การทำนาเป็นการทำการเกษตรแบบพื้นบ้านที่นำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ โดยเกษตรกรสามารถปลูกข้าวได้เท่ากับจำนวนที่ตนเองสามารถปลูกได้ ตามพื้นที่ที่มีอยู่ และตามเงินทุนที่มีอยู่ ซึ่งสอดคล้องกับหลักความพอประมาณตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเมื่อปลูกไปแล้ว เกษตรกรสามารถพัฒนาการปลูก ประยุกต์ใช้เศษวัสดุ เศษพืช หรือภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อนำมาใช้เป็นปุ๋ยให้กับข้าวและวิธีการกำจัดศัตรูพืชได้ ซึ่งสอดคล้องกับหลักความมีเหตุผลตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อขายได้ราคาดี ผู้ปลูกก็จะมีกำไร สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข ซึ่งสอดคล้องกับหลักการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผู้ปลูกเมื่อปลูกแล้วก็จะได้รับความรู้ในการปลูกข้าว ซึ่งนำพัฒนา ปรับปรุง ประยุกต์ใช้ในการปลูกในครั้งต่อไป เพื่อลดต้นทุนการผลิต และให้ได้กำไรมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับเงื่อนไขความรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการทำนาปลูกข้าว ผู้ปลูกจำเป็นต้องมีความขยัน อดทน ใช้สติปัญญาแก้ไขปัญหาในการปลูก ซึ่งสอดคล้องกับเงื่อนไขคุณธรรม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
ฐานการทำนา
ความเป็นมา วัตถุประสงค์