เดิมโรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้เป็นห้องสมุดขนาด 2 ห้องเรียนไม่สามารถให้บริการกับนักเรียนและชุมชนได้เพียงพอ และเคยขอรับความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานต้นสังกัดก็ได้รับคำตอบให้รองบประมาณ ไปก่อน แต่การเรียนรู้ไม่อาจรั้งรอไปได้ นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน ครู และผู้บริหาร จึงต้องหาแนวทางการแก้ปัญหา โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักคิดในการแก้ปัญหาที่สำคัญ เบื้องต้นคือการพึ่งตนเอง ด้วยเหตุนี้ทางโรงเรียนจึงจัดทำ "โครงการสร้างแหล่งเรียนรู้ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติรวมใจภักดิ์ น้อมนำหลักปรัชญาฯ นำพาความรุ่งเรือง" ขึ้นมา จนกลายเป็นโครงการเด่นของโรงเรียน
วัตถุประสงค์
เพื่อสร้างเสริมแหล่งเรียนรู้ให้พอเพียงกับความต้องการของนักเรียน
ผู้ปกครองชุมชน และเป็นสัญลักษณ์ ความรักความเสียสละ ความสามัคคี
ดั่งพระราชดำรัสให้คนไทยรู้รักสามัคคี
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
1. โรงเรียนสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับตำบล
ระดับอำเภอระดับจังหวัดทั้งภาครัฐและเอกชน
ด้วยการประชุมชี้แจงทำความเข้าใจ
เกี่ยวกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการให้กับผู้มีส่วนได้เสียเข้าใจ
ให้กระจ่าง
2. ผู้บริหาร ครู นักเรียน
ผู้ปกครองร่วมกันเสียสละบริจาคทรัพย์ส่วนหนึ่งเป็นการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์
บางส่วนแจ้งขอความอนุเคราะห์จากภาคเอกชน เช่นสีทาผนัง งานลงมือก่อสร้าง
ผู้ปกครองบางส่วนร่วมแรงงานก่อสร้าง นักเรียนและครูผู้บริหาร
ลงมือปฏิบัติจริงเพื่อให้เกิดทักษะการเรียนรู้ไปด้วย
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2550 ถึง 30 กันยายน 2551
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม
ครูทุกคนได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการและได้แสดงออกเป็นแบบอย่างให้กับนัก
เรียนและผู้ปกครองในเรื่องการเสียสละเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม
มองเห็นการนำหลักคิดตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถแก้ปัญหาและสร้างความ
สำเร็จให้กับองค์กร
นำความสุขและภาคภูมิใจในความสำเร็จร่วมกันและที่สำคัญโรงเรียนไม่ต้องเป็น
หนี้ แต่มีที่ให้นักเรียนได้เขียนอ่าน
นัก
เรียนทุกคนได้ร่วมกันแสดงพลังความรักความสามัคคี
ได้เรียนรู้อันเกิดจากการปฏิบัติจริงจากการทำงานช่าง เช่นงานปูน งานทาสี
การทำงานร่วมกับคนอื่น
รู้จักการช่วยเหลือและแบ่งปันและที่สำคัญได้ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้ที่พอ
เพียงเป็นสัญลักษณ์ของความเสียสละ
ทั้งแรงกายแรงใจได้ความสำเร็จ
ผู้ปกครอง และชุมชน เครือข่ายการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทุกระดับ
เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์และร่วมแก้ปัญหาและช่วยเหลือโรงเรียน
ทั้งกำลังแรงงาน กำลังทรัพย์
โดยทุกภาคส่วนได้มองเห็นความสำคัญของการสร้างปัญญาให้กับเยาวชนเป็นสำคัญ
เงื่อนไขความสำเร็จ
โรงเรียนต้องสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ทุกภาคส่วนทุกระดับ
มีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการที่ชัดเจน
ตลอดจนการดำเนินการเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
และให้ความสำคัญกับทุกภาคส่วนอย่างเท่าเทียมกัน
กิจกรรมเด่นอื่นๆ
1. ขยายเชื้อรากำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
2. การผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพ