีละ ไม่น้อยกว่า 50 โรงเรียน
ภาพความสำเร็จปลายทางในภาพรวมที่อยากให้เกิด องค์กรมีวัฒนธรรมขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ยั่งยืน นักเรียนและชุมชน มีวิถีชีวิตและมีคุณลักษณะสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- ระยะเวลาการดำเนินโครงการ
- ขั้นตอนการดำเนินงาน
- จัดทำโครงการ/แผนปฏิบัติงานประจำปี วิเคราะห์โครงการ
- แต่งตั้งผู้รับผิดชอบ
- ดำเนินงานตามโครงการ
- พัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
- พัฒนาแหล่งเรียนรู้ , พัฒนาการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย
- ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน-ระหว่างโรงเรียน(ถอดบทเรียนผลการดำเนินงานเป็นระยะ ๆ)
- สร้างนักเรียนแกนนำ และสร้างแรงจูงใจแก่นักเรียนแกนนำรูปแบบต่างๆ
- ขยายผลสู่โรงเรียนเครือข่าย/โรงเรียนทั่วไป
- นิเทศ ติดตาม ประเมินผล
- สรุป/รายงานผลการดำเนินงาน(สิ้นปีการศึกษา)
- แผนงานและงบประมาณ ใช้เงินอุดหนุน เงินสมทบจากผู้ศึกษาดูงาน และเงินสมทบจากคณะครูบุคลากรในโรงเรียน ในแผนงานหรือกิจกรรมต่างๆ เช่น
-
- พัฒนาบุคลากร โดยอบรม สัมมนา ศึกษาเอกสาร และเปลี่ยนเรียนรู้ ตลอดปี
- พัฒนาบุคลากร โดยศึกษาดูงานโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จระดับประเทศ ธันวาคม ทุกปี
- พัฒนาแหล่งเรียนรู้-การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดปี
- สร้างและพัฒนานักเรียนแกนนำ ตลอดปี
- ให้บริการศึกษาดูงาน หรือจัดอบรมปฏิบัติการ แก่โรงเรียนเครือข่าย และโรงเรียนทั่วไป กรกฎาคม – กุมภาพันธ์ ทุกปี
- โครงสร้างการบริหารโครงการ
ผู้อำนวยการโรงเรียน ประธานขับเคลื่อนโครงการ
รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ รองประธาน
หัวหน้ากลุ่มสาระทุกกลุ่มสาระ กรรมการ
- ผู้รับผิดชอบโครงการ
นางถาวร ค้าของ หัวหน้า
นางจิตราภรณ์ วุ่นแก้ว ผู้ช่วย
นางดวงรัตน์ จงรักษ์ ผู้ช่วย
นางวรรณวิไล เอ่งฉ้วน ผู้ช่วย
นางพูลศรี พาชนะทอง ผู้ช่วย
นายชิญา ฉันทจิต ผู้ช่วย
นางมณฑา ไกรดำ ผู้ช่วย
นางบุญเรือน ดีใจ ผู้ช่วย
นางอภิญญา แกล้วทนงค์ ผู้ช่วย
นางสูใบดะ กิจวัง ผู้ช่วย
นางสาวอัสมา ตูแวหมะ ผู้ช่วย
นางวันทนีย์ นวลแย้ม ผู้ช่วย