กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
กิจกรรม ชี้แจงโครงการ และค้นหาแกนนำในพื้นที่
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

การสร้างความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรมโครงการ และการค้นหาแกนในระดับพื้นที่ จังหวัดสตูล โดยกระบวนการพูดคุยในแบบชาวบ้านๆ


วัตถุประสงค์

1.ค้นหาแกนนำชุมชนที่มีความเหมาะสมที่จะมาร่วมดำเนินงาน เพื่อทำความเข้าใจ เป้าหมายและแนวทางในการดำเนินโครงการ

วิธีการทำงาน

  1. ลงพื้นที่พูดคุยกับคนที่เป็นแกนนำที่มีความเหมาะสมที่จะร่วมดำเนินงาน
  2. จัดประชุมทำความเข้าใจเป้าหมายและแนวทางในการดำเนินโครงการกับแกนนำ

กระบวนการชวนคุย

1.เกริ่นนำ ที่มา ชื่อโครงการ เป้าหมาย กระบวนการ ระยะเวลา งบประมาณ

2.ล่อเหยื่อ ทำให้เห็น “คุณค่า” ของภารกิจเนื้องาน ชุมชนต้นแบบ บริหารจัดการตัวเองได้ – แหล่งเรียนรู้ -เกิดแกนนำชุมชน

3.ลองใจ การตัดสิน (เขา) ทีมวิจัย

4.เปิดวง ดูแผนที่ มองภาพใหญ่สู่ภาพเล็ก / ระดมความคิดเห็น (วิธีการ)

5.ทบทวนสิ่งมี ภาพใหญ่ ตามประเด็น (มี/ไม่มี)-แหล่งข้อมูล วิธีการ

การตรวจสอบทุนด้านข้อมูลที่มีในชุมชน โดยการใช่ตารางดังนี้

 

ประเด็น

มี(ข้อมูล)

ไม่มี(ข้อมูล)

ถ้าไม่มีทำอย่างไรให้มี

 

 

 

 

 

ข้อสังเกต  ยกตัวอย่างประเด็น ชวนมองภาพอนาคตระหว่างประเด็น

6.ให้โจทย์รับผิดชอบ (หาเจ้าภาพ) และนัดหมาย

7.สรุปโดยการถอดความรู้สึกจากผู้เข้าร่วม

-ประเมินความสนใจผู้เข้าร่วม

-ดึงความรู้สึกต่อภารกิจ(หมุนเวียนพื้นที่)

-พัฒนาทักษะการ “สรุปความรู้



กำหนดการและรายงานผล
02
กรกฎาคม
2012
ชุมชนบ้านหลอมปืน หมู่ที่ 14 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
00.00 น.
ชี้แจงรายละเอียดโครงการ “สึนามิ”

จากการลงพื้นที่ชี้แจงโครงการโดยการนำเสนอข้อมูลรายละเอียดการดำเนินงานโครง"สร้างชุมชนบริหารจัดการตัวเองในพื้นที่ประสบพิบัติภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิ"จ.สตูล ซึ่งจากการนำเสนอก็ได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ โดยผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่เป็นชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน ทุกคนตลงกันว่าจะลองทำดูโดยการให้เหตุผลประกอป เช่น นายอารีย์ ติงหวัง บอกว่า "การดำเนินงานโครงการนี้น่าจะตอบโจทย์ความต้องการได้เนื่องจากเป็นโครงการที่ต้องใช้ข้อมูลเป็นหลักในการประกอปการตัดสินใจในการเลือกเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อที่จะขับเคลื่อนในระดับชุมชน ให้เป็นชุมชนจัดการตนเอง" และยังบอกอีกว่า "กระบวนขับเคลื่อนน่าจะสามารถพัฒนาตัวแกนนำได้ ทั้งในเรื่องของทัศนคติ ทักษะ และเรื่องอื่นๆ"

ทีมขับเคลื่อนระดับชุมชนโครงการ "สึนามิ"

นายอารีย์ ติงหวัง
นายบ่าว สาหมีด
นายนิด กมลเจริญ
นายเจ๊ะดารา หวันตาหลา
นายกอเฉ็ม ฮารี
นายสมพงษ์ กาเหร็ม
นายซาการียา โชคงาม
นายประพันธ์ ฮ่องสาย
นางสาวมลิวรรณ งะสวรรค์
นางยูรีย๊ะ หมาดเหยด
นายรมหลี อย่างทิ้ง
นายสมชาย บัวศรี
นางบีฉ๊ะ องศารา
นายดิชรินทร์ สงชัย
นายธนิด ยาหยาหมัน
นายบีซอน โสะตา
นายธนิต ยาหยาหมัน

