กลุ่มศูนย์ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการสร้างสรรค์ความรู้ เพื่อการพึ่งตนเอง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ จัดโครงการ "รู้ รักษ์ สืบสานเพลงเรือแหลมโพธิ์" ในพื้นที่เทศบาลเมืองคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อศึกษา เรียนรู้ สร้างสรรค์ และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เกี่ยวกับเพลงเรือแหลมโพธิ์ โดยผ่านกาัรสร้างนวัตกรรมกาัรเรียนรู้ ประกอบด้วย หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง เพลงเรือแหลมโพธิ์ และกิจกรรมอบรมนักเรียน รวมทั้งเวทีเสวนาในหัวข้อ "แนวทางในการอนุรักษ์สืบสานเพลงเรือแหลมโพธิ์ จังหวัดสงขลา " ระหว่างเด็กเยาวชน ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น ชาวบ้าน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง
วัตถุประสงค์โครงการ
- เพื่อสืบสานเพลงเรือแหลมโพธิ์ของ จ. สงขลา
- สร้างรูปแบบกระบวนการอนุรักษ์เพลงเรือแหลมโพธิ์อย่างยั่งยืน
- ให้เด็กและเยาวชนในจังหวัดสงขลา รู้จักและตระหนักถึงคุณค่าเพลงเรือแหลมโพธิ์
- เพื่อจัดทำหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบหลักสูตรท้องถิ่น โดยใช้เพลงเรือแหลมโพธิ์เป็นสื่อ
- เพื่อให้คณะทำงานเกิดทักษะ กระบวนการ ความรักความสามัครคีในหมู่คณะ
- เพื่อสรุปบทเรียน และจัดการองค์ความรู้ จากการลงพื้นที่ศึกษาเพลงเรือแหลมโพธิ์
8/12/55
สมาชิก
- นายอนุรัตน์ แย้มสุวรรณ (ประธานโครงการ)
- นายปริชญ์ แก้วชุม
- นางสาวทิวพร ส่งศรี
- นางสาวสาวิตรี ขาวมัน
- นางสาวจันทิรา รสเกิด (เลขาฯโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย
คณะทำงานประจำโครงการ (นิสิตแกนนำ) จำนวน 5 คน
แกนนำนักเรียน จำนวน 20 คน
เด็ก เยาวชน และบุคคลในพื้นที่ จำนวน 100 คน
ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 3 คน
นักวิชาการ ตัวแทน อปท. จำนวน 5 คน
ครู บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 5 คน
รายละเอียดกิจกรรม
ตารางปฏิบัติงานโครงการ
กิจกรรม | ระยะเวลา | ผู้รับผิดชอบ |
ระยะที่1 ขั้นเตรียมการ |
1-6 ธันวาคม 2555 13-16 ธันวาคม |
อนุรัตน์ และคณะ |
ระยะที่ 2 ขั้นตอนการดำเนินงาน |
17ธันวาคม2555-8 มีนาคม 2556 | อนุรัตน์ และคณะ |
ระยะที่ 3 ขั้นสรุป การติดตามและประเมินผลเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน |
11-29 มีนาคม 2556 | อนุรัตน์ และคณะ |
ผลที่เกิดขึ้น
- คณะทำงานได้ทักษะการเรียนรู้ กระบวนการการทำงานที่บูรณาการความรู้จากสาขาวิชาที่ศึกษา มาใช้จริงในการลงชุมชน
- เด็ก เยาวชน และคนในชุมชนตระหนักถึงคุณค่าของเพลงเรือแหลมโพธิ์
- มีการอนุรักษ์เพลงเรือแหลมโพธิ์ ในรูปแบบที่ชัดเจน และยั่งยืน
- ได้นวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ และหลักสูตรท้องถิ่น โดยใช้เพลงเรือแหลมโพธิ์เป็นสื่อ
ผู้สนับสนุน
สงขลาฟอรั่ม
เทศบาลเมืองคูเต่า
โรงเรียนคูเต่าวิทยา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
สิ่งที่ได้เรียนรู้
-
ฝึกการทำงานเรียนรู้อย่างเป็นระบบ
- ได้รับองค์ความรู้จากชุมชน