ได้มีการประชุมทำความเข้าใจผู้นำศาสนาเกี่ยวกับงานกองทุนวันละ 1 บาท เพื่อเด็กกำพร้า
ผ่านการใช้สื่อแผ่นพับ เป็นสื่อให้การพูดคุยทำความเข้าใจผู้นำศาสนาแต่ละมัสยิด ได้ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับกองทุนวันละบาทเพื่อเด็กกำพร้า ที่เชื่อมโยงกับหลักการทางศาสนา มุสลิมทุกคนต้องมีหน้าที่ดูแลผู้ที่ด้อยโอกาสกว่าตามศักยภาพความสามารถของแต่ละคน โดยได้ประสานงานท6 มัสยิด ดังต่อไปนี้
- 1)มัสยิดกามารุดดีน หมู่ที่ 2 บ้านเหนือตำบลกำพวน อำเภอสุขสำราญ โดยมี ผู้นำศาสนา
ดังนี้
1.อิหม่าม นายปกปะราหวี สาลี - 2. คอเต็บ นายอัลลิคลาส ห๊ะหรับ
- 3.บิหลั่น นายไล้หมาด อบเชย
- 2)มัสยิดอัตเตาฟีกีย๊ะห์ หมู่ที่ 3 บ้านกำพวน ตำบลกำพวน อำเภอสุขสำราญ โดยมี ผู้นำศาสนา ดังนี้1.อิหม่าม นายย่าโกบ อินตัน 2.คอเต็บ นายก้อหนี สาลี 3.บิหลั่น นายเริงชัย อินตัน
- 3)มัสยิดนูรุลบะฮ์รี หมู่ที่ 4 บ้านภูเขาทอง(ท่ากลาง) ตำบลกำพวน อำเภอสุขสำราญ โดยมี ผู้นำศาสนา ดังนี้1.อิหม่าม นายดอเลาะห์ เก็มกาเฆ็ม 2.คอเต็บ นายสมพร อบรม 3.บิหลั่น นายไสว อีหมั่น
- 4)มัสยิดมิสบาฮุดดีน หมู่ที่ 4 บ้านภูเขาทอง ตำบลกำพวน อำเภอสุขสำราญ โดยมีผู้นำศาสนา ดังนี้
- 1.อิหม่าม นายเริงชัย อินตัน 2.คอเต็บ นายยุรนันท์ หมานจิตร3.บิหลั่น นายซุลกิฟลี มาโนชน์
- 5)มัสยิดเราฎอตุลยัณนะฮ์หมู่ที่ 5 บ้านสุขสำราญ ตำบลกำพวน อำเภอสุขสำราญ โดยมีผู้นำศาสนา ดังนี้1.อิหม่าม นายอารีฝิ่น มาโนชน์ 2.คอเต็บ นายราตรี โคกเคียน 3.บิหลั่น นายอ่ขิ นาลาแน
- 6)มัสยิดนูรลฮีดาย๊ะห์หมู่ที่ 7 บ้านหาดทรายขาว ตำบลกำพวน อำเภอสุขสำราญ โดยมี ผู้นำศาสนา ดังนี้1.อิหม่าม นายอับดลร่าหมาน เด่นมาลัย 2.คอเต็บ นายหมาด ไชยเพศ3.บิหลั่น นายมูอีน ยีริง
สรุปผลการดำเนินงาน
จากการประสานงานทำความเข้าใจผู้นำศาสนาเพื่อประชาสัมพันธ์กองทุนวันละ 1 บาท
หลังละหมาดทุกวันศุกร์ พบว่า ได้สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับคนในชุมชนที่เกี่ยวกับการเป็นผู้ให้และการเป็นผู้รับ ในมิติศาสนาอิสลาม และทางผู้นำศาสนาแต่ละมัสยิดที่กล่าวข้างต้น ได้มีการประชาสัมพันธ์กองทุนวันละบาทเพื่อเด็กกำพร้าและผู้ด้อยโอกาสในชุมชน ที่เชื่อมโยงการหลักการทางศาสนาต่อเนื่อง จากการใช้เครื่องมือแผ่นพับประชาสัมพันธ์ เป็นส่วนหนึ่งที่สร้างความสนใจให้เกิดขึ้น จนเกิดการบอกต่อเกี่ยวกับเรื่องนี้ และการประชุมทำความเข้าใจร่วมกับผู้นำศาสนาเกิดขึ้นบ่อยครั้ง จนเกิดการเชื่อมร้อยเครือข่าย ผ่านการสื่อสารเรื่องกองทุนวันละ 1 บาท จนเกิดเครือข่าย 6 มัสยิด ที่ได้เริ่มมีกิจกรรมการเรียนการสอนหลักธรรมศาสนาให้กับกลุ่มสตรีมุสลิม เช่น มัสยิดอัตเตาฟีกีย๊ะห์ ได้กำหนดให้มีการเรียนการสอน ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 10.00 น-12.00 น. มัสยิดเราฎอตุลยัณนะฮ์ ได้มีการอบรมหลักธรรมศาสนาให้ความรู้แก่สตรีมุสลิม โดยมีคณะทำงานกองทุนวันละบาทเข้าร่วมเรียนรู้ ถ่ายทอด แนวคิดหลักการทำงานกองทุนวันละ 1 บาท เป็น จากตัวอย่างการขยายผลที่เกิดขึ้นจากการทำงาน พบว่ามิติบทบาทของสตรีมุสลิม ที่มีจิตอาสาทำงานเพื่อชุมชน ด้วยหลักการศาสนา จนเกิดการยอมรับในวงกว้าง
ข้อเสนอแนะ
- 1.การทำงานชุมชนต้องการคนรุ่นใหม่ที่มีจิตอาสามาช่วยในการขับเคลื่อนงาน
- 2.การวางบทบาทการขับเคลื่อนงานในมิติอิสลามนั้นควรมีการประสานงานกับทางผู้นำศาสนาอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันในกระบวนการทำงาน