วันที่ 23 พฤศจิกายน 2555 คณะกรรมการตรวจเยี่ยมประเมินความพรัอมการขับเคลื่อนฯ ของโรงเรียนบ้านดอนช้างฯ เข้าเยี่ยมชมเพื่อประเมินความก้าวหน้า สะท้อนให้ข้อเสนอแนะ หรือความช่วยเหลือ เพื่อพัฒนาสู่โรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ฯ ต่อไป
วัตถุประสงค์ของการตรวจเยี่ยมประเมินความพร้อมฯ
- ประเมินความก้าวหน้าของการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่โรงเรียน
- สะท้อนข้อคิดเห็น และเสนอะแนะแนวทางในการขับเคลื่อนสู่ความพร้อมในการประเมินเป็นโรงเรียน ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- รายงานผลการตรวจเยี่ยมประเมินความพร้อมฯ ต่อผู้จัดการโครงการส่งเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่เยาวชน
22/12/55 |
|
|
|
|
ผลการตรวจเยี่ยมประเมินความพร้อม ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน 2555 มีดังนี้
- โรงเรียนยังไม่พร้อมรับการประเมินเป็นโรงเรียนศูนย์ฯ ขณะวันประเมินนี้
- นักเรียนส่วนใหญ่ยังไม่เกิดอุปนิสัยพอเพียง
- นักเรียนแกนนำยังไม่กล้าคิด กล้าพูด ไม่มั่นใจในตนเอง
- ฐานการเรียนรู้ยังไม่เหมาะสมเพียงพอที่จะเป็นฐานการเรียนรู้ของโรงเรียนศูนย์ฯ
ต่อไปนี้เป็นข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ ต่อการขับเคลื่อนฯ ต่อไป
- ผอ. และ ครู ต้องใช้คำถามกระตุ้น และสร้างโอกาสให้นักเรียนแกนนำ ได้ฝึกทำ คิด พูด
- ให้นักเรียนแกนนำได้ถอดบทเรียนบ่อยๆ ทุกๆ กิจกรรม และทุกๆ หน่วยการเรียนรู้
- สนใจในรายละเอียดของกิจกรรมทุกๆ อย่าง เช่น การนั่งสมาธิของนักเรียน ครูควรถอดบทเรียนกันให้ชัดเจนว่า ทำเพื่ออะไร การดำเนินการนั้นเกิดตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ถ้าไม่เกิดเพราะอะไร และจะทำอย่างไรให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น...... จากการสังเกต กิจกรรมการนั่งสมาธิของโรงเรียนยังไม่บรรลุผลนัก
- ครูควรใช้จิตวิทยาเชิงบวก.....จากการเดินทางตรวจเยี่ยมหลายโรงเรียน พบว่า การจับผิดหรือใช้จิตวิทยาเชิงลบในการขับเคลื่อนนั้น ไม่สามารถทำให้เกิดอุปนิสัยพอเพียงได้ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อทำกิจกรรมเพื่อฝึกสมาธินักเรียน ไม่ควรบอกกับนักเรียนที่ไม่นั่งสมาธิเช่น อย่าลืมตาซิลูก นั่งนิ่งๆ ซิลูก แต่ควรกล่าวชมนักเรียนที่ทำได้ดี โดยระบุชื่อ เช่น น้องน้ำหวานเก่งมากลูก นั่งนิ่งสงบแบบนั้นดีแล้ว..... เมื่อนักเรียนคนอื่นได้ยินจะนิ่งๆ ได้เอง ... เป็นต้น
- ฐานการเรียนรู้ ควรมีองค์ความรู้ วิธีการใช้ฐานการเรียนรู้ มีร่องรอยของการใช้ฐานการเรียนรู้นั้นอย่างสม่ำเสมอ และฐานการเรียนรู้นั้นสามารถทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่กำหนดได้จริง เช่น หากต้องการฝึกฝนและปลูกฝังความรับผิดชอบในแปลงนาข้าว ควรมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบให้นักเรียนอย่างชัดเจน มีการตรวจเช็คประเมินว่านักเรียนรับผิดชอบต่อหน้าที่หรือไม่ หากมอบหมายให้ดูแล แต่หากไม่ได้ดูแล แสดงว่าไม่เกิดความรับผิดชอบกับนักเรียน เป็นต้น
- ฯลฯ