โครงการกระบวนการผลิตน้ำปลา โดยใช้ข้อมูลความรู้เป็นฐานเพื่อสร้างอาชีพทางเลือกของชุมชน  บ้านบางกล้วยนอก ตำบลนาคา อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง (phase 1)
โครงการกระบวนการผลิตน้ำปลา โดยใช้ข้อมูลความรู้เป็นฐานเพื่อสร้างอาชีพทางเลือกของชุมชน บ้านบางกล้วยนอก ตำบลนาคา อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง (phase 1)
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
วิเคราะห์ข้อมูลชุมชนครั้งที่ 2
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

ติดต่อประสานงานแกนนำชุมชนบางกล้วยนอก เพื่อลงพื้นที่ตามการนัดหมายในสถานที่พบแกนนำ สถานที่ ม.3 ต.นาคา อ.สุขสำราญ จ.ระนอง


วัตถุประสงค์

  • เพื่อประสานพูดคุยการดำเนินงานที่ผ่านมาของชุมชน
  • เพื่อวิเคราะห์ฐานข้อมูลชุมชนและออกแบบกระบวนการการพัฒนาโครงการชุมชน

กำหนดการและรายงานผล
02
สิงหาคม
2012
ภาพรวมของการวิเคราะห์ของทีมน้ำปลา ชุมชนบ้านบางกล้วยนอก
00.00 น.
ภาพรวมของการวิเคราะห์ของทีมน้ำปลา ชุมชนบ้านบางกล้วยนอก เป็นไปได้เรียบง่าย เพราะคนที่เข้าร่วมทุกคนมีประสบการณ์จากการทำงานวิจัยหลายโครงการและสามารถดำเนินได้ในทีมงานโดยพี่เลี้ยงอาสาสึนามิเองก็มีบทบาทในการวิเคราะห์คนทำงานและชุมชนของบ้านบางกล้วยนอกอีกทีหนึ่ง จึงทำให้หัวหน้าโครงการ คุณ ดลก้อเส็ม ผดุงชาติ เองกว่าจะได้รู้กระบวนการ การทำงานวิจัยนี้ก็ผ่านอุปสรรคมามากพอสมควร จึงเป็นประสบการณ์ที่ดีที่ได้ร่วมงานและเรียนรู้ไปพร้อมกันกับทีมน้ำปลาบ้านบางกล้วยนอกสิ่งที่เป็นทุนเดิมของทีมวิจัยชุมชนบ้านบางกล้วยนอกคือ การทดลองหมักน้ำปลาที่เป็นจุดก่อเกิดของงานวิจัย สามวงล้อ ที่ได้นำมาจากวิถีชุมชนบ้านบางกล้วยนอกแล้วมองลึกลงไปในสัดส่วนของวัตถุดิบในโอ่งน้ำปลาแล้วนำมาเชื่อมกับคนในชุมชนที่ได้เป็นฐานทุนเดิมของการวิจัย สามวงล้อ คือ การมองลึกในโอ่งที่เห็นวัตถุดิบ สัดส่วนของการหมักที่มาจากสวนเกษตร มีน้ำที่มาจากป่าต้นน้ำ มีปลาที่มาจากทะเล แล้วนำไปสู่การค้นคว้าวิจัยกลายมาเป็น การจัดการทรัพยากรที่ยั่งยืนในชุมชนบ้านบางกล้วยนอก
