คุณ ณัฐกานต์ ไท้สุวรรณ ชี้แจงหลักการและเหตุผลของโครงการกรอบงบประมาณและตัวชี้วัดของโครงการ ผู้สนับสนุนงบประมาณ (แหล่งทุน) ผู้ดูแลโครงการ (องค์กรมูลนิธิ) ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ แหล่งทุน คือ ธนาคาร ไทยพาณิชย์ ผู้ดูแลโครงการคือมูลนิธิ สยามกัมจล ผู้ปฏิบัติงาน คือ องค์วิจัยเพื่อท้องถิ่นในพื้นที่ ที่เป็นพื้นที่ประสบพิบัติภัย สึนามิ ที่รับงบประมาณ 3 จังหวัด คือ จังหวัด ตรัง จังหวัด สตูล และ จังหวัด ระนอง ในพื้นที่จังหวัด ระนอง มี 3 พื้นที่ ที่เป็นพื้นที่เป้าหมายของโครงการสึนามิ ประกอบด้วย ชุมชนบ้านกำพวน ชุมชนบ้านบางกล้วย และชุมชนบ้านทะเลนอก
คุณ ณัฐกานต์ ไท้สุวรรณ
ชี้แจงหลักการและเหตุผลของโครงการกรอบงบประมาณและตัวชี้วัดของโครงการ
ผู้สนับสนุนงบประมาณ (แหล่งทุน) ผู้ดูแลโครงการ (องค์กรมูลนิธิ)
ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ แหล่งทุน คือ ธนาคาร ไทยพาณิชย์
ผู้ดูแลโครงการคือมูลนิธิ สยามกัมจล ผู้ปฏิบัติงาน คือ
องค์วิจัยเพื่อท้องถิ่นในพื้นที่ ที่เป็นพื้นที่ประสบพิบัติภัย สึนามิ
ที่รับงบประมาณ 3 จังหวัด คือ จังหวัด ตรัง จังหวัด สตูล และ จังหวัด ระนอง
ในพื้นที่จังหวัด ระนอง มี 3 พื้นที่
ที่เป็นพื้นที่เป้าหมายของโครงการสึนามิ ประกอบด้วย ชุมชนบ้านกำพวน
ชุมชนบ้านบางกล้วย และชุมชนบ้านทะเลนอก ซึ่งมีน้องอาสาสมัครโครงการ ชื่อ
น้องย๊ะ ร่อวีย๊ะ กายสะอาด นักวิจัยท้องถิ่นชุมชนกำพวน ที่เชิญชวนมาทำงาน
ก่อนจะได้น้องย๊ะ มาทำงาน ก็เชิญชวนน้องพิ้งค์ ลัดดา อาจหาญ
นักวิจัยท้องถิ่นบ้านทะเลนอก ที่เขามีงานก่อนหน้านี้อยู่แล้ว จึงได้
น้องย๊ะ เข้ามาช่วยแทน
ตัวชี้วัดของแหล่งทุน และผู้ดูแลโครงการ ที่เขาต้องการ คือ
ตัวชี้วัด กระบวนการ/เทคนิค สิ่งที่จะพัฒนา
(1) คนเก่งขึ้น - มีคนทำงานมากขึ้น
- มีคนรุ่นใหม่
- คนทำงานได้พัฒนา ได้คนทำงานเพิ่ม
มีคนรุ่นใหม่เข้ามาช่วยงาน
และทำงานวิจัยเพิ่มขึ้น
(2)ปัญหาถูกคลี่คลาย - ได้เห็นถึงปัญหา
- ปัญหานั้นได้ถูกแก้ไข ได้คนทำงานที่มองเห็นถึง
ปัญหาแล้วเกิดคนทำงานวิจัย
(3)เกิดกลไกลการจัดการ - มีกระบวนการที่ชัดเจน
- มีทีมทำงาน
- ได้ขยายออกสู่ผู้อื่นในชุมชน ได้คนทำงานที่มีความเข้าใจใน
งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นมากขึ้น
คุณ ฝ้าลีห๊ะ ผดุงชาติ ตั้งคำถามว่า กับทางทีมวิจัยจะเอาหรือไม่เอาโครงการนี้ ! ทีมวิจัยบางกล้วยนอกตอบว่า “เอา”
คุณ ห้าตี่ย๋า เขาชายทอง ตั้งคำถามว่า แล้วเราจะทำพรือ ? (ทำอย่างไร) เพราะงานและกิจกรรมของชุมชนมีเยอะมาก !