หลังที่ได้พูดคนและตกลงร่วมกันแล้ว ก็ได้มีการระดมข้อมูลกันบางส่วน แต่ไม่ลงรายละเอียดของข้อมูล ซึ่งเป็นการระดมประเด็นข้อมูลที่ต้องการที่จะศึกษา ทั้งในส่วนของข้อมูลพื้นฐาน หรือข้อมูลทรัพยากร เป็นต้น จากนั้นก็ได้มีการนัดหมายกันต่อเพื่อที่จะมาทำข้อมูลกัน ซึ่งได้ให้โจทย์กับทีมไปค้นหาข้อมูลที่เคยได้ทำมาก่อน เช่น รายงานวิจัย ข้อมูลพื้นฐานชุมชนจากผู้ใหญ่บ้าน แล้วนำมาดูกันในการประชุมครั้งต่อไป
05
กรกฎาคม
2012
ชุมชนบ้านบุโบย หมู่ที่ 3 ตำบลแหลมสน อำเภอละงู จังหวัดสตูล
00.00 น.
ชี้แจงรายละเอียดโครงการ"สึนามิ"

จากการลงพื้นที่บ้านบุโบย คุณสมพงษ์ หลีเคราะห์ ได้บอกเล่าถึงสาเหตุที่มาประชุมในครั้งนี้ และชี้แจงรายละเอียดของโครงการสร้างชุมชนบริหารจัดการตัวเองในพื้นที่ประสบภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ระยะเวลา และกระบวนการทำงานที่ได้มีการเสนอต่อมูลนิธิสยามกัมมาจล ซึ่งขณะนี้โครงการได้ผ่านการอนุมัติแล้ว และการดำเนินงานของโครงการมีลักษณะเป็นอย่างไร โดยมีการเปรียบเทียบกันระหว่างงานของมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อท้อง เมื่อได้นำเสนอรายละเอียดโครงการแล้วก็ได้เปิดโอกาสให้ชุมชนเป็นผู้ตัดสินใจว่า”เอาหรือไม่เอา”โครงการนี้พร้อมบอกเหตุผลด้วย เพื่อเป็นการลองใจ โดยผู้เข้าร่วมตัดสินร่วมกันทั้งหมดว่า”เอา” โดยให้ความห็นว่า "โครงการนี้เป็นโครงการที่มีทั้งการศึกษาข้อมูลแบบงานวิจัย แต่ที่ต่างกันคือสามารถศึกษาแล้วนำข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์สู่การพัฒนาได้เลย"


ทีมขับเคลื่อนระดับชุมชนโครงการ"สึนามิ"

นางหาหรีอ๊ะ ติ่งสง่า
นายสนาน สันนก
นางหาสิอ๊ะ จิตรหลัง
นางดีนะ หลังปาน

หลังจากที่ได้มีการพูดคุยก็ได้มีการระดมประเด็นต่างๆแล้วจึงชวนคุยตรวจสอบทุนด้านข้อมูลที่มีอยู่ว่ามีข้อมูลแล้วหรือไม่ ถ้ามีอยู่ที่ไหน ใครสามารถนำมาได้ ถ้าไม่มีจะทำกันอย่างไร และเมื่อได้ระดมกันเสร็จแล้วก็ได้มอบหมายภารกิจให้นำข้อมูลประเด็นที่มีอยู่แล้วมาด้วยในการประชุมครั้งต่อไป พร้อมทั้งนัดหมายวันเวลาในการชุมครั้งต่อไปด้วย
21
กันยายน
2012
ตำบลขอนคลาน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
00.00 น.
ชี้แจงรายละเอียดโครงการ วันที่ 21 กันยายน 55

ตำบลขอนคลาน ประกอปด้วย 4 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านขอนคลานตะวันออก หมู่ที่ 2 บ้านราไวใต้ หมู่ที่ 3 บ้านขอนคลานตะวันตก และหมู่ที่ 4 บ้านราไวเหนือ ซึ่งการนี้มีการขับเคลื่อนที่ต่างจากชุมชนอื่น ที่มีการขับเคลื่อนในระดับหมู่บ้าน แต่ขอนคลานเป็นการขับเคลื่อนในระดับตำบล โดยทีมขับเคลื่อนส่วนจะจะมาจากแต่ละหมู่บ้าน ทีมนี้ได้มีการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมาโดยการขับของสภาองค์กรชุมชน ต่อได้มีการประสานงานกันระหว่าง คุณสมพงษ์ หลีเคราะห์ ผู้ประสานงานศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จ.สตูล กับ คุณอับดุลรอซัก เหมหวัง แกนนำขับเคลื่อนในชุมชน เพื่อที่จะลงพื้นที่นำเสนอรายละเอียดโครงการ “สร้างชุมชนบริหารจัดการตัวเองในพื้นที่ประสบพิบัติภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิ”จ.สตูล