คุณ ดลก้อเส็ม ผดุงชาติ หัวหน้าโครงการ ได้อธิบายถึงคำถามที่มีการวิเคราะห์จากเวที วันที่ 10กรกฎาคม 2555 ณ หาดประพาส ว่า ในความรู้สึกส่วนตัว เวลามันน้อยในการตอบคำถามแต่ก็ชวนทางทีมวิจัยดูถึงคำถามที่มีการชักถามและวิเคราะห์ในเวทีที่ผ่านมาของ วันที่ 10 กรกฎาคม 2555 แล้วเราจะเอาอะไรไปเชื่อมกับคนทั้งสามฐาน ? ซึ่งเป็นคำถามในเวทีที่ผ่านมา เช่น อย่างไรก็ตามสำหรับงานวิจัยดังกล่าวอยากชวนมองว่า ในการอธิบายในตอนแรกเราเชื่อมโยงเรื่องทรัพยากรว่าเริ่มต้นมาจากการทำน้ำปลา แต่พอน้ำปลา หายไปเราจะอธิบายเชื่อมโยงต่อได้อย่างไรเพื่อให้เห็นความต่อเนื่องในการทำวิจัย? คุณ ดลก้อเส็ม ผดุงชาติ เองก็พยายามอธิบายแต่ด้วยเวลาที่มันน้อยและจำกัดทำให้การอธิบายได้ไม่ครบถ้วนของการหมักน้ำปลาที่หายไป แต่ด้วยประเด็นคำถามจึงได้บอกเพียงว่า “ที่นี่ไม่ได้ขายน้ำปลา แต่ขายเบื้องหลังของน้ำปลา” ที่มีกิจกรรมความรู้มากมายของชุมชนบ้านบางกล้วยนอก คุณ ฝ้าลีห๊ะ ผดุงชาติ ทีมวิจัย ได้พูดถึงคำถามของคุณ มานพ ว่า ที่ทางคุณ มานพ ช่วยวิเคราะห์ให้กับกลุ่มน้ำปลาใน
คำถามที่ว่าถ้าหากเป้าหมายเราไปสู่วิสาหกิจชุมชนมันจะ อาจอยู่ไม่ได้แล้วเกิดการแข่งขันของตลาด ฉะนั้นทางทีมกลุ่มน้ำปลา
คิดอย่างไร? คุณ ดลก้อเส็ม ผดุงชาติ หัวหน้าโครงการจึงตอบคำถามนี้ แล้วหารือกับทีมพี่เลี้ยงว่าจะได้หรือไม่ ? ถ้าหากเราจะทำการหมักน้ำปลาให้มีขนาดโอ่ง สำหรับครัวเรือนเพื่อที่จะให้เกิดคน แล้วเชื่อมคนให้มามีส่วนร่วมของชุมชน ส่วนหนึ่ง ปัญหาได้ถูกคลี่คลาย และเกิดการพึ่งพาตนเอง จากที่ได้หมักน้ำปลาแล้วให้มีอยู่ในครัวเรือนที่รับประทานน้ำปลาทุกครัวเรือนแล้วยังลดรายจ่ายให้กับครัวเรือนอีกทางหนึ่ง ของการลดร่ายของครัวเรือน คุณ ณัฐกานต์ ไท้สุวรรณ ถ้าเราต้องการให้เกิดแผนงานการขับเคลื่อนที่สมบูรณ์ เราควรจะเริ่มแผนงานการขับเคลื่อนอย่างไร ?
คุณ ห๋าตีย๋า เขาชายทอง ตั้งคำถาม การลงรายละเอียดของแผน อย่างไร แบบนั้นใช่ไหม !!!!
คุณ ณัฐกานต์ ไท้สุวรรณ ตอบว่าเราจะต้องช่วยกันวิเคราะห์กันในทีมนี้แหละ ? ทั้งผู้ใหญ่และน้องๆเยาวชนแล้วทำอย่างไร ? ให้เด็กได้พัฒนาไปพร้อมๆกับเรา........


สิ่งที่ได้วิเคราะห์
(1) การบริโภคน้ำปลา
(2) คนจาก๓ฐาน ป่าต้นน้ำ ป่ากลางน้ำ ป่าปลายน้ำ(ป่าชายเลน)
(3) ทีมคนทำงานวิจัย


ผลจากการวิเคราะห์


(1) การบริโภคน้ำปลา จำเป็นต้องสำรวจเก็บข้อมูลอีกครั้ง เพื่อดูในเชิงปริมาณการบริโภคน้ำปลาในปัจจุบันมีการบริโภคมากน้อยเพียงใด ?
(2) คนจาก๓ฐาน ตั้งวงคุย วิเคราะห์ สถานการณ์แต่ละฐานในปัจจุบันว่ามีการขับเคลื่อนอยู่หรือไม่อย่างไร ?
(3) วิเคราะห์ทีมคนทำงานปัจจุบัน ว่ามีกำลังคนที่จะมาทำงานวิจัยร่วมกับเราหรือไม่อย่างไร ?


