พวกเราได้ฝึกการใช้เครื่องมือในการสำรวจป่าเบื้องต้น จึงอยากเอามาใช้ในการสำรวจป่าสนธรรมชาติเมืองสงขลา เพื่อเก็บข้อมูลและเผยแพร่วิธีการใช้เครื่องมือสู่ผู้ที่สนใจ จึงทำการจัดกิจกรรมสำรวจป่าสนธรรมชาติ ณ แหลมสนอ่อน เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์
วัตถุประสงค์
- เพื่อศึกษาและรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับลักษระความสำคัญของระบบนิเวศป่าสนธรรมชาติและระบบนิเวศน์ชายหาด
- เพื่อต้องการสร้างเครือข่ายเยาวชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้ และอนุรักษ์ระบบนิเวศน์ป่าสนธรรมชาติและระบบนิเวศน์ชายหาด
-
เพื่อเผยแพร่ ความรู้ในวงกว้างให้กับชุมชน และเมืองเพื่อก่อให้เกิดความรักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในพื้นที่และร่วมกัน
เปิดพื้นที่ให้เป็นห้องเรียนรู้ธรรมชาติ
สมาชิก
- นายนิทัศน์ รัตนฉายา (เฟริส์)
- นายหัชสชัย จันทรศรี (ตอง)
- นางสาวสุจารี บุญยอด (เมย์)
- นายนฤพล ไกรนรา (โอม)
- นายศิวกร มินอิน (โม)
ผู้เข้าร่วมเรียนรู้
- เจ้าหน้าที่โครงการจำนวน 5 คน
- เจ้าหน้าที่สงขลาฟอรั่มจำนวน 6 คน
- ประชาชนทั่วไปที่สนใจเข้าร่วมจำนวน 15 คน
- เด็กและเยาวชนจำนวน 20 คน
รายละเอียดกิจกรรม
ช่วงเช้า
การให้ความรู้ เรื่องป่าสนบริเวณแหลมสนอ่อนโดยการเดินสำรวจจากบริเวณแหลมสนอ่อนโดยรอบและลง สำรวจด้วยตนเองในแปลงสาธิตที่เตรียมไว้จำนวน 3 แปลง ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ คือ การใช้เครื่องมือในการสำรวจป่าการสำรวจ ประเมินสภาพป่า โดยใช้การวางแปลงสุ่มตัวอย่างแบบจำแนกชั้น
ช่วงบ่าย
การสรุปข้อมูลจาก การสำรวจ และการประเมินสภาพป่าจากแปลงสาธิตทั้ง 3 แปลง อีกทั้งยังมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้สิ่งที่ได้จากการสำรวจครั้งนี้
กิจกรรมกอดสนสื่อรัก เป็นการกอดต้นสนเพื่อแสดงออกถึงความรักและเป็นการขอบคุณป่าสนที่เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับพวกเรา
ภาพกิจกรรม
ภาพที่ 1 อธิบายถึงลักษณะทั่วไปและข้อมูลเบื้องต้น
ภาพที่ 2 อธิบายข้อมูลเบื้องต้นที่ได้สำรวจข้อมูลไว้
ภาพที่ 3 แบ่งกลุ่มสำรวจในแปลงสาธิตที่เตรียมไว้
ภาพที่ 4 แบ่งกลุ่มสำรวจและศึกษาสภาพป่าสน
ภาพที่ 5 ล้อมวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ผลที่ได้รับ
- เยาวชนได้เรียนรู้ถึงลักษณะสำคัญของระบบนิเวศป่าสนธรรมชาติ และระบบนิเวศชายหาด
- เกิดเครือข่ายเยาวชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้และอนุรักษ์ระบบนิเวศแหลมสนอ่อน เยาวชนกลุ่มแกนนำและเยาวชนกลุ่ม เครือข่ายรวมทั้งประชาชนมีองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศป่าสนธรรมชาติ และระบบนิเวศชายหาด จนเกิดความรักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในพื้นที่ตลอดจนเปิด พื้นที่ให้กลายเป็นห้องเรียนทางธรรมชาติ
- ได้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสภาพของป่าสนซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเก็บรวมรวบชุดข้อมูลในการทำโครงการ