กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
มงคลประดิษฐ์
ความเป็นมา วัตถุประสงค์
ผู้จัดทำโครงงาน
1. นายอธิวัฒน์ วระราช
2.นายทศพล รักนาม
3.นางสาวนุชชุดา บรรจโรจน์

ที่ปรึกษาโครงงาน
1. นางวรัญญา เมืองแวง
2. นางจีระพรรณ ฉลวยศรีเมือง

1.1 ที่มาและความสำคัญ

งานประดิษฐ์จากใบตองถือเป็นเอกลักษณ์ไทย ที่แสดงถึงความละเอียดอ่อนสวยงาม เป็นภูมิปัญญาของบรรพชนไทยสมัยก่อนที่ได้รู้จักประดิดประดอย ได้อย่างวิจิตรสวยงาม ไม่วาจะเป็น กระทง บายศรี พานขันหมาก พานขันหมั้น แต่ละอย่างล้วนงดงาม ประณีต ซึ่งแสดงถึง ความเป็นชนชาติที่มีจิตใจงดงาม ละเอียดอ่อน ความสามารถของ คนไทยที่ไม่มีชนชาติใดในโลกเหมือน สมควรที่เยาวชนรุ่นหลัง จะถือเป็นหน้าที่ ที่ควรหวงแหน และรักษาไว้เป็นศิลปะและวัฒนธรรม ประจำชาติสืบไป แต่งานประดิษฐ์จากใบตองเหล่านี้มีอายุการใช้งานสั้น แม้จะมีผู้คิดค้นนวัตกรรมที่ทำให้เก็บงานประดิษฐ์จากใบตองได้นานขึ้น ก็ไม่สามารถเก็บได้นานเกิน 7 วัน นับเป็นสิ่งที่น่าเสียดายที่งานที่เราได้ทุ่มเทประดิษฐ์ขึ้น กลับมีเวลาชื่นชมได้น้อย หรือเหลือไว้เพียงรูปถ่ายเท่านั้น ทางคณะผู้จัดทำโครงงานจึงได้คิดหาวิธีการที่จะให้งานประดิษฐ์เหล่านี้ สามารถเก็บไว้ได้นานและประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย เหมาะสมกับวิถีชีวิตของคนในปัจจุบันยิ่งขึ้น จึงนำผ้าออแกนซาส์สีเขียว และริบบิ้นผ้าสีต่าง ๆ ที่มีความสวยงามด้วยสีสันและความมันวาวอยู่ในตัวเอง มาประดิษฐ์แทนใบตอง โดยทำเป็น บายศรีย่อส่วน หรือบายศรีจิ๋ว พานพระพุทธรูปประจำวันเกิด ที่สามารถใช้เป็นของขวัญ ของประดับตกแต่ง ที่ทรงคุณค่าทางด้านจิตใจและยังเป็นการสืบทอดเอกลักษณ์ของชาติให้คงไว้สืบไป

1.2 วัตถุประสงค์

  1. เพื่อใช้ศึกษาวิธีการนำผ้ามาทำงานประดิษฐ์ต่าง ๆ เลียนแบบงานใบตอง
  2. สร้างความตระหนักและจิตสำนึกในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ของชาติ
  3. เพื่อสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
  4. เพื่อให้เกิดความรู้ความข้าใจในการทำโครงงาน
  5. เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
  6. เพื่อสามารถสร้างรายได้ในระหว่างเรียนได้ และสามารถนำไปเป็นแนวทางประกอบอาชีพในอนาคตได้
  7. เพื่อส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พอกิน พอใช้ มีเหตุมีผล มีความคุ้มค่า


1.3 ขอบเขตของการศึกษา

ในการจัดทำโครงงานครั้งนี้ เป็นการศึกษาการนำผ้าออแกรซาส์และริบบิ้นมาประดิษฐ์งานเลียนแบบงานใบตอง โดยพัฒนารูปแบบให้เหมาะสมกับการนำมาใช้สำหรับเป็นของขวัญ ของฝาก สำหรับผู้ใหญ่ที่นับถือ เพราะงานใบตองเช่น งานบายศรีถือเป็นของสูง เมื่อนำมาประกอบกับวัตถุมงคล จึงเหมาะสำหรับที่จะเป็นของฝากในโอกาสต่าง ๆ ได้

ระยะเวลาในการดำเนินการ ปีการศึกษา 2554

1.4 ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการขั้นตอนนำผ้ามาประดิษฐ์งานเลียนแบบใบตอง
  2. ผู้เรียนตระหนักและเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ของชาติ
  3. ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิในในท้องถิ่นและวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้น ๆ
  4. เป็นการส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้เสริมระหว่างเรียน
  5. ผู้เรียนเห็นแนวทางในการประกอบอาชีพในอนาคต
กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