คุณ ดลก้อเส็ม ผดุงชาติ ตั้งคำถาม หัวหน้าโครงการจึงได้สรุปคนทำงานของทีมวิจัยได้ดังนี้

ทีมวิจัยที่เป็นทีมปฏิบัติงานการหมักน้ำปลาหรือทีมที่ถนัดทางการหมักคือ มีผู้ใหญ่ ๔ คน เป็นทีมผลิต วิทยากรในการสอนให้กับคนอื่นที่สนใจมาเข้าร่วมในการหมักน้ำปลา
ทีมข้อมูลที่เป็นทีมวิจัยเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สังเคราะห์ข้อมูล เรียบเรียงข้อมูล คือ มีผู้ใหญ่ ๖ คน
ทีมวิจัยเด็กเยาวชน ทีมที่จะเข้ามาเรียนรู้งานวิจัยในชุมชนที่เป็นเด็กรุ่นใหม่ และเป็นลูกหลานของผู้ใหญ่ ที่ทำงานวิจัยในชุมชนมาแล้วมีทั้งหมด 13 คน โดยจะเรียนรู้งานควบคู่กับผู้ใหญ่ในการแนะนำและฝึกปฏิบัติงานวิจัยไปในตัว และจะได้เรียนรู้ด้วย

คุณ ณัฐการต์ ไท้สุวรรณ ตั้งคำถามกับเด็กเยาวชนว่า สนใจหม้ายงานวิจัย ?เด็กเยาวชน ตอบ สนใจเพราะเป็นความรู้และได้เป็นเหมือนกับผู้ใหญ่ที่มาในวันนี้ และได้ความรู้ด้วยเช่นกัน
คุณ ฝ้าลีห๊ะ ผดุงชาติ ตั้งคำถาม คิดอย่างไรจึงมาทำงานวิจัย แล้วมาประชุมกับทีมในวันนี้ ?
เยาวชน น้องแอด คิดอยากทำและสนใจในการหมักน้ำปลา เพราะที่บ้านจะได้ไม่ต้องซื้อน้ำปลาของท้องตลาด และคิดว่ามันได้ประโยชน์ทั้งชุมชน
น้อง ไดอาน่า อยากทำ และ อยากทำงานวิจัยเหมือนม๊ะ ( แม่ ) ที่ทำงานวิจัยมานานมาก แล้วได้สร้างประโยชน์ให้กับชุมชนที่เป็นบ้านของเรา
น้อง หยำ อยากทำเหมือนกัน สนใจงานวิจัยเหมือนกัน เพราะทำแล้วมันเกิดความสนุกสนาน จึงเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้อีกครั้ง
คุณ ดลก้อเส็ม ผดุงชาติ ตั้งคำถามแล้วไซถึงชอบทำงานวิจัย ?
น้อง แอด ได้ประโยชน์และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของตัวเราได้ ได้ ความรู้ที่เราเก็บข้อมูลต่างๆมาได้ขยายความรู้บอกต่อให้เพื่อนคนอื่น แนะนำให้เขามาทำงานวิจัยบ้าง
น้องไดอาน่า ได้ทำกินเองไม่ต้องซื้อ ได้ประหยัดเงิน ได้พึ่งพาตนเอง
สรุปจากการประชุมทีม ว่าเราจะสำรวจ ข้อมูลพื้นฐาน/จำนวนสมาชิกในครัวเรือนว่าเพิ่มขึ้นมากน้อย มีการเปลี่ยนแปลงไปกว่า 4 ปีที่แล้วอย่างไรการบริโภคน้ำปลาจากฐานคนทรัพยากรทั้ง 3 ฐาน ป่าต้นน้ำ กลางน้ำ ป่าชายเลนปัญหาหรือสถานการณ์การขับเคลื่อนง่ายในแต่ละฐาน ว่าเป็นไปในทิศทางใดในปัจจุบัน จึงได้มอบหมายให้ทางทีมวิจัยชุมชน นำกิจกรรมทั้ง 3 กิจกรรมเขียนเป็นโครงการย่อย ภายใต้งบประมาณ10,000บาท เพื่อเป็นการวิจัยในโครงการเล็กๆ ในการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาสู่แผนโครงการและแผนชุมชนต่อไป
การขับเคลื่อนงาน การวิเคราะห์ชุมชน การบริโภคน้ำปลา วิเคราะห์คนจาก 3 ฐาน ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ
สมาชิกทีมวิจัย ผู้ใหญ่ 10 คน ประกอบด้วย ทีมผลิต หวาม่า หวาตี่ หวาหมี่ หวาม๊ะ ( หวา คือคำที่ใช้แทนการเรียกผู้ใหญ่ที่มีความหมายแปลว่า ลุง ป้า เป็นภาษาถิ่น )
ทีมวิจัยด้านข้อมูล คุณ ดลก้อเส็ม ผดุงชาติ คุณ หาตีย๋า เขาชายทอง คุณ สาอูดะ คงยศ คุณ มาเรียม มาโนยน์ คุณ พรรณี เกี่ยวสด คุณ ฝ้าลี่ห๊ะ ผดุงชาติ
สมาชิกทีมวิจัยเยาวชน 13 คน ประกอบด้วย น้องฟ๊ะ น้องหยำ น้องได๋ น้องต้า น้องแอด น้องด้อน น้องติก น้องเขียว น้องตูน่า น้องอารัน น้องเหม น้องฝน น้องอากีด๊ะ
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

