กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
อบรมขยายผลเพื่อเตรียมรับการประเมินสถานศึกษาพอเพียงระดับ 2
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

ศูนย์ ปศพพ.ร.ร.ชุมชนบ้านห้วยค้อมิตรภาพที่ 206 ร่วมกับ สพป.ขอนแก่น เขต 3 จัดอบรมให้กับโรงเรียนเพื่อเตรียมรับการประเมิน เป็นสถานศึกษาพอเพียง ระดับ 2

ศูนย์ ปศพพ.ร.ร.ชุมชนบ้านห้วยค้อมิตรภาพที่ 206 ร่วมกับ สพป.ขอนแก่น เขต 3 จัดอบรมให้กับโรงเรียนเพื่อเตรียมรับการประเมิน เป็นสถานศึกษาพอเพียง ระดับ 2  โดยคณะครูแกนนำของ ร.ร.ชุมชนนบ้านห้วยค้อฯ เป็นวิทยากรให้ความรู้ แนวทาง ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้กับคณะผู้บริหาร ครู และนักเรียนที่เข้าร่วมอบรม

 

1. ผู้เข้าร่วมอบรม

          ผู้เข้าร่วมอบรมจากโรงเรียนจำนวน 10 โรงเรียน รวมผู้เข้ารับการอบรมทั้งสิ้น จำนวน 89  คน  แยกเป็นผู้บริหาร  3  คน  คุณครู  69 คน นักการ 1 คน และนักเรียนแกนนำ 16  คน



2. วัตถุประสงค์


    2.1  เพื่อให้ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ และแนวทางการดำเนินการเตรียมตัวสู่การประเมินสถานศึกษาพอเพียงระยะที่ 2

    2.2  เพื่อให้ผู้บริหาร และครูผู้สอนสามารถเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้ครบทุกองค์ประกอบ

    2.3  เพื่อให้นักเรียนแกนนำที่เข้ารับการอบรมสามารถถอดบทเรียนตามหลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไขได้

3. การดำเนินกิจกรรมการอบรม


    3.1  ผู้เข้ารับการอบรมลงทะเบียนเข้ารับการอบรม ( เวลา 08.00 น. – 08.30 น.)


    3.2  พิธีเปิด ( เวลา 08.30 น. – 09.00 น.)

    3.3  การจัดการอบรมเริ่มจากการเตรียมตัวเข้ารับการประเมินเป็นสถานศึกษาพอเพียง ระยะที่ 2  โดยผู้รับผิดชอบจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๓ ให้ผู้เข้ารับการอบรมศึกษาจากเกณฑ์การประเมินที่เตรียมไว้ให้ (เวลา 09.00 น.–09.30 น.)

    3.4  ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านห้วยค้อมิตรภาพที่ 206 แนะนำโรงเรียนโดยใช้วิดีทัศน์  นำเสนอขั้นตอนกระบวนการดำเนินกิจกรรม โครงการ จนผ่านสามารถผ่านการประเมินเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอ เพียง (ปศพพ.) (เวลา 09.30 น. – 10.30 น.)


    3.5  พักรับประทานอาหารว่าง ( เวลา 10.30 น. – 10.40 น. )

    3.6  นักเรียนแกนนำ นำเสนอกิจกรรมโครงงานเด่นของสถานศึกษาระดับปฐมวัยเสนอโครงงานข้าวจี่ แสนอร่อย และถอดบทเรียนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถถามคำถามได้อย่างหลากหลาย เพื่อวิเคราะห์ได้ว่านักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักในวิถีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้จริง  ( เวลา 10.40 น. – 11.00 น.)

    3.7  ครูวิชาการ และครูแกนนำต้นแบบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการจัดทำหลักสูตรของสถานศึกษา การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีของโรงเรียน  การปรับปรุงหลักสูตร  การจัดทำวิสัยทัศน์  พันธกิจ  และอัตลักษณ์ของโรงเรียนที่เชื่อมโยงกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ( เวลา 11.00 น. – 11.30 น.)

    3.8  นักเรียนแกนนำของโรงเรียนชุมชนบ้านห้วยค้อมิตรภาพที่ 206 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นำเสนอกิจกรรมโครงงานเด่นของสถานศึกษาเสนอโครงงาน “ภาษาไทยก้าวไกลสู่อาเซียน ผญาอาเซียน” และถอดบทเรียนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถถามคำถามได้อย่างหลากหลาย เพื่อวิเคราะห์ได้ว่านักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักในวิถีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้จริง ( เวลา 11.30 น. – 12.00 น.) 

    3.9  พักรับประทานอาหารกลางวัน ( เวลา 12.00 น. – 13.00 น. )

    3.10  จัดกลุ่มผู้เข้ารับการอบรม  เป็น 3 กลุ่มดังนี้ ( เวลา 13.00 น. – 15.30 น.)

