กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องน้ำหมักพอเพียง หลีกเลี่ยงโลกร้อน
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

น้ำหมักพอเพียง หลีกเลี่ยงโลกร้อน


วัตถุประสงค์ในการทำน้ำหมักพอเพียง หลีกเลี่ยงโลกร้อน

1. เพื่อลดขยะเปียกที่มีมากในฤดูกาลไม่ให้เน่าเสีย โดยนำมาหมักเพื่อใช้ประโยชน์สูงสุด

2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบน้ำหมักพอเพียงใช้ประโยชน์ทดแทนสารเคมีในชีวิตประจำวัน

3. เพื่อศึกษากระบวนการหมักผักผลไม้ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

­

ประโยชน์

1. เพื่อลดขยะเปียกที่มีมากในฤดูกาลไม่ให้เน่าเสีย เกิดปัญหาและสร้างแก๊สที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนแก่สิ่งแวดล้อม

2. ลดการใช้สารเคมีในชีวิตประจำวัน แต่พึ่งพาตนเองโดยใช้น้ำหมักที่มีคุณสมบัติเดียวกัน

3. เพื่อส่งเสริมการใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษา ค้นคว้า และทดลอง

­

วิธีหมัก

สูตรน้ำหมัก คือ 1:3:5 ได้แก่

- น้ำตาลอ้อยป่น 1 กิโลกรัม

- ผักหรือผลไม้ 3 กิโลกรัม

- น้ำสะอาดที่ปราศจากคลอรีน 5 กิโลกรัม/ลิตร

­

ผักหรือผลไม้ล้างให้สะอาดปราศจากสารเคมีตกค้าง ละลายน้ำตาลในน้ำ แล้วนำผักผลไม้ที่ทำความสะอาดแล้ว ลงแช่ในสารละลายน้ำตาลในถังหมักที่มีฝาปิดมิดชิด ระยะแรกๆคอยกดผักผลไม้ให้จมน้ำ และเปิดฝาถังเพื่อระบายแก๊สที่เกิดขึ้น และปิดฝาไว้เช่นเดิม หมักไว้ 4 เดือนขึ้นไปสามารถใช้อุปโภคได้ เช่น ใช้ล้างจาน เช็ดทำความสะอาดคราบไขมัน ถูพื้น ล้างห้องน้ำ เช็ดกระจก ล้างรถ ซักผ้า น้ำผสมน้ำหมักที่ใช้ประโยชน์แล้วยังสามารถนำไปรดต้นไม้เป็นปุ๋ยชีวภาพได้ด้วย เทลงท่อระบายน้ำไม่ทำให้น้ำเน่า แต่เพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ช่วยสลายสารอินทรีย์ในน้ำลดการเน่าเสียของน้ำ ฯลฯ

­

คุณสมบัติของน้ำหมัก

- มีรสเปรี้ยว

- ค่าความเป็นกรดเบสประมาณ 2-4

- สีเหลืองถึงน้ำตาลอมแดงขึ้นอยู่กับสีของน้ำตาลและผัก

­

ผลไม้ที่ใช้หมัก

กลิ่นเหม็นเปรี้ยวเหมือนกรดน้ำส้มหรืออาจมีความหอมตามกลิ่นเดิมของผักผลไม้ที่ใช้หมัก และอาจมีกลิ่นแอลกอฮอล์ปนอยู่บ้างขึ้นอยู่กับระยะเวลาการหมัก

­

การใช้งาน

โดยผสมน้ำหมัก 1 ส่วนต่อน้ำสะอาดประมาณ 10 ส่วนและยังขึ้นอยู่กับลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์เช่น การล้างจาน การเช็ดทำความสะอาดคราบไขมัน ล้างห้องน้ำ เช็ดกระจก ต้องผสมน้ำน้อยลงเพื่อให้ของเหลวเข้มข้นยิ่งขึ้น แต่การล้างรถ ซักผ้า ผสมให้เจือจาง

­

ถอดบทเรียนสิ่้งที่ได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรม

3 ห่วง


ความพอประมาณ

• เหมาะสมกับปริมาณการใช้น้ำหมัก สถานที่ที่ใช้หมักผัก ผลไม้

• สอดคล้องกับฤดูกาลของผัก ผลไม้ใกล้ตัวในท้องถิ่น

• เหมาะสมกับงบประมาณ เวลา และจำนวนผู้ดูแล

มีภูมิคุ้มกัน

• เป็นทางเลือก ลดการใช้สารเคมี โดยนำน้ำหมักมาใช้แทน

• มีความปลอดภัย เพราะหมักเอง ใช้เอง ตามสูตรโบราณ

• รู้จักแก้ไขปัญหาและพึ่งพาตนเอง เกิดนิสัยพอเพียง

• สืบสานภูมิปัญญาไทยในการหมักให้คงอยู่สืบไป

• เกิดการพึ่งพาตนเอง

ความมีเหตุผล

• น้ำหมัก พืช ผัก ผลไม้ใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง

• ใช้พืช ผัก ผลไม้ในท้องถิ่น ตามฤดูกาล ที่มีมาก ล้นตลาดให้เกิดประโยชน์สูงสุด คุ้มค่า โดยการหมัก

• ลดภาวะโลกร้อนจากปริมาณขยะเปียกในชุมชน

­

2 เงื่อนไข

เงื่อนไขความรู้

• มีความรู้เกี่ยวกับ การหมัก ข้อควรระวังและความปลอดภัยในการใช้น้ำหมัก ประโยชน์ของพืช ผัก ผลไม้ ในท้องถิ่น

• แสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆที่หลากหลาย เช่น อินเทอร์เน็ต หนังสือ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน ฯลฯ

เงื่อนไขคุณธรรม

• เห็นคุณค่าและ ประโยชน์ของน้ำหมัก พืช ผัก และ ผลไม้ ในท้องถิ่น

• ประหยัด และ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แบ่งปัน ด้านความรู้ และแบ่งปันผลผลิตคือ น้ำหมัก

• เกิดความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาไทยเกี่ยวกับ การหมัก ประโยชน์ของน้ำหมัก พืช ผัก และ ผลไม้ ในท้องถิ่น

­

4 มิติ

• ด้านวัตถุ ใช้พืช ผักและผลไม้ ในท้องถิ่นตามฤดูกาลให้เกิดประโยชน์สูงสุด คุ้มค่า

• ด้านสังคม แบ่งปันและเผยแพร่ความรู้ ประโยชน์ของน้ำหมักให้แพร่หลาย

• ด้านสิ่งแวดล้อม ลดขยะเปียกที่เกิดจากพืช ผัก ผลไม้ตามฤดูกาลที่ล้นตลาดช่วยลดภาวะโลกร้อน

• ด้านวัฒนธรรม สืบสานวัฒนธรรมการหมักของไทย และประยุกต์ให้เกิดความหลากหลายโดยใช้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

­

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