จากการลงพื้นที่ตำบลขอนคลาน ครั้งแรกเป็นที่ได้รับการตอบรับอย่างดี โดยดูจากผู้เข้าร่วมที่มากันจำนวนมาก จากนั้นก็ได้นำเสนอรายละเอียดโครงการ ความเป็นมา วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และกระบวนการดำเนินงาน แล้วช่วนวิเคราะห์ถึงทิศทางในอานาคตของโครงการโดยใช้ฐานข้อมูลที่มีอยู่ก่อน หรือชุดองค์ความรู้เดิมจากการสะท้อนของทีมผู้เข้าร่วม โดยคุณสมพงษ์ หลีเคราะห์ ผู้ประสานงานฯ และเปิดโอกาสให้ชุมชนแสงดความคิดเห็นโดยให้เหตุและผลประกอป ว่าจะทำโครงการนี้หรือไม่ทำ โดยคุณอับดุลรอซัก เหมหวัง ได้กล่าวว่า" การดำเนินงานโครงการนี้น่าจะสามารถทำให้ได้เห็นภาพมุมกว้างของชุมชน การรวบรวมฐานข้อมูลแต่ส่วนนั้นมีความสำคัญ เพื่อประกอบการตัดสินใจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และที่สำคัญไปกว่นั้นคือได้เห็นแววตาความมุ่งมั่นในการทำงานนี้ของทีม

หลังจากนั้นก็ได้มอบหมายให้ทีมเตรียมข้อมูลเตรียมข้อมูลที่มีทั้งหมดที่รวบรวมไว้แล้วมาด้วยในการประชุมครั้งเพื่อนำมาเช็คข้อมูล ว่ามีมากน้อยแค่ไหน และส่วนไหนบ้างที่ต้องค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม และนัดหมายการประชุมในครั้งต่อไป



ทีมขับเคลื่อนระดับชุมชนโครงการ"สึนามิ" วันที่ 28 กันยายน 55

นายอับดุลรอซัก เหมหวัง
นายสมนึก ขุนแสง
นายหมาดหยาบ สันม่าหมีน
นางดวงพร ชุ่มพลวงค์
25
กันยายน
2012
ชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก หมู่ที่ 1 ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล
00.00 น.
ชี้แจงรายละเอียดโครงการ"สึนามิ"

การลงพื้นที่บ้านบ่อเจ็ดลูก บ้านบ่อเจ็ดลูกเป็นชุมชนที่ผ่านงานพัฒนามามากมาย หนึ่งในนั้นคือผ่านงานวิจัยโครงการศึกษาศักยภาพของชุมชนเพื่อการจัดการท่องเที่ยวบ้านบ่อเจ็ดลูก และได้มีการจัดการท่องเที่ยวด้วย จึงมีทุนทางข้อมูลที่ค่อนข้างมาก อันนี้ไม่รวมถึงทุนอื่นในชุมชน ซึ่งจากการผ่านการทำกิจกรรมที่หลากหลายนี้ ทำให้การนำเสนอโครงการ “สร้างชุมชนบริหารจัดการตัวเองในพื้นที่ประสบพิบัติภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิ”จ.สตูล จึงไม่ยากนัก ซึ่งการชี้แจงโครงการเป็นเพียงการนำเสนอถึงรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ โดยการนำเสนอของคุณสมพงษ์ หลีเคราะห์ ผู้ประสานงานศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จ.สตูล เมื่อนำเสนอเสร็จก็เป็นการวิเคราะห์ให้เห็นทิศทางของงานในอนาคตจากฐานข้อมูลที่มีอยู่ ว่าจะพัฒนาหรือขับเคลื่อนต่อในเรื่องใด โดยต้องเชื่อมโยงให้เข้ากับการจัดการท่องเที่ยวที่ชุมชนได้ดำเนินการมาก่อน ให้ถือเป็นการต่อยอดงานเดิมให้ชัดเจนมากขึ้นด้วย

เมื่อได้มีการชี้แจงโครงการและวิเคราะห์ทิศทาง ก็เปิดโอกาสให้ตัดสินใจว่าจะทำหรือไม่ทำโครงการนี้ และนัดหมายต่อโดยให้ทีมเตรียมข้อมูลชุมชนที่มีทั้งหมดมาด้วยในการประชุมครั้งต่อไป



ทีมขับเคลื่อนระดับชุมชนโครงการ"สึนามิ"

นายยูหนา หลงสมัน
นางเสียะ สาหลัง
นางจันทรา ไลกสิกรรม
นางสาวปิยดา เด่นเก
นายเติมศักดิ์ มรมาศ
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