        ชุมชนได้ร่วมกันออกแบบการกระบวนการเรียนรู้วิเคราะห์ชุมชนจากฐานคน ฐานทรัพยากรทั้ง ๓ ฐาน  ป่าต้นน้ำ  กลางน้ำ  และปลายน้ำ  สถานการณ์การขับเคลื่อนงานการจัดการทรัพยากร  โดยใช้กระบวนการหมักน้ำปลาเป็นการเชื่อมร้อยคนและกิจกรรมที่เป็นความรู้ของ ชุมชน  พร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพเด็กเยาวชนในชุมชน ให้เป็นทีมคนทำงานที่จะทำงานด้านสังคมให้เกิดการพัฒนา  ที่มาจากการสร้างทีมในงานวิจัยในการเรียนรู้ครั้งนี้  และทาง  โดยทางแกนนำกลุ่มน้ำปลา  ที่มีทำงานกันมาก่อน  ได้เสนอกิจกรรมที่จะเรียนรู้พร้อมกับการพัฒนาแกนนำใหม่  ที่จะเข้ามาทำงานวิจัยโดยได้ช่วยกันคิดกิจกรรมที่จะเรียนรู้  ทั้ง๓ฐานที่มีการชวนกันวิเคราะห์ข้างต้น  ของการชวนคิดชวนคุยผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่ทางทีมพี่เลี้ยง ได้ชวนดูถึงปัญหาการทำงานการทดลองหมักน้ำปลาที่ผ่านมา  และสิ่งที่ทางทีมกลางจากพื้นที่ ที่รับงบประมาณของโครงการในพื้นที่สึนามิที่ได้ลงมารับฟังการนำเสนอโดยคนทำ งานที่หาดประพาส ในวันที่๑๑กรกฎาคม พ.ศ๒๕๕๕  ที่ผ่านมา ก็ได้เห็นถึงการที่จะพัฒนากิจกรรมทางความรู้ของกลุ่มน้ำปลา  ให้มีการขับเคลื่อนงานวิจัยให้ทางแกนนำ  พร้อมด้วยแกนนำใหม่ที่เป็นสมาชิกเยาวชนของชุมชนอยู่แล้ว  ได้ลองเรียนรู้ผ่านโครงการวิจัยที่สร้างการเรียนรู้ไปพร้อมกับการพัฒนาที่ ทางแกนนำคิดขึ้นมาในการเรียนรู้ทั้งแกนนำเก่าทีมวิจัยผู้ใหญ่และแกนนำใหม่ ที่เป็นเด็กเยวชน  โดยการเขียนเป็นโครงการขึ้นมาเพื่อเสนอต่อศูนย์ประสานงานวิจัยในท้องถิ่น  เพื่อที่จะทำการตั้งเบิกงบประมาณใว้ให้กับทางชุมชนในการขับเคลื่อนงานและได้ ดำเนินงานการเรียนรู้ของกลุ่มน้ำปลา  โดยคุณ ฝาลี่ห๊ะ  ผดุงชาติ  จะเป็นผู้เขียนโครงการและนำเสนอให้กับทางศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ต่อไป