คุณ ดลก้อเส็ม ผดุงชาติ จึงทบทวนงานและกิจกรรมที่ทำทั้งหมด ให้กับทางทีมวิจัยทราบอีกครั้ง ดังนี้
ทางกลุ่มวิจัยของเรามีงานที่ทำอยู่มากกว่า ๕ กิจกรรม ที่ทำอยู่ใน ณ
ตอนนี้ มีอะไรบ้าง ? คุณ ห้าตี่ย๋า เขาชายทอง ถาม
เพื่อกระตุ้นให้คนอื่นได้มีส่วนร่วมในการทบทวนกิจกรรม
คุณ ดลก้อเส็ม ผดุงชาติ สิ่งที่มีอยู่คือ (๑)
กลุ่มงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (๒) กลุ่มผู้ประสบภัย
สึนามิ (๓) โครงการเกษตรกรรมยั่งยืน (๔)
เฝ้าระวังเหตุ อุบัติเหตุ (๕)
เยาวชนรักการอ่าน
(๖) ผลิตภัณฑ์ทดแทนในครัวเรือน (๗) ปุ๋ยหมักชีวภาพ
คุณ ดลก้อเส็ม ผดุงชาติ
ตั้งคำถามว่าทำอย่างไรให้สิ่งเหล่านี้ที่เป็นกิจกรรมของชุมชน
มาเชื่อมโยงกัน และได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลกิจกรรมทั้งหมด
“ไม่ใช่เป็นเพียงการทำงานที่เสมือนการดักจับปลาที่ลืมปิดปากท้ายถุงอวน
ปลาก็เปรียบเสมือนข้อมูลที่เข้ามาแล้วก็หลุดไปหมด” (คำพูดของหวาเส็ม)
หวาเป็นภาษาท้องถิ่นที่แปลว่า คุณลุง,ป้า
คุณ ห้าตี่ย๋า เขาชายทอง ทำไมต้องเป็นเรื่องน้ำปลา ?
เพราะเคยทดลองหมักกันมาแล้ว เคยปฏิบัติการเก็บข้อมูลของการบริโภคน้ำปลาแล้ว
หรือ คนอื่นจะมีความคิดเห็นอย่างไร ?
คุณ ฝ้าลี่ห๊ะ ผดุงชาติ ตั้งคำถาม แล้วทำอย่างไร? ( ขั้นตอนการขับเคลื่อนงาน )
เป้าหมาย
(1) เพื่อการพัฒนาน้ำปลา อย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การสร้างรายได้และลดรายจ่าย
(2) เพื่อการพัฒนาน้ำปลาสู่ วิสาหกิจชุมชนขนาดย่อม
(3) เพื่อสร้างขบวนมีสวนร่วม การเรียนรู้ และยกระดับการขับเคลื่อน งานในชุมชนแบบบูรณาการที่เชื่อมโยงกัน
(4) เพื่อการขยายแกนนำรุ่นใหม่
แผนผลิตน้ำปลา
(1) จัดเตรียมสถานที่ / ปรับปรุง / ซ่อมแซมเล็กน้อย / พัฒนาสถานที่
(2) จัดเตรียมอุปกรณ์ / วัสดุ
(3) วัตถุดิบ
(4) พัฒนาขบวนการผลิต
- เทคนิคการหมักน้ำปลา คุณค่าทางอาหาร ประเมินคุณภาพน้ำปลา แพ็คกิ้ง ฉลาก สูตร
(5) พัฒนาการตลาด
(6) ศึกษาดูงานเทคนิคการทำน้ำปลาใหม่ๆ
(7) ข้อมูลเปรียบเทียบในกระบวนการผลิต
แผนการบริหารจัดการ
(1) โครงการสร้างกลุ่ม
(2) การตลาด วิสาหกิจชุมชน
(3) การจัดสรรปันส่วนกำไร
(4) ข้อตกลงร่วมกัน (มาตรการกลุ่ม)
จากแผนงานเหล่านี้ ที่เป็นกิจกรรมของชุมชน คุณ ดลก้อเส็ม ผดุงชาติ
จึงได้ช่วยกันวิเคราะห์ในการ เชื่อมงาน เชื่อมกิจกรรม เชื่อมคนได้ อย่างไร ?
คุณ ร่อวีย๊ะ กายสะอาด ได้อธิบายว่า งานทั้งหมดที่มีอยู่ คือ กิจกรรมของชุมชน ใช่หม้าย แล้วกิจกรรมใดที่ไม่ได้ทำบ้าง
คุณ ฝ้าลี่ห๊ะ ผดุงชาติ มีแพชุมชน อย่างเดียวเพราะจะมีกิจกรรมตามฤดูกาลที่หมุนเวียนตามฤดูกาล เท่านั้น
คุณ ดลก้อเส็ม ผดุงชาติ จึงได้ให้ คุณ ร่อวีย๊ะ กายสะอาด ช่วยกันวิเคราะห์
การเชื่อมโยง แต่ละ อย่างให้ร้อยเข้าด้วยกัน แล้วเป็นฐานกิจกรรมความรู้
ของชุมชนต่อไป
ทำพรือ? (ทำอย่างไร) อย่าให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์หลุดพ้นไปจากชุมชนโดยไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ให้กับชุมชน ช่วยกันคิด หาคำตอบต่อไป?
พบว่าชุมนบ้านบางกล้วยนอกมีประเด็นการจัดการทรัพยากร โดยมีแกนนำในการขับเคลื่อนการจัดการทรัพยากรกับคนต้นน้ำ คนกลางน้ำและคนปลายน้ำ