ที่มาและความสำคัญ จากสภาพสังคมปัจจุบัน ผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่ประกอบอาชีเกษตรกรแต่บางคนได้หันไปประกอบอาชีพรับ จ้างตามโรงงานอุตสาหกรรม กิจการร้านค้าต่างๆมากขึ้นอีกทั้งผู้ปกครองมิได้ให้ความสำคัญในการปลูกฝัง การทำงานด้านเกษตรกรรมให้กับบุตรหลานเป็นผลให้นักเรียนหลายคนไม่มีเทคนิคการ ทำงานด้านเกษตรกรรมโดยเฉพาะการทำนาข้าวอันเป็นอาชีพดั้งเดิมของท้องถิ่นทาง โรงเรียนจึงตระหนักในการอนุรักษ์อาชีพและปลูกฝังให้นักเรียนได้สืบทอดต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ความรู้เรื่องการทำนาข้าวแก่นักเรียน
2. เพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญอาชีพทำนาข้าว อนุรักษ์ และสืบทอดต่อไป
เป้าหมาย
1. เป้าหมายเชิงคุณภาพ
- นักเรียนโรงเรียนบ้านดอนช้าง(ศรีสุขวิทยาคาร) ร้อยละ 80 มีความรู้เรื่องการทำนาข้าว
2. เป้าหมายเชิงปริมาณ
- นักเรียนโรงเรียนบ้านดอนช้าง(ศรีสุขวิทยาคาร) ทุกคน จำนวน 150 คน เห็นความสำคัญอาชีพทำนาข้าว อนุรักษ์ และสืบทอดต่อไป
ระยะเวลา ภาคเรียนที่ 1 ของทุกปีการศึกษา
วิธีดำเนินการ
1. สำรวจข้อมูล ความต้องการของนักเรียน
2. เสนอโครงการ ต่อผู้บริหารสถานศึกษา
3. คัดเลือกนักเรียนที่มีความประสงค์จะเป็นคณะทีมงานดำเนินการ
4. คณะทีมงานดำเนินการหาความรู้เกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรม
5. นำความรู้ที่ได้มาวางแผนงานตามบริบทของโรงเรียน
6. ดำเนินกิจกรรมตามที่แผนงานที่วางไว้
7. เมื่อสิ้นปีการศึกษา สรุปผล ประเด็นปัญหาและ แนวทางแก้ไข
8. จัดทำรายงานกิจกรรม
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียนมีความรู้เรื่องการทำนาข้าว
2. นักเรียนเห็นความสำคัญอาชีพทำนาข้าว ตระหนักในการอนุรักษ์ และสืบทอดต่อไป
คุณธรรมที่ได้
นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีความสามัคคีร่วมมือกันทำงาน มีความขยันหมั่นเพียร