            (1)  ผู้บริหารจากเขตพื้นที่ ผู้รับผิดชอบจากสพป.ขอนแก่นเขต 3 และผู้บริหารโรงเรียน ตัวแทนผู้บริหารโรงเรียนศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านผู้บริหาร ด้านสถานศึกษา

           (2) คุณครูแกนนำของโรงเรียนชุมชนบ้านห้วยค้อมิตรภาพที่ 206 ให้ความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดทำหน่วยการเรียนรู้บูรณาการของโรงเรียน หน่วย“นาข้าวเพื่อชีวิต”  การจัดทำผังมโนทัศน์  แผนผังความคิด การจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับ จนนำไปสู่การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เต็มรูปแบบ เมื่อศึกษาร่วมกันเป็นกลุ่มใหญ่แล้วจึงแยกครูแกนนำแต่ละกลุ่มสาระการเรียน รู้จนครบ 8 กลุ่มสาระ เพื่อให้ครูที่เข้ารับการอบรมเข้าอบรมประจำฐานทั้ง 8 กลุ่มสาระที่รับผิดชอบจากนั้นวิทยากรแจกตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ให้ผู้ เข้ารับการอบรมศึกษาโดยละเอียดจนสามารถเขียนผังมโนทัศน์ และนำเสนอได้

          (3)  นักเรียนแกนนำที่มาเข้ารับการอบรม เข้าฐานการเรียนรู้จากนักเรียนแกนนำของโรงเรียนชุมชนบ้านห้วยค้อมิตรภาพที่ 206 ที่โรงเรียนจัดให้เป็นพี่เลี้ยงเพื่อนำสาธิต กิจกรรม โครงการ โครงงานต่างๆ ตลอดจนวิธีการที่ทางโรงเรียนได้ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในกิจกรรม การจัดการเรียนรู้  เพื่อให้นักเรียนที่มาเข้ารับการอบรมสามารถถอดบทเรียนได้ 

    3.11  นักเรียนที่มาเข้ารับการอบรมหลังจากฝึกปฏิบัติจริงกับพี่เลี้ยงแล้วออกมานำ เสนอการถอดบทเรียนของแต่ละกิจกรรมเพื่อเชื่อมโยง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข 4 มิติ โดยมีคณะผู้บริหาร และคุณครูคอยซักถามโดยใช้ชุดคำถามเพื่อวิเคราะห์ว่านักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักในวิถีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้จริง  ( เวลา 15.30 น. – 16.00 น.)

   3.12  ช่วงถาม – ตอบปัญหา ของผู้เข้ารับการอบรม โดยผู้รับผิดชอบโครงการ และวิทยากร เป็นผู้ตอบและให้ความกระจ่าง ( เวลา 16.00 – 16.25 น. )


   3.13 พิธีปิดการอบรม ( เวลา 16.30 น. )

 

4. ผลที่ได้รับ


    4.1 ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ และแนวทางการดำเนินการเตรียมตัวเพื่อเตรียมรับการประเมินสถานศึกษาพอเพียง ระยะที่ 2  คิดเป็นร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรม

    4.2 ผู้บริหาร และครูผู้สอนสามารถเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงให้ครบทุกองค์ประกอบ คิดเป็นร้อยละ 75  ของผู้เข้ารับการอบรม

    4.3 นักเรียนแกนนำที่เข้ารับการอบรมสามารถถอดบทเรียนตามหลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไขได้ คิดเป็นร้อยละ 90  ของนักเรียนแกนนำที่เข้ารับการอบรม

 

5. ปัญหา / อุปสรรค

    5.1  ระยะเวลาในการนำนักเรียนแกนนำฝึกปฏิบัติจริงค่อนข้างน้อย ทำให้นักเรียนแกนนำยังไม่คุ้นชินกับการถอดบทเรียน

    5.2  เนื่องจากครูผู้สอนที่เข้ารับการอบรมยังไม่เคยจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ บูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนใหญ่จะเข้าใจได้ดีกับ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข แต่ยังไม่คุ้นชินกับ 4 มิติ จึงทำให้ระยะเวลาในการสาธิตการเขียนแผนน้อยเกินไป

 

6. ข้อเสนอแนะในการจัดอบรมครั้งต่อไป


     6.1  ควรใช้ระยะเวลาในการอบรมเพิ่มขึ้น


     6.2  ควรติดตาม นิเทศโรงเรียนที่เข้ารับการอบรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

ผลสำเร็จเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ คิดเป็นร้อยละ 80  ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการเตรียมรับการประเมิน เป็นสถานศึกษาพอเพียงระดับ 2  สามารถเข้าใจเรื่อง วิสัยทัศน์ ปรัชญา พันธกิจ หลักสูตร โครงการ กิจกรรม  การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนการ ฝึกถอดบทเรียนของนักเรียนที่มาอบรม โดยมีนักเรียนแกนนำของ ร.ร.ชุมชนบ้านห้วยค้อเป็นพี่เลี้ยง

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