กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ

ค่ายเยาวชนเศรษฐกิจพอเพียง ระยะที่ 3
ความเป็นมา วัตถุประสงค์
โครงการเรื่องเล่าเยาวชนเศรษฐกิจพอเพียง ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมกราคม 2556 จนถึงปัจจุบัน มีการจัดค่ายเยาวชนเศรษฐกิจพอเพียงขึ้น 2 ครั้ง (ระยะที่1 ให้ความรู้เรื่องการทำงานชุมชน การเขียนแผนโครงการและการทำงานจิตอาสาในพื้นที่จริง ระยะที่2 การพัฒนาโครงการ และ การทำงานจิตอาสาในพื้นที่จริง) ปัจจุบัน นักเรียนแกนนำทั้ง 15 โรงเรียนได้ทำโครงการเสร็จสิ้นแล้ว ทางมูลนิธิฯ จึงจัดค่ายเยาวชนเศรษฐกิจพอเพียงในระยะที่ 3 ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
1. เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนจากการทำงานจิตอาสาระหว่างนักเรียน 15 โรงเรียน
2. เพื่อให้เห็นประโยชน์ในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในงานจิตอาสา
3. ให้นักเรียนได้เข้าใจถึงประโยชน์ของการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง
1. เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนจากการทำงานจิตอาสาระหว่างนักเรียน 15 โรงเรียน
2. เพื่อให้เห็นประโยชน์ในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในงานจิตอาสา
3. ให้นักเรียนได้เข้าใจถึงประโยชน์ของการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง
กำหนดการและรายงานผล
08.00 - 12.00 น.
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน
1.การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนจากการทำงานจิตอาสาระหว่างนักเรียน 15 โรงเรียน
โครงการจิตอาสา ทั้งหมด 15 โครงการ ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นตามกำหนดระยะเวลาของโครงการ โดยในค่ายระยะที่ 3 นี้ นักเรียนแกนนำทั้ง 15 โครงการ ได้นำเสนอโครงการของตนเองในรูปแบบตลาดนัดเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงกระบวนการวางแผนในการทำงาน ขั้นตอนการจัดการโครงการ ปัญหาอุปสรรครวมถึงวิธีการแก้ปัญหา และผลสำเร็จที่เกิดขึ้น
2. เพื่อให้เห็นประโยชน์ในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในงานจิตอาสา
จากการถอดบทเรียนในครั้งนี้สามารถสรุปกรอบแนวคิดในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการทำโครงการและการแก้ปัญหาได้ตามภาพนี้

3. ให้นักเรียนได้เข้าใจถึงประโยชน์ของการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง
จากการสะท้อนของนักเรียนแกนนำ พบว่าจากการทำโครงการจิตอาสานั้น สามารถสร้างเสริมทักษะความรู้ให้แก่พวกเขาได้อย่างหลากหลายและแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละคน เช่น ทักษะของการวางแผน การแก้ปัญหา การประชาสัมพันธ์ การประสานงาน งานศิลปะ ความรู้เรื่องชาติพันธุ์ วัฒนธรรม ประเพณี จิตวิทยาเด็ก ฯลฯ จากที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น สามารถเชื่อมโยงทักษะความรู้ที่เกิดขึ้นกับกรอบความคิดเรื่อง ทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 ได้ครบทุกข้อ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการทำโครงการจิตอาสาภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น สามารถเสริมสร้างทักษะการในการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้

โครงการจิตอาสา ทั้งหมด 15 โครงการ ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นตามกำหนดระยะเวลาของโครงการ โดยในค่ายระยะที่ 3 นี้ นักเรียนแกนนำทั้ง 15 โครงการ ได้นำเสนอโครงการของตนเองในรูปแบบตลาดนัดเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงกระบวนการวางแผนในการทำงาน ขั้นตอนการจัดการโครงการ ปัญหาอุปสรรครวมถึงวิธีการแก้ปัญหา และผลสำเร็จที่เกิดขึ้น
2. เพื่อให้เห็นประโยชน์ในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในงานจิตอาสา
จากการถอดบทเรียนในครั้งนี้สามารถสรุปกรอบแนวคิดในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการทำโครงการและการแก้ปัญหาได้ตามภาพนี้

3. ให้นักเรียนได้เข้าใจถึงประโยชน์ของการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง
จากการสะท้อนของนักเรียนแกนนำ พบว่าจากการทำโครงการจิตอาสานั้น สามารถสร้างเสริมทักษะความรู้ให้แก่พวกเขาได้อย่างหลากหลายและแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละคน เช่น ทักษะของการวางแผน การแก้ปัญหา การประชาสัมพันธ์ การประสานงาน งานศิลปะ ความรู้เรื่องชาติพันธุ์ วัฒนธรรม ประเพณี จิตวิทยาเด็ก ฯลฯ จากที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น สามารถเชื่อมโยงทักษะความรู้ที่เกิดขึ้นกับกรอบความคิดเรื่อง ทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 ได้ครบทุกข้อ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการทำโครงการจิตอาสาภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น สามารถเสริมสร้างทักษะการในการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้

ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